บันทึกการเดินทาง...เที่ยวตุรกี...ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
ช่องแคบบอสฟอรัส อิสตันบลู |
นครอิสตันบูล ตุรกี |
ท่าเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
ท่าเรือช่องแคบบอสฟอรัส |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ท่าเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ท่าเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบบอสฟอรัส ถือเป็นหนึ่งในช่องแคบเลื่องชื่ออันดับต้นๆของโลก
เป็นพรมแดนธรรมชาติที่แบ่งอิสตันบูลออกจากยุโรปและเอเชีย ซึ่งเป็นช่องแคบที่เชื่อมต่อกับทะเลดำ
(The Black Sea) เข้ากับทะเลมาร์มาร่า (Sea Of Marmara) ความยาวทั้งสิ้นประมาณ
32 ก.ม. ความกว้างตั้งแต่ 500 เมตร จนถึง 3 ก.ม. ถือว่าสุดขอบของทวีปยุโรปและสุดขอบของทวีปเอเชียมาพบกันที่นี่
นอกจากความสวยงามแล้วช่องแคบบอสฟอรัสยังเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในการป้องกันประเทศตุรกีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เพราะมีป้อมปืนตั้งเรียงรายอยู่ตามช่องแคบเหล่านี้ ว่ากันว่าจะกระทั่งถึงยุคของการนำเอาเรือปืนใหญ่มาใช้และไม่เคยปรากฏว่า
กรุงอิสตันบูลถูกถล่มจนเสียหายอย่างหนักมาก่อนเลย เป็นเพราะป้อมปืนดังกล่าวนี่เอง
ในปีค.ศ.1973 มีการเปิดใช้สะพานบอสฟอรัส ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางไปมาระหว่างฝั่งเอเชียและยุโรปสะดวกมากขึ้น
ซึ่งวันนี้ช่องแคบบอสฟอรัสยังเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของอิสตันบูลที่นักทอ่งเที่ยวไม่ควรพลาด
สำหรับจุดที่น่าสนใจของช่องแคบบอสฟอรัสคือสะพานข้ามช่องแคบที่มีอยู่สองสะพานด้วยกัน
สะพานแรกสะพานบอสฟอรัส เริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1970 เพื่อเชื่อมสองทวีปเข้าด้วยกัน
ส่วนอีกสะพานหนึ่งคือสะพานสุลต่านเมห์เมตผู้พิชิต ที่สร้างในปี
ค.ศ. 1988 ตั้งอยู่ในบริเวณส่วนที่แคบที่สุดของช่องแคบแห่งนี้
|
ท่าเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส Cruise Along the Bosphorus
มาถึงอิสตันบูลทั้งทีหากไม่ได้นั่งเรือล่องบอสฟอรัสก็เหมือนมาไม่ถึงอิสตันบูล
ช่องแคบที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างยุโรปและเอเชียนี้เชื่อมระหว่างทะเลมาร์มาราและทะเลดำ
มีความยาว 32 กิโลเมตร ชื่อบอสฟอรัส มาจากเทพปกรณัม Bous แปลว่าแม่วัวในภาษากรีกโบราณ
poros หมายถึงทางข้ามBosphorus จึงมีความหมายว่าทางแม่วัวข้าม
แม่วัวเคยเป็นหญิงงามที่มีชื่อว่า ไอโอ (Io) ซึ่งซุส ราชาแห่งเทพเจ้ามีสัมพันธ์ด้วย
เมื่อเฮรา มเหสีของซุสรู้เรื่อง ซุสจึงกลบเกลื่อนด้วยการสาปไอโอให้เป็นแม่วัว
แต่เฮราผู้ชาญฉลาดได้ให้แมลงดูดเลือดต่อยไอโอที่สะโพกแล้วไล่เธอออกไปจากช่องแคบ
เมื่อก่อนการข้ามช่องแคบบอสฟอรัสจากฝั่งยุโรปสู่ฝั่งเอเชียต้องใช้เรือเท่านั้น
และถ้าแม่น้ำเป็นน้ำแข็งก็ข้ามไปไม่ได้ แต่เมื่อถึงปลายปี
ค.ศ. 1973 สะพานบอสฟอรัสซึ่งได้กลายมาเป็นสะพานแขวนที่ยาวเป็นอันดับสี่ของโลก
สร้างเสร็จสมบูรณ์ การคมนาคมข้ามแดนจึงเป็นเรื่องง่ายดายยิ่งขึ้น
แต่หลังเปิดใช้ก็เกิดปัญหารถติดบนสะพานอย่างหนัก จึงต้องสร้างสะพานแห่งที่สอง
คือ สะพานฟาติห์ และแห่งที่สามกำลังร่างแบบกันอยู่
ถึงอย่างไรเรือก็ยังเป็นทางเลือกที่นิยมอยู่ ทั้งสำหรับชีวิตประจำวันของชาวอิสตันบูลและสำหรับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมาไม่ขาดสาย
เรือล่องบอสฟอรัสมีทั้งแบบเรือโดยสารที่จอดตามท่าต่างๆ และแบบเหมาลำ
เส้นทางยอดนิยมเป็นเรือเฟอร์รี่จากท่าเรือเอมิโนนูไป อนาโดลู
คาวาอือ เรือจอดป้ายแรกที่เบชีคตัสหรือพิพิธภัณฑ์เรือ (ฝั่งยุโรป)
ผ่านพระราชวัง โดลมาบาเช ถัดมาคือพระราชวังชีราอาน เคยเป็นที่ประทับของสุลต่านอับดุลอาซิซ
ถูกไฟไหม้ในทศวรรษ 1920 ปัจจุบันเป็นโรงแรมชีราอาน โฮเตล เคมปินสกี้
อันเลิศหรู ตรงข้ามกันเป็นฝั่งเอเชียที่เรียกว่า เฟติ อาห์เมต
ปาซา ยาลึ เรียงรายไปด้วยเรือนไม้ฤดูร้อน และสถานทูต
ต่างชาติในยุคออตโตมัน
ใต้สะพานบอสฟอรัสฝั่งยุโรปเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสีสัน
ทั้งหอศิลป์ บาร์ ร้านอาหารมีระดับ บริเวณนี้ในอดีตเป็นหมู่บ้านออร์ตาเคอย์
ถัดมาคือ เบย์เลอร์เบยี ซารายึ ตำหนักเล็กขนาด 30 ห้อง ของสุลต่านอับดุล
อาซิซ จากนั้นเรือจะล่องสู่ย่านชานเมืองที่สงบและมีเสน่ห์แบบโบราณ
อย่าง คานลึจา ที่มีโยเกิร์ตอร่อยขึ้นชื่อ อาร์นาวูตเคอย์
(หมู่บ้านอัลบาเนีย) และอานาโคลูฮีซารึ (ปราสาทอนาโตเลีย)
ที่อยู่บนฝั่งเอเชีย ส่วนที่อยู่เยื้องกันบนฝั่งยุโรปเป็น
รูเมลีฮีซารึ (ปราสาทเธรซ หรือปราสาทเครื่องตัดคอ) ที่สร้างโดยสุลต่านเมห์เมต
ผู้พิชิต ปราสาททั้งสองดูงามแปลกตาและไม่ค่อยน่ากลัว แต่ในอดีตคือเคยใช้เป็นที่บัญชาการและติดตั้งอาวุธยุทโธปกรณ์ในการตัดความ
ช่วยเหลือที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะได้รับ เพื่อจะปิดล้อมกรุงในปี
ค.ศ. 1453
เมื่อเรือลอดใต้สะพานลอดช่องแคบแห่งที่สอง (สะพานฟาติห์)
เสียงอึกทึกในตัวเมืองจะแผ่วลง เหลือแต่เสียงหวูดเรือประมงเล็กๆ
ที่กลับจากหาปลาตอนกลางวัน และเรือบรรทุกน้ำมันของรัสเซียและโรมาเนียที่แล่นเข้าออกช่องแคบบอส
ฟอรัสและดาร์ดาแนลส์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพอดีตที่รัสเซียถือเอาช่องแคบตุรกีเป็นกุญแจปิดล็อก
ประตูหลังบ้านของตน |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส
ช่องแคบสองทวีป |
|
|
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |
ล่องเรือช่องแคบบอสฟอรัส ตุรกี |