|
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ประจวบคีรีขันธ์ |
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก
และอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในส่วนที่แคบที่สุดของประเทศ
ซึ่งได้รวมจุดเด่นรอบๆ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางผนวกเข้าด้วยกัน
ซึ่งได้แก่ น้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง ตลอดจนมีสัตว์ป่านานาชนิด
เป็นอุทยานแห่งชาติที่พร้อมด้วยป่าเขา น้ำตก ชายหาด รวมมี
เนื้อที่ประมาณ 100,625 ไร่ หรือ 161 ตารางกิโลเมตร ในปี 2530
กรมป่าไม้ได้รับแจ้งจากสำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีตามหนังสือ
ที่ กษ 0714 (พบ)/825 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2530 แจ้งว่า ได้รับหนังสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่
ปจ 0009/940 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 ส่ง รายงานการตรวจดูแลป่าสงวนแห่งชาติของสำนักงานป่าไม้อำเภอทับสะแก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ว่า ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับสะแก
มีน้ำตกที่สวยงาม 2 แห่ง สมควรจัดตั้งเป็นวนอุทยาน สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีจึงได้ให้เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันรักษาป่าที่
ปจ.3 (ทับสะแก) ออกไปสำรวจข้อมูลรายละเอียดแล้ว ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำตกขาอ่อน
(ทับมอญ) และน้ำตกห้วยหินดาษเหมาะสมจัดตั้งเป็นวนอุทยานเพื่อรักษาสภาพป่าไม้และต้นน้ำลำธารอันสวยงามนี้ไว้
ซึ่ง นายธำมรงค์ ประกอบบุญ ผู้อำนวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้มีบันทึกลงวันที่
28 พฤษภาคม 2530 เสนอกรมป่าไม้เห็นควรจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารนี้ไว้
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ 0713/1673
ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2530 ให้ นายสินธุ์ มะลิวัลย์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้
4 หัวหน้าวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ทำการสำรวจเบื้องต้นบริเวณน้ำตกทั้ง
2 แห่ง ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง ที่ กษ 0713(หย)/161
ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เห็นควรผนวกป่าและน้ำตกทั้ง 2 แห่ง
เข้ากับวนอุทยานน้ำตกห้วยยาง จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้
ยืนนานต่อไป ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กษ0713/2613
ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2531 ให้ วนอุทยานน้ำตกห้วยยางสำรวจพื้นที่หาดวนกรเพื่อผนวกเป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
ตามคำแนะนำของ นายกษม รัตนไชย ผู้ช่วยป่าไม้เขตเพชรบุรี ผลการสำรวจตามหนังสือวนอุทยานที่
กษ 0713(หย)/148 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 เห็นควรผนวกป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง
(หาดวนกร) เข้ากับพื้นที่ทั้งหมดจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน
จากการไปตรวจราชการในท้องที่สำนักงานป่าไม้เขตเพชรบุรีของ
นายยุกติ สาริกะภูติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมป่าไม้
ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2531 - 2 มกราคม 2532 ได้สั่งการให้รวมพื้นที่บริเวณหาดวนกรเข้าเป็นอุทยานแห่งชาติ
และในการประชุมผู้อำนวยการกองในสังกัดกรมป่าไม้ เมื่อวันที่
5 มกราคม 2532 ได้พิจารณาให้ผนวกพื้นที่ป่าห้วยยางและสวนป่าห้วยยาง
(พื้นที่ติดต่อกับหาดวนกร) เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย
กองอุทยานแห่งชาติจึงได้ดำเนินการผนวกบริเวณพื้นที่ป่าน้ำตกขาอ่อน
น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางในป่าทับสะแก ท้องที่ตำบลธงไชย
อำเภอบางสะพาน ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
และป่าวังด้วน ป่าห้วยยาง ท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอเมือง
และตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมเนื้อที่
ทั้งหมดประมาณ 124,300 ไร่ หรือ 198.88 ตารางกิโลเมตร (ทั้งนี้รวมที่เป็นพื้นน้ำด้วย
15.36 ตารางกิโลเมตร) ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504
ต่อมากองอุทยานแห่งชาติมีความเห็นว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งมีบริเวณน้ำตกขาอ่อน
น้ำตกห้วยหินดาษ และวนอุทยานน้ำตกห้วยยางมีพื้นที่เชื่อมติดต่อกันโดยตลอด
ส่วนบริเวณป่าวังด้วนและป่าห้วยยาง (หาดวนกร) มีพื้นที่ไม่ติดต่อกัน
เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการดูแลรักษาและควบคุม จึงให้แยกเป็น
2 อุทยานแห่งชาติ คืออุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง และอุทยานแห่งชาติหาดวนกร
เพื่อคุ้มครองรักษาต้นน้ำลำธารไว้และอนุรักษ์ทรัพยากรให้ยืนนานต่อไป
ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง
ได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 100,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าทับสะแก
ในท้องที่ตำบลห้วยยาง ตำบลเขาล้าน ตำบลแสงอรุณ ตำบลนาหูกวาง
ตำบลอ่างทอง อำเภอทับสะแก และตำบลชัยเกษม อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม
2534 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 70 ของประเทศไทย
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วยเทือกเขาสูงติดต่อกัน
มีพื้นที่อยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ส่วนใหญ่จะเป็นเนินเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
100-1,200 เมตร โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่เกิดจากสันเขากั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่า
ได้แก่ คลองอ่างทอง คลองแก่ง คลองทับสะแก คลองจะกระ คลองไข่เน่า
คลองตาเกล็ด คลองห้วยยาง คลองห้วยมา และคลองหินจวง ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย
และหินเป็นหินแกรนิตและหินลูกรัง ส่วนด้านทิศตะวันออกติดกับพื้นที่ราบและชายทะเลอ่าวไทย
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางตั้งอยู่ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย
และมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ลักษณะในแต่ละฤดูกาลจึงไม่แตกต่างกันมากนัก
สภาพภูมิอากาศแบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล คือ
ฤดูฝน เริ่มต้นเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และยังมีร่องความกดอากาศต่ำพัดผ่านภาคใต้เป็นระยะๆ
ต่อจากนั้นถึงเดือนพฤศจิกายนซึ่งเป็นระยะแรกที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
ทำให้ยังคงมีฝนตกชุกต่อเนื่องจนถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีมากกว่า
1,100 มิลลิเมตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทย
ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไป และมีอากาศหนาวเย็นเป็นครั้งคราว
โดยอุณหภูมิจะลดลงต่ำสุดในเดือนธันวาคมและมกราคม แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติอยู่ด้านซ้ายฝั่งตะวันออกของภาคใต้
อุณหภูมิจึงลดลงเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในเดือนมกราคม
20 อาศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม
เป็นช่วงเปลี่ยนฤดู ระยะนี้เป็นช่องว่างของลมมรสุมหลังจากสิ้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อากาศจะเริ่มร้อนโดยเฉพาะในเดือนมีมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม
อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 29 อาศาเซลเซียส
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 อาศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ประเภทของป่าที่พบในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางประกอบด้วย
ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้จำพวก ตะเคียน
เสลา ตะแบก ยาง ยูง ยมหอม ยมป่า ขนาน ไข่เน่า ไทร พืชพื้นล่างเป็นไผ่ชนิดต่างๆ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางซึ่งเป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขาสูงติดต่อกัน
มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย
หมีหมา เลียงผา เสือดำ ค่าง ชะนี ลิงกัง หมูป่า เม่น เก้ง
กระรอก ค้างคาว และนกนานาชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า นกกาฮัง
นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกปรอด ฯลฯ นอกจากนี้บนยอดเขาหลวงยังมีปูเจ้าฟ้า
( Phricotelphrsa sirinthorn )
แหล่งท่องเที่ยว
น้ำตกห้วยยาง
มีทั้งหมด 7 ชั้น น้ำตกชั้นล่างๆ เป็นน้ำตกขนาดเล็ก
ธารน้ำไหลมาตามโขดหินสูงตั้งแต่ 2-5 เมตร บริเวณน้ำตกชั้นที่
5 จะมองเห็นสายน้ำตกจากผาสูงประมาณ 15 เมตร งดงามมาก แต่ต้องปีนและไต่โขดหินขึ้นไป
จึงเป็นอันตรายได้ในช่วงฤดูฝนที่น้ำหลาก บริเวณน้ำตกชั้นที่
4 ยังมีทางแยกขึ้นสู่จุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมาก สามารถมองเห็นทัศนียภาพไปได้ไกลถึงชายทะเล
น้ำตกเขาล้าน
อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ
40 กิโลเมตร จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จะพบทางเข้าน้ำตกอยู่ตรงอำเภอทับสะแก
จากทางเข้าไปประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
หย.1 (น้ำตกเขาล้าน) จากนั้นเดินเลียบลำธารต่อไปอีกประมาณ
1 กิโลเมตร จะถึงน้ำตกเขาล้านซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น ระหว่างทางมีธารน้ำตกเล็กๆ
ที่สามารถลงเล่นน้ำได้ หรือหากเลือกเดินต่อไปจนถึงสันเขาก็จะมองเห็นน้ำตกเขาล้านไหลตกลงมาจากผาสูงกว่า
50 เมตร เหนือหน้าผาที่เห็นคือ บริเวณน้ำตกชั้นบนสุด สายน้ำไหลจากลานหินกว้างสูงประมาณ
10 เมตร ก่อนจะไหลลงหน้าผา แอ่งน้ำตกชั้นบนสุดสามารถลงเล่นน้ำได้
ยอดเขาหลวง ยอดสูงเทียมเมฆที่ระดับ
1,250 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากจะเป็นจุดสูงสุดของอุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยางแล้ว
ยังเป็นต้นน้ำของน้ำตกห้วยยางด้วย บนยอดเขาปกคลุมด้วยป่าดิบเขา
อากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่มีมอสขึ้นปกคลุมลำต้น พื้นที่บางส่วนเป็นทุ่งหญ้าซึ่งจะมีดอกกระเจียวบานในช่วงต้นฤดูฝน
จากบริเวณทุ่งกระเจียวจะมองเห็นเทือกเขาตะนาวศรีทอดตัวยาวเป็นแนวพรมแดนประเทศไทยกับพม่า
จากที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะมีเส้นทางเดินขึ้นประมาณ 7 กิโลเมตร
ใช้เวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ผ่านป่าดงดิบร่มครึ้มและลำห้วย โดยจะต้องไต่เขาสูงชันขึ้นเรื่อยๆ
น้ำตกขาอ่อน (ทับมอญ)
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตกรวม
9 ชั้น จะเป็นธารน้ำตกสูงประมาณ 2-5 เมตร สลับกับแนวโขดหิน
ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่มีผาน้ำตกมีความสูงประมาณ 15 เมตร อยู่ใกล้ชายแดนพม่าในเขตอำเภอบางสะพาน
ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 60 กิโลเตร สามารถเดินทางจากถนนเพชรเกษมไปตามเส้นทางหนองหอย
- บ้านตะแบกโพรง หรือสายหนองหญ้าปล้อง บ้านหนองบอน อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่
หย.2 (น้ำตกขาอ่อน) 2 กิโลเมตร
น้ำตกห้วยหินดาษ
มีขนาดลำธารตอนล่างกว้างประมาณ 6 เมตร ประกอบด้วยชั้นน้ำตก
10 ชั้น ในแต่ละชั้นอยู่ใกล้ๆ กัน เพราะเป็นน้ำตกที่อยู่ในซอกเขาที่ค่อนข้างสูงชันสายน้ำตกจึงแรง
ชั้นน้ำตกมีความสูงประมาณ 2-5 เมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศใต้ประมาณ
50 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมเส้นทางบ้านอ่างทอง
บ้านหนองมะค่า อีกประมาณ 11 กิโลเมตร
น้ำตกบัวสวรรค์
มีชั้นน้ำตกที่สวยงามอยู่ 6 ชั้น ท่ามกลางสภาพธรรมชาติโดยรอบที่เขียวชอุ่มดูสวยงามแปลกตา
อันเป็นเสน่ห์ของน้ำตกแห่งนี้ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปทางทิศเหนือประมาณ
20 กิโลเมตร สามารถเดินทางตามถนนเพชรเกษมแล้วเลี้ยวเข้าเส้นทางบ้านสองกะลอนประมาณ
10 กิโลเมตร ถึงบริเวณทางขึ้นน้ำตก
บ้านพักและสถานที่กางเต็นท์
มีบ้านพักให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและอุทยานแห่งชาติจัดเตรียมเต็นท์และสถานที่กางเต็นท์
ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวนอกจากนี้ทางอุทยานฯ มีร้านอาหาร
ร้านขายของที่ระลึกไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชนในอุทยานฯ
การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
ถึงหลักกิโลเมตรที่ 350-351 บริเวณตลาดห้วยยาง (ก่อนถึงอำเภอทับสะแกประมาณ
20 กิโลเมตร) แล้วเลี้ยวขวาไปตามถนนสายเพชรเกษม-น้ำตกห้วยยาง
ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกห้วยยาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ
6 ชั่วโมง
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติน้ำตกห้วยยาง ต.ห้วยยาง
อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77130 โทรศัพท์ 0 3261 9751 อีเมล
reserve@dnp.go.th |
|
ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โรงแรมประจวบคีรีขันธ์
"
เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสดหาดเขาถ้ำ งามล้ำน้ำใจ" |
ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น
โปรแกรมทัวร์อื่นๆ - เช็คที่นั่ง |
|
โปรแกรมจอยทัวร์ |
|
XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE นั่งสบาย
วันที่ 2 9 เมษายน, 9 16 เมษายน, 30 เมษายน 7 พฤษภาคม, 9 16 พฤษภาคม, 21 28 พฤษภาคม 2568 |
|
TG-655 : อุทยานจิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ต๋ากูปิงชวน โชว์เปลี่ยนหน้ากาก เมืองเก่าซงพาน ซอยกว้างแคบ ถนนคนเดินจิ่งหลี่ Pop Mart โชว์ทิเบต (TG)
เที่ยวครบ 3 อุทยาน 3 บรรยากาศ จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง อุทยานต๋ากู่ปิงชวน
ชม 2 โชว์ โชว์เปลี่ยนหน้ากาก ที่โด่งดังแห่งเสฉวน และ โชว์ทิเบต แห่งจิ่วจ้ายโกว
อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว ไม่ลงร้านช้อป - บินการบินไทย
วันที่ 11 - 16 เมษายน 2568 |
|
CGO651-DD : ซีอาน เทศกาลดอกโบตั๋นบาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
ชม ดอกโบตั๋นบาน เทศกาลดอกโบตั๋นบานเมืองลั่วหยางที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
วันที่ 12 - 17 เมษายน 2568 |
|
TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก
อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป
วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 11 - 16 เมษายน, 12 - 17 เมษายน 2568 |
|
FD659-CSX : หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณหวงหลิง ล่องเรือชมแสงสีอู้วนี่โจว ภูเขาหลิงซาน ไหว้พระใหญ่ตงหลิน เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น พิพิธภัณฑ์เซรามิค (FD)
เที่ยว หมู่บ้านโบราณหวงหลิง นับเป็นหมู่บ้านสวยที่สุดในเมืองอู้หยวน มณฑลเจียงซี
พักใน หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ ถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
นำท่าน ล่องเรือ ชมแสงสียามค่ำคืนอู้วี่โจว พร้อมชมแลนด์มาร์คแห่งใหม่
อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว ไม่ลงร้านช้อป - ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ
วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 18 - 23 มีนาคม, 22 - 27 เมษายน 2568 |
|
XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต ชมดอกแอปริคอตที่บานสวยงามทั้งหมู่บ้านในแถบเทือกเขาคุนหลุน
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว บิน China Southern Airline (Full-Service)
วันที่ 24 - 30 มีนาคม, 28 เม.ย. - 4 พ.ค., 26 พ.ค. - 1 มิ.ย., 16 - 22 มิถุนายน 2568 |
|
DEL864-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
อาหารดี - โรงแรมดีระดับ 4-5 ดาว 6 คืน / เดินทางสะดวกสบายโดย Air India (Full-Service)
วันที่ 6 - 13 เม.ย., 12 - 19 เม.ย., 13 - 20 เมษายน 2568 : ราคา 56,995.-บาท |
|
DEL189-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ชัยปุระ นครสีชมพู ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
ชม เมืองชัยปุระ นครสีชมพู เมืองแห่งอารยธรรมราชบุตร
เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
วันที่ 6 - 15 เมษายน 2568 : ราคา 66,995.-บาท |
|
DEL755-TG : ถ้ำอชันต้า ถ้ำเอลโลร่า ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ท มุมไบ ถ้ำช้ำง วัดพระพิฆเนศ (TG)
ชม ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด
ชม ถ้ำช้าง และ วัดพระพิฆเนศเมืองมุมไบ
เที่ยวชม ทัชมาฮาล และ อัคราฟอร์ท เมืองอัครา
พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
วันที่ 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2568 : ราคา 53,995.-บาท
|
|
|
สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
ID Line Office : @oceansmiletour
คุณเล็ก โทร.082-3656241 ID Line : lekocean2
คุณโจ้ โทร.093-6468915 ID Line : oceansmile
รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า |
|
| |
|