|
เมืองหงสาวดี พม่า |
เมืองหงสาวดี พม่า |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์
(พระธาตุมุเตา) สัญลักษณ์แห่งเมืองหงสาวดี |
|
|
คลิปวีดีโอ
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา) เจดีย์สูงที่สุดในพม่า |
|
|
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา)
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา)
เจดีย์สูงที่สุดในพม่า สูงถึง 114 เมตร หรือ 374 ฟุต
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์ หรือที่เราเรียกกันว่า
พระธาตุมุเตา ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ใจกลางเมืองหงสาวดี
พระเจดีย์องค์นี้ถือว่ามีความโดดเด่นในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเก่าแก่กว่า
2,000 ปี ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และยังเป็น
1 ใน 5 มหาบูชาสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดของชาวพม่า
นอกจากนี้มหาเจดีย์ชเวมอดอ ยังเคยผ่านการพังทลายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาแล้วถึง
4 ครั้ง โดยแผ่นดินไหวครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 ก.ค. พ.ศ.
2473 ได้ทำให้ปลียอดของเจดีย์องค์นี้หักพังลงมา แต่ว่าด้วยความศรัทธาที่ชาวเมืองมีต่อเจดีย์องค์นี้
พวกเขาได้ทำการสร้างเจดีย์ชเวมอดอขึ้นมาใหม่ในปีพ.ศ.2497
ด้วยความสูงถึง 374 ฟุต (ตอนแรกที่สร้างสูง 70 ฟุต) นับเป็นเจดีย์ที่สูงที่สุดในพม่า
ส่วนปลียอดที่พังลงมาก็ได้ตั้งไหว้ที่มุมหนึ่งขององค์เจดีย์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาควบคู่ไปกับเจดีย์องค์ปัจจุบัน
สำหรับความโดดเด่นอีกอย่างหนึ่งของเจดีย์ชเวมอดอก็คือ เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะแบบมอญอย่างเด่นชัด
คือมีฉัตรแบบเรียบๆและมีองค์ระฆังของเจดีย์มีลักษณะแคบเรียว
ภายนอกหุ้มด้วยทองจังโก้ ภายในเป็นอิฐกลวง แตกต่างจากเจดีย์ชเวดากองที่เป็นเจดีย์แบบพม่า(อย่างชัดเจน)
ส่วนบริเวณรอบๆองค์เจดีย์ก็มีพระพุทธรูปหลายองค์ให้กราบไหว้
มีอาคารสถาปัตยกรรมพม่าผสมตะวันตกให้เดิน นอกจากนี้ที่ด้านหนึ่งของเจดีย์ยังมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆเก็บโบราณวัตถุต่างๆให้ชม |
พระมหาเจดีย์ชเวมอดอร์
(พระธาตุมุเตา) เมืองหงสาวดี |
|
|
พระมหาเจดีย์ชเวมอดอร์
(พระธาตุมุเตา) เมืองหงสาวดี |
|
|
พระมหาเจดีย์ชเวมอดอร์
(พระธาตุมุเตา) เมืองหงสาวดี |
|
|
ยอดพระธาตุที่หักลงมา
พระมหาเจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา) เมืองหงสาวดี |
|
|
มหาเจดีย์ชเวมอดอร์
(พระธาตุมุเตา) เจดีย์สูงที่สุดในพม่า |
|
|
พระธาตุมุเตา หงสาวดี |
พระธาตุมุเตา หงสาวดี |
พระธาตุมุเตา หงสาวดี |
พระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
ทางขึ้นวัดพระธาตุมุเตา |
ทางขึ้นวัดพระธาตุมุเตา |
ทางขึ้นวัดพระธาตุมุเตา |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
วัดพระธาตุมุเตา หงสาวดี |
ทัวร์พม่าที่...พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
พระราชวังบุเรงนอง เมืองหงสาวดี
หากพูดถึงกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเมืองหงสาวดีก็เห็นจะไม่มีกษัตริย์พระองค์ไหนโดดเด่นเท่า
พระเจ้าบุเรงนอง (หรือที่คนไทยรู้จักในดีจากวรรณกรรมเรื่องผู้ชนะสิบทิศ)
เพราะเป็นผู้สร้างเมืองหงสาวดีให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก
โดยพระองค์ได้สร้างพระราชวังบุเรงนองขึ้นในปี พ.ศ. 2109
เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางทางการปกครองและใช้ออกว่าราชการ
พระเจ้าบุเรงนอง สร้างเมืองหงสาวดีให้มีป้อมปราการเป็นมหานครกว้างขวาง
พระราชวังตั้งอยู่ตรงกลางเมือง มีประตูซุ้มยอดด้านละ 3 ประตูให้เรียกตามชื่อเมืองประเทศราชที่ถูกเกณฑ์คนไปทำการ
ประวัติศาสตร์ระบุว่าบุเรงนองสร้างวังกัมโพชธานีและขยายกำแพงเมืองหงสาวดีใหม่แล้วเสร็จตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2109 แต่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ. 2112
แล้วประตูโยเดียมีขึ้นได้อย่างไร ก็ได้คำตอบว่า พงศาวดารพม่าถือว่าได้กรุงศรีอยุธยาเป็นประเทศราชตั้งแต่คราวสงครามช้างเผือก
พ.ศ.2106 การไปตีช้ำในปี พ.ศ. 2112 ถึงถือเป็นสงครามกำราบที่อยู่อยุธยาแข็งข้อ
พระเจ้าบุเรงนองจึงทรงได้พระนามเมืองครองราชย์แล้วว่า พระเจ้าสิริสุธรรมราชา
คู่กับพระนาม หานตาวดีเซงพยู่เชงพญา หรือ พระเจ้าหงสาวดีช้างเผือก
ด้วยทรงมีช้างเผือกคู่บารมีถึง 11 เชือก ในจำนวนนั้นเป็นช้างที่ได้จากกรุงศรีอยุธยาถึง
7 เชือก
พุทธศักราช 2124 พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเสด็จสวรรคตขณะพระชนมชีพ
65 พรรษา แล้วสัจธรรมแห่งความรุ่งเรืองร่วงโรยก็คืบคลานเข้ามาถึง
เมื่อพระราชโอรสนันทบุเรงผู้สืบราชบัลลังก์ไม่เข้มแข็งเด็ดขาดพอที่ประเทศราชจะยำเกรง
โดยเฉพาะเมื่อเมืองแปรกระด้างกระเดื่อง ตองอูแข็งเมือง สมคบพวกยะไข่บุกเผากรุงหงสาวดีราบเรียบในปี
พ.ศ.2142 แล้วจัดแจงแบ่งทรัพย์สมบัติกันเบ็ดเสร็จ ทั้งๆที่ประเจ้าแปรนั้นคือโอรสและพระเจ้าตองอูเองก็เป็นพระอนุชาของนันทบุเรงนั่นเอง
หงสาวดีที่เคยยิ่งใหญ่วายวอดหมดสิ้น
เมื่อพม่าฟุบ มอญกลับมาฟื้นหงสาวดีใหม่ แต่อยู่ได้ไม่นานนัก
พม่ากลับมาเกรียงไกรอีกครั้งในสมัยของพระเจ้าอลองพญาแล้วปราบมอญราบคาบ
หงสาวดีจึงถูกทิ้งร้างและราชธานีของพม่าย้ายไปอังวะ ตราบจนอังกฤษได้พม่าเป็นเมืองขึ้นจึงใช้หงสาวดีเป็นที่ปลูกข้าวและพืชผลส่งออก
หงสาวดี เมืองเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของพม่าและมีพระธาตุมุเตาเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต
แม้ในท่ามกลางความเสื่อมโทรมของบ้านเมืองภายใต้อำนาจการปกครอง
แต่หงสาวดีก็ยังเป็นแผ่นดินทองอันเรืองรองในใจชาวมอญและพม่าไม่รู้คลาย
ปี พ.ศ. 2533 กรมโบราณคดีพม่าจำลองพระมหาปราสาทและตำหนักต่างๆ
ขึ้นโดยระบุว่ะตรงตามตำแหน่งในแผนผังโบราณที่ทำในสมัยพระเจ้าอลองพญา
หรือ หลังจากหงสาวดีแตกถึงหนึ่งร้อยห้าสิบกว่าปีนักประวัติศาสตร์จึงประเมินว่าตำแหน่งของปราสาทอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้
ส่วนรูปทรงปราสาทนั้น แน่นอนว่าจินตนาการขึ้นเองทั้งหมด
เพราะไม่มีภาพถ่ายเก่าเหมือนคราวจำลองพระราชวังมัณฑะเลย์
โดยส่วนที่สร้างเสร็จและเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมก็มี
พระตำหนักที่ประทับบรรทมสีทองเหลืองอร่ามที่ดูโดดเด่นชวนมองในรูปแบบสถาปัตยกรรมพม่า
และท้องพระโรงที่ใช้ออกว่าการก็ดูโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรรมพม่าสีทองเหลืองอร่ามทั้งภายนอกและภายใน
ซึ่งในอนาคตที่นี่จะใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติเมืองหงสาวดีและพระราชวังบุเรงนองอันสำคัญ
ในขณะที่ปัจจุบันเป็นโถงโล่งๆมีราชรถจำลอง โมเดลของพระราชวัง
และบานประตูไม้สักขนาดใหญ่ของพระราชวังเดิมวางไว้ให้ชม
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
พระนางสุพรรณกัลยา
พระนางสุพรรณกัลยา เป็นพระธิดาในพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิกษัตรี
เป็นพระพี่นางสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ
ช่วงปีพ.ศ.2540-2542 ตำนานพระสุพรรณกัลยา ส่งผลให้คนไทยสนใจไปเที่ยวพม่ามากขึ้น
เพื่อชมพระราชวังบุเรงนอง เมืองหงสาวดี ที่ซึ่งพระสุพรรณกัลยาเคยประทับในฐานะมเหสีของพระเจ้าบุเรงนอง
ตำราประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาระบุว่า พระสุพรรณกัลยา(หรือพระสุวรรณกัลยา)
เป็นพระธิดาในพระมหาธรรมราชาและพระนางวิสุทธิกษัตรี เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระมหาจักพรรดิและพระสิริโยทัย
เป็นพระพี่นางของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระเอกาทศรถ ครั้นเมื่อพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งแรกในปี
พ.ศ.2112 แล้วทรงอภิเษกพระมหาธรรมราชาเป็นกษัตริย์ครองเมืองกรุงศรีอยุธยา
พระมหาธรรมราชาจึงถวายพระธิดาสุพรรณกัลยาแด่พระเจ้าหงสาวดีแลกกับการทูลขอพระนเรศวรกลับมาช่วยราชการ
เพราะก่อนหน้านี้พระนเรศวรถูกส่งไปเป็นตัวประกัน (ในฐานะราชบุตรบุญธรรมของพระเจ้าหงสาวดี)
ตั้งแต่คราวพม่าทำสงครามช้างเผือกและยึดครองเมืองพิษณุโลกที่พระมหาธรรมราชาครองอยู่ในปี
พ.ศ.2106
ปีพ.ศ. 2124 พระเจ้าบุเรงนอง เสด็จสวรรคต พระราชโอรสนันทบุเรงขึ้นครองหงสาวดี
บรรดาประเทศราชพากันแข็งเมือง สมเด็จพระนเศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงในปีพ.ศ.2127
และทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาจนได้รับชัยชนะในปี
พ.ศ.2135 ซึ่งหนังสือ คำให้การชาวกรุงเก่า ระบุว่า เหตุการณ์นี้ทำให้พระเจ้านันทบุเรงพิโรธ
จึงเสด็จไปยังยังตำหนักพระสุพรรณกัลยา แล้วเอาพระแสงดาบฟันพระนางพร้อมด้วยพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์
ในขณะที่หนังสือ คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่าเมื่อพระเจ้านันทบุเรงเห็นองค์พระพี่นางพระนเรศวรนั้น
ประทมอยู่ให้ให้โอรสเสวยนมอยู่ที่ในที่ พระเจ้าหงสาจึงฟันด้วยพระแสงก็ถูกทั้งพระมารดาและพระราชโอรส
ทั้งสองพระองค์ถึงแก่การพิราลัย
เอกสารทางประวัติศาสตร์ของพม่าและไทยระบุตรงกันว่า พระสุพรรณกัลยามีตัวตนจริง
และประทับที่พระราชวังหงสาวดีของพระเจ้าบุเรงนองตั้งแต่ปี
พ.ศ.2112 เมื่อทรงมีพรชนมายุ 17 พรรษา ดังนั้น ถ้าพระนเรศวรทรงทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชในปี
พ.ศ.2135 เท่ากับขณะนั้นพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระชนมายุ 40
พรรษา และถ้าเป็นบุตรที่เกิดแต่พระเจ้าบุเรงนอง ถามว่าเหตุใดจึงเพิ่งมีพระชนม์
2 พรรษา ทั้งๆที่พระเจ้าบุเรงนองสวรรคตไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2124
เมื่อ 11 ปีก่อน... |
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
อนุสาวรีย์บุเรงนอง
ที่เกาะสอง (วิคตอเรียพอยต์) พม่า |
|
|
พระเจ้าบุเรงนอง
ชื่ออื่นๆ : บาเยนองจอเดงนรธา, เซงพะยูเชง
ราชวงศ์ ตองอู
พระราชสมภพ วันพุธ ขึ้น 12 ค่ำ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059
สวรรคต วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2124
การครองราชย์ พ.ศ. 2094 - พ.ศ. 2124 (ระยะเวลาครองราชย์
30 ปี)
เมืองหลวง : กรุงหงสาวดี
รัชกาลก่อนหน้า พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
รัชกาลถัดมา พระเจ้านันทบุเรง
พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) กษัตริย์พม่าพระองค์ที่
3 ในราชวงศ์ตองอู เป็นกษัตริย์พม่าที่คนไทยและชาวต่างชาติ
รู้จักกันมากที่สุด มีฉายาว่า "พระเจ้าชนะสิบทิศ"
พระเจ้าบุเรงนอง ประสูติเมื่อวันพุธ
ขึ้น 12 ค่ำ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2059 ก่อนพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เพียง
1 เดือน พระนามดั้งเดิมคือ "เชงเยทุต" โดยแปลได้ว่า
"เจ้ายอดผู้กล้า" เป็นบุตรชายของ เมงเยสีหตู ขุนนางระดับสูงผู้หนึ่งของพระเจ้าเมงจีโย
พระราชบิดาของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมงเยสีหตู เป็นหนึ่งในผู้ร่วมสถาปนาอาณาจักรตองอูร่วมกับพระเจ้าเมงจีโย
และได้รับการอวยยศเป็นถึง เจ้าเมืองตองอู เมืองหลวงอีกด้วย
บุเรงนอง มีสถานะเป็นแม่ทัพคนสำคัญของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
พระนามของพระเจ้าบุเรงนอง ออกเสียงตามสำเนียงพม่าว่า "บาเยนอง"
มีความหมายว่า "พระเชษฐาธิราช" และมีพระนามเต็มว่า
"บาเยนองจอเดงนรธา" แปลว่า "พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภินิหาร"
โดยพระนามนี้ เชื่อว่าพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้พระราชทานให้
หลังจากพระเจ้าบุเรงนองชนะศึกนองโย (ไทยเรียกบุเรงนองกะยอดินนรธา)
พระนามต่าง ๆ ของพระองค์ เช่น
"เซงพะยูเชง" แปลว่า "พระเจ้าช้างเผือก"
หรือ "ตะละพะเนียเธอเจาะ" อันแปลว่า " พระเจ้าชนะสิบทิศ
" เป็นฉายาที่พบในศิลาจารึกของชาวมอญ และชาวตะวันตกรู้จักพระองค์ในพระนาม
"บราจินโนโค่" (Braginoco)
พระเจ้าบุเรงนอง นับว่าเป็นกษัตริย์พม่าที่ทางพม่านับว่า
เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ 1 ใน 3 พระองค์ ด้วยความเป็นกษัตริย์นักรบอันเป็นที่ปรากฏพระเกียรติเลื่องลือ
โดยยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรตองอูเข้มแข็งและแผ่ไพศาลอย่างที่สุดในประวัติศาสตร์
โดยครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดีจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง
มีประเทศราชต่าง ๆ มากมายในภูมิภาคอุษาคเนย์ ได้แก่ หงสาวดี,
ล้านช้าง, ไทยใหญ่, เขมร, ญวน, อยุธยา, เชียงใหม่
ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของพม่าระบุว่า ก่อนพระองค์จะออกทำศึกคราวใด
จะทรงนมัสการพระธาตุชเวมอดอ หรือที่ชาวไทยเรียกตามชาวมอญว่า
พระธาตุมุเตา พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองหงสาวดีก่อนทุกครั้ง
พระเจ้าบุเรงนองยังถือว่าเป็นกษัตริย์นักปกครองและบริหารที่เก่งกาจอีกด้วย
ด้วยการสามารถปกครองและบริหารข้าทาสบริวารมากมาย ทั้งของพระองค์เองและของประเทศราช
เช่น การยึดเอาพระราชวงศ์ที่สำคัญ ๆ ของประเทศราชต่าง ๆ
เข้ามาอยู่ในพระราชวังเพื่อเป็นองค์ ประกัน
เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2094 ด้วยการปราบดาภิเษก
เพราะมีกบฏเกิดขึ้นมากมาย ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พม่าระบุชัดว่า พระเจ้าบุเรงนองมีมเหสีถึงสามพระองค์
โดยในสามพระองค์นี้มีพระนางตะเคงจีเป็นมเหสีเอก ทรงเป็นราชินีพม่าองค์เดียวที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาราณี
และยังทรงมีพระสนมมากถึง 30 พระองค์ ซึ่งแต่ละพระองค์ล้วนเป็นเจ้านายจากหัวเมืองต่างๆ
ทั้งสิ้นและมีพระโอรส 33 พระองค์ และพระธิดา 35 พระองค์
รวมทั้งสิ้น 68 พระองค์
พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2124 ด้วยพระโรคชรา
ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ของพระองค์มีมากมายหลายที่ในประเทศพม่า
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี |
|
|
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้
ประสูติเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2055
รัชสมัยก่อนหน้า: พระเจ้าเมงจีโย
รัชสมัยถัดไป: พระเจ้าบุเรงนอง
ราชวงศ์ตองอู ระหว่างปี พ.ศ. 2079 ถึง พ.ศ. 2093
ราชวงศ์ : ตองอู
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวของ
พระเจ้าเมงจีโย (เมงกะยินโย) ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ตองอู
พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ตามมหาราชวงษ์พงศาวดารพม่า
ระบุว่า ประสูติเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2055 ที่เมืองตองอู
ก่อนประสูติมีลางบอกเหตุ ปรากฏฝนตกลงมาที่ใดก็เกิดลุกเป็นไฟ
โหรหลวงทำนายว่าเป็นลางมงคล พระโอรสที่จะประสูติเป็นผู้มีบุญญาธิการ
ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาด้วยพระชนมายุ 24 พรรษา
มีพระนามว่า ตะเบ็งชะเวที (ตะเบ็งชะเวตี้ แปลว่า สุวรรณเอกฉัตร
- ร่มทอง) และภายหลังขึ้นครองราชย์ พระนามได้เปลี่ยนเป็น
เมงตะยาชะเวที (แปลว่า พระมหาธรรมราชาฉัตรทอง - คำว่า เมงตะยา
นี้เป็นที่มาของชื่อ มังตรา) มีมเหสี 2 พระองค์ นามว่า เคงเมียด
และ เคงโซโบ ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2079 ถึง พ.ศ. 2093
ทรงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ เพราะตลอดรัชกาลพระองค์ทำสงครามเป็นส่วนใหญ่
โดยก่อนขึ้นครองราชย์ เมื่อเจริญพรรษาขึ้น ทรงกระทำพิธีเจาะพระกรรณ
(เจาะหู) อันเป็นราชประเพณีของพม่าเช่นเดียวกับพระราชพิธีโสกันต์ของไทย
โดยเลือกที่จะทำพิธีที่พระเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา)
กลางเมืองหงสาวดีของมอญ โดยมีทหารคุ้มกันแค่ 500 นาย โดยไม่ทรงหวาดหวั่นทหารมอญนับหมื่นที่ล้อมอยู่
จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทำการสงครามแผ่ขยายอาณาจักรตองอูไปตามหัวเมืองต่าง
ๆ เช่น ยะไข่, พะสิม, หงสาวดี, แปร, เมาะตะมะ และ อยุธยา
เป็นต้น โดยเฉพาะ การได้ชัยชนะเหนือหงสาวดี โดยนับว่าเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่สามารถเอาชนะหงสาวดี
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาติมอญ อันเป็นคู่ปรับสำคัญของชาวพม่าในอดีต
และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูลงมาที่หงสาวดี
พงศาวดารพม่า กล่าวว่าพระองค์เป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่ทำสงครามกับอยุธยา
ด้วยศึกเชียงไกร เชียงกราน และจากสงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย
คนไทยรู้จักพระองค์ในนามว่า พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ
สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 38 พรรษา ในปี พ.ศ. 2093 จากการลอบปลงพระชนม์โดยทหารรับใช้คนสนิทชาวมอญ
ชื่อ "สมิงสอทุต" ด้วยการตัดพระศอ หลังจากสิ้นสงครามเสียสมเด็จพระสุริโยทัย
เพียง 3 เดือน ตามพงศาวดารเล่าว่า พระองค์เสวยแต่น้ำจัณฑ์จนเสียสติ |
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี |
|
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี |
|
|
พระราชวังบุเรงนอง
เมืองหงสาวดี ประเทศพม่า |
|
|
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง หงสาวดี |
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
ทัวร์พม่า พระราชวังบุเรงนอง |
พระราชวังบุเรงนอง |
ทัวร์พม่าเที่ยววังบุเรงนอง |
|