ช่วงบ่ายเดินทางไป อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ชมร่องรอยการตั้งถิ่นฐานเมืองฟ้าแดดสงยาง
ชมใบเสมาที่วัดโพธิ์ชัยเสมารามและนมัสการพระธาตุยาคู |
พระธาตุยาคู |
รูปพระธาตุยาคู |
ใบเสมาโบราณ |
พระธาตุยาคู |
พระธาตุยาคู
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
|
คลิป
พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (1) |
|
|
คลิป
พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ (2) |
|
|
พระธาตุยาคู อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
พระธาตุยาคู เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่พบในเขตเมืองฟ้าแดดสงยาง
ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่มีการขุดค้นพบหลักฐานต่างๆ มากมาย พระธาตุยาคูเป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองฟ้าแดดสงยาง
ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่า เป็นพระธาตุที่บรรจุอัฐิของพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ชาวเมืองเคารพนับถือ
จึงเรียกกันว่า พระธาตุยาคู (ญาคู ภาษาอีสาน หมายถึง พระสงฆ์ผู้ใหญ่ในวัด)
และเนื่องด้วยเป็นสถานที่แห่งเดียวในเมืองฟ้าแดดสงยางที่ไม่ถูกทำลายโดยเมืองเชียงโสม
ซึ่งเป็นฝ่ายชนะสงคราม จึงนับเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
มีหลักฐานว่าแต่ละส่วนของพระธาตุยาคู สร้างขึ้นใน 3 สมัย โดยส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม
มีบันไดทางขึ้น 4 ทิศ สร้างในสมัยทวารวดี ถัดขึ้นมาเป็นส่วนฐานทรงแปดเหลี่ยม
สร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งสร้างซ้อนทับบนฐานเดิม ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดสร้างต่อเติมในสมัยรัตนโกสินทร์
มีข้อสังเกตตามประวัติศาสตร์ว่า เมื่อเมืองเชียงโสมชนะสงคราม
ได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างในเมืองฟ้าแดดสงยาง แต่พระธาตุยาคูเป็นสถานที่แห่งเดียวในเมืองฟ้าแดดสงยางที่ไม่ถูกทำลายโดยเมืองเชียงโสม
จึงนับเป็นโบราณสถานที่ยังคงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ทุกๆ ปีในเดือนพฤษภาคม
ชาวบ้านจะจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ เพื่อเป็นการขอฝนและนำความร่มเย็นมาสู่หมู่บ้าน
อานิสงส์ที่ได้รับ : ร่มเย็นเป็นสุข
สักการะพระธาตุโบราณ เบิกบานร่มเย็น อัศจรรย์บูชาพระธาตุโบราณ
ชีวิตเบิกบาน สมบูรณ์พูนสุข |
พระธาตุยาคู
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ |
|
|
เที่ยวพระธาตุยาคู |
เที่ยวพระธาตุยาคู |
พระธาตุยาคู กาฬสินธุ์ |
เที่ยวพระธาตุยาคู |
ตอนเย็นก็มาพบปะพูดคุยกับโครงการ ไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต สำรับคืนนี้พักกันที่โรงแรมในเมืองขอนแก่น |
คลิป
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน 4 เมือง
รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
คลิป
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน 4 เมือง
จังหวัดขอนแก่น (1) |
|
|
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน 4 เมือง จังหวัดขอนแก่น (2) |
|
|
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน 4 เมือง จังหวัดขอนแก่น (3) |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
เปิดงานไหว้พระธาตุอีสาน
4 เมือง รุ่งเรืองตลอดชีวิต จังหวัดขอนแก่น |
|
|
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
ศิลปวัฒนธรรมอีสาน |
วันที่สาม : ตอนเช้ามานมัสการพระธาตุแก่นนคร |
พระมหาธาตุแก่นนคร |
พระมหาธาตุแก่นนคร |
พระมหาธาตุแก่นนคร |
วัดพระมหาธาตุแก่นนคร |
คลิป
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
(1) |
|
|
คลิป
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
(2) |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง
สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปีเมืองขอนแก่น องค์พระธาตุเป็นศิลปะแบบทวารวดี
ผสมผสานอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง
เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง
และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน
(บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่
2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง
ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี
พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา
พระมหาธาตุแก่นนคร มีความสูง 80 ม. มีพระจุลธาตุ 4 องค์ใน
4 มุม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียร พระธาตุแห่งนี้มี
9 ชั้น ชาวบ้านจึงเรียก พระธาตุ 9 ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ
ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์
ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า
ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร
ที่เรียกว่า ตักบาตร 108 โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น
ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของ
ตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว
หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง
เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่
ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน
พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของคนอีสาน
ที่เรียกว่า คะลำ ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน
โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ
ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม
เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร
พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า
บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา
สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร
ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์มีใบ้
ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก
ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น
ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง
4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม
ทางวัดได้จัดให้มีมัคคุเทศก์น้อยนำชม อธิบายภาพเขียนต่าง
ๆ รวมทั้งสิ่งของที่จัดแสดงไว้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง
ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ภายในรวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่ละชั้นโดดเด่นด้วยลวดลายของบานประตูและหน้าต่างแกะสลัก
บอกเล่าเรื่องราวเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ และภาพแกะสลักรูปพรหม
16 ชั้น ชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก
อีกทั้งยังสามารถชมทัศนียภาพของเมืองขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ
คำนมัสการพระมหาธาตุแก่นนคร
: นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) อะหัง
วันทามิ อิธะ ปติฎฐิตา พุทธะธาตุโย ตัสสานุภาเวนะ สัพพัตถะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม
อานิสงส์ที่ได้รับ : ก้าวหน้ารุ่งเรือง
สักการะพระธาตุ 9 ชั้น ก้าวหน้ารุ่งเรือง เปรียงดังบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
แล้วก็มา นมัสการพระธาตุขามแก่น |
พระธาตุขามแก่น |
พระธาตุขามแก่น ขอนแก่น |
รูปพระธาตุขามแก่น |
วัดพระธาตุขามแก่น |
คลิป
พระธาตุขามแก่น : วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระธาตุขามแก่น : วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม
อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น
บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000
ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน
(ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด)
พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองขอนแก่น
ลักษณะเป็นเจดีย์ยอดฉัตรทองคำสูง 19 เมตร พระธาตุขามแก่นมีตำนานเล่าขานกันว่า
คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้า จากเมืองโมรีย์ (ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน)
นำโดยกษัตริย์เจ้านครโมรีย์ พร้อมด้วยพระอรหันต์ 9 องค์ ได้เดินทางเพื่อนำพระอังคารธาตุไปบรรจุในพระธาตุพนม
ซึ่งระหว่างนั้นยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ระหว่างทางได้แวะพักในบริเวณดอนมะขาม
อันที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือเพียงแก่นและได้นำพระอังคารธาตุไปวางพักไว้บนแก่นมะขามนั้น
รุ่งเช้า จึงเดินทางมุ่งหน้าสู่สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมต่อไป
เมื่อไปถึงปรากฎว่า พระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงต้องนำพระอังคารธาตุ
กลับตามเส้นทางเดิม โดยตั้งใจว่าจะนำกลับไปยังนครโมรีย์ของตนตามเดิม
เมื่อกลับมาถึงดอนมะขามที่เคยพักแรม ได้เห็นมะขามต้นที่ตายเหลือแต่แก่น
กับฟื้นคืนชีวิตแตกใบเขียวชะอุ่ม น่าอัศจรรย์ จึงพร้อมใจกันสร้างพระธาตุครอบต้นมะขามและบรรจุพระอังคารธาตุไว้และพระพุทธรูปบรรจุไว้ภายใน
และให้นามว่า พระธาตุขามแก่น พร้อมทั้งสร้างวัดเป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง
9 องค์ เคียงคู่องค์พระธาตุ พร้อมสร้างบ้านเรือน ปักถิ่นฐานในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
การมาไหว้พระธาตุขามแก่นหรือมาแก้บน ควรมาในวันพุธ เพราะจะมี
เฒ่าจ้ำ หรือ กระจ้ำ ซึ่งเป็นเหมือนผู้นำด้านจิตวิญญาณ ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน มาเป็นคนนำกล่าวคำนมัสการองค์พระธาตุขามแก่น
และแนะนำพิธีการต่างๆ ตามแบบแผนที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาอีกด้วย
ประเพณี : งานฉลองและนมัสการพระธาตุขามแก่น
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 การสักการะ ใช้ธูป เทียน ดอกไม้
ขันแปดเก้า ในวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่เมืองขอนแก่นและเป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเจติภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 15
ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง อยู่ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ
30 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนสายขอนแก่น -กาฬสินธุ์ เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่
12 บ้านโคกสี เป็นถนนราดยางตลอด มีป้ายบอกทางไปพระธาตุ ขามแก่นเป็นระยะๆ
คำนมัสการพระธาตุขามแก่น :
อุกาสะ วันทามิ ภันเต มะหาสาระนะคเร เจติยะภูมิยัง อาราเม
นะวะหิ อะระหันเตหิ อานีตัง สุปะติฎฐาปิตัง สัมมาสัมพุทธะ
สารีริกะธาตุง สิระสา นะมามิ ตัสสะ สารีริกธาตุในปูชา เม ทีฆะรัตตัง
หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ
อานิสงส์ที่ได้รับ : เรื่องร้ายกลายเป็นดี
ดุจดังแก่นขามตายแล้วฟื้น รักยั่งยืน เรื่องร้ายกลายเป็นดี
โรคภัยที่มี หลีกลี้ห่างหาย |
พระธาตุขามแก่น
: วัดเจติยภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
มาต่อกันด้วย วัดป่ามัญจาคีรี
อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น |
วัดป่ามัญจาคีรี |
วัดป่ามัญจาคีรี ขอนแก่น |
ช้างกระ มัญจาคีรี |
อุทยานช้างกระ มัญจาคีรี |
คลิป
วัดป่ามัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น |
|
|
กล้วยไม้ช้างกระ
วัดป่ามัญจาคีรี อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น |
|
|
ก่อนกลับก็มาช้อปปิ้งผ้าไหมที่ถนนสายไหม อำเภอชนบท
จังหวัดขอนแก่น แล้วก็มาเจอร้านกาแฟโบราณลุงโกกับวิถีชีวิตแบบพอเพียง
ก็เก็บรูปมาฝากกันครับ... |
กาแฟโบราณลุงโก
เศรษฐกิจพอเพียง อำภอชนบท จังหวัดขอนแก่น |
|
|
ลุงโก
กาแฟโบราณ เศรษฐกิจพอเพียง อำภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
(1) |
|
|
ลุงโก
กาแฟโบราณ เศรษฐกิจพอเพียง อำภอชนบท จังหวัดขอนแก่น
(2) |
|
|
ลุงโก กาแฟโบราณ |
ลุงโก กาแฟโบราณ |
ลุงโก กาแฟโบราณ |
ลุงโก กาแฟโบราณ |