|
|
|
|
|
|
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
เที่ยวเวียงจันทร์
นมัสการพระธาตุหลวง ประเทศลาว |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
วัดพระธาตุหลวง ประเทศลาว |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
อนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หน้าวัดพระธาตุหลวง
ประเทศลาว |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
อนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช หน้าวัดพระธาตุหลวง
ประเทศลาว |
|
|
สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ราชวงศ์ : ล้านช้าง
พระราชบิดา : พระเจ้าโพธิสารราช
พระราชมารดา : พระนางยอดคำทิพย์
พระราชสมภพ : พ.ศ. 2077 สถานที่
นครหลวงพระบาง ราชอาณาจักรล้านช้าง
สวรรคต : พ.ศ. 2114
พระอิสริยยศ : กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
ครองราชย์ พ.ศ. 2089 - พ.ศ. 2090 และ พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง
พ.ศ. 2091 - พ.ศ. 2114 (ล้านช้าง)
พระมเหสี : พระตนคำและพระตนทิพ
สมเด็จพระเจ้าอภัยพุทธบวรไชยเชษฐาธิราช
หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2115) กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชาติชาวลาว
กษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีสัตนาคนหุต (อาณาจักรล้านช้าง) ให้เป็นศูนย์กลางอารยธรรม
และเป็นศูนย์รวมศิลปะวัฒนธรรมต่างๆ ของอาณาจักรล้านช้างเข้าไว้ด้วยกัน
ในสมัยพระเจ้าโพธิสาร (พ.ศ. 2063-2090) พระองค์เป็นผู้เคร่งครัดทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ได้ทรงมีพระราชโองการให้พลเมืองเลิกนับถือผีสางเทวดา เลิกทรงเจ้าเข้าผีทั่วพระราชอาณาจักร
ให้รื้อศาลหลวง ศาลเจ้าผีเสื้อเมืองทรงเมือง และให้หันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน
ทรงสร้างวัดสุวรรณเทวโลกเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2089 อาณาจักรล้านนาว่างกษัตริย์ปกครอง
จึงได้อัญเชิญเจ้าไชยเชษโฐ พระโอรสของพระเจ้าโพธิสาร ไปครองนครล้านนา
พ.ศ. 2090 พระเจ้าโพธิสารเสด็จสวรรคต ด้วยถูกช้างล้มทับขณะประพาสป่า
พระโอรสทั้งหลายต่างแย่งชิงราชสมบัติกัน อาณาจักรลาวได้แตกเป็น
2 ฝ่าย คือ อาณาจักรฝ่ายเหนือ และฝ่ายใต้ พระเจ้าไชยเชษโฐแห่งล้านนา
จึงยกทัพตีกรุงล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดบุปผาราม
เชียงใหม่ รวมทั้งพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงค์) และพระแก้วขาวไปด้วย
เมื่อยึดอาณาจักรฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ได้ ก็ได้สถาปนาอาณาจักรล้านช้างใหม่เป็นชื่อ
กรุงศรีสัตนาคตหุต พระองค์จึงขึ้นครองราชสมบัติ นับเป็นมหาราชองค์ที่
2 ของลาวและทรงพระนามใหม่ว่า "พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช"
พ.ศ. 2109 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากเมืองเชียงคำมาอยู่ที่เวียงจันทน์
ได้ประดิษฐานพระแก้วมรกต และพระแซกคำ (พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงค์)
ไว้ที่เวียงจันทน์ เรียกว่าเวียงจันทน์ล้านช้าง ส่วนพระบางประดิษฐานไว้ที่เมืองเชียงทอง
จึงได้ชื่อว่าหลวงพระบางมาจนถึงบัดนี้
ในยุคของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระพุทธศาสนามีความเจริญมาก
พระองค์ทรงได้สร้างวัดสำคัญมากมาย มีการสร้างองค์พระธาตุหลวงขึ้นมาใหม่ให้ใหญ่โตเพื่อเป็นปูชนียสถานคู่แผ่นดินพระราชอาณาจักร
และได้สร้างวัดในกำแพงเมืองอีกประมาณ 120 วัด และยังได้สร้างวัดพระแก้ว
ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกต ที่นำมาจากเมืองเชียงใหม่
สมัยนี้ราชอาณาจักรไทยได้มีความสัมพันธ์ลาวอย่างแน่นแฟ้น
ได้ร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับพม่าและได้สร้างเจดีย์ "พระธาตุศรีสองรัก"
ในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความเป็นพี่เป็นน้องกันของสองอาณาจักร
นอกจากพระองค์จะได้ทรงสร้างพระธาตุอื่นๆ รวมทั้งสร้างพระพุทธรูปสำคัญๆ
อีกมากมาย เช่น พระเจ้าองค์ตื้อที่เวียงจันทน์ พระเจ้าองค์ตื้อที่อำเภอท่าบ่อ
จังหวัดหนองคาย พระเสริม พระสุก พระใส พระอินทร์แปลง พระองค์แสน
ทรงสร้างวัดพระธาตุ ที่จังหวัดหนองคาย และพระธาตุที่จมน้ำโขงอยู่
พระธาตุบังพวน อำเภอเมืองหนองคาย สร้างวัดศรีเมือง จังหวัดหนองคาย
และพระประธานในโบสถ์ นามว่า พระไชยเชษฐา พระศรีโคตรบูร ที่แขวงคำม่วน
พระธาตุอิงรัง ที่แขวงสุวรรณเขต (สุวรรณเขต) พระธาตุศรีสองรัก
อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม
พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชทรงประคับประคองนำราชอาณาจักรล้านช้างผ่านพ้นภัยการเป็นเมืองขึ้นของพม่าไปได้
ตลอดรัชสมัยของพระองค์ แม้ว่าในขณะนั้นอาณาจักรล้านนา (เสียแก่พม่า
พ.ศ. 2101) และอาณาจักรอยุธยา (เสียแก่พม่า พ.ศ. 2107) ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าแล้ว
แต่หลังจากพระองค์สวรรคตในปี พ.ศ. 2114 พอมาถึง พ.ศ. 2117-2118
พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้ยกทัพมาตีลาวและได้รับชัยชนะ และทรงนำโอรสองค์เดียวของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชซึ่งประสูติในปีที่สวรรคต
ไว้เป็นประกันที่หงสาวดีด้วย ต่อจากนั้นมาหลายปีแผ่นดินลาวก็วุ่นวายด้วยเรื่องราชสมบัติ
พ.ศ. 2134 พระเถระเจ้าอาวาสวัดต่าง ๆ จึงได้ประชุมกันลงมติให้ส่งทูตไปเชิญเจ้าชายหน่อแก้วกุมาร
ซึ่งเป็นตัวประกันอยู่ประเทศพม่ากลับมาครองราชย์ และในเวลานั้นพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตลง
พม่าเริ่มอ่อนแอลง และเจ้าหน่อแก้วกุมารขึ้นครองราชย์สมบัติ
ในปีพ.ศ. 2135 และประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่าต่อไป |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
พระธาตุหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประตูชัย
พระธาตุหลวงแห่งนี้ถือเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว
เป็นสัญญาลักษณ์ประจำชาติและยังแทนความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของประเทศลาวอีกด้วย
พระธาตุนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 16 พระธาตุองค์นี้มีรูปทรงที่ไม่เหมือนกับองค์อื่นๆ
เพราะเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมในพระพุทธศาสนากับสถาปัตยกรรมของอาณาจักร
ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุองค์นี้ได้สร้างในสมัยพุทธศักราชที่
236 โดยมีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูปเดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
และได้อันเชิญพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้ามายังนครเวียงจันทน์ด้วย
ต่อมาด้ำกราบทูลพระยาจันทบุรีประสิทธิ์ศักดิ์ เจ้านครเวียงจันทน์ในสมัยนั้น
ให้สร้างพระธาตุหลวงขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเพื่อให้ชาวลาวได้กราบไหว้
กล่าวไว้ว่า พระธาตุองค์เดิมนั้นสร้างด้วยหินเป็นทรงโอคว่ำ
มีการก่อกำแพงล้อมรอบเอาไว้ทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีความกว้าง
10 เมตร หนา 4 เมตร และสูง 9 เมตร เชื่อกันว่าพระธาตุที่เห็นในปัจจุบันสร้างครอบองค์เดิม
ซึ่งต่อมาสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านช้างจากหลวงพระบางมาอยู่ที่เวียงจันทน์
ตามดำริของพระราชบิดา คือพระเจ้าโพธิสาร จากนั้นทรงมีพระบัญชา
ให้ทรงสร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ ณ บริเวณที่เคยเป็นเทวสถานเก่าของขอมโดยเริ่มก่อสร้างในปี
พ.ศ.2109 และหลังจากสร้างพระธาตุหลวงได้โปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นล้อมรอบพระธาตุไว้ทั้งสี่ทิศด้วย
แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียงสองแห่งด้วยกันคือ วัดพระธาตุหลวงเหนือและวัดพระธาตุหลวงใต้
ในปัจจุบัน พระธาตุหลวงมีลักษณะคล้ายป้อมปราการ เพราะมีการสร้างระเบียงสูงใหญ่ขึ้นโอบล้อมรอบองค์พระธาตุไว้
พร้อมกับทำช่องหน้าต่างเล็กๆเอาไว้โดยตลอด สำหรับประตูทางเข้านั้นเป็นประตูไม้บานใหญ่
ลงรักสีแดงไว้ทั้งหมด นอกจากนี้รอบๆองค์พระธาตุใหญ่ยังมีเจดีย์บริวารล้อมรอบอยู่โดยรอบอีหลายองค์
เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ ก็จะเห็นสัญลักษณ์หนึ่งแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาแห่งนี้ปรากฏอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นรูปแกะสลักพญานาค พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์
และถัดจากประตูทางเข้าใหญ่ประมาณ 100 เมตรจะแลเห็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
ตั้งอยู่บนฐานสูง พระหัตถ์ทรงถือพระแสงดาบวางพาดไว้บนพระเพลา
เล่ากันว่า พระแสงดาบเล่มนี้ทำหน้าที่ปกป้องพระธาตุหลวงซึ่งได้ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวลาวทุกคน
สถานที่ตั้ง
อยู่ใจกลางนครหลวงเวียงจันทร์ ประเทศลาว
ค่าเข้าชม
คนละ 5,000 กีบ
เปิดเวลาเข้าชม
ตั้งแต่เวลา 08.00 17.00 น. |
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
พระธาตุหลวง : "ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดของประเทศลาว" |
|
|
เที่ยวเวียงจันทร์
ร้านของฝากหน้าวัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
|
|
กรุงเวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
ตลาดกรุงเวียงจันทร์ |
วัดพระธาตุหลวง เวียงจันทร์ |
ประตูชัย เวียงจันทร์ |
กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว |
เวียงจันทร์ ประเทศลาว |
เวียงจันทร์ ประเทศลาว |
กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว |
กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว |