|
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง |
ข้อมูลท่องเที่ยว
อ.โพธิ์ทอง อ.แสวงหา จังหวัดอ่างทอง |
อำเภอโพธิ์ทอง
วัดขุนอินทประมูล
อยู่ในเขตตำบลอินทประมูล วัดนี้เป็นวัดโบราณ สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย
พิจารณาจากซากอิฐแนวเขตเดิมคะเนว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่และยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาวถึง
50 เมตร (25 วา) เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ถูกไฟไหม้ปรักหักพังไปเหลือแต่องค์พระตากแดดตากฝนมานานนับเป็นร้อยๆ
ปี องค์พระพุทธรูปมีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับพระนอนจักรสีห์
จังหวัดสิงห์บุรี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน องค์พระนอนมีพุทธลักษณะที่งดงาม
พระพักตร์ยิ้มละไม สงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก พระมหากษัตริย์
ไทยหลายพระองค์ได้เคยเสด็จมาสักการะบูชา อาทิเช่น พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เสด็จมาเมื่อ พ.ศ. 2296 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯในปีพ.ศ.
2421 และ 2451 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จฯ
มาถวายผ้าพระกฐินต้นในปี พ.ศ.2516 และเสด็จมานมัสการอีกครั้งในปีพ.ศ.
2518 พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศต่างนิยมมานมัสการเป็นเนืองนิจ
นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดขุนอินทประมูลยังมีโบราณสถานวิหารหลวงพ่อขาว
ซึ่งเหลือเพียงฐาน ผนังบางส่วนและองค์พระพุทธรูป ด้านหน้าพระนอนมีศาลรูปปั้นขุนอินทประมูล
ซึ่งตามประวัติเล่ากันว่า เป็นนายอากรผู้สร้างพระพุทธไสยาสน์
โดยยักยอกเอาเงินของหลวงมาสร้างเพื่อเป็นปูชนียสถาน ครั้นพระมหากษัตริย์ทรงทราบรับสั่งถามว่าเอาเงินที่ไหนมาสร้าง
ขุนอินทประมูลไม่ยอมบอกความจริงเพราะกลัวส่วนกุศลจะตกไปถึงองค์พระมหากษัตริย์จึงถูกเฆี่ยนจนตาย
วัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดขุนอินทประมูล
การเดินทางไปสามารถใช้เส้นทางได้ 3 สายคือ
สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง 3064) แยกขวาที่กิโลเมตร
9 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่
8 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง
(ถนนเลียบคลองชลประทาน) เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก
2 กิโลเมตร
หมู่บ้านจักสาน
งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นฝีมือของชาวอำเภอโพธิ์ทอง
แทบทุกครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในละแวกเดียวกัน มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน
เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า
กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูล เป็นต้น
บ้านบางเจ้าฉ่า
ตั้งอยู่ที่หมู่ 8 บ้านยางทอง ตำบลบางเจ้าฉ่า
ไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทอง ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงคลองชลประทานยางมณี
จากนั้นเลี้ยวขวาเลียบคลองไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาไปตามทางเข้าวัดยางทอง
แหล่งหัตถกรรมจะอยู่บริเวณหลังวัด ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก
เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสานและเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้
งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความประณีตสวยงามเป็นพิเศษและสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด
ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ
ศูนย์เจียระไนพลอย อยู่ในบริเวณเดียวกับแหล่งผลิตเครื่องจักสานที่บางเจ้าฉ่า
เป็นศูนย์รวมการเจียระไนพลอยของหมู่บ้านและมีพลอยรูปแบบต่างๆ
ที่สวยงามเป็นจำนวนมาก
ศูนย์ผลิตเครื่องใช้ประดับมุก อยู่ที่วัดม่วงคัน
ตำบลรำมะสัก มีการผลิตเครื่องใช้ประดับมุกฝีมือประณีตซึ่งมีทั้งชุดโต๊ะเครื่องแป้ง
แจกัน ที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น ในบริเวณนั้นมีการทำหัตถกรรมในครัวเรือนอีกหลายแห่งเช่นกัน
วัดโพธิ์ทอง อยู่ที่บ้านโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด
ตรงข้ามทางเข้าบ้านบางเจ้าฉ่า ห่างจากอำเภอเมืองไปตามเส้นทางสายอ่างทอง-โพธิ์ทองประมาณ
9 กิโลเมตร นามวัดโพธิ์ทองในพระราชพงศาวดารกล่าวว่าเป็นวัดที่กรมขุนพรพินิต
(เจ้าฟ้าอุทุมพร หรือขุนหลวงหาวัด) เสด็จมาผนวช วัดโพธิ์ทองแห่งนี้
รัชกาลที่ 6 เคยเสด็จมาประทับร้อนเมื่อคราวเสด็จประพาสลำน้ำน้อย
ลำน้ำใหญ่ มณฑลกรุงเก่า เมื่อ พ.ศ. 2459
พระตำหนักคำหยาด อยู่ในท้องที่ตำบลคำหยาด
ถัดจากวัดโพธิ์ทอง ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร บนถนนสายเดียว
สภาพปัจจุบันมีเพียงฝนัง 4 ด้าน ตัวอาคารตั้งโดดเด่นอยู่กลางทุ่งนา
ก่อด้วยอิฐถือปูนขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยังคงเห็นเค้าความสวยงามทางด้านศิลปกรรมเช่น
ลวดลายประดับซุ้มจรนำหน้าต่าง มีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง
ภายในทาดินแดง ปูพื้นกระดาน ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่าเมื่อ
พ.ศ.2451 ได้เสด็จมายังโบราณสถานแห่งนี้และทรงมีพระราชหัตถเลขาอรรถาธิบายไว้ว่า
เดิมทีทรงมีพระราชดำริว่า ขุนหลวงหาวัด (เจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิต)
ทรงผนวชที่วัดโพธิ์ทองแล้วสร้างพระตำหนักแห่งนี้ขึ้นเพื่อจำพรรษาเนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสม
ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นตัวพระตำหนักสร้างด้วยความประณีตสวยงามแล้วพระราชดำริเดิมก็เปลี่ยนไป
ด้วยทรงเห็นว่าไม่น่าที่ขุนหลวงหาวัดจะทรงมีความคิดใหญ่โต
สร้างที่ประทับชั่วคราวหรือที่มั่นในการต่อสู้ให้ดูสวยงามเช่นนี้
ดังนั้น จึงทรงสันนิษฐานว่า พระตำหนักนี้คงจะสร้างขึ้นตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
เพื่อเป็นที่ประทับแรม เนื่องจากมีพระราชนิยมเสด็จประพาสเมืองแถบนี้เช่นเดียวกับที่พระเจ้าปราสาททองทรงสร้างที่ประทับไว้ที่บางปะอิน
ขณะที่กรมขุนพรพินิต(ขุนหลวงหาวัด) ผนวชอยู่ที่วัดราชประดิษฐ์ได้ทรงนำข้าราชบริพารกับพระภิกษุที่จงรักภักดีต่อพระองค์
ออกจากพระนครศรีอยุธยามาจำพรรษาที่วัดโพธิ์ทอง และประทับอยู่ที่พระตำหนักคำหยาดนี้เพื่อไปสมทบกับชาวบ้านบางระจัน
ปัจจุบันนี้กรมศิลปากรได้บูรณะ และขึ้นทะเบียนพระตำหนักคำหยาดเป็นโบราณสถานไว้แล้ว
ค้างคาวแม่ไก่วัดจันทาราม
วัดจันทารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านช้าง หมู่ที่ 5
ตำบลโคกพุทรา ห่างจากที่ว่าการอำเภอโพธิ์ทองไปทางทิศตะวันตก
ประมาณ 4 กิโลเมตร การเดินทางใช้เส้นทางสายโพธิ์ทอง-แสวงหาประมาณ
1 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตร ในบริเวณวัดแห่งนี้มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นจึงเป็นที่อยู่อาศัยและแพร่พันธุ์ค้างคาวแม่ไก่และนกนานาชนิดมาหลายชั่วอายุคนแล้ว
ค้างคาวแม่ไก่เหล่านี้จะออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันจะห้อยหัวอยู่ตามกิ่งไม้เป็นสีดำพรืดมองเห็นแต่ไกลซึ่งผู้สนใจสามารถจะไปชมได้ในทุกฤดูกาล
วังปลาวัดข่อย
อยู่บริเวณแม่น้ำน้อยหน้าวัดข่อย หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์รังนก
อยู่ห่างจากจังหวัดอ่างทอง ประมาณ 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ
ก็จะพบป้ายวังปลาวัดข่อย จากนั้นเลี้ยวขวาลัดเส้นทางคลองส่งน้ำชลประทานไปอีกประมาณ
7 กิโลเมตร ปลาที่วัดข่อยนี้มีจำนวนมากมาตั้งแต่สมัยพระครูสุกิจวิชาญ
(หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาในปีพ.ศ.
2528 พระครูสรกิจจาทรเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุงสถานที่และร่วมกับสำนักงานประมงอำเภอโพธิ์ทองประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำ
มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลรักษามิให้ปลาถูกรบกวน ปัจจุบันมีปลานานาชนิดอาศัยอยู่รวมกันไม่ต่ำกว่า
50,000 ตัวเช่น ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาเทโพ ปลาแรด ปลาบึก
ฯลฯ ทางวัดมีอาหารปลาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้เพลิดเพลินกับการให้อาหารปลา
มีร้านจำหน่ายเครื่องดื่มไว้บริการ
นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดข่อยยังมี มณฑป วิหาร เจดีย์
พระอุโบสถ กุฏิ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญไม้สักทรงไทยโบราณเสา
8 เหลี่ยม ใต้ถุนศาลาการเปรียญเป็นที่เก็บของเก่าประเภทต่างๆ
เช่น ตะเกียงโบราณจากกรุงวอชิงตัน นาฬิกาโบราณจากปารีส และตู้พระไตรปิฎกไม้สักสมัยรัชกาลที่
5จากจีน มีเรือประเภทต่างๆเช่น เรือบด เรือแจว เรือสำปั้นและเรือประทุน
มีเปลกล่อมลูกแบบโบราณ มีเครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งอุปกรณ์ในการทำนาได้แก่
เกวียน ล้อ คันไถ อุปกรณ์เครื่องมือการจับสัตว์น้ำ ไซดักปลา
และชาวบ้านยังมีการจัดตั้งศูนย์ผลิตข้าวซ้อมมือขึ้นเป็นสหกรณ์เพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน
อำเภอแสวงหา
บ้านคูเมือง
อยู่ในท้องที่ตำบลบ้านไผ่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอแสวงหาประมาณ
4 กิโลเมตร และห่างจากค่ายบางระจันเพียง 3 กิโลเมตรเศษ ที่บ้านคูเมืองนี้นักโบราณคดีได้สำรวจพบซากเมืองโบราณซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นชุมชนสมัยทวาราวดี
มีร่องรอยเหลือเพียงคูเมืองขนาดกว้างกับเนินดิน ขุดพบเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา
กระดูกสัตว์ ลูกปัดและหินบดยา
วัดบ้านพราน
ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีพราน เป็นวัดเก่าแก่สร้างในครั้งใดไม่ปรากฏแต่ได้ถูกทิ้งร้างไปจนต้นไม้ปกคลุมหนาทึบ
ต่อมาพวกนายพรานได้มาตั้งหมู่บ้านขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงช่วยกันบูรณะวัดขึ้นมาใหม่
มีประวัติเล่าต่อกันมาว่าพระพุทธรูปศิลาแลงที่ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นผู้สร้างที่เมืองสุโขทัย
แล้วถอดเป็นชิ้นมาประกอบที่วัดบ้านพรานเพื่อให้เป็นพระประธาน
แต่ผู้สร้างวัดต้องการสร้างพระประธานขึ้นเอง จึงได้นำไปประดิษฐานไว้ในพระวิหาร
พระพุทธรูปองค์นี้ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อไกรทอง เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์
สามารถคุ้มภัยแก่ผู้ไปสักการะบูชา
วัดยาง อยู่ในท้องที่ตำบลห้วยไผ่
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย ยังคงมีซากโบราณสถานให้เห็นคือ
พระอุโบสถซึ่งมีฐานโค้ง พระพุทธรูปศิลาทราย พระพุทธรูปปูนปั้นที่ชำรุดและใบเสมาหิน
ห่างไปทางทิศใต้ของวัดประมาณครึ่งกิโลเมตรมีเนินดินซึ่งเคยพบพระเครื่องจำนวนมาก
จากการที่อยู่ไม่ไกลจากบ้านบางระจันมากนัก จึงสันนิษฐานว่า
บริเวณนี้คงเป็นสถานที่ซ่อนสมบัติของมีค่าของคนไทยในสมัยนั้น
สวนนกธรรมชาติ
อยู่ในบริเวณหมู่ที่ 2 บ้านริ้วหว้า ตำบลบ้านพราน
ระยะทางห่างจากจังหวัดอ่างทอง 24 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางสายโพธิ์ทอง-แสวงหา
18 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าที่บ้านตำบลหนองแม่ไก่ ถึงโรงเรียนหนองแม่ไก่แล้วเดินทางไปตามถนนลูกรังอีก
6 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณวัดริ้วหว้าซึ่งมีนกท้องนาปากห่าง
นกกระสา นกกาน้ำ นกกระเต็น นกอีเสือ ฯลฯ บางชนิดก็ใกล้จะสูญพันธุ์และหาชมได้ยากในท้องถิ่นอื่น |
|
อ่างทอง จังหวัดอ่างทอง โรงแรมอ่างทอง
พระนอนองค์ใหญ่
วีรชนใจกล้า ตุ๊กตาชาววังโด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง
|
ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง
|
|
|
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น
โปรแกรมทัวร์อื่นๆ |
 |
โปรแกรมจอยทัวร์ |
 |
XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
วันเดินทาง 30 เม.ย. - 7 พ.ค., 9 - 16 พ.ค., 21 - 28 พ.ค., 28 พ.ค. 4 มิ.ย., 11 - 18 มิ.ย., 18 - 25 มิ.ย., 25 มิ.ย. - 2 ก.ค. 2568
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE (Full Service Airline) |
 |
TIBET651-8L : ทิเบต ลาซา พระราชวังโปตาลา วัดโจคัง นอร์บุหลิงฆา วัดเซรา ทะเลสาบ Yamdrok Tso เมืองซิกาท์เซ่ วัดทาซิลุนโป นั่งรถไฟหลังคาโลก (8L)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 6 11 มิถุนายน, 13 18 มิถุนายน, 20 - 25 มิถุนายน 2568
ชม พระราชวังโปตาลา พระราชวังที่สูงที่สุดในโลก
ชม วัดโจคัง วัดที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวทิเบต
ชม ทะเลสาบ Yamdrok Tso ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต
ชม วัดทาซิลุนโป (Tashilhunpo Monastery) วัดสำคัญอันดับสองรองจากพระราชวังโปตาลา
นั่งรถไฟความเร็วสูงหลังคาโลกทิเบต เมืองซิกาท์เซ่ ลาซา |
 |
URC8D-FM : Grand Altay ซินเจียงเหนือ อาเล่อไท้ คานาสือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ล่องเรือ หุบเขาอัลไต ทุ่งหญ้าอาเล่อไท้ ธารน้ำห้าสี แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (FM)
วันเดินทาง 17 - 24 พฤษภาคม 2568
เที่ยวหุบเขาอัลไต อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
เที่ยวครบซินเจียงเหนือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว ไม่ลงร้านช้อป |
 |
XIN872-CZ : ซินเจียงเหนือ คานาสือ ดอกไม้บาน ล่องเรือ หุบเขาอัลไต หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี แกรนด์แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (CZ)
วันเดินทาง 7 - 14 มิถุนายน, 14 - 21 มิถุนายน, 21 - 28 มิถุนายน 2568
ชมดอกไม้บานปีละครั้งช่วงที่สวยที่สุดที่ อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
ชม หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านที่วิวทิวทัศน์สวยที่สุดในหุบเขาอัลไต
ชม หมู่บ้านไป่ฮาปา หมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศจีน อยู่ในอุทยานคานาสือ
เที่ยวครบ ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
วันเดินทาง 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2568
ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต - บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
Kazak989-3U] เที่ยว 2 ประเทศ ซินเจียง อี้หนิง อัลมาตี้ คาซัคสถาน ทะเลสาบไซลี่มู่ ชารีนแคนยอน วิหารเซนคอฟ Shymbulak Ski หมู่บ้านคาจั่นฉี (3U)
วันเดินทาง 9 17 พฤษภาคม, 20 28 มิถุนายน 2568
ชม ชารีนแคนยอน แกรนด์แคนย่อนที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากอเมริกา
ชม เมืองอัลมาตี้ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถานและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ
นั่งกระเช้า สู่ ชิมบูลัก (Shymbulak Ski Resort) อยู่ในเทือกเขา Zailiuskiy Alwatau
ชม ทะเลสาบไซลี่มู่ ที่ทอดตัวอยู่ในวงล้อมของเทือกเขาเทียนซาน อยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าและภูเขาหิมะ |
 |
[MM19-8M] : เที่ยว 6 เมือง ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกาม มัณฑะเลย์ เจดีย์ชะเวดากอง พระธาตุมุเตา พระธาตุอินทร์แขวน เจดีย์ชเวสิกอง พระมหามุนี (8M)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 9 14 กรกฎาคม, 8 13 สิงหาคม, 9 - 14 ตุลาคม 2568
เที่ยว 6 เมืองหลักที่สวยงาม ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกามและมัณฑะเลย์
ไหว้ 5 พะธาตุที่ยิ่งใหญ่ของพม่า เส้นทางแห่งพระพุทธศาสนา
อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว - บินสายการบิน Myanmar Airways |
|
สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
ID Line Office : @oceansmiletour
คุณเล็ก โทร.082-3656241 ID Line : lekocean2
คุณโจ้ โทร.093-6468915 ID Line : oceansmile
รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า |
|
| |
|