เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
ทะเลอันดามันใต้
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
ทะเลอันดามันใต้
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
คลิปเกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
คลิปเกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านประวัติศาสตร์และความสวยงามของธรรมชาติ
ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ ๔๐ กิโลเมตร
และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา ๒๒ กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย
มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ ๑,๔๙๐ ตารางกิโลเมตร
ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน ๕๑ เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่
๗ เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ
เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่งออกเป็น ๒ หมู่เกาะใหญ่
คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่
๑๙ เมษายน ๒๕๑๗ และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ.
๒๕๒๕ ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves)
ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
เมษายน
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติตะรุเตามีสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขามีความลาดชันสูง
ชายฝั่งทางด้านตะวันออก ส่วนมากจะเป็นหน้าผาสูงชันสลับกับอ่าวและหาดทรายโคลน
ทางด้านตะวันตกจะมีหน้าผาเฉพาะทางด้านเหนือบริเวณแหลมตันหยงมะระ(ด้านหัวเกาะ)
มีที่ราบอยู่เป็นหย่อมๆ ทางเทือกเขาหลังอ่าว อ่าวที่สำคัญได้แก่
อ่าวพันเตมะละกา อ่าวสน อ่าวมะขาม อ่าวตะโละอุดัง และอ่าวตะโละวาว
เป็นต้น อ่าวต่างๆ เหล่านี้มีคลองและลำธารไหลผ่านออกสู่ทะเล
มีที่ราบเล็กน้อย เกาะอาดัง-ราวี อยู่ห่างจากเกาะตะรุเตาไปทางทิศตะวันตกประมาณ
40 กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาสูงครอบคลุมเนื้อที่เกือบทั้งหมดของเกาะ
มีที่ราบเฉพาะบริเวณเหนือชายหาดต่างๆ
ลักษณะภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในรอบปีที่ผ่านมา
(มกราคม 2543-พฤศจิกายน 2543) พบว่า ฝนตกมากที่สุดในเดือน
เมษายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 11.66 มิลลิเมตร รองลงมาเดือน มิถุนายน
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10.59 มิลลิเมตร และตกน้อยที่สุดในเดือน
มกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 0.01 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด
34.5 องศาเซลเซียสในเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด
10.5 ในเดือนกันยายน
พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
พืชพรรณ สามารถจำแนกออกได้
เป็น 6 ประเภท ได้แก่
ป่าดงดิบ พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น หงอกค่าง ยางปาย ยางเสียน
เป็นต้น
ป่าผสมผลัดใบ/ป่าเขาหินปูน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น รักขาว รักป่า
สะแกแสง เป็นต้น
ป่าชายหาด พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น เสม็ดชุน เสม็ดขาว สนทะเล
รักทะเล เป็นต้น
ป่าพรุ พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น จิกน้ำ ตีนเป็ดเล็ก กะลิง เป็นต้น
ป่าชายเลน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น เหงือกปลาหมอดอกม่วง ตีนเป็ดทะเล
แคทะเลหรือแคป่า เป็นต้น
ป่าแคระ/ไม้พุ่ม พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ปรงเขา ส้านใหญ่ ไกรทอง
เป็นต้น
สัตว์ป่า จากการสำรวจสามารถจำแนกได้ดังนี้
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย หมูป่า กระจงควาย กระจงเล็ก
เป็นต้น
นก ประกอบด้วย นกโจรสลัด นกกระสาใหญ่ นกยางเขียว เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลาน ประกอบด้วย ตะกวด เหี้ย งูเหลือม เป็นต้น
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ประกอบด้วย กบภูเขา หรือเขียดแลว
กบหนอง เป็นต้น
แมลง ประกอบด้วย ผีเสื้อมรกตธรรมดา ผีเสื้อลายขีดเงินลายขอ
ผีเสื้อสะพายขาวปีกโค้ง เป็นต้น
สัตว์น้ำ ประกอบด้วย ตะพาบน้ำ ปูน้ำตก กุ้งก้ามกราม เป็นต้น
ทรัพยากรทางทะเล
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ประกอบด้วย พะยูน โลมาหัวขวดธรรมดา
โลมาหัวขวดมลายู เป็นต้น
สัตว์เลื้อยคลานประกอบด้วย เต่ามะเฟือง เต่าตนุ เต่ากระ
เป็นต้น
ปลา ประกอบด้วย ปลากระเบน ปลาการ์ตูน ปลาเหลืองปล้อง เป็นต้น
หอย ประกอบด้วย หอยเป๋าอื้อ หอยฝาชี หอยมงกุฎ เป็นต้น
หมึก ประกอบด้วย หมึกกระดอง หมึกยักษ์ หมึกกล้วย เป็นต้น
ปู ประกอบด้วย ปูหิน ปูเสฉวน ปูม้า ปูลม เป็นต้น
กุ้ง ประกอบด้วย กั้ง กุ้งมังกร กุ้งชีแฮ้ เป็นต้น
ปะการัง ประกอบด้วย ปะการังลายกลีบดอกไม้ ปะการังดอกกะหล่ำ
ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง เป็นต้น
บ้านพัก-บริการ
ทางอุทยานฯจัดบ้านพัก ร้านอาหาร สถานที่กางเต้นท์ไว้อำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยงที่
เกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง
แหล่งท่องเที่ยว
ถ้ำจระเข้ อยู่ปลายคลองพันเตมะละกา
ใช้เรือพาดหางไปจอดท่าเทียบเรือหน้าถ้ำ ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
แล้วเดินทางต่อไปตามสะพานไม้ที่ทอดผ่านป่าชายเลนจนถึงถ้ำจระเข้
เพื่อเข้าไปชมความงามของหินงอกหินย้อย และเสาหิน
น้ำตกโละโป๊ะ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน
ซึ่งห่างจากของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน)
5 กิโลเมตรโดยประมาณ ห่างจากที่ทำการ 13 กิโลเมตร
น้ำตกลูดู เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ อยู่ในบริเวณอ่าวสน
ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ตต.4 (อ่าวสน) 3 กิโลเมตร
และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 11 กิโลเมตร
ผาชะโด ตั้งอยู่ในเกาะอาดัง
อดีตเป็นจุดสังเกตการณ์ของกลุ่มโจรสลัดเพื่อเข้าโจมตีเรือสินค้า
ชมทิวทัศน์สวยงามของท้องทะเล จะเห็นทิวสนและหาดทรายสีขาวของ
เกาะอาดัง ทั้งยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ ความงามของเกาะหลีแป๊ะ
ใช้ระยะเวลาในการเดินประมาณ 30 นาที อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
40 กิโลเมตร
ผาโต๊ะบู สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
60 เมตร อยู่ด้านหลังอาคารที่ทำการ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
ใช้เวลาเดินขึ้นประมาณ 20 นาที เป็นจุดชมวิวที่มีทัศวิสัยกว้างไกล
มีศาลา สำหรับพักผ่อน
เกาะจาบัง อยู่ระหว่างเกาะอาดังและเกาะราวี
รอบๆเกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังอ่อนสีชมพู สีม่วง สีแดง ไล่น้ำหนักอ่อนแก่อย่างสวยงาม
มีฟองน้ำครก แส้ทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวขนนก รวมทั้งปลาสวยงามในแนวปะการังที่ตื่นตา
ซึ่งเหมาะสำหรับการดำน้ำลึกและการดำน้ำตื้น
เกาะดง เป็นเกาะสุดท้ายในทะเลลึก
ความโดดเด่นของเกาะนี้คือ มีหินซ้อนตั้งเรียงกันอยู่อย่างงดงาม
แปลกตา และยังมีจุดดำน้ำลึกและดำน้ำตื้นให้นักท่องเที่ยวได้ชมความงามใต้ท้องทะเลรอบเกาะ
ได้อีกด้วย
เกาะไข่ เกาะเล็กๆที่มีหาดทรายขาวละเอียด
งดงาม ห่างจากเกาะตะรุเตา 25 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเกาะตะรุเตาและเกาะอาดัง
เกาะไข่มีสิ่งที่โดดเด่นอันถือเป็นสัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล
นั่นคือ ซุ้มประตูหินธรรมชาติ ที่ทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ
นอกจากนี้เกาะไข่ยังเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเลอีกด้วย
เกาะยาง อยู่ถัดจากเกาะหินงามขึ้นมาทางเหนือ
บริเวณรอบๆ เกาะถูกปกคลุมไปด้วยปะการังแข็ง เช่น ปะการังเขากวาง
ปะการังผักกาด ปะการังรูปโต๊ะ ฯลฯ จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำตื้น
หาดทรายสวยงาม น้ำใส มีปลาสวยงามในแนวปะการัง
เกาะราวี มีหาดทรายขาว น้ำใส
เงียบสงบ เหมาะแก่การกางเต็นท์พักผ่อน เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์
อุทยานแห่งชาติที่ ตต. 6 (หาดทรายขาว) และหน่วยพิทักษ์ อุทยานแห่งชาติที่
ตต. 7 (ตะโละปะเหลียน)
เกาะหลีเป๊ะ อยู่ห่างจากอาดังไปทางทิศใต้ประมาณ
2 กิโลเมตร เป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเล มีที่พักของเอกชน ร้านค้าและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยวอยู่ห่างจากที่ทำการ
47 กิโลเมตร
เกาะหินงาม เป็นเกาะเล็กๆ
ที่เป็นหาดหิน เต็มไปด้วยก้อนหินสีดำ กลมเกลี้ยง เนื่องจากถูกขัดสีด้วยแรงคลื่น
งามสดสวย เมื่อถูกน้ำประกายวาววับ หินทุกก้อนที่หาดแห่งนี้มีคำสาปเจ้าพ่อตะรุเตา
ห้ามนำ เคลื่อนย้ายออกจากเขตอุทยานแห่งชาติ
เกาะอาดัง ในอดีตเป็นที่ซ่องสุมโจรสลัด
ปล้นสะดมเรือ มีหาดทรายขาวละเอียด สวยงาม และมีแนวปะการังอยู่รอบๆเกาะ
เหมาะสำหรับดำน้ำตื้น เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
ตต. 5 (แหลมสน) อยู่ห่างจากที่ทำการ 40 กิโลเมตร
อ่าวจาก เป็นอ่าวเล็กๆ ติดต่อกับอ่าวพันเตมะละกา
หาดทรายขาวสะอาด เหมาะสำหรับเดินเล่น พักผ่อน
อ่าวตะโละวาว อยู่ทางด้านตะวันออกของเกาะตะรุเตา
เป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์สถานที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพหรือ ทัณฑสถาน
นักโทษเด็ดขาด นักโทษกักกัน ระหว่าง พ.ศ. 2480 2490 คงพบเห็นแต่มูลดิน
ซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้าง และสุสาน 700 ศพ เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
ตต.1(ตะโละวาว) อยู่ห่างจากที่ทำการ 12 กิโลเมตร
อ่าวตะโละอุดัง อยู่ด้านทิศใต้ของเกาะตะรุเตา
ห่างจากเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย ประมาณ 8 กิโลเมตร อดีตเป็นที่กักขังนักโทษการเมือง
กบฏบวรเดชและ กบฏนายสิบ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
ตต. 2(อ่าวตะโละอุดัง) อยู่ห่างจากที่ทำการ 23 กิโลเมตร
อ่าวพันเตมะละกา เป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติตะรุเตา
หาดทรายขาวสะอาด เหมาะแก่การเดินชายหาด เล่นน้ำทะเลและพักผ่อน
ค้างแรม กางเต็นท์
อ่าวเมาะและ มีหาดทรายขาวสะอาดและดงมะพร้าวสวยงาม
อ่าวฤาษี เป็นอ่าวเล็กๆ มีถ้ำไว้หลบฝน
ปะการังแข็งเหมาะแก่การดำน้ำตื้น
อ่าวมะขาม เป็นที่จอดพักเรือประมงขนาดเล็ก
มีน้ำจืดสนิท ป่าไม้สมบูรณ์ มีสัตว์ป่า และนกชุม เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
ตต.3 (อ่าวมะขาม)
อ่าวสน ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ
8 กิโลเมตร หาดทรายยาวประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล
มีหาดหิน น้ำตกและธารน้ำใส เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ
ตะรุเตาที่ ตต. 4 (อ่าวสน) มีจุดกางเต็นท์ บริการอาหาร ห้องน้ำ-ห้องสุขา
การเดินทาง
เครื่องบิน จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่ เดินทางโดยเครื่องบิน
เดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา เดินทางโดยรถแท็กซี่
หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา
หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
เรือ จากท่าเรือปากบารา อำเภอละงู
ถึงเกาะตะรูเตา และเกาะอาดัง-หลีเป๊ะ มีเรือโดยสารประจำทาง
ปากบารา-ตะรูเตา เรืออกจากปากบารา 10.30 น. และ 15.00 น.
ตะรูเตา-อาดัง เรือออกจากตะรุเตา 13.00 น.
อาดัง-ตะรุเตา เรือออกจากอาดังเวลา 09.00 น.
ตะรุเตา-ปากบารา เรือออกจากตะรุเตาเวลา 09.00 น. และ 13.00
น.
เรือ จากท่าเรือตำมะลัง ถึงเกาะตะรูเตา
และเกาะอาดังถึงหลีเป๊ะ มีเรือโดยสารประจำทาง(เรือเฟอร์รี่)
ตำมะลัง- ตะรุเตา เรือออกจากตำมะลังเวลา 11.00 น.
ตะรุเตา-อาดัง-หลีเป๊ะ เรือออกจากตะรูเตาเวลา 12.00 น.
อาดัง-หลีเป๊ะ-ตะรุเตา เรืออกจากอาดังเวลา 18.00 น.
ตะรุเตา-ตำมะลัง เรือออกจากตะรุเตาเวลา 16.00 น.
รถไฟ จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่
เดินทางโดยรถไฟเดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา
เดินทางโดยรถแท็กซี่ หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา
หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯถึงอำเภอละงู
เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศและรถโยสารประจำทางสาย ตรัง-สตูล
ถึงอำเภอละงูขึ้นรถสองแถวมายังท่าเทียบเรือ ปากบารา
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯ ถึงสตูล เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศและรถโดยสารประจำทางเดินทางต่อจากสตูลไปท่าเรือตำมะลังโดยรถสองแถว
รถโดยสารประจำทาง จากกรุงเทพฯถึงหาดใหญ่ เดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง
เดินทางต่อจากหาดใหญ่ถึงท่าเทียบเรือปากบารา เดินทางโดยรถแท็กซี่
หาดใหญ่-ละงู นั่งรถสองแถวจากอำเภอละงูไปงท่าเทียบเรือปากบารา
หรือรถตู้ปรับอากาศ หาดใหญ่-ปากบารา หรือ รถโดยสารประจำทางหาดใหญ่ปากบารา
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล 91110 |
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
บังณรงค์
กำลังบรรยายตำนานเกาะตะรุเตา |
|
|
บังณรงค์
กำลังบรรยายตำนานเกาะตะรุเตา |
|
|
ศาลเจ้าพ่อตะรุเตา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
ศาลเจ้าพ่อเกาะตะรุเตา |
ศาลเจ้าพ่อเกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา |
ข้อมูลเพิ่มเติม...เกาะตะรุเตา |
เกาะตะรุเตา
ที่ตั้ง
: ทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา ห่างจากท่าเรือปากบาราไปประมาณ
22 กิโลเมตร
การเดินทาง
: โดยสารเรือโดยสารที่ท่าเรือปากบารา มีเรือให้บริการในเวลาเช้าทุกวันในฤดูท่องเที่ยวใช้เวลาเดินทางด้วยเรือเฟอร์รี่ประมาณ
30 นาที เมื่อถึงเกาะตะรุเตาแล้ว เรือโดยสารจะเดินทางต่อไปยังเกาะหลีเป๊ะ
ซึ่งอยู่ห่างออกไปอีก 1 ชั่วโมง
เกาะตะรุเตาเป็นเกาะใหญ่และอยู่ใกล้ฝั่งมากที่สุดของท้องทะเลสตูล
มีชายหาดสวยงามรอบเกาะและมีป่าที่สมบูรณ์จึงเด่นที่สุดในเรื่องธรรมชาติ
จนได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2525
นอกจากนี้เกาะตะรุเตายังมีเรื่องราวประวัติศาสตรืเมื่อครั้งเป็นแหล่งคุมขังนักโทษการเมืองอีกด้วย
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา มีหมู่เกาะในเขตอุทยานฯทั้งหมด
51 เกาะ ซึ่งมีเกาะขนาดใหญ่เพียง 7 เกาะเท่านั้น คือ เกาะตะรุเตา
(มีพื้นที่ 152 ตารางกิโลเมตร) เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ
เกาะกลาง เกาะบาดวง เกาะบิสสี ส่วนที่เหลือคือเกาะขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะตะรุเตา
และเรียงรายอยู่รอบเกาะอาดัง-ราวี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา ยังเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย
ประกาศจัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517 คำว่า ตะรุเตา เพี้ยนมาจากคำว่า
ตะโละเตรา เป็นภาษามลายูแปลว่า มีอ่าวมาก ตามสภาพภูมิประเทศของเกาะ
ซึ่งมีลักษณะเป็นอ่าวเว้าแหว่งมากมายอยู่รอบเกาะนั่นเอง
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเกาะตะรุเตานั้นมีหลากหลาย
กล่าวกันว่าเพียงเกาะเดียวก็มีธรรมชาติให้ท่องเที่ยวได้ครบ
ทั้งเที่ยวทะเล จุดชมวิว เดินป่า เที่ยวน้ำตก ดูนก และท่องเที่ยวดูประวัติศาสตร์
อ่าวพันเตมะละกา : อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
อ่าวพันเตมะละกาเป็นจุดศูนย์กลางการเดินทางบนเกาะตะรุเตา เพราะท่าเรือที่นำนักท่องเที่ยวจากปากบาราจะมาส่งขึ้นเกาะตะรุเตาที่นี่
อ่าวนี้ยังเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ศูนย์พยาบาล เรือหางยาวบริการนำเที่ยว ร้านอาหาร บ้านพักรับรองของอุทยานฯและลานกางเต็นท์
ชายหาดที่ทอดยาวเกือบ 2 กิโลเมตรนี้รื่นนมไปด้วยทิวสนธรรมชาติ
มีเส้นทางเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมวิวผาโต๊ะบู ซึ่งเป็นหน้าผาสูงประมาณ
60 เมตร ซึ่งสามรถชมท้องทะเลได้สุดสายตา โดยเฉพาะยามพระอาทิตย์นับว่าสวยที่สุด
สอถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา โทรศัพท์ 0 7478 3485 ,0 7478 3597
อ่าวสน : อยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ
ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 8 กิโลเมตร อ่าวสนเป็นหาดทรายที่ทอดยาวมาก
และยังเด่นด้วยหาดหินที่มีอยู่ประมาณ 200 เมตร โดยมีคลองน้ำกร่อยแบ่งแยกหาดทั้งสองออกจากกัน
บริเวณชายหาดร่มรื่นและสงบเป็นส่วนตัว หาดนี้ยังเป็นที่วางไข่ของเต่าทะเล
และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของเกาะอีกด้วย
จากอ่าวสนมีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติที่น่าสนใจสองเส้น คือ
เส้นทางไปน้ำตกลูดู และเส้นทางไปน้ำตกโละโป๊ะ ซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆท่ามกลางป่าสมบูรณ์
สามารถค้างแรมบริเวณอ่าวสนได้ เพราะมีลานกางเต็นท์และห้องน้ำบริการ
อ่าวเมาะและ : ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 4 กิโลเมตร สามารถเหมาเรือหางยาวจากอ่าวพันเตมะละกาไปได้สะดวก
อ่าวเมาะและมีชายหาดขาวสะอาดทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตร บรรยากาศสวยสงบ
น้ำทะเลใสสะอาด และยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามแห่งหนึ่งอีกด้วย
หากอยากสัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดสามารถขออนุญาติกางเค็นท์พักแรมได้
อ่าวตะโละวาว : ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะตะรุเตา
ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 12 กิโลเมตร อ่าวตะโละวาวเป็นแหล่งประวัติศาสตร์
เป็นที่ตั้งนิคมฝึกอาชีพของนักโทษการเมือง ระหว่างปี พ.ศ.
2480-2490 ปัจจุบันเหลือร่องรอยจากสิ่งก่อสร้างให้เห็นบ้างเช่น
โรงเรื่อย ตึกแดง ท่าเรือ เรือนนักโทษ ฯลฯ
อ่าวตะโละวาวเป็นที่ตั้งหน่วยพิทักษ์อุทยานฯตะโละวาว หากพักแรมที่นี่ยังจะได้ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่สวยที่สุดของเกาะตะรุเตาอีกด้วย
อ่าวตะโละอุดัง : ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะตะรุเตา
ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ 26 กิโลเมตร จุดเด่นของอ่าวนี้คือเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ของเกาะ
แต่ปัจจุบันเหลือเพียงป้ายบอกตำแหน่งของสิ่งก่อสร้าง นอกจากนี้อ่าวตะโละอุดังยังเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับเกาะลังกาวีของมาเลเซียของมาเลเซียมากที่สุด
โดยมีระยะห่างเพียง 8 กิโลเมตร หากเหมาเรือหางยาวจากอ่าวพันเตมะละกาเที่ยวจะผ่านอ่าวสน
อ่าวมะขามซึ่งเป็นอ่าวเล็กๆ เป็นที่จอดเรือประมงขนาดเล็ก มีแหล่งน้ำจืดสมบูรณ์
และเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯอ่าวมะขาม |
การเดินทาง
ทางรถยนต์ : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข
4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี
ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดพัทลุง และกลับมาใช้ทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมาย
406 เข้าสู่ตัวจังหวัดสตูล รวมระยะทาง 973 กิโลเมตร
การเดินทางไปท่าเรือปากบารานั้นให้ใช้ทางหลวงหมายเลข
4078 ที่สามแยกฉลุงไปอำเภอละงู ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร
จากอำเภอละงูไปท่าเรือปากบารา ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองสตูลประมาณ
56 กิโลเมตรและรวมระยะทางจากกรุงเทพฯ 1,029 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง : นักท่องเที่ยวไม่นิยมขับรถมาเอง
เพราะระยะทางยาวไกล เว้นแต่จะมีรายการแวะเที่ยวเรื่อยๆและมีเวลามากพอ
ส่วนใหญ่จะเลือกนั่งรถทัวร์จากสถานีขนส่งสายใต้ที่กรุงเทพฯซึ่งสะดวกกว่า
มีรถทัวร์โดยสารหลายชนิดหลายราคา ส่วนใหญ่ออกเดินทางในช่วงเย็น
ถึงสตูลในตอนเช้า ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 12-15 ชั่วโมง
สถานีขนส่งสายใต้ โทรศัพท์ 0 2435 1199
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทรศัพท์ 0 2435 7192
, 0 2435 1195 , 0 2435 5650
รถไฟ : รถไฟเป็นวิธีหนึ่งที่เหนื่อยน้อยกว่า
เพราะสามารถโดยสารตู้นอนไปลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
หรือสถานีรถไฟตรังก็ได้ การเดินทางไปรถไฟไปทั้งสองสถานีใช้เวลาประมาณ
15 ชั่วโมง จากนั้นต่อรถตู้โดยสารไปยังท่าเรือปากบารา ระยะทางประมาณ
97 กิโลเมตรจากหาดใหญ่ และประมาณร้อยกิโลเมตรเศษจากตรัง ใช้เวลาเดินทางประมาณ
2 ชั่วโมงเศษ
สถานีรถไฟกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 1690 , 0 2233
4334
เครื่องบิน : สตูลไม่มีสนามบินพานิชย์
สามารถใช้บริการจากสายการบินไทยไปลงที่สนามบินนานาชาติหาดใหญ่
หรือสนามบินตรังก็ได้ ที่หาดใหญ่มีเที่ยวบินให้บริการวันละหลายสายการบิน
ส่วนที่ตรังมี 2 สายการบินให้บริการนอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินระหว่างหาดใหญ่ไปภูเก็ต
วันละ 1 เที่ยวบินให้บริการด้วย สอบถามรายระเอียดได้ที่
การบินไทย โทรศัพท์ 1566 , 0 2628 2000 หรือ
เว็บไซต์ www.thaiairways.com
สายการบินภูเก็ต แอร์ โทรศัพท์ 0 2679 8999
เรือ : มีเรือจากท่าเรือปากบาราไปเกาะตะรุเตาคือ
เรือเฟอร์ปรับอากาศความเร็วสูงปากบารา-หมู่เกาะตะรุเตา-เกาะหลีเป๊ะ
บริษัทิ ไทยเฟอรี่เซ็นเตอร์ จำกัด โทรศัพท์ 0 7473 2510 |
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
เกาะตะรุเตา
อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
สุดน่านน้ำอันดามันไทย
คู่มือนักเดินทาง
อุทยานแห่งชาติตะรุเตา เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของเมืองไทย
และอยู่ในท้องทะเลอันดามันตอนใต้สุดของประเทศในพื้นที่จังหวัดสตูล
มีน่านน้ำติดกับประเทศมาเลเซีย พื้นที่ของอุทยานฯ ครอลคลุมหมู่เกาะและทะเลรวมกันราว
1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะถึง 51 เกาะ เมื่อปี
พ.ศ. 2525 ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน
ปัจจุบัน ตะรุเตาเป็นแหล่งท่องเที่ยวซึ่งมีชื่อเสียงทั้งด้านประวัติศาสตร์และความงดงามของธรรมชาติ
ท้องทะเล ป่าไม้ และ ความสมบูรณ์ของชีวิตใต้น้ำ โดยจัดแบ่งออกเป็นหมู่เกาะใหญ่
2 หมู่เกาะ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี
และมีจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจโดยแบ่งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวตัวอย่างดังนี้
เส้นทางที่ 1 : อ่าวพันเตมะละกา ถ้ำจระเข้
ผาโต๊ะบู
อ่าวพันเตมะละกา : ที่ตั้งของที่ทำการอุทยานฯ และศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว
หน้าอ่าวมีหาดทรายขาวทอดยาวเหยียด เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งดงาม
บริเวณโดยรอบจัดเป็นลานกางเต็นท์ บ้านพักและร้านค้าสวัสดิการบริการอาหารและเครือ่งดื่ม
มีบ้านพัก 13 หลัง เรือนแถว 2 เรือน ราคาตั้งแต่ 500-1,500
บาท ต่อหลัง ส่วนลานกางเต็นท์หากนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการ
30 บาทต่อคน
คลองพันเตมะละกาและถ้ำจระเข้ : เป็นคลองที่ซึ่งแน่นขนัดไปด้วยป่าชายเลนสมบูรณ์
เมื่อล่องเรือไปราว 1.5 กิโลเมตร จะถึงถ้ำจระเข้ ถ้ำที่เล่ากันว่า
เคยพบจระเข้น้ำเค็มอาศัยอยู่ สามารถล่องแพเข้าไปชมความลึกลับและหินงอกหินย้อยในถ้ำได้
ระยะทางราว 300 เมตร สนใจไปถ้ำจระเข้ติดต่อเรือหางยาวชาวบ้านหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติฯ
ราคาเหมาลำละ 400 บาท
ผาโต๊ะบู : จุดชมวิวซึ่งมองเห็นทิวทัศน์ของหมู่เกาะในน่านน้ำตะรุเตาได้อย่างชัดเจน
และเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงาม ทางขึ้นเขาอยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานฯ
สูงราว 60 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สองข้างทางแวดล้อมด้วยป่าดิบแล้ง
เส้นทางที่ 2 : อ่าวตะโละวาว อ่าวสน น้ำตกลูดู อ่าวเมาะและ
อ่าวจาก
อ่าวตะโละวาว : อยู่ทางตะวันออกของเกาะ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ
12 กิโลเมตร เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมาก ถัดจากท่าเรือหน้าอ่าวเข้าไปมีเส้นทางศึกษาประวัติศาสตร์
ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร จัดจำลองให้เห็นภาพสถานกักกันในอดีตไว้ครบครัน
ทั้งตึกแดง เรือนพยาบาล เรือนพักนักโทษ เส้นทางร่มรื่นด้วยพรรณไม้นานาชนิด
ที่หน่วยพิทักษ์อุทยาน มีร้านค้าสวัสดิการขายเครื่องดื่ม
อ่าวสน : อ่าวรูปครึ่งวงกลม เต็มไปด้วยหาดหิน อีกด้านคือหาดทรายขาว
มีร้านค้าสวัสดิการขายอาหารและเครื่องดื่ม ถัดไปจะมีแนวหาดทรายยาวกว่า
3 กิโลเมตร เหมาะแก่การเล่นน้ำและนอนอาบแดด
น้ำตกลูดู : น้ำตกขนาดเล็กซึ่งต้องเดินเท้าเข้าไปกว่า 3
กิโลเมตร ตลอดทางเดินร่มครึ้มและมีพรรณไม้แปลก เป็นเส้นทางที่เหมาะไปศึกษาธรรมชาติในช่วงหน้าฝน
อ่าวเมาะและ : หน้าหาดแห่งนี้มีจุดเด่นคือ ทิวมะพร้าวเรียงรายอีกทั้งมีบ้านพักติดชายหาด
ราคาห้องละ 1,000 บาท ต่อคืน รวมถึงร้านค้าสวัสดิการและห้องอาบน้ำอย่างดี
อ่าวจาก : อยู่ติดกับอ่าวพันเตมะละกา เป็นอ่าวขนาดเล็ก บรรยากาศเงียบสงบ
ห่างจากที่ทำการอุทยานราว 3 กิโลเมตร |
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
อ่าวพันเตมะละกา
เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา |
|
|
สู่...ถ้ำจระเข้ |
สู่...ถ้ำจระเข้ |
ถ้ำจระเข้ |
ถ้ำจระเข้ |