|
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดระนอง |
ประวัติศาสตร์เมืองระนอง |
|
|
|
|
จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่อยู่ฝั่งทะเลอันดามันอยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางหลวงหมายเลข
4 (ถนนเพชรเกษม ระยะทาง 568 กม.มีพื้นที่ 3,426 ตร.กม. โดยรวมเกาะใหญ่น้อยในทะเลอันดามัน
ซึ่งอยู่ในเขตปกครองจำนวน 62 เกาะ) มีฝนตกมากที่สุดในประเทศและคอคอดที่แคบที่สุดของแหลมมลายู
คือ คอคอดกระ แบ่งการปกครองออกเป็น 4 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ
คือ อำเภอเมือง อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์ และกิ่งอำเภอสุขสำราญ
เมืองดีบุก ระนองมีทรัพยากรธรรมชาติใต้ดินที่มีชื่อเรียกกันในสมัยโบราณว่าตะกั่วดำ
หรือ ดีบุกในปัจจุบันเป็นจำนวนมาก ในอดีตนับตั้งแต่ช่วงสมัยรัชกาลที่
3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ระนองจึงมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ
เนื่องจากรายได้หลักของหลวงที่นำมาพัฒนาประเทศ มาจากการผูกขาดส่งอากรดีบุกของระนอง
และเป็นเมืองแรกที่มีนายเหมืองเป็นนายอากรมาแต่โบราณ
เมืองชายแดน การที่ไทยต้องเสียดินแดนเมืองมะริด
รวมทั้งเมืองมะลิวัลย์แก่อังกฤษ และได้มีการปักปันเขตแดนไทย
โดยใช้แม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นกั้นพรมแดน ในปี พ.ศ. 2442 มีผลให้เมืองระนองและเมืองตระ
ซึ่งมีฐานะเป็นอำเภอในการปกครองของจังหวัดระนองมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองชายแดน
มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองขึ้นของอังกฤษทางด้านทะเลตะวันตกและมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์รวมของการไปมาหาสู่
และซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 พ.ศ. 2485 กองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งฐานทัพที่บริเวณเขาฝาชี
อำเภอละอุ่น ทั้งนี้เนื่องจากระนองเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะขนถ่ายกำลังพลและเสบียงไปยึดประเทศพม่า
ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อีกทั้งเขตอำเภอละอุ่นมีจุดที่สามารถเข้าประเทศพม่าและมองเห็นศัตรูได้ทั้งทางบก
ทางทะเลและอากาศ เมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ไทยได้ติดต่อค้าขายกับพม่าด้านชายแดนจังหวัดระนอง
ซึ่งมีผลให้เศรษฐกิจของระนองก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน
เมืองคอคอดกระ พื้นที่บริเวณคอคอดกระ
เป็นผืนแผ่นดินส่วนที่กิ่ว หรือแคบที่สุดในแหลมมลายู อยู่ในเขตอำเภอกระบุรี
จังหวัดระนอง กว้าง 9 กิโลเมตร พื้นที่ด้านตะวันตกของบริเวณคอคอดกระ
ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของเมืองตระมาแต่เดิม มีภูเขาสลับซับซ้อนมีทางลัดผ่านทางช่องเขาเพียงสายเดียว
ในสมัยโบราณคอคอดกระเป็นเส้นทางสำคัญทางสายเดียวที่พม่าใช้เป็นเส้นทางเดินทัพยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งทะเลตะวันออก
เมื่อฝรั่งเศสคิดจะขุดครองตระ จากเมืองตระไปออกชุมพรเพื่อความรวดเร้วในการเดินเรือจากยุโรปไปเมืองจีน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คอคอดกระจึงมีความสำคัญมากขึ้น
หากสามารถขุดคลองได้สำเร็จเรือเดินทะเลจากยุโรปจะผ่านคลองไปเมืองจีน
โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายูผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษทางเมืองปีนังและสิงคโปร์
และความจำเป็นทางด้านการทหารของอังกฤษ คงมีผลให้ไทยต้องเสียดินแดนทางแหลมมลายู
ประกอบกับการขุดคลองจำเป็นต้องขุดแม่น้ำกระบุรี ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทยกับพม่าของอังกฤษให้กว้างลึกข้าไปในดินแดนที่อยู่ในอำนาจของอังกฤษด้วย
เมื่ออังกฤษไม่ยอม ความคิดที่จะขุดคลองกระจึงล้มเลิกไป การขุดคลอง
ณ บริเวณคอคอดกระ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง แต่กระทบต่อความมั่นคงของชาติทางด้านการทหารอย่างไรก็ตามคอคอดกระจึงยังอยู่ในความสนใจ
ทั้งทางราชการและประชาชนมาจนปัจจุบัน
เมืองเสด็จประทับแรม พระมหากษัตริย์
4 พระองค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรมจังหวัดระนอง
ดังนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ผ่านเมืองตระไปประทับแรม
ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ บริเวณเขานิเวศน์คีรี เมืองระนอง
3 ราตรี เมื่อปี พ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันและได้พระราชทานนามถนนในเทศบาลเมืองระนอง
ชื่อคล้องจองกันรวม 10 สาย ได้แก่ ท่าเมือง เรืองราษฎร์
ชาติเฉลิม เพิ่มผล ชลระอุ ลุวัง กำลังทรัพย์ ดับคดี ทวีสินค้า
ผาดาด โดยพระราชทานนามตามการใช้ประโยชน์ เช่น ถนนชลระอุ
เป็นเส้นทางไปถึงบ่อน้ำแร่ร้อน , ถนนดับคดี เป็นเส้นทางไปยังศาลชำระคดีความ
ฯลฯ และต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนใหม่เพิ่ม ก็ได้ตั้งชื่อให้คล้องจองกับชื่อถนนที่พระราชทานนามให้ว่า
ราษฎร์พาณิชย์ กิจผดุง บำรุงสถาน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก
ประทับแรมจังหวัดระนองเมื่อปี พ.ศ. 2460
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองระนอง
และประทับแรมจังหวัดระนอง 2 ราตรี เมื่อปี พ.ศ. 2471
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดระนอง ประทับแรม
ณ จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502
เมืองปกครองแบบพิเศษแหล่งหล่อหลอมนักปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ระนองปกครองเมืองโดยใช้อำนาจเจ้าเมืองรวมกับอำนาจของเจ้าภาษีอากรเรียกว่า
ระบบเหมาเมือง เป็นแห่งแรกของประเทศ ในจำนวนไม่กี่เมือง
และเป็นเมืองเดียวในประเทศไทยที่แต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมือง
, ผู้ว่าราชการเมือง โดยการสืบทอดทายาท เป็นเวลาเกือบ 100
ปี นอกจากนี้ลูกหลานของพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง)ได้รับราชการเป็นผู้ว่าราชการเมืองและสมุหเทศาภิบาลมณฑลตามหัวเมืองต่างๆของภาคใต้
เช่น ชุมพร หลังสวน ตรัง ภูเก็ตสุราษฎร์ธานี โดยท่านเหล่านี้เป็นนักปกครองที่มีแนวคิดกว้างไกล
เนื่องจากได้รับการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย
ปีนัง ฯลฯ ทำให้หัวเมืองชายฝั่งทะเลตะวันตกมีความจริญรุดหน้ามาจนปัจจุบัน
ระบบการปกครองของตระกูล ณ ระนอง ได้รับความสนใจจาก นักวิชาการต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
โดย Dr. JENIFER W. CUSHMAN จาก OXFORD UNIVERSITY ได้เขียนพ็อคเก็ตบุคเรื่อง
FAMILY AND STATE ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจการปกครองช่วงปี
ค.ศ. 1797-1932 กล่าวถึง ตระกูล ณ ระนอง โดยเฉพาะ ท่านคอซู้เจียง
ที่ไม่ได้รับการศึกษาแต่สามารถเป็นทั้งนักปกครองและนักเศรษฐกิจ
ทำให้ระนองเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญ และถือว่า ท่านคอซู้เจียง
เป็นบุคคลสำคัญของเอเชียในยุคนั้นหนังสือดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในปี
ค.ศ. 1991 ปัจจุบันมีจำหน่ายในต่างประเทศทั่วโลก |
|
|
|
|
ประวัติศาสตร์จังหวัดระนอง
สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดระนองสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาไม่มีหลักฐานปรากฏเข้าใจว่าสมัยนั้นจังหวัดระนองยังคงมีสภาพเป็นป่าดง
รกร้างว่างเปล่าไม่มีผู้คนอยู่อาศัย เป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย
ซึ่งเจริญรุ่งเรืองทางส่วนใต้ของประเทศไทยในสมัยนั้น
สมัยกรุงศรีอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่
๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๗๒) ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองบ้านเมือง
โดยยกเลิกการปกครองแบบที่มีเมืองลูกหลวง ๔ ด้าน ราชธานีที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย
และได้มีการขยายขอบเขตการปกครองของเมืองหลวงให้กว้างออกไปโดยรอบ
คือจัดเป็นแบบในวงราชธานีกับนอกวงราชธานี ในวงราชธานีนั้นถือเอาเมืองหลวงเป็นหลักและมีเมืองจัตวาขึ้นอยู่รายรอบหัวเมือง
เมืองจัตวาเหล่านี้มีผู้รั้ง (เจ้าเมือง) กับกรมการเป็นพนักงานปกครองโดยให้อยู่ในบังคับบัญชาของเสนาบดีทั้งหลายในเมืองหลวงส่วนหัวเมืองที่อยู่นอกวงราชธานี
หรือเมืองชายแดนหน้าด่านชายแดนนั้น จัดให้เป็นหัวเมืองชั้นเอก
โท ตรี ตามขนาดความสำคัญของเมืองนั้น ๆ ซึ่งต่อมาเรียกว่าหัวเมืองชั้นนอก
หัวเมืองชั้นนอกเหล่านี้ต่างก็มีหัวเมืองเล็กๆ คั่นอยู่เช่นเดียวกับในวงราชธานี
มากบ้างน้อยบ้างตามขนาดของอาณาเขตโดยกำหนดตามท้องที่สุดแต่จะให้พนักงานปกครองต่างเมืองเดินทางไปมาถึงกันได้ภายในวันหรือสองวัน
เพื่อจะได้บอกข่าวช่วยเหลือกันเมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆ เช่น
ภาวะสงคราม บรรดาหัวเมืองชั้นนอก เหล่านี้ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งเจ้านายในราชวงศ์
หรือข้าราชการชั้นสูงศักดิ์เป็นผู้สำเร็จราชการเรียกว่าเจ้าเมือง
หรือพระยามหานครตามแต่ฐานะของเมืองมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาสิทธิ์ขาดต่างพระเนตรพระกรรณทุกประการ
ในสมัยอยุธยานี้ เมืองระนองมีลักษณะเป็นหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นอยู่กับเมืองชุมพร
ซึ่งเป็นหัวเมืองชั้นตรี มีอาณาเขตติดทะเลฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก
นอกจากเมืองระนองซึ่งเป็นเมืองชั้นเอก เมืองชุมพรแล้วยังมีเมืองตระ
(อำเภอกระบุรี) เมืองปะทิว เมืองตะโก เมืองหลังสวนและเมืองมลิวัน
(เดี๋ยวนี้อยู่ในสหภาพพม่า)
สมัยกรุงธนบุรี
เมืองระนองสมัยกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏมีเหตุการณ์และหลักฐานทางประวัติศาสตร์แต่อย่างใด
สันนิษฐานว่ายังเป็นหัวเมืองเล็กๆ ขึ้นตรงต่อเมืองชุมพรตลอดสมัยกรุงธนบุรี
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
เมืองระนองมีชื่อปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่
๑ และรัชกาลที่ ๒ ว่าเป็นเมืองหนึ่งที่พม่ายกทัพผ่านเข้ามาเพื่อไปตีเมืองชุมพรเท่านั้น
นอกจากนี้ในอดีตนอกจากจะเป็นเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในป่าดงรกร้างหาเป็นภูมิฐานบ้านเมืองไม่
ภูมิประเทศยังเต็มไปด้วยภูเขาสลับซับซ้อนแทบจะหาที่ราบสำหรับการเกษตรไม่ได้
มิหนำซ้ำการเดินทางไปมาติดต่อต่างเมืองก็ลำบากยากเข็น ถ้าไม่ใช่การเดินทางทางเรือ
อันต้องผ่านปากอ่าวเข้ามาทางด้านมหาสมุทรอินเดียแล้ว ก็ต้องขึ้นเขาลงห้วย
บุกป่าฝ่าดงกันเท่านั้นเองแต่ไม่ว่าทางใดก็ต้องเสียเวลาเดินทางกันเป็นวันๆ
ทั้งนั้นจนขึ้นชื่อว่าเป็นเมือง สุดหล้าฟ้าเขียว เอาทีเดียว
ผู้คนต่างกันจึงไม่ค่อยจะได้ถ่ายเทเข้ามาตั้งรกรากทำมาหากินในเมืองระนองพลเมืองระนองจึงมีอยู่น้อยนิดเรื่อยมาแต่ในท่ามกลางป่าเขาทุรกันดารนั้น
ระนองได้สะสมทรัพยากรธรรมชาติไว้ใต้แผ่นดินเป็นเอนกอนันต์
นั่นคือวัตถุที่มีชื่อเรียกกันในสมัยโบราณว่า ตะกั่วดำ และในปัจจุบันเรียกว่า
แร่ดีบุกนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้เองจึงมีราษฎรในเมืองชุมพรและเมืองหลังสวนได้อพยพเข้ามาหาเลี้ยงชีพด้วยการขุดแร่ดีบุกขายมาแต่โบราณ
ฝ่ายรัฐบาลผ่อนผันให้ราษฎรมีความเป็นอยู่อย่างผาสุกโดยให้ส่งส่วยดีบุกแทนการรับราชการ
โดยการผ่อนผันกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ให้มีเจ้าอากรภาษีรับผูกขาดอากรดีบุก
คือจักบำรุงการขุดแร่ และมีอำนาจที่จะซื้อและเก็บส่วนดีบุกในแขวงเมืองตระตลอดมาจนถึงเมืองระนอง
โดยยอมสัญญาส่งดีบุกแก่รัฐบาลปีละ ๔๐ ภารา (คิดอัตราในเวลานี้ภาราหนึ่งหนัก
๓๕๐ ชั่ง เป็นดีบุก ๑๔,๐๐๐ ชั่ง) ในการเก็บรวบรวมและจัดส่งส่วยอากรแร่ดีบุกให้แก่รัฐบาลนั้น
ราษฎรได้ยกย่องให้นายนอง ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้นำที่ดีและเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้รวบรวมและส่งไป
ด้วยคุณงามความดีของนายนองที่มีต่อลูกบ้านปกครองลูกบ้านด้วยดีเสมอมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นโดยการส่งภาษีอากรแร่ดีบุกที่ขุดได้เพิ่มมากขึ้น
จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนองเจ้าเมืองคนแรกสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่
๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีผู้ประมูลผูกขาดส่งภาษีอากรดีบุกขึ้นเรียกว่า
นายอากร
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ พ.ศ. ๒๓๘๗ มีคนจีนชื่อคอซู้เจียง
(ภายหลังได้เป็นที่ พระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดีผู้เป็นต้นสกุล
ณ ระนอง) เป็นจีนฮกเกี้ยน เกิดที่เมืองจิวหูประเทศจีน ได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยและตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองตะกั่วป่า
ได้ยื่นเรื่องราวประมูลอากรดีบุก แขวงเมืองตระและระนอง และทำการประมูลได้
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตั้งนายคอซู้เจียงเป็น หลวงรัตนเศรษฐี ตำแหน่งขุนนางนายอากร
ในปี พ.ศ. ๒๓๙๗ หลวงระนองเจ้าเมืองระนองถึงแก่กรรมทำให้เจ้าเมืองระนองว่างลง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงดำริถึงความดีความชอบของหลวงรัตนเศรษฐีจึงทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตร เลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงรัตนเศรษฐี
(คอซู้เจียง) เป็นพระรัตนเศรษฐีผู้สำเร็จราชการเมืองระนอง
ถือศักดินา ๘๐๐ ไร่ แต่เมืองระนองยังคงเป็นเมืองไม่มีชั้น
อันดับ ยังคงขึ้นตรงต่อเมืองชุมพรต่อมา |
|
|
|
|
|
ระนอง ท่องเที่ยวระนอง โรงแรมระนอง จังหวัดระนอง
คอคอดกระ
ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง |
ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดระนอง
|
|
ระนอง
จังหวัดระนอง แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว อ.เมือง
อ.กระบุรี อ.กะเปอร์ อ.ละอุ่น กิ่ง อ.สุขสำราญ พร้อมรูปสถานที่ท่องเที่ยว |
|
เกาะค้างคาว
อุทยานแหลมสน ตั้งอยู่ที่หาดบางเบน มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ
เกาะค้างคาว หมู่เกาะกำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแนวปะการังและฝูงปลานานาชนิด |
|
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น
โปรแกรมทัวร์อื่นๆ |
 |
โปรแกรมจอยทัวร์ |
 |
XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
วันเดินทาง 30 เม.ย. - 7 พ.ค., 9 - 16 พ.ค., 21 - 28 พ.ค., 28 พ.ค. 4 มิ.ย., 11 - 18 มิ.ย., 18 - 25 มิ.ย., 25 มิ.ย. - 2 ก.ค. 2568
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE (Full Service Airline) |
 |
TIBET651-8L : ทิเบต ลาซา พระราชวังโปตาลา วัดโจคัง นอร์บุหลิงฆา วัดเซรา ทะเลสาบ Yamdrok Tso เมืองซิกาท์เซ่ วัดทาซิลุนโป นั่งรถไฟหลังคาโลก (8L)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 6 11 มิถุนายน, 13 18 มิถุนายน, 20 - 25 มิถุนายน 2568
ชม พระราชวังโปตาลา พระราชวังที่สูงที่สุดในโลก
ชม วัดโจคัง วัดที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวทิเบต
ชม ทะเลสาบ Yamdrok Tso ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต
ชม วัดทาซิลุนโป (Tashilhunpo Monastery) วัดสำคัญอันดับสองรองจากพระราชวังโปตาลา
นั่งรถไฟความเร็วสูงหลังคาโลกทิเบต เมืองซิกาท์เซ่ ลาซา |
 |
URC8D-FM : Grand Altay ซินเจียงเหนือ อาเล่อไท้ คานาสือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ล่องเรือ หุบเขาอัลไต ทุ่งหญ้าอาเล่อไท้ ธารน้ำห้าสี แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (FM)
วันเดินทาง 17 - 24 พฤษภาคม 2568
เที่ยวหุบเขาอัลไต อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
เที่ยวครบซินเจียงเหนือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว ไม่ลงร้านช้อป |
 |
XIN872-CZ : ซินเจียงเหนือ คานาสือ ดอกไม้บาน ล่องเรือ หุบเขาอัลไต หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี แกรนด์แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (CZ)
วันเดินทาง 7 - 14 มิถุนายน, 14 - 21 มิถุนายน, 21 - 28 มิถุนายน 2568
ชมดอกไม้บานปีละครั้งช่วงที่สวยที่สุดที่ อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
ชม หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านที่วิวทิวทัศน์สวยที่สุดในหุบเขาอัลไต
ชม หมู่บ้านไป่ฮาปา หมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศจีน อยู่ในอุทยานคานาสือ
เที่ยวครบ ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
วันเดินทาง 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2568
ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต - บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
Kazak989-3U] เที่ยว 2 ประเทศ ซินเจียง อี้หนิง อัลมาตี้ คาซัคสถาน ทะเลสาบไซลี่มู่ ชารีนแคนยอน วิหารเซนคอฟ Shymbulak Ski หมู่บ้านคาจั่นฉี (3U)
วันเดินทาง 9 17 พฤษภาคม, 20 28 มิถุนายน 2568
ชม ชารีนแคนยอน แกรนด์แคนย่อนที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากอเมริกา
ชม เมืองอัลมาตี้ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถานและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ
นั่งกระเช้า สู่ ชิมบูลัก (Shymbulak Ski Resort) อยู่ในเทือกเขา Zailiuskiy Alwatau
ชม ทะเลสาบไซลี่มู่ ที่ทอดตัวอยู่ในวงล้อมของเทือกเขาเทียนซาน อยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าและภูเขาหิมะ |
 |
[MM19-8M] : เที่ยว 6 เมือง ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกาม มัณฑะเลย์ เจดีย์ชะเวดากอง พระธาตุมุเตา พระธาตุอินทร์แขวน เจดีย์ชเวสิกอง พระมหามุนี (8M)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 9 14 กรกฎาคม, 8 13 สิงหาคม, 9 - 14 ตุลาคม 2568
เที่ยว 6 เมืองหลักที่สวยงาม ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกามและมัณฑะเลย์
ไหว้ 5 พะธาตุที่ยิ่งใหญ่ของพม่า เส้นทางแห่งพระพุทธศาสนา
อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว - บินสายการบิน Myanmar Airways |
|
สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
ID Line Office : @oceansmiletour
คุณเล็ก โทร.082-3656241 ID Line : lekocean2
คุณโจ้ โทร.093-6468915 ID Line : oceansmile
รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า |
|
| |
|