ข้อมูลทั่วไป
สิกขิม (Sikkim)
สิกขิม มีที่มาจากคำ 2 คำในภาษาลิมบู (Limbu) คือ คำว่า
Su หมายถึง ใหม่ และคำว่า Khyim ที่หมายถึง พระราชวัง
หรือ บ้าน เมื่อรวมกันแล้ว สิกขิมจึงหมายความว่า พระราชวังหรือบ้านหลังใหม่
ซึ่งมีผู้ปกครองคนแรกคือ Phuntsok Namgyal (ส่วนในภาษาทิเบต
คำว่า สิกขิมคือ Denjong ซึ่งมีความหมายว่า หุบเขาแห่งข้าว)
สิกขิม (Sikkim) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองรองจากรัฐ
กัว หรือ โคอา (Goa) ในประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทั้งสิ้น
7,098 ตารางกิโลเมตร และมีเมืองหลวงชื่อว่า กังต็อก (Gangtok)
ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสิกขิม)
สิกขิมมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาคันชังจุงก้าสูง
(Khangchendzonga) เดิมมีความสูงถึง 8,598 เมตร ซึ่งคนพื้นเมืองถือเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธิ์
เพราะเชื่อกันว่าที่ยอดเขานี้เป็นที่เก็บสัญลักษณ์ทั้ง 5
อย่างของพระเจ้า คือ เงิน ทอง รัตนชาติ และพระคัมภร์ สำหรับยอดเขาคันชังจุงก้าเป็นยอดเขาสูงอันดับ
3 ของโลก รองจากยอดเขาเอเวอเรสต์ที่สูง 8,848 เมตรและ ยอดเขาเคทูที่สูง
8,611 เมตร
อาณาเขตของรัฐสิกขิม
ด้านตะวันตกติดกับประเทศเนปาล
ด้านเหนือและตะวันออก ติดกับทิเบต
ตะวันออกเฉียงใต้ติดกับภูฎาน
ด้านทิศใต้ติดกับรัฐเบงกอลตะวันตก
การปกครอง : สิกขิมแบ่งการปกครองออกเป็น
4 เขต ได้แก่ สิกขิมเหนือ สิกขิมใต้ สิกขิมตะวันออก และ
สิกขิมตะวันตก
ภาษาที่ใช้ในสิกขิม : ภาษาฮินดี
ภาษาภูเทีย เลปชา ลิมบู โดยมีภาษาราชการคือ ภาษาอังกฤษ
ศาสนาที่นับถือ : ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ
เวลา : อินเดียเวลาช้ากว่าเมืองไทย
1 ชั่วโมงครึ่ง
ภูมิอากาศสิกขิม
ด้วยความที่สิกขิมมีภูมิประเทศที่เป็นภูเขา ไม่มีที่ราบ
จึงทำให้สิกขิมมีสภาพภูมิอากาศเพียง 3 ฤดูคือ
ฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือน
มีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้จะมีดอกกุหลาบพันปีและกล้วยไม้หลากหลายชนิด
แข่งกันบานต้อนรับนักท่องเที่ยวเต็มไปหมด
ฤดูฝน ช่วงประมาณเดือน มิถุนายน-กันยายน
โดยมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 12-25 องศาเซลเซียส แต่จะเป็นช่วงที่มีมรสุมและมีฝนตกตลอดเวลาด้วย
ฤดูหนาว ช่วงเดือน ตุลาคม-กุมภาพันธ์
มีอุณหภูมิประมาณ 5-15 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ท้องฟ้าเปิดและเหมาะสำหรับการเดินป่า
แต่อาจจะมีถนนถูกตัดขาดเหนื่องจากหิมะตกหนัก
ฤดูท่องเที่ยวที่เหมาะสม
ช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิตและดอกไม้บาน
ช่วงกลางเดือนตุลาคม - กลางเดือนกุมภาพันธ์ เหมาะสำหรับการเดินทางไปเที่ยวชมบรรยากาศของภูเขาหิมะ
งานเทศกาลสิกขิม
สิกขิมมีเทศกาลฉลองของวัดรุมเต็ก แสดงระบำหน้ากาก ซึ่งกำหนดขึ้นตามปฏิทินทิเบต
สกุลเงินสิกขิม : รูปี เงินเหรียญจะมีตั้งแต่ 10,20,
25, 50 Paise และ 1,2, 5 รูปี (1 รูปี เท่ากับ 100 Paise)
ส่วนธนบัตร มี 10,20,50, 100 และ 1,000 รูปี อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ
1 รูปี เท่ากับ 0.9x บาท (อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้)
เทคนิคการใช้เงินและแลกเงิน : หลักในการคิดเวลาซื้อของแบบง่ายคือ
1 รูปีเท่ากับ 1 บาทไทย ซึ่งสามาถแลกเงินรูปีได้จากธนาคารในเมืองต่างๆ
หรือที่สนามบิน โดยไม่ควรแลกเงินกับพ่อค้าที่รับแลกเงินทั่วๆ
ไป เนื่องจากมีสิทธิ์โดนโกงได้ สำหรับเมืองเล็กๆ ที่อยู่ในชนบทนั้น
มักไม่ค่อยมีให้เงินทอน จึงควรเตรียมแลกเป็นแบงก์ย่อยด้วยเพื่อความสะดวก
ไฟฟ้า : ไฟฟ้าในอินเดียมีขนาด
230-240 โวลต์ และลักษณะขาเสียบเป็นขากลม สามขา ดังนั้น
ควรเตรียมตัวแปลงปลั๊กไปติดไปด้วยเพื่อสำหรับชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
เช่น กล้อง โทรศัพท์
โทรศัพท์
ถ้าต้องการโทรศัพท์กลับเมืองไทย หรือ โทรไปต่างประเทศจากอินเดีย
ให้ใช้บริการของศูนย์บริการ PCO/STD/ISD มีราคาถูกกว่าโทรจากโรงแรมที่พัก
โดยไม่แนะนำให้นำโทรศัพท์มือถือจากประเทศไทยไปใช้แล้วเปิดบริการ
Roaming เพราะว่าเสียค่าบริการโทรกลับเมืองไทยในราคาแพง
ประมาณ 114 บาท/นาที
อัตราค่าบริการ สำหรับมือถือของอินเดียนั้น จะมีหมายเลข
10 หลัก ซึ่งสามารถหาซิมการ์ดได้จากศูนย์บริการ PCO/STD/ISD
ตามร้านขายโทรศัพท์ทั่วไป ซึ่งจะขายพร้อมบัตรเติมเงิน
วิธีการโทรศัพท์ โทรภายในประเทศอินเดีย กดรหัสเมือง คือ
11 ตามด้วยหมายเลข 10 หลัก ส่วนการโทรกลับเมืองไทย กดรหัสต่างประเทศจากอินเดีย
ตามด้วยรหัสประเทศไทย คือ 66 แล้วตามด้วยเบอร์โทรศัพท์ที่ต้องการ
(ตัด 0 ข้างหน้าออก) เช่น เบอร์มือถือ 081 234 5678 ให้กด
00 66 81 234 5678
เวลาทำงานของสิกขิม
: สถานที่ราชการของสิกขิมจะเริ่มทำการตั้งแต่เวลา
10.00 น. 16.00 น. (วันจันทร์-เสาร์) ส่วนธนาคารจะเปิด
10.00 14.00 น. (วันจันทร์-ศุกร์) และวันเสาร์จะเปิดทำการครึ่งวัน
ส่วนไปรษณีย์จะเปิดทำการ 09.00-17.30 น.(วันจันทร์-เสาร์)
ในส่วนของร้านค้าทั่วไป จะเปิดตั้งแต่ เวลา 10.00 20.00
น.
การเตรียมตัวก่อนเดินทางไปสิกขิม
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะไปท่องเที่ยวในสิกขิมนั้น ควรจะเตรียมใจไว้สำหรับความสะดวกสบาย
การเดินทาง
เสื้อผ้า
ฤดูใบไม้ผลิ เป็นช่วงที่อากาศเย็นสบาย ควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วย
บนยอดเขาจะมีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี
ฤดูฝน ควรเตรียมเสื้อผ้าไปหลายๆ ชุด เพราะฝนตกหนักและมีมรสุมเข้าบ่อย
ทำให้มีฝนตกทั้งวัน เสื้อผ้าไม่ควรหนามากนัก ควรเป็นรองเท้าที่โปร่งสบายและทนน้ำได้ดี
ฤดูหนาว เป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นมาก อุณหภูมิติดลบ
ควรเตรียมเสื้อกันหนาวแบบหนา หมวก ถุงมือ ถุงเท้า
ตัวแปลงปลั๊กไฟ ไฟฟ้าในอินเดียมีขนาด
230-240 โวลต์ และลักษณะเป็นขาเสียบแบบขากลมสามขา ดังนั้น
ควรเตรียมปลั๊กแปลงไฟติดไปด้วย
น้ำดื่ม ควรเลือกซื้อน้ำดื่มที่บรรจุขวด
ซึ่งพิมพ์วันผลิต วันหมดอายุ และราคาพร้อม ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายของชำทั่วไป
ยาต่างๆ เช่น แก้ปวดหัว
แก้หวัด แก้ไข้ แก้ปวดท้อง ยาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย ผงเกลือแร่
ยา attitude sickness pill เผื่อใครแพ้ที่สูง
อุปกรณ์อื่น เช่น โลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้น
ลิปมัน ไฟฉาย (บางเมืองมีปัญหาเรื่องไฟตกบ่อย) ถุงพลาสติกใบใหญ่เพื่อกันเสื้อผ้าเปียกจากความหนาวเย็น
ทิชชู ทิชชูเปียกเนื่องจากที่อินเดียมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำพอสมควรควรเอาไปเผื่อเวลาใช้เช็ดมือ |