รำตารีกีปัส เป็นการแสดงของทางภาคใต้ ที่ใช้พัดประกอบการแสดง
(คนทางปักษ์ใต้เรียกว่า รำพัด) เพื่อให้เหมาะสมกับผู้แสดงที่เป็นผู้หญิงล้วนประกอบกับเพลงที่มีความไพเราะน่าฟัง
ลีลาท่ารำจึงอ่อนช้อย สวยงามนับว่าเป็นการแสดงที่น่าชมอีกชุดหนึ่ง
ตารีกีปัส คำว่าตารี แปลว่า รำ คำว่า
กีปัส แปลว่า พัด ระบำตารีกีปัส เป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ
เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี
และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อ
คัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔
เมื่อ พ.ศ.2524 ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ
การแสดงชุดตารีกีปัส มีรูปแบบการแสดงเป็นหมู่ระบำ
ซึ่งรูปแบบการแสดงมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. การแสดงเป็นคู่ ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง
2. การแสดงเป็นหมู่ระบำโดยใช้ผู้หญิงแสดงล้วน
เครื่องแต่งกาย
การแต่งกายแบบผู้หญิงล้วน แต่งกายตามแบบที่ได้รับการปรับปรุงประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้เป็นการแต่งกายของตารีกีปัส
ตัวอย่างชุดพิธีเปิดสนามงานกีฬาเขตแห่งประเทศไทย (กีฬาแห่งชาติปัจจุบัน)
ครั้งที่ 14 จังหวัดปัตตานี เมื่อปีพ.ศ. 2524 ประกอบด้วย
1. เสื้อในนาง ไม่มีแขนสีดำ
2. ผ้านุ่ง เป็นโสร่งบาติก หรือผ้าซอแกะ
(Song Ket) สอดดิ้นเงิน ทอง ประปรายแบบมาเลเซีย ตัดเย็บแบบหน้านาง
หรือเลียนแบบจับจีบหางไหล
3. ผ้าสไบ สำหรับคลุมไหล่ จับจีบเป็นโบว์ด้านหน้า
4. เข็มขัด
5. สร้องคอ
6. ต่างหู
7. ดอกซัมเป็ง
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน
แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง
เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่
ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน
สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การ โซโล่เสียงดนตรีทีละ
ชิ้น แล้วบรรเลงประสานกัน
เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เป็นทำนองเพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศมาเลเซีย
คืออินัง ตังลุง เป็นเพลงผสมผสานระหว่างมลายูกับจีน
|