อิหร่าน
เมืองแห่งอารยะธรรมโบราณที่มีเรื่องราวเล่าขานกันกว่า 2,500
ปี |
|
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
กรุงเตหะราน อิหร่าน |
โรงแรมกรุงเตหะราน |
เงินอิหร่าน Rial (IRR) |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ |
ชาวพื้นเมืองอะบียาเน่ห์ |
สาวอิหร่าน |
ถ่ายกับไกด์อิหร่าน |
สาวอิหร่าน
พบเธอที่อะบียาเน่ห์ |
|
|
เด็กนักเรียนอิหร่านที่พิพิธภัณฑ์อิหร่าน
กรุงเตหะราน |
|
|
อิหร่าน
เดิมประเทศอิหร่านใช้ชื่อประเทศว่าเปอร์เซีย โดยในสมัยต่อมาในช่วงที่เยอรมนีรุ่งเรืองในยุโรป
กษัตริย์เปอร์เซียเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศอิหร่าน ซึ่งแปลว่าประเทศของชาวอารยัน
(Aryan/ Arian) เพื่อให้ชื่อประเทศมีความเกี่ยวโยงกับเชื้อชาติดั้งเดิม
เพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้น และภายหลังการปฏิวัติอิสลามเมื่อปี
ค.ศ. 1979 ชื่อทางการของประเทศอิหร่านได้เปลี่ยนเป็น Islamic
Republic of Iran จนถึงทุกวันนี้
นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าชาวอิหร่านหรือเปอร์เซียในขณะนั้น
เข้ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาในบริเวณสุวรรณภูมิตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
คนไทยนิยมเรียกชาวเปอร์เซียว่า แขกเทศหรือแขกเจ้าเซน โดยชาวเปอร์เซียเฉพาะสมัยพระเจ้าธรรมราชาและพระนารายณ์มหาราช
มีชาวอิหร่านเข้ามารับราชการเป็นจำนวนมาก โดยที่สำคัญคือพระยาเฉกอะหมัด
(Shake Ahmad) หรือเจ้าพระยาบวรราชนายก ปฐมจุฬาราชมนตรี
ต้นสกุลบุนนาค โดยชาวอิหร่านและลูกหลานไทยผู้สืบเชื้อสายชาวอิหร่านมีมรดกทางวัฒนธรรม
ทั้งด้านสถาปัตยกรรม (การก่ออิฐเป็นลายและช่องลม) ภาษาศาสตร์
(คำว่าสบู่และกุหลาบ) และอาหาร (แกงมัสมั่น) ให้ไว้กับสังคมไทยเป็นจำนวนมาก
ชาวอิหร่านมีความรู้จักประเทศไทยเป็นอย่างดีจากการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
และมองภาพลักษณ์ของไทยในทางที่ดี ทั้งสภาพบ้านเมือง ความเป็นอยู่
วิถีชีวิต แต่ชาวอิหร่านจำนวนไม่น้อยก็มีทัศนคติในทางลบกับผู้หญิงไทยโดยเฉพาะหนุ่มอิหร่านที่เคยไปเที่ยวพัทยาหรือพัฒนพงศ์
อิหร่าน หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เป็นประเทศในตะวันออกกลาง
ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478
ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย
อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909
กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน
(1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน
(500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500
กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซีย
(ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้) และ อ่าวโอมาน (ทิศตะวันออกเฉียงใต้)
ในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอฮ์
โคมัยนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย
(theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ
สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran)
ภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศมากกว่าร้อยละ 95 เป็นที่สูงในลักษณะของเทือกเขาสูงและที่ราบสูง
เทือกเขาสูงที่ปรากฏในอิหร่านมี 2 เทือกเขาคือ เทือกเขาเอลบูร์ซทางตอนเหนือวางตัวขนานกับชายฝั่งทะเลแคสเปียน
และเทือกเขาซากอส วางตัวขนานกับอ่าวเปอร์เซีย เทือกเขาทั้งสองวางตัวแยกออกมาจากอาร์เมเนียนนอต
ขณะที่ที่ราบสูงจะอยู่ตอนกลางของประเทศเป็นที่ราบผืนใหญ่ครอบคลุมพื้นเกือบทั้งประเทศต่อเนื่องเข้าไปถึงอัฟกานิสถานและปากีสถาน
ส่วนภูมิประเทศชายฝั่งจะปรากฏอยู่ 2 บริเวณคือ ตอนเหนือเป็นชายฝั่งทะเลแคสเปียน
ส่วนด้านตะวันตกเฉียงใต้และด้านใต้เป็นชายฝั่งราบของทะเลบริเวณอ่าวเปอร์เซีย
การเมืองการปกครอง
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532
(ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้
ประมุขสูงสุด (Rahbar) ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ
อะลี คอเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor) เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก
ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม
แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha)
แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง
ประชากร
อิหร่านเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา
แต่ทั้งหมดนั้นได้หลอมรวมกันอยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรมเปอร์เซีย
ภาษา
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนั้นใช้ภาษาเปอร์เซียเป็นภาษาราชการ
ส่วนภาษาถิ่นอื่นๆ นั้น มีภาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาเคิร์ด ภาษาลูร์
ภาษาบาลูจี ภาษาอาหรับ
ศาสนาในประเทศอิหร่าน
ประเทศอิหร่านมีศาสนาประจำชาติคือ ศาสนาอิสลามนิกายชีอะฮ์อิสนาอะชะรียะห์
ซึ่งมีศาสนิกชนร้อยละ 90 ของประชากร ส่วนศาสนาอิสลามนิกายซุนนี
มีร้อยละ 5 ซึ่งศาสนิกชนส่วนใหญ่เป็นชาวเคิร์ดและชาวบาลูจี
ส่วนอีกร้อยละ 2 คือศาสนิกชนนอกศาสนาอิสลามถือเป็นชนกลุ่มน้อย
ได้แก่ ศาสนาบาไฮ ศาสนาพื้นเมืองของชาวมันเดียน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ศาสนาพื้นเมืองของชาวยัซดาน ศาสนายาร์ซาน ศาสนาโซโรอัสเตอร์
ศาสนายูดาห์ และศาสนาคริสต์
วัฒนธรรมอิหร่าน
วัฒนธรรมอิหร่านเป็นวัฒนธรรมผสมผสาน ระหว่างยุคก่อนอิสลามและยุคอิสลามเข้าไว้ด้วยกัน
วัฒนธรรมอิหร่านถือเป็นวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นในตะวันออกกลางและในเอเชียกลาง
และมีความรุ่งเรืองมายาวนานกว่าสองพันปี โดยเฉพาะยุคซาสซานิยะห์
ถือเป็นยุคที่มีความสำคัญของอิหร่านที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมจีน
โรมัน และอินเดียเข้าไว้ด้วยกันและมีอิทธิพลต่อยุโรปตะวันตกและแอฟริกา
ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวมีบทบาทโดดเด่นก่อให้เกิดศิลปะยุคกลางทั้งในเอเชียและแอฟริกา
ซึ่งอิทธิพลดังกล่าวได้ถูกยกยอดไปที่วัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งกลายเป็นการเรียนรู้แบบอิสลามที่ทำให้เกิดความเจริญทางด้านภาษาศาสตร์,
วรรณคดี นิติศาสตร์ ปรัชญา การแพทย์ สถาปัตยกรรม และวิทยาศาสตร์
ซึ่งบางส่วนได้ก่อกำเนิดจากยุคซาสซานียะห์และเผยแพร่ไปสู่โลกมุสลิมภายนอก
วัฒนธรรมอิสลามได้แทรกซึมเข้าสู่วัฒนธรรมของอิหร่านอย่างแพร่หลาย
ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการระลึกถึงอิหม่ามฮุเซนในวันอาชูรอ
ซึ่งมีการรวมตัวของชาวอิหร่านมุสลิม ชาวคริสต์อาร์เมเนีย
และชาวโซโรอัสเตอร์ที่มีส่วนร่วมในการไว้ทุกข์ให้กับผู้พลีชีพในการสู้รบที่กัรบาละห์
และวิถีชีวิตของชาวอิหร่านในยุคปัจจุบันก็ยังคงอิงอยู่กับศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์
และสิ่งต่าง ๆ ยังคอยย้ำเตือนให้ชาวอิหร่านระลึกถึงประเพณีและวัฒนธรรมอันรุ่งเรืองของตน
ดนตรี
ดนตรีของอิหร่านความสัมพันธ์กับเครื่องดนตรีในแถบตะวันออกกลางและเอเชียกลาง
รวมไปถึงแถบอินเดีย แม้บางส่วนจะมาจากแอฟริกา และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
18 ก็มีการหลั่งไหลเข้ามาของดนตรีตะวันตก เพลงของอิหร่านจะใช้ทักษะการใช้เสียงผ่านช่องปาก,
การฟัง และการเรียนรู้
นักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงก่อนการปฏิวัติคือ ฆามัรอัลโมลูก
วาซิรี ผู้ที่ได้สมญานาม "ราชินีเพลงแห่งเปอร์เซีย"
ถือเป็นนักร้องหญิงคนแรกของอิหร่านที่ปราศจากฮิญาบ ตามพระราชประสงค์ในชาห์เรซา
ปาห์ลาวี แต่ภายหลังการปฏิวัติอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี เคยกล่าวถึงดนตรีตะวันตกว่ามีอิทธิพลทำลายจิตใจมนุษย์
เพราะมันทำให้เพลิดเพลิน ทำให้มีความสุข หลอนจิตใจให้ยินดี
ซึ่งก็เหมือนยาเสพติดนั่นเอง ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะหานักร้องหญิงอิหร่าน
เพลงที่นักร้องหญิงอิหร่านร้องส่วนใหญ่ก็เป็นเทปที่อัดก่อนการปฏิวัติทั้งสิ้น
และนักร้องก็เสียชีวิตไปแล้ว
เพลงที่มีผู้หญิงร้องของอิหร่านมีสองประเภท คือ บทกลอนหรือนิทานโบราณของกวีเปอร์เซียที่บรรยายถึงธรรมชาติ
และอีกประเภทคือเพลงรักที่อัดก่อนการปฏิวัติ สำหรับเพลงสมัยใหม่ที่ขับร้องโดยนักร้องหญิงนั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย
แต่ก็มีการผลิตกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันนอกประเทศ โดยอัดแผ่นในตุรกีหรือสหรัฐอเมริกา
และลักลอบเข้าประเทศแล้วซื้อขายกันในตลาดมืด และชาวอิหร่านเองก็นิยมฟังเพลงเหล่านี้มาก
อาหารอิหร่าน
อาหารอิหร่านมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค แต่ส่วนประกอบหลักของอาหารอิหร่าน
ได้แก่ ข้าว, เนื้อไก่หรือปลา มีผักอย่างหัวหอมบาง, ผัก,
ถั่ว และสมุนไพร
อาหารของอิหร่านเช่น เคบับ ซึ่งเป็นอาหารที่พบได้ทั่วไปตั้งแต่ระดับภัตตาคารจนถึงร้านอาหารขนาดเล็ก
ในอิหร่านมีเคบับหลากหลายชนิดตั้งแต่เนื้อวัว อูฐ แกะ แพะ
ไก่ ปลา กุ้ง นำมาปรุงรสด้วยเครื่องเทศแล้วหมักจนได้ที่จึงเสียบเข้ากับไม้หรือโลหะย่างกับถ่าน
โดยเฉพาะหากเป็นเนื้อวัว แพะ แกะ หรืออูฐ จะหมักร่วมกับมะนาว
เกลือ และหัวหอมใหญ่ มีรสชาติออกเปรี้ยวเค็มเล็กน้อย
วันหยุด
ในวันปีใหม่ของชาวอิหร่าน หรือ วันเนารูซ จะเริ่มขึ้นทุกวันที่
21 มีนาคม ถือเป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิของอิหร่าน |
กรุงเตหะราน
ประเทศอิหร่าน |
|
|
ทุ่งหญ้ายามหน้าหนาวประเทศอิหร่าน |
|
|
ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น
หลังจากความระส่ำระสายของราชวงศ์กอญัร เปอร์เซียได้ตกอยู่ภายใต้ของมหาอำนาจต่างประเทศ
โดยเฉพาะรัสเซียและอังกฤษ ตั้งแต่ในรัชสมัยของฟัฏอาลี ชาห์
ชาห์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์กอญัร ได้ทำสงครามกับรัสเซียถึง
2 ครั้ง และต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาคอเคซัสทั้งหมด แม้แต่ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์จำนวนมากในเปอร์เซียอย่างการขุดเจาะน้ำมันที่ขุดพบในคริสต์ศตวรรษที่
19 วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก ช่วงสงครามโลกครั้งที่
1 (ค.ศ. 1914 - 1918) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเปอร์เซีย
เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศ
ทั้งรัสเซีย, อังกฤษ, ออตโตมัน, เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา
ทำให้เกิดกระแสต่อต้านที่กว้างขวางของประชาชนชาวเปอร์เซีย
เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของประเทศ
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1921 เรซา ข่าน ผู้บัญชาการกองพันน้อยคอสแซคได้นำกองทัพบุกเข้าเมืองหลวงได้ยึดอำนาจและทำการรัฐประหาร
หลังการรัฐประหารพระเจ้าอะหมัด ชาห์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กอญัรได้แต่งตั้งนายตะบาตะบาอี
เป็นนายกรัฐมนตรี และเรซา ข่าน เป็นนายกรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม
ยุคปัจจุบัน
ในปี ค.ศ. 1923 พระเจ้าอะหมัด ชาห์ได้เสด็จไปประทับในยุโรปและไม่เดินทางกลับมายังอิหร่านเลย
เรซา ข่าน อดีตรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงคราม ได้ยึดอำนาจจากราชวงศ์กอญัรและประกอบพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ปาห์ลาวี
เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1925
เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ประทุขึ้น กองทัพพันธมิตรจึงได้ตัดสินใจบุกอิหร่าน
ซึ่งขณะนั้นอิหร่านมีความสัมพันธ์อันดีกับเยอรมนี โดยกองทัพสหราชอาณาจักรได้บุกยึดภาคใต้ของอิหร่าน
และ กองทัพสหภาพโซเวียตได้เข้ายึดทางตอนเหนือของอิหร่าน
ประเทศอิหร่านจึงถูกปกครองโดยกองทัพสัมพันธมิตร กษัตริย์เรซาจึงถูกบีบบังคับให้สละราชสมบัติ
เพื่อให้พระโอรสองค์ใหญ่คือ โมฮัมหมัด เรซา ข่านขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
ประเทศอิหร่านหลังจากนั้นจึงมีความสัมพันธ์อันดีประเทศตะวันตก
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1951 เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนอิหร่านกำลังตื่นตัวเรื่องชาตินิยม
ในพฤษภาคมปีเดียวกันนั้นเอง ดร.มุฮัมหมัด มูซัดเดก ผู้นำคนหนึ่งในขบวนการชาตินิยมอิหร่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้นนายมูซัดเดกได้ดำเนินการยึดบริษัทน้ำมันแองโกล-อิหร่านออยล์ซึ่งเป็นของอังกฤษเป็นของรัฐ
ทำให้ต่างชาติมีมาตรการตอบโต้บอยคอตน้ำมันอิหร่าน ในวันที่
22 ตุลาคมปีเดียวกัน รัฐบาลอิหร่านได้ประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับอังกฤษ
ขณะเดียวกันสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มปั่นป่วน และเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว
และเกิดความวุ่นวายมากขึ้น
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1953 ชาห์โมฮัมหมัดเรซา และราชินีได้เสด็จออกนอกประเทศ
3 วันหลังจากนั้นนายพลซาเฮดีประกาศตนเป็นนายกรัฐมนตรีและเข้าควบคุมอำนาจมูซัดเดก
และคณะรัฐบาลของเขาถูกจับกุม ชาห์โมฮัมหมัดเรซาเสด็จฯ กลับอิหร่านและทำการแต่งตั้งรัฐบาลใหม่ที่มีนโยบายนิยมตะวันตก
อิหร่านได้ทำการเปิดสัมพันธไมตรีกับการทูตกับอังกฤษใหม่อีกครั้ง
และมีการเจรจาตกลงกับบริษัทน้ำมันอังกฤษและสหรัฐอเมริกาและนับตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1955 เป็นต้นมา ชาห์โมฮัมหมัดเรซาได้เริ่มมีบทบาทในการบริหารประเทศมากขึ้น
และพาประเทศเข้าสู่ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ในปี ค.ศ. 1963 ชาห์ได้เริ่มโครงการสำคัญหลายอย่างเพื่อพัฒนาอิหร่านให้ก้าวหน้า
อาทิเช่น การปฏิรูปที่ดิน ปฏิรูปการเลือกตั้ง การให้สิทธิแก่สตรี
การตั้งหน่วยการศึกษา การจัดตั้งหน่วยอนามัย การพัฒนาการเกษตร
การโอนป่าเป็นของรัฐเป็นต้น ซึ่งรัฐบาลอิหร่านเรียกโครงการเหล่านี้ว่า
"การปฏิวัติขาว" เพราะเป็นการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อ
การลงมติในสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งมาอย่างเสรี
ความขัดแย้งเรื่องนี้รุนแรงเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเมื่อวันที่
5 มิถุนายน ค.ศ. 1963 หลังปราศรัยโจมตีรัฐบาล ท่านโคมัยนีก็ถูกจับไปขังคุกที่กรุงเตหะราน
ผลของการจับโคมัยนีทำให้ประชาชนโกรธแค้นมาก และพากันออกมาเดินขบวนเต็มไปหมดในถนนทุกสาย
เหตุการณ์ต่อสู้เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยอายะตุลลอฮ์ โคมัยนี
ลุกลามรุนแรงถึงขั้นนองเลือด จนกลายเป็นจุดหักมุมของประวัติศาสตร์อิหร่าน
รัฐบาลตัดสินใจเนรเทศโคมัยนีออกนอกประเทศในวันที่ 4 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1964 โดยให้ไปอยู่ตุรกี และต่อมาย้ายไปอยู่เมืองนาจาฟในอิรัก
รวมเป็นเวลาถึง 13 ปี โดยหวังว่าจะทำให้ความนิยมในตัวโคมัยนีจางหายไป
การปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์
วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งตรงกับเดือนรอมฎอน ประชาชนเริ่มการปฏิวัติ
ได้เกิดเหตุไฟไหม้รุนแรงในโรงภาพยนตร์ที่เมืองอะบาดาน มีผู้เสียชีวิต
387 คน รัฐบาลได้ออกข่าวว่าพวกศาสนานิยมหัวรุนแรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง
ทว่าเมื่อตำรวจไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ ก็ทำให้ประชาชนเคียดแค้นรัฐบาล
และเกิดการประท้วงตามเมืองต่าง ๆ ส่วนคู่ปรับของชาห์คืออายะตุลลอฮ์
โคมัยนี แม้จะถูกเนรเทศไปยังประเทศอิรัก 12 ปี และภายหลังถูกรัฐบาลอิรักขอร้องให้ออกไปนอกประเทศ
โคมัยนีจึงได้อพยพไปอยู่ฝรั่งเศส แต่โคมัยนีก็ใช้การอัดเสียงใส่เทปคาสเซตได้ทำการอัดซ้ำและทำการเผยแพร่แก่นักศึกษาประชาชน
และลุกลามถึงนักศึกษาอิหร่านในต่างประเทศด้วย
หลังโศกอนาฏกรรมที่เมืองอะบาดาน ประชาชนในเตหะรานได้รวมกันประท้วงชาห์
เผาธงชาติ ถือป้ายข้อความ "แยงกี้ โกโฮม" "ชาห์ต้องลาออก"
และ "โคมัยนีต้องปกครองอิหร่าน" มีสตรีแต่งกายด้วยชุดดำสวมคลุมศีรษะจำนวนมาเข้าร่วมขบวนด้วย
ขบวนได้ประทะกับทหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บหลายคน
หลังจากเหตุการณ์นี้ ก็เกิดเหตุการณ์ประท้วงระลอกแล้วระลอกเล่าตามหัวเมืองอื่น
กรรมกรนับแสนคนนัดหยุดงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ บรรดาครู อาจารย์
นักเรียน นักศึกษา ต่างเข้าร่วมกันประท้วง การประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อวันที่
10 ธันวาคม ค.ศ. 1978 ซึ่งเป็นวันรำลึกถึงการเสียชีวิตของอิหม่ามฮุเซน
วันนั้นประชาชนนับล้านได้ออกมาชุมนุมกันบนท้องถนนและที่สาธารณะ
มีการชูรูปโคมัยนี มีการตะโกนด่าทออเมริกา และเรียกร้องรัฐอิสลาม
การประท้วงปฏิวัติอิสลาม หน้าจัตุรัสอิสรภาพในวันอาชูรอ
ในปี ค.ศ. 1979
การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นอีกที่เมืองมาชาดมีการลุกฮือเผาบ้านของชาวอเมริกัน
ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ของชาวตะวันตก ทหารได้สกัดกั้นและทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อย
เหตุการณ์ลุกลามใหญ่โตจนรัฐบาลอเมริกา และยุโรปสั่งให้คนของตนออกจากอิหร่าน
ความตึงเครียดที่กดดันทำให้ชาห์ทำตามคำแนะนำของอเมริกา โดยการเสด็จออกนอกประเทศพร้อมครอบครัว
เมื่อวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 1979 โดยที่รัฐบาลของนายชาห์ปูร์
บัคเตียร์ ได้ออกประกาศว่า พระองค์มิได้สละบัลลังก์แต่อย่างใด
และแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ โคมัยนีพร้อมผู้ช่วยราว 500
คน และนักหนังสือพิมพ์อีก 150 คน ได้โดยสารเครื่องบินโบอิ้ง
747 ของสายการบินฝรั่งเศสกลับสู่อิหร่าน โดยมีประชาชนต้อนรับอย่างเนืองแน่น
แม้ระยะแรกกองทัพบกประกาศว่าพร้อมหลั่งเลือดเพื่อค้ำบัลลังก์ชาห์
หรือหนุนรัฐบาลนายบัคเตียร์ ภายหลังกองทัพบกได้วางตัวเป็นกลาง
ประชาชนฝ่ายโคมัยนีจึงได้เข้าควบคุมเตหะรานไว้ได้โดยบุกยึดที่ทำการรัฐบาล
กระทรวงทบวงกรม ตึกรัฐสภา และสถานีตำรวจไว้ได้หมด
ต่อมารัฐบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากโคมัยนีก็เข้ารับหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ
และนำอิหร่านเข้าสู่การปกครองของรัฐอิสลามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยมีผู้นำสูงสุดคือ อิหม่ามโคมัยนี เรียกว่า ฟากิฮ์ หรือ
รอฮ์บัรร์ ถือเป็นผู้นำสูงสุดทางจิตวิญญาณมีอำนาจครอบคลุมทั้งการเมืองและการปกครองทั้งหมด |
สถานที่ท่องเที่ยวอิหร่าน
|
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส
(Persepolis Palace) เมืองชีราซ |
|
|
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
พระราชวังเปอร์ซีโปลิส |
สุเหร่าสีชมพู
(Pink Mosque) เมืองชีราซ |
|
|
เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
สุเหร่าสีชมพู เมืองชีราซ |
มัสยิดอิหม่าม
(Imam Mosque) ที่จัตุรัสอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์
(Sheikh Lotfollah Mosque) ที่จัตุรัสอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
มัสยิดชีคล๊อฟฟลูเลาะห์ |
จัตุรัสอิหม่าม เมืองอิสฟาฮาน |
พระราชวังอาลีคาปู
(Aliqapu Palace) เมืองอิสฟาฮาน |
|
|
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
พระราชวังอาลีคาปู |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์
หมู่บ้านสีชมพู อิหร่าน |
|
|
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
หมู่บ้านอะบียาเน่ห์ อิหร่าน |
คฤหาสน์
โบรูเจอร์ดี้ เมืองคาชาน |
|
|
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
คฤหาส์น เมืองคาชาน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน (National Museum) กรุงเตหะราน |
|
|
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พิพิธภัณฑ์อิหร่าน |
พระราชวังโกเลสตาน
(Golestan Palace) กรุงเตหะราน |
|
|
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังโกเลสตาน |
พระราชวังเนียวาราน
(Niavaran Palace) กรุงเตหะราน |
|
|
พระราชวังเนียวาราน เตหะราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน เตหะราน |
พระราชวังเนียวาราน |
พระราชวังเนียวาราน |
สวนในพระราชวังเนียวาราน |
สวนในพระราชวังเนียวาราน |
|