กองพล 93 (ก๊กมินตั๋ง)
เป็นกองทัพของรัฐบาลจีน ภาคใต้ของจอมพลเจียง ไค เช็ก ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาลจีนที่ส่งมารักษาชายแดนจีน-พม่า
การต่อสู้ระหว่างรัฐบาลจีนกับกองทัพทหารพรรคคอมมิวนิสต์ของเหมา
เจ๋อ ตุง ทำให้เจียง ไค เช็ก พ่ายแพ้และหนีไปอยู่ไต้หวัน กองพล
93 ก็เลยกลายเป็นทหารไร้สังกัด หนีการกวาดล้างของฝ่ายคอมมิวนิสต์
ก็มาตั้งหลักอยู่ที่เมืองเชียงลับ ในเขตประเทศพม่า โดยมีอาสาสมัครและครอบครัวลี้ภัยตามออกมาสมทบมากมาย
จนได้จัดเป็นกองทัพได้ ๕ กองทัพ ภายใต้คำบัญชาการของนายพล
หลี่ หมี
ปี 2504 รัฐบาลพม่าดำเนินการปราบปรามกองกำลังทหารจีนพลัดถิ่นเหล่านี้อย่างจริงจัง
ทำให้กองกำลังของนายพลหลี่ หมี พ่ายแพ้ และกองทัพที่ 1, 2
และ 4 จำนวน 4,349 คน ได้ถูกส่งตัวไปไต้หวัน คงเหลือแต่กองทัพที่
3 ของนายพลหลี่ เหวิน ฝาน และกองทัพที่ 5 ของนายพล ต้วน ซี
เหวิน ที่ไม่ไม่ต้องการไปไต้หวันและได้นำกำลังอพยพหนีการกวาดล้างของพม่าเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย
โดยไต้หวันประกาศจะไม่สนับสนุนช่วยเหลือกองกำลังที่ตกค้างเหล่านี้อีก
ในที่สุด กองทัพที่ 3 ก็มาถึงอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองทัพที่
5 มาปักหลักอยู่ที่ดอยแม่สลอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
โดยจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มอบหมายให้พลทหารเอกทวี
จุลทรัพย์ และ พลโทเกรียงศักดิ์ ชนะนันทน์ เป็นผู้เจรจากับไต้หวันแต่ไม่สามารถตกลงกันได้
จนในปี 2513 อเมริกาก็ได้ตกลงเข้ามาช่วย รัฐบาลไทยจึงอนุญาตให้กองทหารจีนอยู่ได้ในฐานะผู้อพยพ
เพื่อเป็นกองกำลังกันชนตามแนวชายแดน ป้องกันการแทรกซึมของ
ผกค.และพลอากาศเอก ทวี ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่าบ้านสันติคีรี
หมายถึงหมู่บ้านในขุนเขาที่สงบสุข ในขณะที่คนจีนเรียกว่าเรียกดอยนี้ว่า
เหมย ซือ เล่อ อันเป็นความหมายเดียวกันว่า ดินแดนที่มีความสุข
หลังจากนั้น กองกำลังทหารจีนของนายพลต้วน
ซึ่งภายหลังได้ชื่อว่ากองทหารจีนคณะชาติก็ได้เป็นกำลังสำคัญร่วมต่อสู้ต่อต้าน
ผกค. ในแถบจังหวัดเชียงรายหลายครั้ง โดยสามารถลดอิทธิพล ผกค.บนดอยหลวง
ดอยยาว และดอยผาหม่นลงได้มาก รวมถึงสมรภูมิเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
อันเป็นภาระกิจสุดท้ายก่อนปลดอาวุธให้รัฐบาลไทย
จากหมู่บ้านกองกำลังทหารกลายมาเป็นหมู่บ้านการเกษตรคงไม่ง่ายนัก
จากการดำรงชีวิตด้วยการรับจ้างลำเลียงฝิ่น การตั้งด่านภาษีเถื่อนและการค้าอาวุธสงครามก็ต้องยุติ
แผ่นดินถูกพลิกฟื้น พืชพรรณไม้เมืองหนาวจากโครงการหลวง ชาพันธ์อัสสัม
ชิงชิง และอูหลง ได้ส่งมาจากไต้หวัน ชาวบ้านก็มีความหวังใหม่และได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา
ดอยแม่สลองได้รับการพัฒนามาเรื่อยๆ โดยมีนายพล
ต้วน ในฐานะหัวหน้าหมู่บ้าน เป็นผู้ประสานงานกับทางราชการ
ทุกวันนี้คนบนดอยแม่สลองก็ยังพูดถึงนายพลผู้นี้ด้วยความชื่นชมถึงการดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านจนวาระสุดท้ายในปี
พ.ศ.2523
บ้านเกรียงศักดิ์
เนื่องในปี พ.. 2512 คณะนายทหารไทย ซึ่งนำโดย
พล อ.อ.ทวี จุลทรัพย์ ได้เดินทางไปเจรจากับกระทรวงกลาโหมใต้หวัน
ผลจากการเจรจาทางรัฐบาลใต้หวันได้มอบทหารจีนคณะชาติที่ยังคงค้างอยู่ในประเทศไทยให้กับทางรัฐบาลไทย
โดยให้กอบบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้ควบคุม ซึ่งขณะนั้นกอบบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้ง
บ.ก.ส่วนหน้า โดยมี พลโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นผู้บังคับบัญชา
ปี พ.ศ. 2516 พลโทเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ได้เริ่มโครงการปลูกชา โดยนำพันธุ์ชาชั้นเยี่ยมจากใต้หวันมาทำการเพาะปลูกที่แม่สะลองและถ้ำง้อบ
เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม เริ่มโครงการเพาะปลูกขั้นแรกจำนวน
6 ล้านต้น และในปี พ.ศ. 2517 ได้ทดลองปลูกสนสามใบจำนวน 18,000
ต้น ต่อมา พ.ศ. 2518 ปลูกเพิ่มอีก 20,000 ต้น พร้อมทั้งแนะนำให้สร้างศาลาทรงจีนอยู่ในป่าสน
เพื่อใช้เป็นกองอำนวยการในการโครงการปลูกสน ทั้งยังใช้เป็นที่พบปะพูดคุยดื่มน้ำชาในบรรดาเพื่อนฝูงในธรรมชาติอันเงียบสงบ
ดังนั้นศาลาหลังนี้ได้สร้างในปี พ.ศ. 2518
ต่อมาได้สร้างบ้านพักหลังหนึ่งเพื่อใช้รับรองคณะนายทหารและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ที่มาติดต่องานราชการ
เสร็จในปี พ.ศ. 2522 จึงมอบให้ทางราชการในวันที่ 22 สิงหาคม
พ.ศ. 2522 โดยมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น)
เป็นผู้รับมอบ และนำชาวบ้านปลูกป่าสนสามใบเพิ่มอีก 18,000
ต้น ที่บริเวณศาลาและรอบบ้านพักจึงได้ตั้งชื่อศาลาว่า ศาลาเกรียงศักดิ์
และ บ้านเกรียงศักดิ์
ชาและการดื่มชา
การดื่มชาป้องกันโรคมะเร็งได้ลดคอเลสเตอรอล
เพิ่มกานทำงานของกล้าเนื้อหัวใจลดปริมาณไขมันที่เกาะตามผนังเส้นเลือด
ป้องกันโรคเบาหวาน มีคาเฟอีนเพียง 1.82 เปอร์เซ็น ที่ไม่เป็นอันตรายที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
แต่จะช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลางให้ตื่นตัว ขับปัสสาวะ ต่อต้านแบคทีเรียในช่องปาก
รสชาติของชาชนิดต่างๆ
ชาเขียวอูหลง รสชาติชาเขียวแบบดั้งเดิม ผสมกลิ่นดอกไม้แบบธรรมชาติ
ชาอูเบอร์ 12 รสชาติดี มีกลิ่นมนสดอ่อนๆ
ชาอูหลงก้านอ่อน กลมกล่อม หอมน้ำผึ้ง ดอกไม้ และผลไม้นานาพันธุ์
ชาต้งติ่งอูหลง ชารสดี มีกลิ่นผสมดอกไม้ และกลิ่นลำไยเพิ่มรสชาติ
ชาชิงชิงอูหลง มีกลิ่นหอมของดอกไม้เป็นจุดเด่น
ชาโสมอูหลง ดื่มแล้วหวานหอมชุ่มคอ พร้อมกลิ่นดอกไม้อ่อนๆ
ชาชุ่ยยี่ รสชาติดี มีกลิ่นคล้ายดอกไม้หมื่นลี้ของจีนผสมน้ำผึ้ง
ชามรกต รสชาติคล้ายกับชาชุ่ยยี่ คือมีกลิ่นดอกไม้หมื่นลี้ผสมน้ำผึ้ง
แต่เข้มข้นกว่า
คู่มือนักเดินทาง
การเดินทางไปดอยแม่สลอง ใช้ทางหลวงหมายเลข
1234 จากอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ขับรถขึ้นไปทางภูเขาราดยาง
ประมาณ 38 กิโลเมตร
อากาศบนดอยแม่สลองเย็นสบายตลอดทั้งปี ชาวบ้านส่วนใหญ่มีหลายเชื้อชาติ
เช่น อาข่า ลีซอ คนไทยเชื้อสายจีน และไทยใหญ่ บรรยากาศคล้ายเมืองในชนบทของจีน
สองฝั่งถนนในย่านชุมชนมีร้านชาเรียงารยอยู่ แต่ละร้านมีคนคอยชงชาแต่ละชนิดให้ชิม
ซึ่งเราสามารถแวะเข้าไปชิมได้ทุกร้าน
ตลาดเช้าบนดอยแม่สลอง ส่วนใหญ่จะเต็มไปด้วยของกิน
อาทิ ซาลาเปา หมั่นโถว เต้าหู้และผักดองแบบยูนนาน รวมทั้งผักเมืองหนาวแบบสดๆจากแม่ค้าชาวเขาเผ่าอาข่า
การขับรถขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคิรี
บนยอดเขาฝั่งตะวันตกของหมู่บ้าน จะได้ชมวิวบ้านแม่สลองท่ามกลางขุนเขา
และแวะไปเคารพผู้บุกเบิกดอยแม่สลองที่สุสานนายพล ต้วน ซี เหวิน
บริเวณนั้นมีร้านชาบรรยากาศดีอยู่สองร้าน หรือไปเรียนรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ของเหลาทหารจีนพลัดถิ่นที่อนุสรสถานอดีตทหารจีนคณะชาติ
ภาคเหนือ ประเทศไทย ค่าเข้าชมคนละ 20 บาท |