บันทึกการเดินทาง...เที่ยวตุรกี...ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
เดินทางสู่ปราสาทปุยฝ้าย |
เดินทางสู่ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
|
เมืองปามุคคาเล่ (Pamukkake) ประเทศตุรกี
เมืองปามุคคาเล ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศตุรกี
ห่างจากเดนิซลีไปทางตอนเหนือราว 19 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของลานแคลเซียม
กว้าง 300 เมตร ยาว 2,600 เมตร เป็นที่ตั้งของนครโบราณ เฮียราโปลิส
และบ่อน้ำแร่ในอดีตเคยเป็นสระน้ำร้อน ปัจจุบันเป็นโรงแรมน้ำแร่ที่มีอุณหภูมิ
35 องศาเซลเซียส ประกอบด้วยกินปูนและเกลือแร่ ไหลเป็นน้ำตกจากที่สูง100
เมตรลงสู่พื้น สายน้ำที่ถูกอากาศเย็นตัวลงทำให้แคลเซียมตกตะกอน
เกิดเป็นอ่างแคลเซียมธรรมชาติ ขนาดมหึมา เรียกว่า ปามุกคาเล
ในยุคโรมันสถานที่แห่งนี้เป็นเมืองตากอากาศที่สวยงาม |
สถานที่ท่องเที่ยวสิ่งที่น่าสนใจ
ปามุคคาเล่ (Pamukkale) คำว่า
ปามุกคาเล่ ในภาษาตุรกี หมายถึง ปราสาทปุยฝ้าย pamuk หมายถึง
cotton และ kale หมายถึง castle เป็นน้ำตกหินปูนสีขาวที่เกิดขึ้นจากธารน้ำใต้ดินที่มีอุณหภูมิประมาณ
35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นที่มีแร่หินปูน (แคลเซียมออกไซด์)
ผสมอยู่ในปริมาณที่สูงมากไหล ไหลรินลงมาจากภูเขา คาลดากึ
ที่ตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือ รินเอ่อท้นขึ้นมาเหนือผิวดิน
และทำปฏิกิริยาจับตัวแข็งเกาะกันเป็นริ้ว เป็นแอ่ง เป็นชั้น
ลดหลั่นกันไปตามภูมิประเทศ เกิดเป็นประติมากรรมธรรมชาติ อันสวยงามแปลกตาที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ยากจะหาที่ใดเหมือน
จนทำให้ปามุกคาเล่และเมืองเฮียราโพสิลได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมในปี
ค.ศ. 1988
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างมากคือ หน้าผาที่ขาวที่กว้างใหญ่ด้านข้างของอ่างน้ำ
เป็นรูปร่างคล้ายหอยแครง และน้ำตกแช่แข็ง ถ้ามองดูจะดูเหมือนสร้างจากหิมะ
เมฆ หรือ ปุยฝ้าย น้ำแร่ที่ไหลลงมาแต่ละชั้นจะแข็งเป็นหินปูน
ห้อยย้อยเป็นรูปร่างต่างๆอย่างมหัศจรรย์ภายใน 2-3 วัน น้ำแร่นี้มีอุณหภูมิประมาณ
33-35.5 องศาเซลเซียส ประชาชนจึงนิยมไปอาบหรือนำมาดื่ม เพราะเชื่อว่ามีคุณสมบัติในการรักษาโรคหัวใจ
โรคไขข้ออักเสบ ความดันโลหิตสูง โรคทางเดินปัสสาวะ และโรคไต
ยิ่งน้ำแร่ร้อนที่นี่โด่งดังเรื่องการรักษาโรคต่างๆตามที่
กล่าวไว้ข้างต้น ก็ยิ่งทำให้มีคนเดินทางมาลงอ่างธรรมชาติ แช่ตัว
เล่นน้ำ กันเป็นจำนวนมาก จนทำให้ปามุคคาเล่บอบช้ำถึงขนาดทางการต้องห้ามมิให้นักท่องเที่ยวลงไปแช่น้ำ
เล่นน้ำในแอ่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากไม่ต้องการให้ปามุคคาเล่ถูกทำลายไปมากกว่านี้
แต่กระนั้นทางการตุรกีก็ไม่ต้องการให้บรรยากาศทางการท่อง
เที่ยวเสียไป จึงได้ทำการสร้างแอ่งน้ำขึ้นมาแล้วปล่อยน้ำแร่จริงใส่
เกิดเป็นแอ่งน้ำเทียมเสมือนจริง เพื่อให้นักท่องเที่ยวลงไปแหวกว่าย
เล่นน้ำและแช่น้ำแร่ได้อย่างเพลิดเพลิน ซึ่งหากไม่สังเกตจะดูไม่ออกว่าเป็นของเทียม
เพราะทางการตุรกีเขาสร้างได้กลมกลืนและแนบเนียน ส่วนแอ่งน้ำแร่ธรรมชาติก็ปล่อยไว้ให้เป็นธรรมชาติ
และยังมีบริเวรที่กั้นไว้เป็นจุดถ่ายรูปอันเป็นอนุสรณ์ของดาบ
2 คมทางการท่องเที่ยวแห่งปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่สำคัญ
เมืองโบราณเฮียราโปลิส (Hierapolis)
ในอดีตเป็นสถานที่บำบัดโรค ก่อตั้งโดยกษัตริย์ยูเมเนสที่ 1แห่งแพร์กามุม
ในปี 190 ก่อนคริสต์กาล สถานที่แห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นหลายครั้งหลังปี
ค.ศ 1334 จึงไม่มีคนอาศัยอยู่อีก ศูนย์กลางของเฮียราโปลิสเป็นบ่อน้ำที่ศักสิทธิ์
ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในโรงแรมปามุกคาเล สถานที่สำคัญอื่นๆ
ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ปามุกคาเล โรงอาบน้ำโรมันซากโบสถ์สมัย ไบแซนไทน์
และ ฐานวิหารอะพอลโล โรงมหรสพโรมัน เป็นต้น
อัฟโฟรดีซิอัส (Aphrodisias) หรือ
เกย์เร (Geyre)
ประวัติของเมืองอัฟโฟรดีซิอัส ย้อนไปตั้งแต่ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล
ในตอนต้นของยุคโลหะ แต่เมืองเริ่มสร้างเมื่อช่วง 100 ปีก่อนคริสตกาล
เพื่ออุทิศให้วีนัส และชื่อของเมืองได้มาจากอโพรได (Aphrodite)
หรือ วีนัส (venus) เทพีแห่งความงามและความบริบูรณ์
บอตตีเชลล ีวาดภาพวีนัสหรืออะโพรไดต์จากมหากาพย์ที่เล่าขานกันว่า
เธอถือกำเนิดมาจากฟองคลื่นของท้องทะเล (Aphros มาจากภาษากรีก
หมายถึง ฟองคลื่น) ภาพหญิงสาวเปลือยเปล่ายืนบนเปลือกหอย เรือนผมสีทองปลิวสยายไปกับสายลม
โดยมีเซไฟร์ (Zephyr) เทพแห่งสายลมพัดพาเธอไปยังเกาะไซปรัสก่อนพาขึ้นเขาโอลิมปัส
(Olympus)
ประเด็นการเลืออะโฟรไดต์เป็นเทพีประจำเมืองนั้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า
มาจากประเพณีบูชาเทพเจ้าเพื่อร้องขอความอุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติ
โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรมเพื่อให้พืชผลงอกงาม และด้านกสิกรรมเพื่อให้สัตว์เลี้ยงตกลูกได้มาก
เมื่ออัฟโฟรดีซิอัสตกเป็นของไบแชนไทน์ วิหารวีนัสได้ถูกเปลี่ยนเป็นโบสถ์คริสต์
ต้นศตวรรษที่ 19 นักโบราณคดีชาวอิตาลีและฝรั่งเศสเข้ามาทำการสำรวจ
และมีการสำรวจอีกครั้งภายหลังเกิดแผ่นดินไหวในปี ค.ศ. 1956
โดยสหรัฐอเมริกาและตุรกีเอง ทำให้ค้นพบโบราณสถานมากมายดังที่เห็นในปัจจุบัน
โบราณสถานสร้างอย่างมีศิลปะ ที่ไม่น่าพลาดชมคือ โรงละครโบราณสมัยเฮเลนนิสติก
วิหารของเทพีวีนัส ผู้เป็นเทพธิดาประจำเมือง สนามแข่งม้าอายุราว
2,000 ปี ที่จุผู้ชมได้มากถึง 30,000 คน และโรงอาบน้ำฮาเดรียน
(Baths of Hadrian) ในยุคโรมันเมืองนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกสอบการแกะสลัก
การที่อัฟโฟรดีซิอัสมีโรงเรียนฝึกสอนการแกะสลักชี้ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองแห่งงานศิลปะของที่นี่
ขณะเดียวกันก็บ่งชี้ให้เห็นถึงการเลือกเมืองที่มีวัตถุดิบสมบูรณ์
เพราะไม่ห่างจากตัวเมืองเท่าใดนัก มีแหล่งหินเนื้ออ่อนดีที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอย่างยิ่ง
ในการนำมาแกะสลัก ทั้งยังสามารถขัดผิวเนื้อหินให้มีความมันลื่นได้ง่ายอีกด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจที่เมืองเมืองนี้จะมีการส่งออกงานประติมากรรมเป็นสินค้าไปทั่วภูมิภาค
ไม่ว่าจะเป็นกรุงโรมหรือเมืองบริวารต่างๆ ตลอดจนเมืองทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาอย่างเมืองเลปทิสแมกนา
เป็นต้น
มิใช่เพียงผลงานทางด้านศิลปะเท่านั้นที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เมืองเมืองนี้
แต่ศิลปวิทยาการในสาขาอื่นๆ ก็รุ่งเรืองอยู่ในเมืองอัฟโฟรดีซิอัสเช่นกัน
ไม่ว่าจะเป็นด้านวรรณคดี ปรัชญา และการแพทย์ เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า
นายแพทย์ชื่อดังยุคปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 1 อย่างซีโนเครติส
(Xenocrates) ซึ่งเขียนตำราทางการแพทย์หลายต่อหลายเล่ม วางแนวทฤษฎีทางการแพทย์เอาไว้หลายทฤษฎีได้มาเปิดการเรียนการสอนวิชาแพทย์ขึ้นที่นี่ด้วย
อัฟโฟรดีซิอัส เป็นที่ตั้งอยู่บนจุดตัดของเส้นทางการค้าในอดีต
ไม่ว่าจะเป็นเส้นทางจากเหนือสู่ใต้ หรือจากตะวันออกสู่ตะวันตก
เป็นจุดเชื่อมอาณาจักรเก่าแก่ถึง 3 อาณาจักรด้วยกันคือ อาณาจักรคาเรีย
(Caria) ที่มีชื่อในฐานะเป็นดินแดนของนักรบรับจ้าง อาณาจักรลีเดีย
(Lydia) ที่ได้ชื่อว่าเป็นพวกแรกที่รู้จักสร้างเหรียญกษาปณ์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนสินค้า
และอาณาจักรฟรีเจีย (Phrygia) ที่ทรงอิทธิพล
การค้ามักนำมาซึ่งความมั่งคั่ง และความมั่งคั่งก็นำมาซึ่งศิลปวิทยาการ
ขณะเดียวกัน ความมั่งคั่งก็มักนำเข้ามาซึ่งภัยสงครามด้วยเช่นกัน
นั่นหมายความว่า ผู้คนในเมืองอัฟโฟรดีซิอัส จำเป็นต้องหาฐานอำนาจมาช่วยหนุนเสริมความมั่นคงให้คงอยู่
อย่างน้อยก็ในฐานะเมืองที่ดำรงความเป็นกลางสิ่งนี้เองที่ทำให้เมืองเมืองนี้เลือกเข้าข้างโรมันที่ทรงอำนาจทางการทหารที่สุดในยุคนั้น
เมื่อครั้งโรมันทำสงครามกับเมืองปอนตุส (Pontus) ของกษัตริย์มิทริตาติสที่
6 (Mithridates) แห่งอาณาจักรคาเรีย เมื่อ 85 ปีก่อนคริสตกาล
ซึ่งปัจจุบัน คือดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของตุรกี
ภายใต้การคุ้มครองของโรมันที่ถือว่าอัฟโฟรดีซิอัสคือพันธมิตรแห่งภาคใต้
เมื่อคราวถูกโจมตีจากพวกลาเบียนนุส (Labionus) ในช่วงปีที่
40 ก่อนคริสตกาล จักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์ ทรงส่งกำลังลงมาช่วยจนรอดพ้นภัยสงคราม
และมิใช่เพียงเท่านี้ แต่ออกุสตุส ซีซาร์ ยังทรงสถาปนาเมืองเมืองนี้ให้เป็นเมืองอิสระภายใต้การคุ้มครองของโรมัน
จนถือได้ว่ายุคนั้น อัฟโฟรดีซิอัส คือเมืองที่มีความปลอดภัยและมั่นคงสูงสุดในดินแดนแถบนี้
เป็นเมืองที่ผู้คนปรารถนาจะเข้ามาตั้งรกรากและกลุ่มคนอพยพเข้ามามากที่สุดคือ
ชนชั้นปัญญาชน นักคิด นักปราชญ์ หรือแม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น
การที่อัฟโฟรดีซิอัส เป็นแหล่งรวมนักคิดแทบทุกสาขาปรัชญาและผู้ทรงความรู้
ทำให้เมืองมีสภาพไม่ต่างจากเมืองมหาวิทยาลัย ที่ผู้กระหายวิชาการแขนงต่าง
ๆมากมายมุ่งเดินทางเข้ามาศึกษาหาความรู้กัน และศูนย์กลางแห่งความรู้ทั้งมวลก็คือ
มหาวิหารเทพีอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ยังหลงเหลือเป็นรูปเป็นร่างให้เห็นมากที่สุดในปัจจุบัน |
|
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
อัฟยอน (Afyon)
อัฟยอน เปรียบเสมือนประตูระหว่างฝั่งทะเลและผืนแผ่นดินของอนาโตเลีย
ประวัติศาสตร์เริ่มตั้งแต่ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล อัฟยอนถูกปกครองโดยฮิตไตต์
ฟรีเจียน ลิเดียน เปอร์เซีย โรม และท้ายที่สุดคือไบแชนไทน์
ที่ได้ครอบครองเมืองในนาม อโครโนส (Akroenos) และถัดมาเปลี่ยนชื่อเป็น
นิโคโปลิส (Nikopolis) ก่อนที่จะตกเป็นของเซลจุกและออตโตมันในเวลาต่อมา
ชื่อจริงของอัฟยอนคือ อัฟยอนคาราฮิชาร์ (Afyonkarahisar
แปลว่า ป้อมฝิ่นสีดำ) ปัจจุบันเป็นเมืองที่ปลูกฝิ่นเพื่อใช้ในกาแพทย์โดยถูกต้องตามกฎหมาย
และยังเป็นเมืองที่ทำอุตสาหกรรมหินอ่อน อัฟยอนมีสถานอาบน้ำแร่หลายแห่ง
ได้แก่ กัชลึเกล (Gazligol Kaplicatlari) เกเจ็ค (Gecek) ฮูได
(Hudai) สถานที่สามารถอาบโคลนได้คือ ซานดิคลึ (Sandikli) พร้อมมีที่พัก
สถานที่น่าสนใจในอัฟยอน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์โบราณคดี จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยโรมัน,
อนุสรณ์สถานรำลึกถึงสงครามอิสรภาพ , ป้อมรพอัฟยอน ซึ่งสร้างในสมัยไบแชนไทน์
ส่วนด้านเหนือมีสิ่งก่อสร้างสมัยฟรีเจีน เป็นหินที่ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา
นอกจากนี้ ใกล้ทางหลวงเดนิซลี (Denizli) เป็นที่ตั้งของเมือง
Dazkili ซึงมีชื่อเสียงด้านพรมและคิลิม เป็นพรมพื้นเมืองของตุรกี
มิเลท (Milet) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ มิเลทุส ในช่วงศตวรรษที่
10 ก่อนคริสตกาล เมืองนี้เคยเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญในแถบเมดิเตอร์เรเนียน
และเป็นบ้านเกิดของนักปรัชญามากมาย โบราณสถานที่สำคัญได้แก่
โรงละครโบราณ จุคนได้ถึง 15,000 คน เมื่อขึ้นไปด้านบนจะเห็นทิวทัศน์ของเมืองโดยรอบ
ซากวิหารเดลฟิก อะพอลโล (Sanctuary of the Delphic Apollo)
โรงอาบน้ำเฟาล์ตินา (Faustina Bath) สร้างโดยจักรพรรดิโรมันนามว่า
มาร์คุส ออเรลิอุส (Markus Aurelius) เพื่อเป็นของขวัญให้กับภรรรยา
ใกล้กันมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ จัดแสดงถึงสิ่งของที่พบในมิเลท และสุเหร่าอิลยัสเบย์
(Ilyas Bey Cami) สร้างในศตวรรษที่ 15 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นโดยเฉพาะโดมภายในตกแต่งสวยงามด้วยหินอ่อน
กูลกูบาเช (Gullubahce) หรือ
พริเอเน (Priene) กูลกูบาเช เคยเป็นเมืองท่าสำคัญในสมัยไอออนเนียน
มีความสำคัญมากในช่วง 300 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อมีการประชุมสภาและมีการจัดเทศกาลรื่นเริ่งขึ้นที่นี่
ผังเมืองวางแบบไว้อย่างดีเป็นแบบเรขาคณิต โดยฮิปโปดาโมสแห่งมิเลโทส
ในศตวรรษที่ 4 ซึ่งยังสามารถเห็นได้อยุ่ ในเมืองมีอะโครโบลิสซึ่งสร้างในสมัยเฮเลนนิสติก
โบราณสถานที่ยังคงอยู่ ได้แก่ ตลาด ที่ประชุมสภา โรงละคร วิหารเดเมเตอร์
และวิหารอะธีนา
ดิดิม (Didim) หรือ ดิดิย์มา
(Didyma) ในอดีต เมืองดิดิมเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ตั้งของวิหารอะพอลโล
แม้ว่าจะเกิดการรบพุ่งและถูกเผาหลายครั้ง แต่ปัจจุบัน ยังสามารถเห็นมุขและทางเดินที่มีเสาเรียงรายสองฟากอยู่รอบตัววิหาร
รวมทั้งรูปปั้นหัวเมดูซา วิหารอะพอลโลที่เห็นในปัจจุบันสร้างใหม่ในศตวรรษที่
4 หลังจากที่ของเดิมถูกทำลายด้วยน้ำมือชาวเปอร์เซีย วิหารนี้เคยเป็นศูนย์รวมของคนทรงและนักบวชในยุคไอออนนิก
ผู้ที่แสวงหาความรู้เกี่ยวกับโหราพยากรณ์จะมาเพื่อศึกษา ซึ่งดิดิม
แปลงมาจากคำว่า ดิดีย์โมยอน (Didymeion) เป็นภาษาโบราณ แปลว่า
สถานที่ที่คนทรงบอก ดิดิมในอดีตมีแต่เพียงนักบวชพำนักอยู่เท่านั้น
ไม่มีชาวบ้านอยู่อาศัย นักบวชอาจเคยพาครอบครัวมาพำนักด้วย
นักบวชที่ศรัทธาในเทพอะพอลโลเหล่านี้เป็นพวกที่มาจากเมืองเดลฟีในกรีซ
วิหารในดิดิมถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้วิหารที่เดลฟี |
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี
ปราสาทปุยฝ้าย เมืองปามุคคาเล่ |
|
|
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ประเทศตุรกี ปามุคคาเล่ |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ปามุคคาเล่ ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
ประเทศตุรกี ปราสาทปุยฝ้าย |
|