•
เที่ยวชมเมืองมรดกโลก เมืองอนุราธปุระ เมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา |
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |

ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ |

รูปสลักหินคู่รัก The Lover |

วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |

วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |

วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |

ประติมากรรม วัดอิสุรุมุณิยะ |

วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
เที่ยวศรีลังกา
วัดอิสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ |
|
|
เที่ยวศรีลังกา
วัดอิสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ |
|
|
เที่ยวศรีลังกา
วัดอิสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ |
|
|
วัดอิสุรุมุณิยะ
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
|
|
รูปสลักหิน
วัดอิสุรุมุณิยะ เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
|
|
รูปสลักหินคู่รัก
The Lover วัดอิสุรุมุณิยะ
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
|
|
•
เมืองอนุราธปุระ
: เมืองหลวงแห่งแรกของศรีลังกา ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา
• เมืองอนุราชปุระ ห่างจากกรุงโคลัมโบ
ไปทางทิศเหนือ ประมาณ 206 กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมาของเมืองอนุราธปุระ :
• ชาวสิงหลได้อพยพมาจากประเทศอินเดียตอนเหนือมาอยู่ที่เกาะลังกา
เมื่อประมาณ 543 ปีก่อนคริสตกาล ตามพงศาวดารคัมภีร์มหาวงศ์
เล่าไว้ว่า เจ้าชายวิชัย โอรสของพระเจ้าสีหพาหุ ผู้ครองนครสีหบุรีรัตนราชธานี
มีความประพฤติเกกมะเหรกเกเร ซ่องสุมอันธพาลก่อความเดือดร้อนในแผ่นดิน
เมื่อพระราชบิดาทรงทราบได้ทรงเนรเทศเจ้าชายวิชัยและบริวารออกไปจากราชธานี
โดยจับโกนศีรษะครึ่งหนึ่งแล้วใส่เรือปล่อยไปในทะเล และเรือลำนั้นได้ไปถึงเกาะลังกา
กล่าวกันว่า วันที่เจ้าชายวิชัยถึงเกาะลังกาเป็นวันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน
• เมื่อมาถึงลังกา เจ้าชายวิชัยพบว่า ณ เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนของพวกยักษ์
ซึ่งอาจตีความได้ว่าเป็นชนพื้นเมืองที่อยู่บนเกาะ พระองค์เลยทรงผูกมิตรกับนางกุเวนิ
บุตรสาวหัวหน้ายักษ์ ได้นางเป็นชายา ในที่สุดนางกุเวนิได้มีส่วนช่วยพระองค์ปราบปรามยักษ์จนอยู่ในอำนาจ
จากนั้นเจ้าชายวิชัยทรงส่งบริวารของพระองค์แยกย้ายกันออกไปสร้างเมืองต่าง
ๆ ตามชื่อของบริวารนั้นๆ ได้แก่ อุปติสสคาม อนุราธคาม อุเชนิคาม
อุรุเวลคาม และวิชิตคาม เป็นต้น
• เมื่อเจ้าชายวิชัยมิได้สถาปนาพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในเบื้องแรก
เพราะยังทรงหาพระราชินีมาร่วมราชบัลลังก์ยังไม่ได้ ต่อมามีพระราชสาส์นไปขอเจ้าหญิงราชธิดาของพระเจ้าปัณฑราชแห่งเมืองมถุรา
ที่อินเดียตอนใต้ พระเจ้าปัณฑราชไม่ขัดข้อง ทรงส่งพระราชธิดา
กุลสตรีมีตระกูล 100 นาง และชาวเมืองมถุรา 1,000 ครอบครัว
เดินทางมาเกาะลังกาเพื่อมาตั้งถิ่นฐานในเมืองใหม่ คนเหล่านี้ก็ได้มาแต่งงานกับข้าราชบริพารของเจ้าชายวิชัย
มีลูกหลานสืบต่อกันมา เรียกว่า “ชาวสิงหล”
• เมื่อเจ้าชายวิชัยได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาพระเจ้าปัณฑราชแล้ว
ได้สถาปนาพระองค์เองเป็นพระมหาษัตริย์ปกครองบ้านเมืองต่อมา
แต่ไม่ทรงมีพระราชโอรสสืบต่อพระราชบัลลังก์เลย จึงทรงส่งพระราชสาส์นไปทูลเชิญเจ้าชายสุมิตรพระอนุชาของพระองค์ที่เมืองสีหบุรีรัตน์มาครองราชย์สืบแทน
เจ้าชายสุมิตรทรงส่งพระราชโอรสองค์เล็กคือ เจ้าชายปัณฑวาสุเทวะ
พร้อมข้าราชบริการมายังเกาะลังกา เจ้าชายปัณฑสุเทวะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงภัทธกัจจายะ
เจ้าหญิงเผ่าอารยันจากอินเดีย มีพระราชโอรสและพระราชธิดา
11 พระองค์
• เมื่อพระเจ้าปัณฑวาสุเทวะเสด็จสวรรคต เจ้าชายอภัย พระราชโอรสองค์ใหญ่ได้ครองราชย์สืบต่อมา
เจ้าชายอภัยมีพระขนิษฐาองค์สุดท้องคือเจ้าหญิงจิตรกุมารี
ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายฑีฑามนี พระโอรสของพระปิตุลา ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระนางภัทธกัจจายะ
มีพระโอรสพระองค์หนึ่งคือ เจ้าชายปัณฑุกาภัย
• พระเจ้าอภัยทรงมีพระเมตตาต่อเจ้าหญิงจิตรกุมารีและเจ้าชายปัณฑุกาภัย
พระนัดดามาโดยตลอด แม้ว่าโหราจารย์ได้ทำนายไว้ว่าพระโอรสของเจ้าหญิงจิตรกุมารีจะปลงพระชนม์พระปิตุลาทุกพระองค์
• ฝ่ายพระอนุชาอีก 9 องค์ของพระเจ้าอภัย ทรงเชื่อคำทำนายของโหราจารย์
จึงเกลียดชังเจ้าชายปัณฑุกาภัยยิ่งนัก วางแผนกำจัดพระนัดดาให้สิ้นพระชนม์ไป
ก่อนที่พวกพระองค์จะโดนปลงพระชนม์ตามคำทำนายของโหราจารย์
ปรากฎว่าเจ้าชายปัณฑุกาภัยเอาพระชนม์ชีพรอดมาได้ทุกครั้ง
เกิดความแค้นเคืองฝังแน่นในพระอุระ จึงได้พยายามฝึกฝนวิทยายุทธ์ต่างๆ
และซ่องสุมชายฉกรรจ์จนมีกำลังมาก ความทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าอภัย
แทนที่พระองค์จะทรงระแวงภัย กลับเข้าข้างพระนัดดา ทำให้พระอนุชาไม่พอพระทัยมาก
ในที่สุดก็ทรงรวมกันบังคับให้พระเจ้าอภัยสละราชสมบัติให้เจ้าชายดิศราชกุมารพระอนุชาองค์ถัดมา
• เจ้าชายปัณฑุกาภัยจึงใช้โอกาสนี้ประกาศสงครามกับพระปิตุลาทั้งเก้า
พระปิตุลาทั้งเก้าสิ้นพระชนม์ในการรบ เหลือเพียงพระเจ้าอภัยพระองค์เดียวที่ไม่ได้โดนปลงพระชนม์
เมื่อเจ้าชายปัณฑุกาภัยได้ชัยชนะ ในปีพ.ศ.105 พระเจ้าปัณฑถุกาภัยก็ทรงย้ายไปตั้งเมืองหลวงที่อนุราธคาม
ซึ่งกลายมาเป็นเมืองอนุราธปุระตั้งแต่นั้นมา ต่อมาทรงสถาปนาเป็นราชธานี
ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงสุวรรณบาลีขัตติยา ทำพิธีราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่
4 ของศรีลังกา การปกครองในรัชกาลเจ้าชายปัณฑุกาภัยนี้ จัดเป็นยุครุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ศรีลังกา
เป็นการปกครองด้วยระบบเทศบาล การก่อสร้างเจริญก้าวหน้า สามารถสร้างอ่างเก็บน้ำได้ในสมัยนี้
• ในปีพ.ศ.1376-1396 เป็นรัชกาลของพระเจ้าเสนะที่ 1 ในรัชกาลนี้เอง
กองทัพราชวงศ์ปาณฑยะจากอินเดียตอนใต้ ก็เคลื่อนกำลังเข้ามารุกรานลังกา
ยึดภาคเหนือไว้ได้ทั้งหมด เมืองอนุราธปุระถูกปล้นสะดมยับเยิน
พระเจ้าเสนะต้องอพยพไปประทับที่เมืองโปลอนนารุวะจนสิ้นรัชกาล
ในปีพ.ศ. 1476 เมืองอนุราธปุระถูกทำลายพินาศถึงกาลอวสาน
ชาวสิงหลต้องถอยร่นไปทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เมืองโปโลนนารุวะ
|
เจดีย์รุวันเวลิ
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์รุวันเวลิ
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์รุวันเวลิ
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์ถูปาราม
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
มูนสโตน
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
สระน้ำโบราณ
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์อภัยคีรี
เมืองเก่าอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |
วัดอิสุรุมุณิยะ ศรีลังกา |

เจดีย์ถูปาราม เมืองอนุราธปุระ |

มูนสโตน เมืองเก่าอนุราธปุระ |
เจดีย์อภัยคีรี เมืองอนุราธปุระ
|
สถานที่และโบราณสถานที่สำคัญในเมืองอนุราธปุระ
• มหาวิหาร : เป็นวัดแห่งแรกที่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะสร้างถวายแด่สงฆ์
อยู่ทางใต้ของเมือง บริเวณนี้เคยเป็นอุทยานของพระเจ้ามุฏสิวะ
พระราชบิดาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
• เจดีย์ถูปาราม : เป็นเจดีย์ทางพุทธศาสนาองค์แรกที่สร้างขึ้นในเกาะลังกา
โดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 300 ซึ่งเป็นเจดีย์หรือสถูปที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองอนุราธปุระ
และในเกาะลังกา เพื่อประดิษฐานกระดูกพระรากขวัญ(ไหปลาร้า)เบื้องขวาของพระพุทธองค์
ในครั้งที่พระมหินท์พระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราชจากอินเดียได้เสด็จมาเผยแผ่พุทธศาสนาในเกาะลังกา
เจดีย์ถูปารามเดิมสร้างเป็นรูปลอมฟาง มีเสาหินเรียงรายอยู่
3 แถว แสดงว่าเคยมีหลังคาเครื่องไม่มุงกระเบื้องคลุมอยู่อีกชั้นหนึ่ง
ลักษณะเจดีย์แบบนี้ในลังกาเรียกว่า วฏะทาเค ตั้งอยู่บนลานทักษิณ
ทุกคนต้องถอดรองเท้าก่อน แล้วเดินขึ้นบันได 8 ขั้น จึงจะถึงลานองค์เจดีย์มีการซ่อมแซมหลายครั้ง
ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.2405 มีชาวบ้านขายดอกไม้ธูปเทียนตรงทางขึ้นด้านหน้า
โดยให้เอาเงินใส่กล่องทำบุญตามกำลังศัทธา มีพระพุทธรูปนั้งปางสมาธิในซุ้มทั้งสี่ทิศ
เพื่อการสักการบูชาได้ทุกทิศเพื่อความเป็นศิริมงคล
• โลหะปราสาท : ซึ่งเป็นหนึ่งในสามแห่งของโลก
แห่งแรกอยู่ที่อินเดีย แห่งสุดท้ายอยู่ที่วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
ซึ่งเป็นแห่งเดียวที่ยังสมบูรณ์อยู่ ทั้งในอินเดีย และศรีลังกาได้พังทลายลงไปหมดสิ้นแล้ว
โลหะปราสาทที่อนุราชปุระนี้ สร้างในครั้งแรกโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
ต่อมาในสมัยพระเจ้าทุฏฐคามณี ได้สร้างเพิ่มถวายเป็นพุทธบูชาสำหรับพระของวัดมหาวิหารจำพรรษา
ปราสาทแห่งนี้เป็นรูปสี่เหลี่ยมสูง 9 ชั้น แต่ละชั้นมี 100
ห้อง หลังคามุงกระเบื้องด้วยโลหะทองแดงผสม ทำให้ได้ชื่อว่า
โลหะปราสาท แต่ละห้องประดับด้วยอัญมณีมีค่าชนิดต่างๆ สำหรับพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิความรู้ได้พักอาศัยและนั่งวิปัสนากรรมฐาน
โละปราสาทนี้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดในสมัยพระเจ้าลัญชติสสะ
ผู้ครองราชต่อจากพระเจ้าทุฏฐคามณี พระองค์จึงสร้างขึ้นใหม่เพียง
7 ชั้นเท่านั้น ต่อจากนั้นก็มีการซ่อมแซมหลายครั้งมาถึงพุทธศตวรรษที่
16 ถูกทำลายโดยพวกโจฬะ ที่ชอบมารุกรานเกาะลังกา ซากที่เห้นกันอยู่ในปัจจุบัน
สร้างขั้นใหม่ใยสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุที่ 1 มหาราช ต้นพุทธศตวรรษที่
18 และปัจจุบันหลงเหลืออยู่เพียงชั้นฐานของอาคาร มีซากของเสาหินตั้งเรียงรายอยู่
1,600 ต้น แบ่งออกเป็น 40 แถว แถวละ 40 ต้น
• ต้นศรีมหาโพธิ์ : มีความสำคัญมาก
ถือว่าเป็นต้นโพธิ์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เพราะเชื่อกันว่าพระนางเถรีสังฆมิตตา
พระราชธิกาของพระเจ้าอโศกมหาราชทรงผนวชเป็นภิกษุณี เป็นผู้นำหน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้มาจากพุทธคยา
อินเดีย มาปลูกไว้ที่เมือง อนุราชปุระ พ.ศ.235 มีอายุกว่า
2500 ปีแล้ว จึงมีขนาดแคระแกรน ทางเมืองอนุราชปุระจึงพยายามรักษาด้วยการทำไม้ค้ำยันกิ่งก้านสาขาของต้นศรีมหาโพธิ์ไว้เป็นจำนวนมาก
ในบริเวณเดียวกันมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่แตกหน่อขายจากต้นเดียวกันดั้งเดิมอีกหลายต้นน
ต้นที่แตกใหม่จะมีขนาดใหญ่กว่าต้นเดิมมาก พุทธศาสนิกชนที่มีความเลื่มใสจะเก็บใบของพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งหาได้ยากมาก
เพือนำมาบูชาเป็นสิริมงคลแกตนเอง
• เจดีย์รุวันเวลิ : หรือ
มหาถูปา หรือ สุวรรณมาลิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองอนุราชปุระ
มีขนาดกว้าง 100 เมตร สูง 100 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมฟองน้ำ
มีกำแพงประดับด้วยช้างหินล้อมรอบรวม 362 เชื่อก มีเนื้อที่
12.5 ไร่ ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะมีพระประสงค์จะสร้างพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งตรงบริเวณที่เป็นเจดีย์รุวันเวลิในเวลาต่อมา
และพระมหินทเถระได้พยากรณ์การก่อสร้างไว้ให้ แต่ยังมิทันได้สร้าง
พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน เจดีย์รุวันเวลิสร้างสำเร็จโดยพระเจ้าทุฎฐาคามีนีอภัย
โดยพระเจดีย์รุวันเวลิสร้างเสร็จในวันที่พระองค์เสด็จสวรรคต
• กุฏฏัมและโปกุณะ : สระสรงน้ำสองสระคู่(สระแฝด)
เป็นสถานที่สรงน้ำของกษัตริย์ลังกา พระมเหสีและพระสนมทั้งหลาย
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าย่อมุม สร้างด้วยหินมีลวดลายแกะสลักงดงาม
มีเครื่องหมายเป็นหม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่า ปุรณฆฏะ
สลักจากหินรูปร่างกลมมีลายดอกไม้ใบไม้ ประดับอยู่ขอบสระสองข้างบันทางลง
และมีรูปพญานาคสลักอยู่ด้วย ถือกันว่าเป็นผู้คุ้มครองสระน้ำทั้งสองแห่งนี้
• อภัยคีรีเจดีย์ : เป็นเจดีย์ยืนขนาดใหญ่และมีความสำคัญมาก
ตั้งอยู่ในวัดอภัยคีรีวิหาร สร้างโดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยเมื่อราว
2,100 ปีมาแล้ว สูง 113 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 110 เมตร
เป็นเจดีย์ใหญอันดับสองรองจากเจดีย์เชตวัน วัดอภัยคีรีวิหารแห่งนี้เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธศาสนาลัทิมหายานเจริญรุ่งเรืองอยู่
บริเวณวัดอภัยคีรีมีพระพุทธรูปแกะสลักจากหินองค์ใหญ่ นั่งปางสมาธิครองจีวรเรียบไม่มีริ้ว
ศิลปะอนุราธปุระ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 9 – 10 เดิมมี 4 องค์ล้อมรอบต้นโพธิ์
แต่ปัจจุบันเหลือเพียงองค์เดียว ทางรัฐบาลได้สร้างหลังคาคลุมให้ภายหลัง
ด้านหน้าองค์เจดีย์มีวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ก่ออิฐถือปูนทาสีสดใสยาวประมาณ
10 เมตร
• วัดอภัยคีรี (อุตตราวิหาร
หรือวัดเหนือ) : เคยเป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดในศรีลังกา เป็นที่อยู่ของพระ
5,000 รูป มีพื้นที่มากกว่า 500 เอเคอร์ วัดอภัยคีรีสร้างโดยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัยครองราชย์ครั้งแรกปี
พ.ศ. 440 ต่อมาเสียราชบัลลังก์ให้แก่พวกทมิฬจากอินเดียใต้
และชิงคืนมาได้เมื่อ พ.ศ. 454-466
• เจดีย์เชตวัน : อยู่ทางตะวันออกของมหาถูปา
เป็นพระเจดีญ์ใหญ่สร้างด้วยอิฐทั้งองค์ในสมัยพระเจ้ามหาเสนะ
ครองราช พ.ศ. 819 – 846 เป็นเจดีย์ มีความสูง 122 เมตร เป็นเจดีย์ใหญ่ที่สุดในโลก
และ เป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับ สาม ของโลกในยุคสมัยเดียวกัน
เป็นรอง ปิรามิด สองแห่งในอียิป ฐานเจดีย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง
113 เมตร
• วัดเชตวัน : เป็นวัดที่สร้างล้อมรอบพระเจดีย์เชตวันมีซากอาคารโบราณหลงเหลืออยู่มากมาย
เช่น อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กุฏิพระ ที่สรงน้ำพระ
ศาลาโรงธรรม อ่างเก็บน้ำ
• วิหารอิสุรุมุณิยะ : เป็นวัดเล็กในพุทธศาสนา
ตั้งอยู่ติดกัยภุเขาเตี้ยๆ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีภาพสลักบนหน้าผา
เป็นภาพการเสด็จลงจากสวรรค์ของแม่พระคงคา ณ มาวลีปุรัม ในอินเดีย
อายุราว พุทธศตวรรษที่ 12 สมัยราชวงศ์ปัลลวะ มีภาพช้างสลักอยู่หลายเชือก
ตรงกลางหน้าผามีรอยแตกมีน้ำฝนไหลลงมาได้ ถือเป้นการเสด็จลงของแม่พระคงคา
ทางด้านซ้ายมือข้างบนมีรูปสลักผู้ชายนั่งชันเข่าข้างหนึ่งเรียกว่าท่า
มหาราชลีลา นั่งอยู่คู่กับม้าสันนิษฐานว่าเป็นรูปท้าวกบิลกำลังนั่งเฝ้าม้าที่จะส่งไปเข้าพิธี
อัศวเมธ
ประติมากรรมหลายชิ้นที่วิหารอิสุรุมุณิยะ เดิมถูกทิ้งไว้กลางแจ้ง
ปัจจุบันทางรัฐบาลศรีลังกา ได้สร้างอาคารพิพิธภัณฑ์เล็กๆ
ชั้นเดียว แล้วย้ายรูปประติมากรรม ไปจัดเก็บรวบรวมและจัดแสดง
ให้ความรู้แก่ทุกคนที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้
• วัดอิสุรุมุณิยะ : สร้างโดยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
เดิมเป็น เทวาลัยในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์มาก่อน เพราะตัวศาสนสถานเจาะเข้าไปในหิน
ประวัติความเป็นมาของวัดอิสุรุมัณิยะไม่แน่นอน แต่เดิม มีถ้ำที่เคยเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ในยุคแรก
แต่ก็มีงานประติมากรรมที่ไม่ได้เป็นงานทางศาสนารวมอยู่ด้วย
เฉพาะงานประติมากรรมได้รับยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของยุคอนุราธปุระด้วยเช่นกัน
• วัดเวสสาคีรี : ตั้งอยู่ทางใต้ของอิสุรุมุนียา เป็นวัดที่สร้างในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
ใช้เป็นที่บวชและที่จำพรรษาพวกเวสสา (วรรณะต่ำ) สามารถจุพระได้ถึง
500 รูป วัดนี้ได้รับการยกย่องว่ามีการวางแบบแปลนทางสถาปัตยกรรมดีเยี่ยม
• รูปสลักหินคู่รัก : เป็นภาพแกะหินรูปผู้หญิงยกนิ้วชี้ท่าทางเขินอาย
นั่งบนตักผู้ชายที่โอบประคองนางด้วยท่าทีของความเสน่หาอย่างยิ่ง
มีลักษณะการแกะคล้ายกับประติมากรรมในยุคคุปตะของอินเดีย
ว่ากันว่า เป็นรูปของเจ้าชายสาลิยะ พระราชโอรสของพระเจ้าทุฎฐคามณี
ที่ทรงสละราชบังลังก์เพราะความรักที่มีต่อหญิงในวรรณะต่ำ
เป็นรูปที่รัฐบาลศรีลังกาได้นำไปตีพิมพ์เป็น ดวงตราไปรษณีย์
มาแล้ว รวมทั้งเราจะได้พบเห็นรูปนี้ในโปสการ์ด และหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวศรีลังกาแทบทุกฉบับ
เรียกกันว่ารูป เมถุน เป็นภาพที่โรแมนติก ไม่มีความหมายในทางหยาบคาย
• ทลาทะมลิกาวะวิหาร : เป็นที่ประดิษฐานของพระเขี้ยวแก้วเมื่อครั้งแรกที่มาจากแคว้นกลิงคราฐ
ประเทศอินเดีย จากความวุ่นวายของเหตุการณ์บ้านเมือง ทำให้ต้องมีการนำพระเขี้ยวแก้วไปซ่อนไว้ที่แคว้นอื่น
จนในที่สุด ก็ได้นำมาไว้ที่วิหารทลาทะมลิกาวะที่แคนดีจวบจนปัจจุบัน
• รัตนปราสาท : หรือปราสาทรัตนชาติ
อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของวัดอภัยคีรี เป็นศาลาของวัดอภัยคีรี
ซุ้มพญานาคราช (เทพเจ้าแห่งน้ำ) ที่ตรงทางเข้า ถือว่ามีความงดงามที่สุดในศรีลังกา
• พระราชวังของพระเจ้าวิชัยพาหุ : (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1598-1653)
ทรงเป็นกษัตริย์สิงหลที่มีชัยชนะเหนือพวกโจฬะ ราชธานีอยู่ที่โปโลนนารุวะ
ทรงสร้างพระราชวังที่อนุราธปุระไว้สำหรับเป็นที่แปรพระราชฐานชั่วคราว
• ประติมากรรมอัฒจันทร์ศิลา (หินสลักรูปจันทร์ครึ่งเสี้ยว)
: เป็นงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่อีกชิ้นหนึ่งของศรีลังกา นอกจากจะมีความงดงามอ่อนช้อยในทางศิลปะแล้ว
ยังมีความหมายทางพุทธปรัชญา ซึ่งก็มีนักปราชญ์ตีความกันไปหลายความหมาย
ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องกันว่า หมายถึง วงจรแห่งสังสารวัฎที่ต้องหมุนไปเรื่อยๆ
ตามแรงของกิเลสตัณหาหรือเปลวไฟในวงนอกสุด การจะก้าวพ้นไปได้ต้องไปให้ถึงวงในสุดที่เป็นดอกบัว
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนิพพาน อัฒจันทร์ศิลานี้มักจะอยู่บริเวณทางเข้าโบราณสถานคู่กับทวารบาลซึ่งนิยมทำเป็นรูปคนแคระหรือมนุษยนาค
• พระราชอุทยาน : หรือแรน
มาสุ อุยานา เป็นอุทยานติดต่อกับอ่างเก็บน้ำติสสะ มีสถาปัตยกรรมหินหลงเหลืออยู่
มีบ่อน้ำสำหรับอาบน้ำ 2 บ่อ บ่อเหนือแกะเป็นรูปช้างลงเล่นน้ำในสระบัว
มีร่องรอยของน้ำพุและห้องเล็กๆ ด้านข้างสระทำเป็นแนวหินยาวเป็นที่สำหรับนั่งได้
สถาปัตยกรรมในบริเวณพระราชอุทยานเป็นงานประเภทสวยงามน่ารัก
ไม่เหมือนสถาปัตยกรรมอื่นๆ ในอนุราชปุระที่จะเน้นความคิดทางศาสนาเป็นหลัก
• อ่างเก็บน้ำติสสะ : เป็นอ่างเก็บน้ำที่สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
ประมาณ 240 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีขนาด 450 เอเคอร์ ต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าธาตุเสน
โปรดเกล้าฯ ให้สร้างคลองขนาดใหญ่ด้วยเทคโนโลยีทางวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม
สามารถนาส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำกาลาเวว่า มายังอ่างเก็บน้ำติสสะ
มีความยาวถึง 90 กิโลเมตร โดยจ่ายน้ำให้อ่างเก็บน้ำใหญ่น้อยระหว่างทางได้ถึง
70 แห่ง เป็นเทคนิคอันแยบคายซึ่งแม้แต่วิทยาการตะวันตกก็ไม่สามารถทำได้มาก่อน
• อ่างเก็บน้ำนุวาระ : เป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในอนุราธปุระ
มีความกว้าง 7 กิโลเมตร ลึก 12 เมตร เชื่อมต่อกับแม่น้ำชายาและส่งผ่านน้ำไปสู่อ่างเก็บน้ำติสสะ |
เมืองเก่าอนุราธปุระ
ประเทศศรีลังกา |
|
|
เมืองเก่าอนุราธปุระ
ประเทศศรีลังกา |
|
|
เจดีย์อภัยคีรี เมืองอนุราธปุระ |

เจดีย์รุวันเวลิ ศรีลังกา |

ศิลปะพระศรีลังกา อนุราธปุระ |
อ่างเก็บน้ำติสสะ ศรีลังกา |

วัดเจดีย์ถูปาราม ศรีลังกา |

อ่างเก็บน้ำติสสะ ศรีลังกา |

วัดเจดีย์ถูปาราม ศรีลังกา |

เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา
|
เกร็ดเกี่ยวกับต้นพระศรีมหาโพธิ์
• ต้นพระศรีมหาโพธิ์ : คือต้นไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพันธุ์ไม้อัสสัตพะ ภาษาไทยเรียก ต้นโพ
ส่วนคำว่า ต้นโพธิ์ หมายถึง ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ต้นที่อยู่ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา ประเทศอินเดีย
• ต้นโพธิ์ตรัสรู้นั้น มีตำนานว่า เป็นสหชาติกับเจ้าชายสิทธัตถะ
คือเกิดพร้อมกับการประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ส่วนหน่อของต้นโพธิ์ตรัสรู้
ต่อมาพระอานนท์ได้นำไปปลูกไว้ที่ประตูวัดเชตวัน กรุงสาวัตถี
ตามความประสงค์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เรียกชื่อว่า ต้นอานันทโพธิ์
• แหล่งต้นกำเนิดของต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น หลังพุทธกาลสองร้อยกว่าปี
ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช มหาราชทรงครองราชสมบัติ ณ
เมืองปาฏลิบุตร แคว้นมคธ พระนางมหิสุนทรี พระราชชายาพระองค์หนึ่งในพระเจ้าอโศก
มีความไม่พอพระทัยที่พระสวามีใช้เวลาประทับอยู่ที่ต้นโพธิ์ครั้งละนานๆ
ไม่สนพระทัยพระนาง ด้วยความริษยาแม้กระทั่งต้นไม้ พระนางให้นางกำนัลนำน้ำร้อนไปราดต้นโพธิ์หลายครั้ง
จนกระทั่งต้นโพธิ์เหี่ยวเฉาลง ทำท่าจะตาย พระเจ้าอโศกเสียพระทัยจนประชวรหนัก
พระนางจึงทรงสารภาพความจริง พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงทะนุบำรุงต้นโพธิ์ขึ้นใหม่
จนกระทั่งแตกหน่ออ่อนให้ได้ชื่นชม
• ต้นพระศรีมหาโพธิ์มีอายุยืนยาวมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าสะสังกา
กษัตริย์ฮินดูจากแคว้นเบงกอล ประกาศพระองค์ไม่ขึ้นอยู่กับพระเจ้าปุณวรมา
แห่งแคว้นมคธ พระเจ้าสะสังกาทรงกรีธาทัพมาที่พุทธคยา เข้ารุกรานต้นพระศรีมหาโพธิ์เพื่อเป็นการทำลายขวัญของประชาชน
เพราะขณะนั้นต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธ
ทหารของพระเจ้าสะสังกาได้ทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์ลงอย่างสิ้นซากด้วยการจุดไฟเผา
• ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ 3 เกิดขึ้นใหม่ ณ บริเวณเดิม
พลโทเซอร์อะเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม นายทหารและนักโบราณคดีชาวอังกฤษ
บันทึกไว้ว่า ในการเดินทางมาพุทธคยาครั้งแรกในปี พ.ศ.2415
ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิ์แก่ชรามาก ต่อมาในปีพ.ศ. 2418 ท่านได้เดินทางกลับมาที่พุทธคยาอีกครั้ง
ได้เห็นว่าต้นพระศรีมหาโพธิ์กำลังจะตาย เพราะถูกชาวบ้านลิดกิ่งเอาไปทำฟืน
ต่อมาเซอร์คันนิงแฮม ได้กลับมาพุทธคยาอีกเป็นครั้งที่สาม
คราวนี้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งทั้งแก่ชราและอ่อนแอเต็มที่ได้ถูกพายุพัดโค่นลงมาทางทิศตะวันตก
• ส่วนต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ปรากฎอยู่ที่พุทธคยาในปัจจุบัน
เกิดจากศรัทธาของเซอร์คันนิงแฮม ที่ตั้งใจจะเก็บเมล็ดจากต้นที่ล้มนั้น
มาปลูกเพาะพันธุ์ใหม่ แต่กลับได้พบหน่อเล็กๆ สองหน่อเกิดขึ้นมา
จึงขออนุญาตรัฐบาลอินเดียขุดเอาต้นเก่าออก แล้วนำหน่อจากต้นเดิมลงปลูกแทน
ส่วนอีกหน่อนำไปปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
• จุดที่นำหน่อที่สองไปปลูก เซอร์คันนิงแฮม เข้าใจว่าเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้ายืนทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์
เป็นการเสวยวิมุตติสุขอยู่ตลอด 7 วัน ที่ชาวไทยเรียก “อนิมิสเจดีย์”
• ต่อมา พระนางสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาในพระเจ้าอโศก ได้รับพระราชบัญชาจากพระเจ้าอโศกให้นำกิ่งด้านขวาของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา
ไปถวายแด่พระเจ้าเทวานัมปิยตัสสะ แห่งลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยตัสสะทรงปลูกไว้
ณ เมืองอนุราธปุระ มีอายุยืนนานมาจนจวบทุกวันนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุยืนที่สุด
คือกว่า 2,300 ปี และได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจากรัฐบาลศรีลังกา
ด้วยถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่บรรพชนได้รักษาเอาไว้ด้วยชีวิต
จนกระทั่งสามารถรอดพ้นจากการถูกทำลายล้างจากลัทธิศาสนาอื่น
เหลือเป็นมรดกตกทอดมาให้อนุชนรุ่นหลังได้กราบไหว้บูชาเป็นสิริมงคล
• ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณฑูตไทยในสมัยรัชกาลที่
1 ได้เดินทางไปประเทศศรีลังกาและนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา
6 ต้น ในพ.ศ.2357 ได้นำไปปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช 2
ต้น นอกนั้นปลูกไว้ที่วัดมหาธาตุฯ วัดสุทัศน์ฯ วัดสระเกศ
และที่เมืองกลันตัน แห่งละ 1 ต้น ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาโดยตรงเป็นครั้งแรก
ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรฯ และวัดอัษฎางคนิมิตร |
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|
ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา |
|
|

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |

ดอกบัวบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ |

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศรีลังกา |

เมืองอนุราธปุระ ศรีลังกา |

โลหะปราสาท เมืองอนุราธปุระ |