สถานที่และโบราณสถานที่สำคัญในเมืองโปโลนนารุวะ สัตตมหาปราสาท : เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมทึบก่อด้วยอิฐซ้อนกันขึ้นไปรวม 7 ชั้น แต่ละชั้นมีซุ้มตรงกลาง 1 ซุ้ม ภายในซุ้มมีรูปเทวดาปูนปั้นยืนอยู่ด้วยท่าตริภังค์ (เอียงสะโพก) และยกมือข้างหนึ่ง สัตตมหาปราสาทแห่งนี้ เป็นอาคารที่มีรูปทรงแปลก มีเพียงแห่งเดียวในเกาะลังกา (แต่ในเมืองไทยมีอยู่หลายแห่ง เช่น เจดีย์วัดกู่กุด หรือวัดจามเทวี จ.ลำพูน และเจดีย์วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย) ชั้นล่างของสัตตมหาปราสาทยังมีร่องรอยของการก่อสร้างอิฐเป็นรูป 8 เหลี่ยม แล้วจึงสร้างเจดีย์สี่เหลี่ยมครอบทับภายหลัง อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ได้รับอิทธพลมาจากความเชื่อในศาสนาพุทธนิกายมหายาน โบราณสถานแห่งนี้ยังไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง และมีชื่อเดิมว่าอะไร จึงเรียกชื่อตามลักษณะที่ปรากฏ สถาปัตยกรรมแบบนี้คล้ายกับหอสูง(Ziggurat) ที่เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รับอิทธพลมาจากแอสซีเรีย (Assyria ) และ บาบิโลน(Babylon) ลักษณะทั่วไป มีรูปทรงซ้อนกันเป็นชั้นๆหลายชั้นเป้นรูปปิรามิด ชั้นล่างสุดจะมีขนาดใหญ่สุด ชั้นบนจะมีขนาดเล็กลงตามลำดับ ลักษณะของสัตตมหาปราสาท สร้างขึ้นตามกฏเกณฑ์ ศาสตระ เป็นศาสนสถานที่จำลองภาพเขาพระสุเมรุ สร้างเป้นชั้นรวม 7 ชั้น คล้านกับรูปแบบของสถาปัตยกรรมศิลปะขอมแบบนครวัดในประเทศกัมพูชา กัลวิหาร : แปลว่า วิหารหิน หรือ อารามหิน เดิมชื่อ อุตตราราม สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ใน พ.ศ. 1696 1729 เป็นวิหารที่สลักบนวิหารหินแกรนิต โดยสลักเป็นพระพุทธรูป 4 องค์เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน องค์แรก เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ มีขนาดใหญ่ ขัดสมาธิราบ ครองจีวรริ้ว เป็นริ้วคู่ขนานกันเป็นคู่ๆ ที่ฐานของพระพุทธรูปสลักเป็นรูปสิงห์นั่งสลับกับวัชระหรือสายฟ้า ด้านหลังของพระพุทธรูปสลักเป้นภาพอาคารเลียนแบบเครื่องไม้ มีตัวมกรและอาคารย่อส่วนขนาดเล็กวางซ้อนกันขึ้นไป องค์ที่สอง เป็นพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ มีขนาดเล็กกว่าองค์แรกสลักไว้ในถ้ำที่ขุดเจาะเข้าไปในภูเขา ประทับนั่งอยู่บนบัลลังก์ มีเทวดาอยู่ทั้งสองข้าง พระพุทธรูปองค์นี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะปาละ พระพุทธรูปประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายแบบปาละ องค์ที่สาม พระพุทธรูปประทับยืนในท่าที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองขึ้นไขว้กันในระดับพระอุระ(หน้าอก) ที่เรียกว่า พระพุทธรูปปางรำพึง มีความสูงถึง 7 เมตร องค์ที่สี่ สลักเป้นพระพุทธรูปนอน ปางเสด็จดับขันธปรินิพพาน สลักจากภูเขา มีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น มความยาวถึง 14 เมตร ทรงประทับนอนตะแคงขวา วางพระกรราบ พระเศียรหนุนอยู่บนพระเขนย(หมอน) รูปทรงกระบอกยาว พระกรงอเข้าหาลำตัว พระหัตถ์ขวาวางราบบนพื้น พระหัตถ์ซ้ายวางราบไปกับลำตัว ปลายพระบาททั้งสองข้างสนิทกันซ้อนพอดี เดิมมีวิหารก่ออิฐปกคลุ่มอยู่โดยรอบพระพุทธรูปทั้ง 4 องค์ มีร่องรอยของอาคารปรากฏอยู่ เป็นแนวฐานก่อด้วยอิฐ อาฬาหนะปริเวณ : สร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 มหาราช (พ.ศ. 1696 1729) มีความสำคัญมาก มีโบราณสถานตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้แก่ เจดีย์รังโกตเวเหระ สร้างโดย พระเจ้านิสสังกมัลละ (พ.ศ. 1730 1739) เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโปโลนนารุวะ สูงกว่า 55 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 54 เมตร คำว่า รังโกตเวเหระ แปลว่า เจดีย์ที่มียอดเป็นทอง เจดีย์มีรูปทรงเป็นบาตรคว่ำหรือทรงฟองน้ำ แบบเดียวกับเจดีย์รุวันเวลิที่เมืองอนุราชปุระ เจดีย์กิริเวเหระ เชื่อกันว่าสร้างโดยพระมเหสีของพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช มีพระนามว่า สุภัทธา เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ มีขนาดสูงใหญ่ที่ฐานมีลวดลายประดับเป็นลาบลวดบัว 3 ชั้น ส่วนบัลลลังก์ที่อยู่เหนือองค์ระฆังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีลวดลายขัดแตะ และลายธรรมจักรประกอบ เหนือบัลลังก์มีก้านฉัตรรองรับปล้องไฉนเป็นชั้นๆลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงปลียอด (ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงมีพระดำริเอาไว้ว่า เจดีย์แห่งนี้มีรูปแบบลักษณะคล้ายคลึงกันมากกับพระบรมธาต์เจดีย์ที่วัดพระมหาธาต์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช) นักโบราญคดี ได้ขุดค้นพบสุสานฝังศพ ส้วม ลานอาบน้ำ และโรงพยาบาลในบริเวณวัดแห่งนี้ในปี พ.ศ.2526 พัทธสีมาปราสาท เป็นวิหารที่ใช้สำหรับการประชุมของพระสงฆ์เพทาอประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ มีอาสนะของพระประธาน คณะสงฆ์หรือเจ้าอาวาส วางอยู่ตรงกลางของตัวอาคารวิหาร บริเวณโดยรอบจะมีกุฏิของพระสงฆ์หลายหลังตั้งอยู่ วิหารลังกาดิลก : สร้างด้วยอิฐถือปูน มีความยาว 52 เมตร กว้าง 18 เมตร สูง 17.50 เมตร ภายในห้องขนาดใหญ่ มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ท้ายสุดของห้องด้านใน มีร่องรอยของจิตกรรมฝาผนังที่งดงาม อยู่ทั้งสามด้านของห้อง มีพระพุทธรูปปางประทับยืน ขนาดใหญ่เป็นพระประธานในวิหารแต่เศียรของพระได้สูญหายไปแล้ว ผนังด้านนอกของวิหารจะพบอัฒจันทร์และทวารบาล และสลักจากหินเป็นลวดลายคล้ายกับที่เมืองอนุราชปุระ พระเจ้าปรากรมพาหุมหาราชทรงสร้างวิหารแห่งนี้ และพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 4 ทรงบูรณะ (พ.ศ. 1813 1815) ภายในห้องที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน มีการก่อผนังเป็น 2 ชั้น มีทางเดินโดยรอบสำหรับเดินประทักษิณได้ ด้านหน้าของวิหารลังกาดิลก มีมณฑป ที่เอาไว้เป็นศาลาสำหรับเล่นดนตรีประกอบพิธีกรรมต่างๆ วิหารติวังกะ: เป็นโบราณสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่สุดในบริเวณวัดเชตวัน วิหารติวังกะ หรือวิหารเหนือสร้างโดยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ปัจจุบันคงเหลือแต่วิหารที่สร้างด้วยอิฐ หลังคาได้พังไปหมดแล้ว วิหารติวังกะนี้ น่าสนใจและน่าศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่อเนื่องระหว่างศิลปะลังกา กับศิลปะไทยสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดี พระพุทธรูปปางประทับยืน : ก่อด้วยอิฐ สูงประมาณ 11 เมตร เป็นพระพุทธรูปบยืนด้วยอาการตริภังค์ (ตริภังค์ แปลว่า โค้งสามส่วน หักสามส่วน หรือ งอสามส่วน หมายความถึง ประติมากรรมที่แสดงการยืนโดยเอียงหรืองอ 3 ส่วน คือ คอ ไหล่ และสะโพก) ในการเอียงด้วยท่านี้ คอกับสะโพกจะเอียงไปในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้ลำตัวพริ้วไหวดูสวยงาม ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในด้านขวามือใกล้กับพระประธาน เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึง ประทับบนบันไดด้วยอาการตริภังค์ มีกรดกั้น คล้ายคลึงกับภาพปูนปั้นบนฝาผนังมณฑปวัดตระพังทองหลาง จ.สุโขทัย รวมถึงภาพเทพชุมนุม ซึ่งทรงเครื่องประดับตกแต่งทั้งศิราภรณ์กรองศอ พาหุรัด และทองกร คล้ายคลึงกับภาพสลักบนแผ่นหินที่พบบริเวณเพดานของอุโมงค์วัดศรีชุม ภายนอกของวิหารประดับด้วยภาพปุนปั้น เป็นรูปคนแคระกับสิงโตจำนวนมาก ส่วนใหญ่แสดงท่าทางที่เป้รธรรมชาติ ทางด้านทิศเหนือจะมีภาพเทวดา แสดงอาการอมยิ้มอย่างมีเมตตา แบบเดียวกับซฃศิลปะสุโขทัย ศิวะเทวาลัย : มีอายุราว 800 ปีเศษ เป็นช่วงที่ราชวงศ์ปาณฑยะกำลังรุ่งเรืองในดินแดนภาคใต้ ฝีมือในการแกะสลักหินที่นี่มีความสวยงามและมีความสมบูรณ์แบบไปซะทุกส่วนประตูทางด้านหน้า 2 ข้างจะมีทวารบาลยกขาขึ้นข้างหนึ่งแสดงว่าเป็นศิลปะอินเดียใต้อย่างแท้จริง วิหารถูปาราม : ศาสนสถานในศาสนาพุทธ ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้างได้รับการอนุรักษ์ได้ดีที่สุดในโปโลนนารุวะมีความแข็งแรงและสวยงามหลังคาเป็นรูปโค้งแบบกระทะคว่ำที่เรียกว่า เคทิเคหลังคาอยู่ภายในค่อนข้างมืดทึบมีพระพุทธรูปสลักหินอยู่หลายองค์ด้วยกันมีประตูเข้าด้านหน้าเพียงทางเดียวมีพื้นที่ประมาณ 16 ตารางเมตรไม่กว้างขวางนักมีฝาผนังสูงก่อด้วยอิฐมีความหนาถึง 2.10 เมตร ส่วนยอดของอาคารมีการประดับตกแต่งลวดลายดอกบัว วิหารวฏะทาเค : เป็นรูปทรงแบบลอมฟางมีเสาหินเรียงรายอยู่ 3 แถวโดยรอบแต่เดิมมีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องครอบอยู่ ตรงกลางเป็นเจดีย์ทรงกลม มีพระพุทธรูปปางสมาธิประดิษฐานอยู่หน้าเจดีย์ทั้ง 4 ด้านพระพุทธรูปครองจีวรเรียบไม่มีริ้ว บนพระเศียรไม่มีขมวดพระเกศาองค์เจดีย์ทำด้วยอิฐ และหินมีการสลักลวดลายอย่างสวยงามประกอบอยู่บริเวณฐานและผนังเป็นลายสิงโต คนแคระ ดอกไม้ และพันธ์พฤกษาต่างๆทางด้านเหนือมีมุขขนาดเล็กสร้างปรากฎอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้านิสสังกมัลละเมเติมขึ้นภายหลัง ส่วนทวารบาลสลักหินที่อยู่ด้านทิศตะวันออกของเจดีย์แห่งนี้เป็นทวารบาลที่สลักได้งดงามที่สุดในศิลปะแบบโปโลนนารุวะ เป็นรูปมนุษย์นาค(ผู้ชายมีนาคแผ่พังพานอยู่ด้านหลัง) มือซ้ายถือดอกบัวมือ ขวาถือหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์(ปูรณฆฏะ)และมีคนแคระ 2 คนยืนอยู่สองข้างยกแขนขึ้นทั้งสองแขนอยู่ในแผ่นสลักหินชิ้นเดียวกันตรงกันข้ามจะมีอาคารรูปสี่เหลี่ยมชื่อว่า ฮาตะทาเค เคยเป็นสถานที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว เพราะฉะนั้นลานแห่งนี้จึงเรียกว่าลานพระเขี่ยวแก้วซึ่งจะมีกลุ่มโบราณสถานสำคัญรวม 12 แห่งมีประตูทางเข้าทางทิศตะวันออกมีอ่างน้ำขนาดยาวอยู่หนึ่งใบเอาไว้ล้างเท้าก่อนจะขึ้นไปบนลานอันศักดิ์สิทธิ์ ฮาตะทาเคนี้สร้างในสมัยพระเจ้านิสสังกมัลละมีกำแพงหินล้อมรอบ ตัววิหารก็สร้างด้วยหินภายในเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีพระพุทธรูยืน 3 องค์ประดิษฐานอยู่มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ที่ผนังของมุขด้านหน้ามีอักษรจารึกเรื่องราวของพระเจ้านิสสังกมัลละและมีภาพหงส์สลักยาวเป็นแนวอยู่ด้วย ประตูทางเข้าจะประดับด้วยรูปนักฟ้อนรำนักดนตรี ทำจากปูนปั้นหน้าบันไดทางขึ้นจะมีทวารบาลและอัฒจันทร์อยู่ด้วย วิหารนี้แต่เดิมเป็น 2 ชั้น แต่ชั้นบนเป็นไม้ได้พังไปหมดแล้ว อาตะคาเท : เคยเป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วของเมืองโปโลนารุวะ บางครั้งจึงเรียกว่า วิหารพระเขี้ยวแก้ว สร้างโดยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 1 (พ.ศ. 1598 1653) เปฌนอาคาร 2 ชั้นประดิษฐานพระพุทธรูปบริเวณด้านหลัง พระเขี้ยวแก้วคงจะประดิษฐานอยู่ชั้นบนด้านหน้า ซึ่งสร้างด้วยไม้ ปัจจุบันได้หักพังทลายไปหมดแล้ว ภาพสลักบนเสาหินทำเป็นลวดลายเล่าเรื่องราวต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่สวยงามที่สุดในวิหารนี้ ซึ่งยังคงรักษาอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบบคุปตะไว้ได้เป็นอย่างดี ด้านหังวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีมุขเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยื่นยาวออกมาทางด้านหน้า คำว่า อาตะทาเค หมายถึง วิหารของพระเขี้ยวแก้ว 8 องค์ นิสสังกลดามณฑป : สร้างโดยพระเจ้านิสสังกมัลละ (พ.ศ. 1730-1739) เป็นอาคารขนาดเล็ก สร้างด้วยหิน ตั้งอยู่ในเขตรั้วหินที่สลักเลียนแบบเครื่องไม้ หลังคาได้พังไปหมดแล้ว เหลือแต่เสาหินภายในอาคารซึ่งสลักเป็นรูปก้านดอกบัว บัวหัวเสาสลักเป็นรูปดอกบัวกำลังแย้ม บริเวณตรงกลางวิหารจะมีพระเจดีย์เล็กๆ ตั้งอยู่ภายใน ซึ่งเป็นสถานที่พระเจ้านิสสังกมัลละ เสด็จมาทรงฟังพระภิกษุสงฆ์สวดพระปริตร คัลโปตะ : เป็นจารึกบนแผ่นหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ที่สุดในลังกา สร้างโดยพระเจ้านิสสังกมัลละ(ต้นพุทธศตวรรษที่ 18) ยาว 8 เมตร กว้าง 4.25 เมตร จารึกเรื่องราวเกี่ยวกับการอธิบายถึง การยกทัพไปรุกรานอินเดียของพระเจ้านิสสังกมัลละ และสัมพันธภาพของพระองค์กับเพื่อนบ้านอื่นๆ ด้านหลังของแผ่นหินจารึก สลักภาพคชลักษมี หรือภาพพระพุทธเจ้าปางประสูติ และภาพแนวของหงส์ประกอบอยู่ด้วย โปตคุลวิหาร : หรืออนุสาวรีย์นักปราชญ์ เป็นรูปประติมากรรมขนาดใหญ่ สูงประมาณ 3.3 เมตร สลักอยู่บนหน้าผาหินขนาดย่อม อยู่ทางตอนใต้ของปรากรมสมุทธ (อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของพระเจ้าปรากรมพาหุ) หรือบางครั้งจะเรียกอีกอย่างว่าวัดใต้
Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028