|
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศศรีลังกา |
ประวัติศาสตร์ศรีลังกา ประวัติศาสตร์ประเทศศรีลังกา |
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์อภัยคีรี
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
ศิลปะพระในสมัยโบราณ
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
|
|
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ |
รูปสลักหินคู่รัก The Lover |
ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ |
เจดีย์อภัยคีรี เมืองอนุราธปุระ |
เจดีย์รุวันเวลิ ศรีลังกา |
ศิลปะพระศรีลังกา อนุราธปุระ |
อ่างเก็บน้ำติสสะ ศรีลังกา |
พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ |
|
|
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ
เมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกา |
|
|
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ
เมืองหลวงแห่งที่สองของศรีลังกา |
|
|
พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช |
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ |
ซากเมืองเก่า เมืองโปโลนนารุวะ |
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ |
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ |
วิหารวฏะทาเค |
เมืองเก่าโปโลนนารุวะ |
กัลวิหาร อุตตราราม |
จากหลักฐานการค้นพบของนักโบราณคดีค้นพบเกี่ยวกับชุมชนบนเกาะลังกาสมัยก่อนประวัติศาตร์ว่า
มนุษย์เผ่าหนึ่งลักษณะสันคิ้วหนา สันนิษฐานว่าเป็นชนเผ่าแรกบนเกาะลังกา
และพบว่า เผ่าชนจากดินเดียข้ามมาสู่ลังกาโดยหมู่เกาะที่เรียกว่าอาดัมบริดจ์
หรือสะพานอาดัม พวกนี้เองสืบเชื้อสายผสมพันธุ์กับเผ่าชุนยุคหินชาวพื้นเมืองเดิม
ก่อนที่จะกลายมาเป็นพวกเวททะ
ประวัติศาสตร์อารยธรรมของศรีลังกา เริ่มต้นประมาณห้าพันปีมาแล้ว
ชาวพื้นเมืองยุคแรกมีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ มีสิงหล ทมิฬ
มัวร์ มาเลย์รุ่นแรก นอกเหนือจากพวกเวททะแล้ว
คัมภีร์มหาวงศ์กับประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ประวัติศาสตร์ศรีลังกาสมัยโบราณนั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องบอกเล่าเชิงตำนาน
ในคัมภีร์ชื่อ มหาวงศ์ คัมภีร์นี้มีลักษณะเป็ฯหนังสือพงศาวดาร
ผู้เขียนเป็ฯพระในพุทธศาสนา เขียนขึ้นเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่
6 ในคัมภีร์มหาวงศ์ ได้เล่าถึงประวัติราชวงศ์ นับแต่พระเจ้าวิชัย
(พ.ศ.1) ถึง พระเจ้ามหาเสน (พ.ศ.830) รวมกษัตริย์ทั้งสิ้น
60 พระองค์ ในระยะเวลา 833 ปีเศษ
ปฐมกษัตริย ์อาณาจักรอนุราธปุระ
ประมาณ 200 ปี นับแต่ พ.ศ. 1 ประวัติศาสตร์ศรีลังกามีข้อมูลไม่ชัดเจนนัก
เพราะการบันทึกเป็นเชิงตำนานอิงความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่
กษัตริย์องค์แรกคือพระเจ้าวิชัย เป็นชาวแคว้นคุชรัต ในประเทศอินเดีย
ครองราชย์ที่เมืองตัมพปัณณิ พระเจ้าวิชัยเดินทางจากอินเดียพร้อมด้วยบริวารจำนวน
700 คน ขึ้นฝั่งบนเกาะลังกาที่ตำบลตัมพปัณณิ ซึ่งอยู่บนฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก
หรือทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ใกล้ๆ กับเมืองปุตตลัม
ปัจจุบัน ปีนั้น ตรงกับปีปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพอดี
ที่ตำบลนั้นเอง พระองค์ได้หญิงชาวพื้นเมืองเป็นมเหสี และได้ครองดินแดนแห่งนั้นไว้ในอำนาจในเวลาต่อมา
ในอาณาจักรข้างเคียงเมืองตัมพปัณณินั้น มีเมืองข้างอีก
2 เมือง คือเมืองสิริสวัตถุ และเมืองลังกาปุร ซึ่งแต่ละเมืองก็มีเจ้าครองนครเมืองเป็นอิสระ
มเหสีซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองเห็นว่าถ้าปล่อยให้เป็นอิสระต่อไป
สักวันหนึ่งเมืองตัมพปัณณิก็จะถูกรุกราน จึงแนะนำให้พระเจ้าวิชัยเข้าโจมตีก่อน
จากจุดนั้นเองพระองค์ก็แผ่อำนาจโดยการกระจายอำนาจไปปกครองเมืองต่างๆ
ทรงมอบหมายให้อำมาตย์ชื่อ อุปติสสะ เข้าไปปกครองเมืองอนุราธปุระ
เมืออุรุเวลา ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอนุราธปุระ
เมืองอุชเชนี และเมืองพิชิต
ต่อมาพระเจ้าวิชัยทรงเห็นว่าพระมเหสีซึ่งเป็นชาวป่าไม่คู่ควรกับพระองค์
ทรงแต่งตั้งราชฑูตเดินทางไปยังแผ่นดินอินเดีย เพื่อสู่ขอราชธิดาชาวอารยัน
ของกษัตริย์บาณฑุ แห่งเมืองมธุระ ส่วนมเหสีชาวพื้นเมืองพร้อมด้วยโอรสและธิดาหนีไปอยู่ที่อื่นและหายสาบสูญไป
ความเป็นปฐมกษัตริย์แห่งศรีลังกาของพระเจ้าวิชัยนั้น เริ่มต้นเมื่อทรงอภิเษกสมรมกับเจ้าหญิงปาณฑุนั่นเอง
ตลอดรัชสมัย 38 ปีของพระองค์นั้น อาณาจักรตัมพปัณณิไม่มีข้าศึกศัตรูรบกวนเลย
บ้านเมืองอยู่ด้วยความสงบสุข ถึงกระนั้นก็ตาม พระองค์กับมเหสีปาณฑุไม่มีโอรสและธิดาแม้แต่องค์เดียว
ทรงนึกแต่ว่า มีแต่พระอนุชาที่สิงหปุระในอินเดียองค์เดียวที่จะมาสืบราชสมบัติแทนได้
ในปีสุดท้ายแห่งการมีพระชนม์นั้นเอง ทรงได้จัดส่งราชฑูตไปอัญเชิญอนุชาพระนามว่า
สุมิตตะ ระหว่างนั้นเอง พระองค์ก็สวรรคตเสียก่อน ภารกิจปกครองบ้านเมืองจึงตกแก่อำมาตย์อุปติสสะ
เป็นการชั่วคราว ระหว่างรอคอยรัชทายาทจากสิงหปุระนั้น
ผู้สำเร็จราชการอุปติสสะ ได้ย้ายสำนักราชการทั้งหมด ไปอยู่ที่เมืองอุปติสสคาม
กษัตริย์องค์ที่ 2 ถึงองค์ที่ 5
ในระหว่างนั้น เจ้าชายสุมิตตะ ได้ครองราชย์แทนพระราชบิดาผู้ล่วงลับพอดี
จึงทรงตรัสถามความสมัครใจของโอรส 3 องค์ในการไปครองเมืองลังกา
ปรากฎว่าโอรสองค์เล็ก คือเจ้าชายปัณฑุวาสุเทพ รับอาสาที่จะไปปกครองเมืองลังเอง
โดยเดินทางสู่ลังกาพร้อมด้วยบริวารจำนวน 32 คน ทั้งหมดถือเพศเป็นนักบวช
ออกเดินทางโดยเรือ ไปขึ้นฝั่งที่ปากแม่น้ำชื่อ มหากันทระ
ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะลังกา และคณะฑูตได้เลือกเจ้าหญิงสุภัททกัจจานา
หรือ สกยินเทวี ซึ่งเป็นราชธิดาองค์เล็กเชื้อสายศากยวงศ์ในอินเดียมาเป็นคู่ครององค์รัชทายาท
ในรัชกาลของพระเจ้าปัณฑุวาสุเทพ ตรงกับ พ.ศ. 39-69 ทรงมีพระโอรส
และพระธิดารวมกัน 10 องค์ องค์ใหญ่ทรงพระนามว่า อภัย ซึ่งเป็นผู้สืบราชสมบัติต่อมา
ในรัชสมัยของพระเจ้าอภัย (พ.ศ.69-89) เกิดความไม่สงบขึ้นในราชสำนัก
กล่าวคือ มีการปองร้ายหลานตัวเอง ซึ่งเกิดจากพระนางอุมมาทจิตตา
ธิดาคนสุดท้องของพระเจ้าปัณฑุวาสุเทพนั่นเอง เหตุการณ์นั้นเป็นเหตุให้พระเจ้าอภัย
จำต้องสละราชบัลลังก์ เพราะถูกบีบจากอนุชาร่วมสายโลหิตในเวลาต่อมา
หลังจากที่พระองค์ครองราชย์ได้ 20 ปี
โอรสของพระนางอุมมาทจิตตาที่ถูกปองร้ายนัน คือ ปัณฑุกาภัย
ทรงแคล้วคลาดจากการปองร้าย ได้ครองเมืองอุปติสสคามสืบต่อมา
ในปีพ.ศ.105 ทรงตั้งเมืองหลวงที่อนุราธคาม ซึ่งได้กลายมาเป็นอนุราธปุระตั้งแต่นั้นมา
การปกครองในรัชกาลนี้ จัดเป็นยุครุ่งเรืองอีกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
เป็นการปกครองด้วยระบบเทศบาล การก่อสร้างเจริญก้าวหน้า
สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำได้ในสมัยนี้
พระเจ้าปัณฑุกาภัย เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 สวรรคตในปี
พ.ศ.106 ขณะที่พระชนม์มายุได้ 67 พรรษา กษัตริย์องค์ที่
5 คือพระเจ้ามุฎสิวะ เป็นโอรสของพระเจ้าปัณฑุกาภัย ทรงสร้างสวนมหาเมฆวัน
อันสวยงามไว้ทางทิศใต้ของเมืองอนุราธปุระ สวนนี้เองเป็นที่ตั้งของมหาวิหาร
สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้ามุฎสิวะ
ผู้บิดาระหว่าง พ.ศ.226-302 เป็นพระสหายซึ่งไม่เคยเห็นหน้ากันของพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย
ปรากฎการณ์อันโดดเด่นพิเศษในรัชกาลนี้คือ
1.ฟื้นฟูความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างลังกากับอินเดีย
2.พระพุทธศาสนาประดิษฐานในลังกาอย่างเป็นทางการ และกลายมาเป็นศาสนาประจำชาติสืบมา
3.มีการสร้างวัดและศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น
มหาวิหาร เป็นต้น
4.เริ่มประเพณีกษัตริย์ต้องเป็นพุทธมามกะ
สมัยพระเจ้าพุฎฐคามินี
ในช่วงรัชกาลนี้เอง ชนชาติทมิฬเริ่มเข้ามารุกรานอนุราธปุระ
โดยกษัตริย์ทมิฬเอฬาระ จากประเทศโจฬะ ได้ยกทัพมารุกรานแย่งราชสมบัติ
และตั้งวงค์ใหม่ครองราชอนุราธปุราอยู่ราว 45 ปี
ต่อมา พระเจ้าทุฎฐคามินี กษัตริย์แห่งแคว้นโรหณะทางตอนใต้ของเกาะลังกา
ได้ยกทัพไปกอบกู้เอกราช พระเจ้าทุฎฐคามินีจึงได้ทรงครองเมืองอนุราธปุระ
(พ.ศ.382-406) ในรัชกาลนี้ พระพุทธศาสนาได้รับการอุมถัมภ์เป็นอย่างดี
พุทธสถานที่เป็นหลักฐานปรากฎอยู่คือ เจดีย์มิริจวัฎฎี
โลหปราสาท 9 ชั้น มหาสถูปรุวันเวลิสิยะ หรือสุวรรณมาลิกาเจดีย์
เป็นต้น
สมัยพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย
ในรัชกาลของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เกิดเหตุการณ์กษัตริย์ทมิฬนำกองทัพทมิฬเคลื่อนพลประชิดอนุราธปุระ
และได้ยึดครองอนุราธปุระตั้งแต่ปี พ.ศ.440 454 ในเวลาเดียวกันนี้
ลังกาตกอยู่ในภาวะทุพภิกขภัยอย่างหนัก ประชาชนได้รับความยากลำบากแสนสาหัส
วิหารเจดีย์ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง พระสงฆ์เป็นจำนวนมากต้องอพยพหนีไปอยู่ที่อินเดีย
กษัตริย์ทมิฬครองเมืองได้ 6 องค์ติดต่อกัน พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย
จึงกลับมากู้เมืองได้สำเร็จ ทรงครองอนุราธปุระไปจนถึงปี
พ.ศ. 466 ผลงานเด่นในรัชกาลนี้ คือสร้าง อภัยคีรีวิหาร
และจารพระไตรปิฏกลงในใบลานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อวสานราชวงศ์วิชัย
สิ้นสมัยของพระเจ้าวัฏฏคามินีอภัยแล้ว ความเสื่อมของราชวงศ์วิชัยก็ปรากฎชัด
พระนางอนุฬา มเหสีของพระเจ้าโจรนาควางยาพิษพระสวามีของตัวเอง
เป็นเหตุการณ์อัปยศในประวัติศาสตร์ศรีลังกาสมัยโบราณ พระนางถูกกำจัดในรัชสมัยของพระเจ้ากุฎกัณณติสสะ
ระหว่าง พ.ศ.502-524
กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์วิชัยคือ พระเจ้ายศลาลกะ
ติสสะ ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าอิฬนาค ทรงปกครองอนุราธปุระต่อจากพระเชษฐา
อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 595-602 ขึ้นครองราชย์โดยการปลงประชนม์พระเชษฐาของตนเอง
หลังจากนั้น ราชวงศ์ลัมมกัณณะก็เข้าครองเมืองอนุราธปุระสืบต่อมา
ราชวงศ์ลัมพกัณณะ
รัชกาลนี้ยังไม่นับว่าเป็นการเริ่มต้นของราชวงศ์ลัมพกัณณะ
ต่อเมื่อบุตรของชาวลัมพกัณณะคนหนึ่งชื่อ วสภะ ลอบสังหารนายสภะ
(ผู้ซึ่งปลงพระชนม์พระเจ้าลังติสสะ) แล้วขึ้นครองราชย์แทน
จึงกำเนิดราชวงศ์ลัมพกัณณะ เริ่มต้นในปี พ.ศ. 608 และราชวงศ์นี้ก็ดำรงสืบต่อกันมาเป็นเวลา
350 ปี
ในราชวงศ์นี้ มีการส่งเสริมการชลประทาน ก่อกำแพงเมืองอนุราธปุระให้สูงขึ้นอีก
และสร้างพระราชวังใหม่ ในปี พ.ศ.655-677 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าคชพาหุที่
1 มีการยกทัพแผ่อำนาจไปถึงภาคใต้ของอินเดีย
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศรีลังกาในคัมภีร์มหาวงศ์ จบลงในรัชกาลพระเจ้ามหาเสน
ระหว่าง พ.ศ.819-846 ในรัชกาลนี้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดยักษ์ชื่อ
มินเนริยะ นับเป็นงานใหญ่ชิ้นหนึ่งของพระเจ้ามหาเสน
ต่อมา อนุชาของพระเจ้ามหาเสน ชื่อพระเจ้าสิริเมฆวัน
(พ.ศ.846-874) สืบราชสมบัติ ในรัชกาลนี้ ลังกาได้รับพระธาตุเขี้ยวแก้ว
จากแคว้นกาสิงคะ ประเทศอินเดีย ในปีพ.ศ. 854 ความสัมพันธ์ระหว่างลังกากับอินเดียมีความแน่นแฟ้นขึ้นยิ่งขึ้น
โดยพระเจ้าศิริเมฆวัน กับพระเจ้าสมุทรคุปต์แห่งอินเดีย
ได้สร้างวัดลังกาที่พุทธคยาในรัชกาลนี้
ก่อนจะสิ้นสุดสมัยราชวงศ์ลัมพกัณณะ เกิดเหตุการณ์สำคัญในทางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
คือในปีพ.ศ. 953-975 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้ามหานาม พระพุทธโฆสาจารย์
ได้เดินทางถึงลังกา รับภาระแปลพระไตรปิฏก และคัมภีร์อรรถกถา
จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี เป็นคุณูปการแก่วงการพระพุทธศาสนามาตราบเท่าทุกวันนี้
ราชวงศ์โมริยะ
ปีพ.ศ. 976 ชนชาติทมิฬชื่อ ปัณฑุ แย่งราชสมบัติครองเมือง
ผู้นำชาติทมิฬคนนี้ ได้เอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี
การสืบต่อำนาจได้ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 1002 ชาวทมิฬจึงถูกปราบปรามได้สำเร็จ
พระเจ้าธาตุเสน เป็นปฐมกษัตริย์แหงราชวงศ์ใหม่ชื่อ โมริยะ
ทรบรบชนะพระเจ้าปิฐิยะ ชนชาติทมิฬ ได้ครองราชย์ระหว่าง
พ.ศ.1002-1020 ในรัชกาลนี้ มีการสร้างพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่
สำนักสงฆ์มหาวิหาร และบูรณะอภัยคีรีวิหาร พระเจ้าธาตุเสน
ถูกโอรสของพระองค์เองปลงพระชนม์ หลังจากนั้น พระเจ้าโมคัลลานะที่
1 จึงมาชิงราชสมบัติจากโอรสองค์นั้น กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โมริยะคือ
พระเจ้ากิตติเสน ครองราชย์ระหว่าง ปี พ.ศ.1063-1064 มีอายุราชวงศ์เพียง
62 ปี
ราชวงศ์ปาณฑยะ
ในยุคนี้ การเมืองการปกครองของศรีลังกามีการแย่งอำนาจและเกิดศึกสงคราม
นับแต่ปีพ.ศ. 1176 เริ่มมีการใช้ทหารรับจ้างนอกประเทศเข้ามาเสริมกำลังด้วย
พวกที่เป็นทหารรับจ้างคือชนชาติทมิฬจากอินเดียตอนใต้ สงครามกลางเมืองหรือเหตุการณ์จลาจลโดยทหารรับจ้าง
มีบทบาทอยู่มาก เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.1186-1193 ศาสนสถานต่างๆ
ถูกทำลายเป็นอันมาก มีการทัดทานกองกำลังของทหารรับจ้างในบางรัชกาล
แต่ก็ไม่อาจปราบปรามให้สงบราบคาบได้
ทหารรับจ้างชาวทมิฬ มีบทบาทเจริญก้าวหน้าถึงขีดสูงสุดในระหว่าง
พ.ศ. 1210-1226 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4
ในรัชกาลนี้ ชื่อเมือง โปลอนนารุวะ เริ่มปรากฎในประวัติศาสตร์
เพราะกษัตริย์เสด็จไปประทับอย่างเป็นทางการ
พระเจ้ามานวัมมะ เชื้อสายราชวงศ์โมริยะ ได้นำกองทัพราชวงศ์ปัลลวะจากอินเดียเข้ามาสู้รอบ
ได้ชัยชนะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1227-1261 ในรัชกาลนี้
อำนาจของพวกทมิฬสิ้นสุดลงโดยเด็ดขาด พร้อมกันนั้น สถาปัตยกรรมและศิลปะแบบปัลลวะก็แพร่หลายในเกาะลังกา
ในปี พ.ศ. 1376-1396 เป็นรัชกาลของพระเจ้าเสนะที่ 1
ได้มีกองทัพจากปาณฑยะและราชวงศ์โจฬะ จากอินเดียตอนใต้
เคลื่อนกำลังรุกรานลังกา สามารถยึดภาคเหนือไว้ได้ทั้งหมด
เมืองอนุราธปุระถูกปล้นสะดมยับเยิน พระเจ้าเสนะต้องอพยพไปประทับที่เมืองโปลอนนารุวะจนสิ้นรัชกาล
รวมระยะเวลาที่สองราชวงศ์นี้มีอำนาจแทรกซึมอยู่ในลังกาประมาณ
500 ปี
ในปีพ.ศ. 1476 เมืองอนุราธปุระถูกทำลายพินาศถึงกาลอวสาน
ชาวสิงหลต้องถอยร่นไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองโปลอนนารุวะ
ในปี พ.ศ. 1566 เมื่อเมืองโปลอนนารุวะ ถูกกองทัพโจฬะเข้าทำลายย่อยยับ
เมืองโรหณะ กลับมีความแข็งแกร่งไม่ยอมพ่ายแพ้แก่ข้าศึก
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเมืองก็ตกอยู่ในอิทธิพลของราชวงศ์แห่งอินเดียจนสิ้นสุดสมัยอนุราธปุระราวปีพ.ศ.1598
อาณาจักรโปโลนนารุวะ
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 1598-1779 นับเป็นสมัยโปโลนนารุวะ กษัตริย์ที่ทำให้ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดคือ
พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1598-1653
เดิมทีพระเจ้าวิชัยพาหุทรงปกครองอาณาจักรโรหณะ เมื่อทรงเห็นว่าลังกาถูกรุกราน
ทรงรวบรวมกำลังชาวลังกาทั้งหมด ขับไล่กองทัพโจฬะจนต้องพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาว
ชาวสิงหลสามารถยึดคืนทั้งเมืองโปลอนนารุวะ และเมืองอนุราธปุระได้สำเร็จ
แล้วจึงทรงสถาปนาเมืองโปลอนนารุวะเป็นราชธานี
ในรัชกาลนี้ นอกจากมีการสร้างราชวังใหม่ที่เมืองโปโลนนารุวะแล้ว
ก็ยังมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
มีการสร้างกำแพงและคูรอบเมือง สร้างวัดพระเขี้ยวแก้ว และการส่งราชฑูตไปบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์
ที่พุทธคยา มาประดิษฐานไว้ที่เมืองโปลอนนารุวะ
ระหว่าง พ.ศ. 1654-1675 รัชสมัยของพระเจ้าคชพาหุที่
2 ลังกาแบ่งแยกเป็น 4 แคว้น พระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 นั้น
ทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงเวลานี้ ทรงดำเนินการปกครองแบบทรราชย์
ประชาชนได้รับการกดขี่อย่างหนัก การพระศาสนาก็ถูกเบียดเบียน
พระสงห์ต้องนำพระเขี้ยวแก้วไปซ่อนไว้ที่แคว้นโรหณะ ก่อนที่ลังกาจะเกิดจราจลในระหว่างปี
พ.ศ.1675-1696
สมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช
พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์หนุ่มผู้หาญกล้า
ครองราชย์ระหว่างปะ 1696-1729 เป็นพระนัดดาของพระเจ้าวิชัยพาหุที่
1 เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ศรีลังกา จนได้รับเทิดพระเกียรติว่าเป็นมหาราชองค์หนึ่ง
อาณาจักรที่พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงยึดครอบได้แห่งแรกคือ
โปลอนนารุวะ หลังจากนั้นทรงได้ชัยชนะเหนือเกาะลังกาทั้งหมดในปีพ.ศ.
1698 รวมถึงอาณาจักรโรหณะที่กำลังรุ่งเรืองและยิ่งใหญ่ในยุคนั้นก็ต้องตกอยู่ในอำนาจของพระองค์โดยสิ้นเชิง
ในด้านพระศาสนา พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 ทรงปรองดองสำนักสงฆ์ทั้ง
3 แห่ง คือ สำนักมหาวิหาร สำนักอภัยคีรีวิหาร และสำนักเชตวันวิหาร
ที่เคยเกิดความแตกแยกบาดหมางต่อกันมาเป็นเวลา 11 ปี ได้เป็นผลสำเร็จ
เป็นการปรองดองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
ผลงานและความสำเร็จในรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชที่สำคัญ
1.ทางศาสนา : ทรงสร้างวิหารประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวแก้ว
ที่เมืองโปลอนนารุวะ เป็นวิหารทรงกลม สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ที่สุดในลังกา
สร้างวิหารลังกาดิลก อันสะท้อนศิลปะแบบฮินดู พระพุทธรูปที่วิหารคัล
ซึ่งแกะสลักจากหินทั้งแท่ง นับว่าเป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้รับการฟื้นฟูมากที่สุดในพุทธศตวรรษที่
16
2.ทางอารยธรรม : ทรงสร้างพระราชวังโดยใช้ทองคำฉาบพื้นพระราชวัง
ภายในมีห้องถึง 1,000 ห้อง สูง 7 ชั้น ทรงสร้างป้อมพระนคร
ให้มีห้องเต้นรำ มีโรงละคร โรงพยาบาล ห้องสมุด โรงเรียนและสวนสาธารณะครบครัน
3.มีการสร้างเขื่อน 164 แห่ง ขุดคลอง 3,910 คลอง สร้างอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดกินเนื้อที่ถึง
5,940 เอเคอร์
พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช สวรรคตในปีพ.ศ.1729 นับแต่นั้นมา
ศรีลังกาก็ไม่เคยมีกษัตริย์ผู้มีพระปรีชาสามารถเช่นนั้นอีกเลย
ราชวงศ์ทัมพเทณิยะ
ถัดจากรัชทายาทของพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ก็เกิดราชวงศ์ลิงก์
กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์นี้คือ พระเจ้านิสสังกมัลละ
ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1730-1739 มีการยกทัพไปรุกรานอินเดียภาคใต้แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
เหตุการณ์เด่นในรัชกาลนี้คือ ลังกามีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น
เช่นติดต่อกับแคว้นอันธาระ โอริสสา เบงกอล คุชรัต แห่งอินเดีย
และติดต่อไปถึงประเทศพม่าและกัมพูชาอีกด้วย
หลังจากรัชกาลของพระเจ้านิสสังกมัลละไม่นาน พวกทมิฬก็เริ่มรุกราน
ระหว่างปีพ.ศ. 1745-1751 เมืองโปลอนนารุวะก็ถูกทหารทมิฬทำลายอีกครั้ง
ทำให้ลังกาขาดการพัฒนาบ้านเมือง จนเป็นจุดจบของอาณาจักรโปลอนนารุวะ
ราชวงศ์ใหม่ที่เกิดต่อมาคือ ราชวงศ์ทัมพเทณิยะ กษัตริย์องค์แรกคือ
พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 1775-1779
ครองเฉพาะแคว้นมายารัฐ ทางทิศตะวันตกของเกาะ ราชธานีตั้งอยู่ที่เมืองทัมพเทณิยะ
พระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานที่เมืองนี้ในรัชกาลนี้
ในรัชสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 3 ทรงครองราชย์ระหว่างปี
พ.ศ.1830-1836 ตรงกับสมัยของพ่อขุนรามคำแหงของไทย ราชวงศ์ปาณฑยะ
มีบทบาทด้านความช่วยเหลือการทหารสูง ปีพ.ศ. 1835 มาร์โค
โปโล ก็เดินทางผ่านลังกา ราชวงศ์ทัมพเทณิยะได้สืบราชสมบัติต่อๆ
กันถึงปี พ.ศ. 1869 สิ้นสุดลงในรัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่
4
เกิดกรณีพิพาทกับจีน
นับตั้งแต่สิ้นสุดสมัยโปลอนนารุวะเป็นราชธานีอันรุ่งเรืองแล้ว
ศรีลังกาก็ย้ายเมืองหลวงครั้งแล้วครั้งเล่า พวกทมิฬเป็นฝ่ายรุกรานเข้ามาอยู่แทนที่
ชาวสิงหลเป็นฝ่ายถอยร่นไปทางทิศใต้ของเกาะ เพื่อจะได้หลุดพ้นจากการถูกเบียดเบียน
ปี พ.ศ.1948 ศรีลังกาเกิดกรณีพิพาทกับจีนครั้งสำคัญ
คู่กรณีคือ กษัตริย์ชาวสิงหล ทรงพระนามว่า พระเจ้าวิชัยพาหุที่
4 กับฑูตจีนชื่อเชงโห เวลานั้น พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4
ทรงครองราชย์อยู่ที่อาณาจักรแคนดี ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคัมโปละ
กรณีที่เกิดคือ กษัตริย์แคนดีถูกกล่าวหาว่าทรงลักพาตัวเชงโหเพื่อเรียกค่าไถ่
เมื่อเชงโหกลับถึงเมืองจีนก็ย้อนกลับมายังศรีลังกาอีกใน
5 ปีต่อมา พร้อมด้วยกองทัพขนาดใหญ่ เชงโหล้อมเมืองหลวงได้แล้วก็จับกุมกษัตริย์แห่งแคนดี
นำตัวไปเป็นเชลยที่กรุงปักกิ่ง หลังจากนั้น จักรพรรดิจีนก็สถาปนากษัตริย์ศรีลังกาที่เป็นชาวสิงหลคนใหม่
ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีปรากรมพาหะที่ 6 กษัตริย์องค์ใหม่นี้
ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิจีนเป็นประจำ
ในปี พ.ศ. 1993 กองทัพของพระเจ้าศรีปรากรมพาหุที่ 6
สามารถปราบอาณาจักรแจฟนาได้สำเร็จ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เกาะลังการวมกันเป็นประเทศเดียว
วรรณคดีศรีลังกา ได้รับการส่งเสริมให้รุ่งเรืองเป็นพิเศษในรัชกาลนี้
ควบคู่ไปกับศาสนาพุทธและฮินดู
อวสานราชวงศ์ลังกา
ปลายสมัยราชวงศ์ลังกานั้น ภาคเหนือของเกาะลังกาถูกยึดครองโดยพวกทมิฬโดยสิ้นเชิง
ในรัชกาลของพระเจ้าภูวไนกพาหุที่ 6 ลังกาแบ่งแยกกันเป็น
6 อาณาจักรอีกคือ อาณาจักรแจฟนา อาณาจักรโกฎเฏ และอาณาจักรแคนดี
และหลังจากนั้นก็แบ่งแยกเป็น 4 อาณาจักร ซึ่งแสดงถึงอาการระส่ำระสายของบ้านเมืองอย่างเห็นได้ชัด
ในรัชสมัยของพระเจ้ากิตติสิริราชสิงห์ ตรงกับ พ.ศ.2290-2324
มีการส่งฑูตมาขอพระสงฆ์สยามนิกายในรัชกาลของพระเจ้าบรมโกศ
แห่งกรุงศรีอยุธยา
กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลังกา คือพระเจ้าศิริวิกรมราชสิงห์
เป็นโอรสของพระเจ้ากิตติสิริราชสิงห์ ครองราชย์ระหว่างปี
พ.ศ. 2341-2358 ในปีสุดท้ายแห่งรัชกาล พระองค์ถูกอังกฤษจับตัวไป
ตั้งแต่นั้นมา ศรีลังกาก็ไม่มีกษัตริย์ปกครองประเทศอีกเลย
|
ภูเขาสิกิริยา
สถานที่ตั้งพระราชวังลอยฟ้า |
|
|
ประตูสิงห์
ประตูทางขึ้นสู่พระราชวังลอยฟ้า เขาสิกิริยา |
|
|
เขาสิกิริยา เมืองสิกิริยา |
เขาสิกิริยา เมืองสิกิริยา |
ภาพเขียนสีเฟรสโก สิกิริยา |
ภาพเขียนสีเฟรสโก สิกิริยา |
ทางขึ้นยอดเขาสิกิริยา |
ทางขึ้นยอดเขาสิกิริยา |
LION ROCK แท่นศิลาราชสีห์ |
วิวทิวทัศน์บนยอดเขาสิกิริยา |
ลำดับราชวงศ์และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
1.ศรีลังกาสมัยอนุราธปุระ
(พ.ศ.1-พ.ศ.1598)
พ.ศ.1 : ปฐมกษัตริย์ศรีลังกา คือ พระเจ้าวิชัย จากแคว้นคุชรัต
ประเทศอินเดีย ครองราชย์ที่เมืองตัมพปัณณิ กษัตริย์ในราชวงศ์นี้องค์ต่อๆ
มาคื ปัณฑาวาสุเทพ อภย ปัณฑุกาภัย มุฎสิวะ
พ.ศ.293-พ.ศ.333 : พระเจ้าเทวานามปิยา ติสสะ เป็นกษัตริย์ที่ฝักใฝ่ในการทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นพิเศษ
พระพุทธศาสนาที่ทรงเลื่อมใสคือ พระพุทธศาสนาที่พระมหินท์
(โอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช นำมาเผยแพร่) ผลงานเด่นในรัชกาลนี้คือ
สร้างสำนักสงฆ์มหาวิหาร เจติยคีรีวิหาร เจดีย์ถูปารามที่บรรจุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้า
และอ่างเก็บน้ำติสาเทวะ เป็นต้น พระเถรีสังฆมิตตา ราชธิดาของพระเจ้าอโศกนำกิ่งมหาโพธิ์มาปลูกในรัชกาลนี้
: พระมหินท์ และพระเถรีสังฆมิตตาสิ้นพระชนม์ในรัชกาลของพระเจ้าอุตติยะ
กษัตริย์ถัดไปของราชวงศ์นี้คือ มหาสิวะและสูรติสสะ
: พระเจ้าเสนะและพระเจ้าคุตตกะ ชนชาติทมิฬตั้งวงศ์ใหม่ แต่ไม่นานก็ถูกยึดอำนาจคืน
โดยพระเจ้าอเสสะผู้อนุชาของพระเจ้าสูรติสสะ แล้วพระเจ้าสูรติสสะก็ถูกพระเจ้าเอฬาระ
กษัตริย์แห่งทมิฬจากประเทศโจฬะยึดอำนาจตั้งวงศ์ใหม่ได้อีก
พ.ศ. 382-พ.ศ.402 : พระเจ้าทุฏฐคามินี (องค์เดิม) มาจากแคว้นโรหณะทางใต้ของเกาะลังกา
ทรงชนช้างชนะพระเจ้าเอฬาระ สืบราชวงศ์ต่อไปได้ เจดีย์มริจวัฎฎิ
โลหปราสาท และมหาสถูป (เจดีย์รุวันเวลิ) ณ เมืองอนุราธปุระ
สร้างในรัชกาลนี้
พ.ศ.406-พ.ศ.424 : พระเจ้าสัทธาติสสะสร้างมหาสถูปต่อจนสำเร็จ
กษัตริย์ในราชวงศ์องค์ถัดไปคือ ถูลัตถนะ สัญชติสสะ ขัลลาตนาค
พ.ศ.440 : พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย หนีพวกทมิฬออกจากเมืองอนุราธปุระ
พ.ศ.440-พ.ศ.454 : พระเจ้าปุลหัตถะ ชนชาติทมิฬขึ้นครองราชย์ที่อนุราธปุระ
ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อกันคือ พาหิยะ ปันยมาร ปลัยมาร และทาฐิกะ
พ.ศ.454-พ.ศ.466 : พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย (องค์เดิม) รบชนะพระเจ้าทาฐิกะ
สร้างสำนักสงฆ์อภัยคีรีวิหาร และมีการจารพระไตรปิฏกเป็นตัวอักษร
พ.ศ.467-พ.ศ.496 : กษัตริย์ที่ครองราชต่อเนื่องกันมี มหาจุฬี
มหาติสสะโจรนาค และติสสะ
พ.ศ.496-พ.ศ.501 : พระจางอนุฬาได้ขึ้นครองราชย์หลังจากทรงวางยาพิษพระเจ้าโจรนาค
และพระเจ้าติสสะ
พ.ศ.502-พ.ศ.524 : พระเจ้ากุฎกัณณะ ติสสะ (อนุชาของพระเจ้าติสสะ)
ยึดอำนาจคืนจากพระนางอนุฬาได้
พ.ศ.524-พ.ศ.552 : ในรัชกาลของพระเจ้าภาติกอภัย มีการส่งคณะฑูตไปยังอาณาจักรโรมัน
พ.ศ.552-พ.ศ.595 : กษัตริย์ในช่วง พ.ศ.นี้มี 7 องค์ คือ
มหาทาฐิกะ มหานาค, อมัณฑคามินีอภัย (มีการห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอย่างเด็ดขาด),
กณิรชานุติสสะ (ปลงพระชนม์พระเจ้าอมัณฑคามินีอภัย), จูฬาภัย
, พระนางสีวลี, พระเจ้าอิฬนาค (องค์นี้เคยหนีศัตรูไปยังประเทศอินเดีย
ก่อนจะกลับมาปราบปราบได้สำเร็จ) และพระเจ้าจันทมุขสิวะ
พ.ศ.595-พ.ศ.602 : พระเจ้าสลาลกะ ติสสะ ปลงพระชนม์พระเจ้าจันทมุขสิวะ
ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์พระเจ้าวิชัย
พ.ศ.602-พ.ศ.608 : พระเจ้าสภะ (นายประตู) ตั้งวงศ์ใหม่
พ.ศ.608-พ.ศ.652 : ตั้งราชวงศ์ลัมพกัณณะโดยพระเจ้าวสภะ สมัยนี้มีการส่งเสริมการชลประทาน
ก่อกำแพงเมืองอนุราธปุระให้สูงกว่าเดิม และสร้างพระราชวังใหม่
พ.ศ.652-พ.ศ.819 : กษัตริย์ราชวงศ์ลัมพกัณณะ ครองราชย์สืบต่อกันตามลำดับ
คือ วังกนาสิกติสสะ (พ.ศ.652-655) มีการแบ่งลังกาออกเป็น
3 อาณาจักร, คชพาหุที่ 1, มหัลลกนาค, ภาติกติสสะ, กนิฏฐติสสะ,
ขุชชนาค, กุญจนาค (ปลงพระชนม์พระเจ้าขุชชนาค, สิรินาคที่
1, โวหาริก ติสสะ (ปลงพระชนม์พระเจ้าโวหาริกติสสะ), สิรินาคที่
2, วิชัยกุมาณ โคฐาภัยหรือเมฆวัณณะ อภัย (พุทธศาสนาลัทธิมหายานแพร่หลายที่สำนักอภัยคีรีวิหาร,
เชฎฐติสสะที่ 1
พ.ศ.819-พ.ศ.846 : พระเจ้ามหาเสนะขึ้นครองราชย์ ทรงสร้างสำนักสงฆ์เชตวันวิหาร
สร้างอ่างเก็บน้ำมินเนริยะ ข้อความในคัมภีร์มหาวง์จบลงในรัชกาลนี้
พ.ศ.846-พ.ศ.874 : พระเจ้าสิริเมฆวัณณะครองราชย์ เริ่มมีพิธีเคารพบูชารูปพระมหินทเถระเป็นงานเทศกาลประจำปี
ได้รับพระเขี้ยวแก้ว จากแคว้นกลิงคราฐในประเทศอินเดีย (พ.ศ.854)
ทรงสร้างวัดลังกาขึ้นที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
พ.ศ.874-พ.ศ.883 : พระเจ้าเชฎฐติสสะที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่สามารถยิ่งในการสลักงา
พ.ศ.883-พ.ศ.953 : ในรัชกาลของพระเจ้าพุทธทาส (883-911)
คัมภีร์ภาษาบาลีได้รับการแปลเป็นภาษาสิงหล พระเจ้าอุปติสสะที่
1 ครองราชย์ต่อมา มีการสร้างวัดและอ่างเก็บน้ำอีกหลายแห่ง
พ.ศ.953-975 : รัชกาลของพระเจ้ามหานาม พระพุทธโฆสจากอินเดียได้มาแปลพระไตรปิฏกภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี
(พ.ศ.953) และในปี พ.ศ.972 มีการส่งราชฑูตไปยังประเทศจีน
พระเจ้ามหานาม เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลัมพกัณณะ
พ.ศ.975-พ.ศ.976 : พระเจ้ามิตตเสนตั้งวงศ์ใหม่ แต่รบแพ้พวกทมิฬ
พ.ศ.976-พ.ศ.1002 : พระเจ้าปัณฑุ ชนชาติทมิฬ ตั้งวงศ์ใหม่
อุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
พ.ศ.1002-พ.ศ.1020 : ตั้งราชวงศ์โมริยะโดยพระเจ้าธาตุเสน
หลังจากรบชนะพระเจ้าปิฐิยะ ในรัชกาลนี้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำและวัดเพิ่มขึ้นอีกอย่างละ
18 แห่ง ซ่อมแซมสำนักสงฆ์ มหาวิหาร และส่งคณะฑูตศาสนาไปยังประเทศจีน
พ.ศ.1020-พ.ศ.1038 : พระเจ้ากัสสปที่ 1 ปลงพระชนม์พระเจ้าธาตุเสนผู้บิดา
สร้างพระราชวังเป็นที่ประทับ ที่เขาสีหคีรี หรือสิคิริยะ
พ.ศ.1038-พ.ศ.1064 : พระเจ้าโมคคัลลานะที่ 1 รบและชิงอำนาจจากพระเจ้ากัสสปที่
1 ทรงได้รับเส้นพระเกศาของพระเจ้าจากพุทธคยา พระเจ้ากุมารธาตุเสน
สืบราชสมบัติต่อ และพระเจ้ากิตติเสนเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์โมริยะ
พ.ศ.1064-พ.ศ.1065 : พระเจ้าสิวะปลงพระชนม์พระเจ้ากิตติเสน
(1064) และพระเจ้าอุปติสสะที่ 2 ปลงพระชนม์พระเจ้าสิวะ ตั้งวงศ์ใหม่
พ.ศ.1065-พ.ศ.1078 : พระเจ้าสิลากาลตั้งราชวงศ์ลัมพกัณณะขึ้นมาอีก
หลังจากรบชนะ พระเจ้าอุปติสสะที่ 2 พระเจ้าทาฐาปภุติผู้เป็นโอรสครองราชย์ต่อ
พ.ศ.1078-พ.ศ.1116 : พระเจ้าโมคคัลลานะที่ 2 ยึดอำนาจากพระเจ้าทาฐาปภุติ
อ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในลังกา (คืออ่างปทวิยะ) สร้างในรัชกาลนี้
พระเจ้ากิตติสิรีเมฆครองราชย์ต่อมา
พ.ศ.1098-พ.ศ.1166 : พระเจ้ามหานาคจากราชวงศ์โมริยะ ตั้งวงศ์ใหม่
พระเจ้าอัคคโพธิที่ 2 สืบราชสมบัติต่อมา
: พระเจ้าสังฆติสสะที่ 2 ตั้งวงศ์ใหม่ ถูกพระเจ้าโมคคัลลานะที่
3 ยึดอำนาจให้ครองราชย์
พ.ศ.1166-พ.ศ.1175 : ตั้งวงศ์ใหม่โดยพระเจ้าสิลาเมฆวัณณะ
มีการกำจัดภิกษุทุศีลครั้งใหญ่ในอภัยคีรีวิหาร และเกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์กับพระสงฆ์สำนักมหาวิหาร
กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 แต่ก็ถูกพระเจ้าเชฎฐติสสะที่
3 ยึดอำนาจ
พ.ศ.1176-พ.ศ.1186 : พระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 รบชนะพระเจ้าเชฎฐติสสะที่
3 ในรัชกาลนี้เกิดสงครามกลางเมือง
พ.ศ.1186-พ.ศ.1202 : พระเจ้าทาโฐปติสสะที่ 1 ตั้งวงศ์ใหม่
เป็นยุคจราจลของลังกา เกิดสงครามกลางเมืองแย่งอำนาจกันระหว่างพระเจ้าทาโฐปติสสะที่
1 กับพระเจ้าอัคคโพธิที่ 3 ศาสนสถานต่างๆ ถูกทำลาย ต่อมาพระเจ้ากัสสปที่
2 ขับไล่พระเจ้าทาโฐปติสสะ ที่ 1 ออกไป กษัตริย์องค์ต่อมาคือ
พระเจ้าทัปปุละที่ 1 ต้องเสด็จหนีกลับไปยังแคว้นโรหณะที่เคยประทับ
พ.ศ.1202-พ.ศ.1227 : พระเจ้าทาโฐปติสสะที่ 2 ใช้ทหารรับจ้างชาวทมิฬรบได้ชัยชนะ
อภัยคีรีวิหารได้รับการสนับสนุน สำนักมหาวิหารถูกก่อกวน
ในรัชกาลพระเจ้าอัคคโพธิที่ 4 (1210-1226) เป็นยุคที่อำนาจของข้าราชการทมิฬเจริญถึงขีดสุด
กษัตริย์เสด็จประทับที่เมืองโปลอนนารุวะ
: ระหว่าง พ.ศ.1226-1227 เสนาบดีชื่อ โปตถกุฎฐะ เป็นชาวทมิฬ
หนุนพระเจ้าทัตตะและพระเจ้าหัตถทาฐะขึ้นครองราชย์ตามลำดับ
พ.ศ.1227-1376 : พระเจ้ามานวัมมะ นำกองทัพราชวงศ์ปัลลวะจากอินเดียเข้ามายึดอำนาจจากอิทธิพลของพวกทมิฬได้สำเร็จ
อำนาจทมิฬเสื่อมลง ศิลปะปัลลวะแพร่หลายในเกาะลังกา
พ.ศ.1376-พ.ศ.1396 : พระเจ้าเสนะที่ 1 ครองราชย์ ราชวงศ์ปาณฑยะจากภาคใต้ของอินเดียเข้ามารุกรานยึดเกาะลังกาบางส่วน
ต่อมาพระเจ้าเสนะที่ 2 (1396-1430) ส่งกองทัพไปยึดดินแดนของราชวงศ์ปาณฑยะ
จนถึงราชธานี
พ.ศ.1475-พ.ศ.1489 : พระเจ้ากัสสปที่ 5 ทรงแต่งศัพทานุกรมภาษาสิงหล
มีการส่งกองทัพไปช่วยพวกปาณฑยะรบกับพวกโจฬะในประเทศอินเดียแต่ปราชัยกลับมา
พ.ศ.1489-.ศ.1497 : รัชกาลของพระเจ้าอุทัยที่ 4 กองทัพโจฬะเข้ามายึดเมืองอนุราธะ
ไว้ได้ พระเจ้าเสนะที่ 4 ขึ้นครองราชย์ต่อมา
พ.ศ.1499-พ.ศ.1515 : พระเจ้ามหินทะที่ 4 ครองราชย์ ลังกาถูกรุราน
2 ครั้ง คือ พ.ศ.1501 กองทัพราชวงษ์ราษฏรกูฏะ จากอินเดีย
และ พ.ศ. 1502 กองทัพพวกโจฬะข้ามมารุกราน แต่ก็พ้นภัยมาได้
พ.ศ.1515-พ.ศ.1525 : พระเจ้าเสนะที่ 5 รบกับเสนาบดี ทหารรับจ้างชาติทมิฬเที่ยวปล้นสะดม
ก่อความวุ่นวายไปทั่วประเทศ
พ.ศ.1525-พ.ศ.1572 : ในรัชกาลของพระเจ้ามหินทะที่ 5 เกิดจราจล
เมืองอนุราธปุระ ถูกกองทัพของพระเจ้าราชราชะที่ 1 แห่งราชวงศ์โจฬะยึดครอง
แคว้นรัชรฏะทางภาคเหนือก็ถูกพวกโจฬะปกครอง เมืองอนุราธปุระถูกย้ายไปขึ้นต่อเมืองโปลอนนารุวะ
: พระเจ้ามหินทะที่ 5 ครองแคว้นโรหณะทางภาคใต้ และในที่สุด
กองทัพโจฬะก็จับพระองค์ได้ในปีพ.ศ.1560
พ.ศ.1583-พ.ศ.1589 : มีการตั้งวงศ์ใหม่ 3 ครั้ง คือ พร่ะเจ้ามหาลานกิตติ
(1583-1585), พระเจ้าวิกกัมปัณฑุจากราชวงศ์ปาณฑยะ (1585-1586)
และพระเจ้าชคตีปาล จากแคว้นอูธ ทางภาคเหนือ (1586-1589)
ทั้ง 3 ราชวงศ์นี้ครองเฉพาะแคว้นโรหณะเท่านั้น
พ.ศ.1589-1598 : พระเจ้าโลกะและพระเจ้ากัสสปตั้งวงศ์ใหม่ตามลำดับ
โดยได้ครองเฉพาะแคว้นโรหณะเหมือนกัน
2.ศรีลังกาสมัยโปโลนนารุวะ
(พ.ศ.1598-พ.ศ.1779)
พ.ศ.1598-พ.ศ.1693 : พระเจ้าวิชัยพาหุ พระญาติของพระเจ้ามานวัมมะ
ตีเอาเมืองโปลอนนารุวะคืนมาได้จากพวกโจฬะ สามารถขับไล่พวกโจฬะออกไปจากเกาะลังกาได้อย่างสิ้นเชิง
ในปีพ.ศ.1613 ทรงสร้างพระราชวังใหม่ที่อนุราธปุระ แต่ภายหลังก็ย้ายมาประทับที่โปลอนนารุวะ
ที่เมืองนื้ทรงสร้างพระราชวัง สร้างแพงและคูล้อมรอบเมือง
และสร้างวัดพระเขี้ยวแก้ว, ทรงขอพระเถระจากพม่ามาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเกาะลังกาและส่งราชฑูตไปบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา
พ.ศ.1653-พ.ศ.1654 : เกิดสงครามระหว่างพระเจ้าชัยพาหุที่
1 กับพระเจ้าวิกรมพาหุ
พ.ศ.1654-พ.ศ.1675 : รัชกาลที่พระเจ้าวิกรมพาหุที่ 1 การปกครองเป็นไปอย่างกดขี่
ลังกาแบ่งออกเป็น 4 แคว้น, พระสงฆ์นำเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรไปซ่อนไว้ที่แคว้นโรหณะ
พ.ศ.1969-พ.ศ.1730 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 จากแคว้นทักขิณเทศ
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลังกา มารบชนะพระเจ้าคชพาหุที่
2 ได้เมืองโปลอนนารุวะไว้ครอบครอง
: ในรัชกาลนี้มีการชำระพระสงฆ์ทุศีลรวม 3 นิกายสงฆ์เป็นนิกายเดียวกัน
มีการสร้างวัด จัดอุปสมบททุกปีที่มณฑปกลางน้ำ สร้างเมืองโปลอนนารุวะให้สมกับเป็นราชธานี
สร้างพระราชวัง ซ่อมกำแพงเมือง ด้านศาสนามีการสร้างวัดอาฬาหนบริเวณคัลวิหารเจดีย์ทมิฬ
วัดเหนือ(ติวังกะ) สระบัว 8 กลีบ ซ่อมเจดีย์และวิหารที่เมืองอนุราธปุระ
: แคว้นโรหณะถูกปราบปราม เกาะลังการวมเป็นประเทศเดียวกันอีกครั้งหนึ่ง
พระเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรกลับมาอยู่ยังราชธานีดังเดิม
: มีการยกกองทัพลังกาไปรุกรานประเทศพม่า (1707-1708) และภาคใต้ของประเทศอินเดีย
พ.ศ.1730-พ.ศ.1739 : พระเจ้านิสสังกมัลละตั้งราชวงศ์ลิงค์
ยกทัพไปรุกรานภาคใต้ของอินเดีย แต่ล้มเหลว มีการติดต่อกับแคว้นอันธาระ
โอริสสา เบงกอล คุชรัต พม่า และกัมพูชา
: ด้านการศาสนามีการกำจัดภิกษุทุศีล สร้างเจดีย์รังโกต ซ่อมวฎะทาเค
ยังตะทาเค สร้างนิสสังกลตามณฑป
พ.ศ.1739-พ.ศ.1758 : พระเจ้าโจฑคังคะ ปลงพระชนม์พระเจ้าวิกรมพาหุที่
2 , พวกทมิฬเข้าทำลายโปลอนนารุวะ
พ.ศ.1758-พ.ศ.1779 : พระเจ้ามาฆะ (ชาวลิงค์จากแหลมมลายู)
ตั้งวงศ์ใหม่ พระพุทธศาสนาและประชาชนถูกข่มเหงรังแก
3.ศรีลังกาสมัยหลัง
(พ.ศ.1759 พ.ศ.2051)
พ.ศ.1775-พ.ศ.1779 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 3 ตั้งราชวงศ์ทัมพเทณิยะ
ครองเฉพาะแคว้นมายารัฎ ทางทิศตะวันตกของเกาะลังกา ได้พระเขี้ยวแก้วและพระพุทธบาตรมารักษา
พ.ศ.1779-พ.ศ.1813 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 เป็นกษัตริย์จากแคว้นมายารัฏ
ได้สู้รบกับพระเจ้าจันทรภาณุ (ชาววะกะ) แห่งอาณาจักรตามพรลิงค์
(นครศรีธรรมราช) และกำจัดพระเจ้ามาฆะได้ในปี พ.ศ.1798
พ.ศ.1813-พ.ศ.1818 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4 ถูกนายพลชื่อมิตตะปลงพระชนม์
พ.ศ.1818-พ.ศ.1827 : ตรงกับรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าภูวไนกพาหที่
1 ครองราชย์ ย้ายราชธานีไปอยู่ที่เมืองยาปวุวะ มีการติดต่อกลับพวกอาหรับ,
ลังกาว่ากษัตริย์ปกครองระหว่างปี พ.ศ.1828-1829
พ.ศ.1830-พ.ศ.1836 : ตรงกับรัชกาลของพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าปรากรมพาหุที่
3 ครองราชย์ที่เมืองโปลอนนารุวะ ได้ราวงศ์ปาณฑยะคุ้มครอง,
มาร์โคโปโล ผ่านเกาะลังกา (1835)
พ.ศ.1845-พ.ศ.1869 : พระเจ้าปรากรพาหุที่ 4 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ทัมพเทณิยะ
ครองราชย์ที่เมืองกุรุเนคละ ทรงอุปถัมภ์อักษรศาสตร์
พ.ศ.1887-พ.ศ.1902 : พระเจ้าปรากรมที่ 5 และพระเจ้าภูวไนกพาหุที่
4 ครองราชย์ร่วมสมัยกัน สมัยเดียวกันกับพระเจ้าลิไทของไทย
มีราชธานีอยู่เมืองเททิคาม แต่ภายหลังก็เสด็จไปอยู่ที่แคว้นโรหณะ,
ลังกาแบ่งออกเป็น 3 แคว้น
พ.ศ.1915-พ.ศ.1951 : เชงโฆ ขันทีจีน นำกองทัพขึ้นบกที่เกาะลังกาและกลับมารบชนะลังกาในพ.ศ.
1954
พ.ศ.1955-พ.ศ.2010 : พระเจ้าปรากรมที 6 ชนชาติลังกา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์โดยจีน
ภายหลังย้ายไปประทับที่เมืองโกฎเฎ สร้างพระราชวังและวัดพระเขี้ยวแก้ว
: กองทัพวิชัยนครยึดอาณาจักรแจฟนาได้ จนถึง พ.ศ. 1993 พระเจ้าปรากรมที่
6 จึงสามารถตีคืนแจฟนาได้ รวมเกาะลังกาเป็นประเทศเดียวกัน
วรรณคดีลังกา พระพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูได้รับการบำรุงส่งเสริมไปพร้อมๆ
กันในยุคนี้
พ.ศ.2010-พ.ศ.2012 : พระเจ้าวิชัยพาหุที่ 2 ขึ้นครองราชย์
พ.ศ.2013-พ.ศ.2021 : ศาสนฑูตจากเมืองหงสาวดีเข้ามาติดต่อปลายรัชสมัย
เกาะลังกาแบ่งแยกเป็น 3 อาณาจักรอีก
พ.ศ.2027-พ.ศ.2051 : รัชกาลของพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 8 ทรงปลงพระชนม์พระเจ้าปรากรมพาหุที่
7 ที่ขึ้นครองราชย์ก่อนนหน้านี้
4.ศรีลังกาสมัยใหม่
(พ.ศ.2051-พ.ศ.2358) ยุคประเทศตะวันตกปกครอง
พ.ศ.2051-พ.ศ.2052 : พระเจ้าปรากรมพาหุที่ 9 ขึ้นครองราชย์
ประทับที่เมืองโกฎเฎ
พ.ศ.2077-พ.ศ.2085 : รัชกาลของพระเจ้าภูวไนกพาหุที่ 7 ลังกาแบ่งออกเป็น
4 อาณาจักร
พ.ศ.2085-พ.ศ.21254 : พระเจ้าธรรมปาละตั้งวงศ์ใหม่ เข้ารีตเป็นคาธอลิก
โปรตุเกสได้เมืองโคลัมโบเป็นฐานที่มั่น
พ.ศ.2124-พ.ศ.2135 : พระเจ้าราชสิงห์ที่ 1 ตั้งวงศ์ใหม่
ประทับที่เมืองเสตวัจจะ
พ.ศ.2135-พ.ศ.2358 : เมืองแคนดี หรือ ศิริวัฒนบุรี เป็นราชธานี
พระเจ้ากิตติศิริราชสิงห์ ครองราชย์ร (2290-2324) ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าบรมโกศ
กรุงศรีอยุธยา สมณฑูตลังกามาขอพระสงฆ์สยามนิกายไปอุปสมบทชาวลังกา
พ.ศ.2341-พ.ศ.2358 : พระเจ้าศิริราชาธิราชสีหะ เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ลังกา
ถูกอังกฤษจับไปในพ.ศ.2358
พ.ศ.2338-พ.ศ.2491 : อังกฤษยึดครองเกาะลังกาได้ มีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน,
การเลิกทาส, การปฏิรูปการศึกษา
5.ศรีลังกาสมัยปัจจุบัน
พ.ศ.2474 : ศรีลังกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
พ.ศ.2491 : ชาวสิงหลและทมิฬมีการแบ่งเขตกันอยู่
พ.ศ.2525 : ศรีลังกาได้เลือกประธานาธิบดีครั้งแรก
พ.ศ.2526 : เกิดความขัดแย้งรุนแรงครั้งใหญ่ระหว่างชาวสิงหล
กับชาวทมิฬ
พ.ศ.2530 : ศรีลังกาขอความช่วยเหลือจากอินเดียเพื่อแก้ไขปัญหาไกล่เกลี่ยชาวสิงหลกับชาวทมิฬ |
ถ้ำดัมบุลลา
เมืองดัมบุลลา มรดกโลกทางวัฒนธรรม ศรีลังกา |
|
|
ถ้ำดัมบุลลา
เมืองดัมบุลลา มรดกโลกทางวัฒนธรรม ศรีลังกา |
|
|
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
ถ้ำดัมบุลลา ศรีลังกา |
|
ศรีลังกา ทัวร์ศรีลังกา เที่ยวศรีลังกา ประเทศศรีลังกา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศศรีลังกา
|
|
ศรีลังกา
ประเทศศรีลังกา เป็นเกาะเล็กๆ รูปร่างคล้ายไข่มุก หรือลูกแพร์
สำหรับคนไทย ศรีลังกาเป็นเหมือนญาติสนิท ช่วยเหลือกันมาตั้งแต่โบราณกาลจวบจนปัจจุบัน
|
|
|
|
วัดพระเขี้ยวแก้ว
เมืองแคนดี้ พระเขี้ยวแก้ว เป็นสมบัติอันล้ำค่าสำหรับชาวพุทธศรีลังกา
ประดิษฐานอยู่ในผอบและอยู่ในเจดีย์อีก 4 ชั้นที่วัดพระเขี้ยวแก้ว (วัดดาลดา
มัลลิกาวะ) |
|
|
|
ของฝากจากศรีลังกา
ร้านขายของที่ระลึกศรีลังกามีมากมาย เช่น พวงกุญแจ แม็กเน็ท
หน้ากาก ผ้าบาติก งานแกะสลักไม้ ใบชา อัญมณีต่างๆ |
|
|
|
ระบำศรีลังกา
เป็นการผสมผสานกันระหว่างระบำพื้นเมืองแบบดั้งเดิมกับระบำร่วมสมัย
ซึ่งหาชมทั่วๆ ไปได้ยาก ลีลาท่วงท่าของระบำสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณของความเป็นศรีลังกา |
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น
โปรแกรมทัวร์อื่นๆ - เช็คที่นั่ง |
|
โปรแกรมจอยทัวร์ |
|
UQ-879 : เส้นทางสายไหม ภูเขาสายรุ้ง ถ้ำตุนหวง สกีหิมะ Silk Road ลั่วหยาง หลานโจว จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู อูรูมูฉี (UQ)
เที่ยวชม เมืองลั่วหยาง หนึ่งในสี่เมืองหลวงเก่าที่ยิ่งใหญ่ของหลายราชวงศ์จีน
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
สนุกสนานกับ สกีหิมะ Silk Road เขาเทียนซาน ลานสกีที่โด่งดังของเมืองอูรูมูฉี
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว บิน Urumqi Air (UQ) 3 ไฟลท์ เที่ยวแบบไม่เหนื่อย
วันที่ 13 - 20 ธันวาคม, 27 ธ.ค. - 3 ม.ค., 28 กุมภาพันธ์ 7 มีนาคม, 14 - 21 มีนาคม 2568 : ราคา 59,995.-บาท |
|
CGO655-DD : ซีอาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน สุสานกวนอู เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
วันที่ 5 - 10 ธันวาคม และ 28 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568 |
|
CGO651-DD : ซีอาน เทศกาลดอกโบตั๋นบาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
ชม ดอกโบตั๋นบาน เทศกาลดอกโบตั๋นบานเมืองลั่วหยางที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
วันที่ 12 - 17 เมษายน 2568 |
|
TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก
อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป
วันที่ 5 10 ธันวาคม, 28 ธันวาคม - 2 มกราคม, 11 - 16 กุมภาพันธ์, 11 - 16 เมษายน 2568 |
|
XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE นั่งสบาย
วันที่ 22 29 มีนาคม, 2 9 เมษายน, 9 16 เมษายน, 30 เมษายน 7 พฤษภาคม 2568 |
|
|
|
FD659-CSX : หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณหวงหลิง ล่องเรือชมแสงสีอู้วนี่โจว ภูเขาหลิงซาน ไหว้พระใหญ่ตงหลิน เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น พิพิธภัณฑ์เซรามิค (FD)
เที่ยว หมู่บ้านโบราณหวงหลิง นับเป็นหมู่บ้านสวยที่สุดในเมืองอู้หยวน มณฑลเจียงซี
พักใน หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ ถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
นำท่าน ล่องเรือ ชมแสงสียามค่ำคืนอู้วี่โจว พร้อมชมแลนด์มาร์คแห่งใหม่
อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว ไม่ลงร้านช้อป - ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ
วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 18 - 23 มีนาคม, 22 - 27 เมษายน 2568 |
|
PU-541 : ภูฏาน พาโร ทิมพู ปูนาคา วัดทักซัง พาโรซอง ทิมพูซอง ปูนาคาซอง ซิมโทกาซอง คิชูลาคัง สวนสัตว์ภูฏาน (KB)
เที่ยวครบ 3 เมืองหลัก เมืองพาโร เมืองทิมพู เมืองปูนาคา
อาหารดี - โรงแรมที่พักมาตรฐานรัฐบาล
วันที่ 6 - 10 ธันวาคม, 29 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568 |
|
INDIA877 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี ล่องเรือ สารนาท พารานสี (TG)
เที่ยวครบ 4 สังเวชนียสถาน พุทธคยา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี
ชม ล่องเรือแม่น้ำคงคา เที่ยวชม วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
พักโรงแรม 4 ดาว - มีอาหารไทย - มีพระวิทยากร - บินการบินไทย
วันที่ 8 - 15 ธันวาคม, 28 ธันวาคม - 4 มกราคม, 9 - 16 กุมภาพันธ์ 2568
|
|
|
|
Pune636-6E : ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด ชมถ้ำพุทธศิลป์อินเดีย ขอพรพระพิฆเนศ เมืองปูเน่ (6E)
เที่ยว 2 ถ้ำพุทธศิลป์ ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า
ไหว้พระพิฆเนศ เมืองปูเน่
พักโรงแรม 4 ดาว - อาหารดี - บินตรงเมืองปูเน่
วันที่ 18 - 23 ธันวาคม, 15 20 มกราคม, 12 17 กุมภาพันธ์, 2 7 เมษายน 2568 : ราคา 34,995.-บาท |
|
Pune635-6E : ไหว้พระพิฆเนศ 9 วัด เมืองปูเน่ เมืองต้นกำเนิดพระพิฆเนศ (6E)
เที่ยว 2 ถ้ำพุทธศิลป์ ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า
ไหว้พระพิฆเนศ เมืองปูเน่
พักโรงแรม 4 ดาว - อาหารดี - บินตรงเมืองปูเน่
วันที่ 15 20 มกราคม, 12 17 กุมภาพันธ์, 2 7 เมษายน 2568 : ราคา 37,995.-บาท |
|
|
สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
ID Line Office : @oceansmiletour
คุณเล็ก โทร.082-3656241 ID Line : lekocean2
คุณโจ้ โทร.093-6468915 ID Line : oceansmile
รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า |
|
| |
|