บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอินเดีย
• สาวัตถี วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพระพุทธศาสนา

เส้นทางสู่เมืองสาวัตถี

ท้องทุ่งเมืองสาวัตถี

ท้องทุ่งเมืองสาวัตถี

เด็กๆอินเดียทักทาย

แผนที่ท่องเที่ยวเมืองสาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
• สาวัตถี
• บรรดาพุทธสถานที่มีอยู่มากมายในอินเดีย นอกจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่งแล้ว ยังมีพุทธสถานอีกแห่งหนึ่งซึ่งนับเป็นสถานที่ที่พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาอย่างหนักแน่นต่อพระพุทธองค์ควรไปนมัสการให้ได้สักหนึ่งครั้งในชีวิต เพราะสถานที่แห่งนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ถึง ๒๕ พรรษา ตรัสพระธรรมเทศนาและแสดงธรรมแก่ภิกษุและพุทธบริษัทให้บรรลุอมตธรรมเป็นจำนวนมาก มีพระอรหันตสาวกอยู่จำพรรษานับพันนับหมื่นองค์ อุบาสกอุบาสิกาก็เป็นเลิศกว่าใครในแผ่นดิน พระราชาก็ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่ง สถานที่แห่งนี้ก็คือ “สาวัตถี”
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
• เมืองสาวัตถี
• ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
• เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาล
• เมืองสาวัตถีเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน ๖ เมืองที่ยิ่งใหญ่และเจริญรุ่งเรืองที่สุด เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในจำนวน ๑๖ แคว้นในสมัยพุทธกาล และเป็นแคว้นที่ยิ่งใหญ่อีกแคว้นหนึ่งใน ๔ แคว้น แคว้นโกศลมีความยิ่งใหญ่ในด้านการปกครอง เป็นศูนย์กลางในการติดต่อกับแคว้นต่างๆ ทางตอนเหนือเช่น มคธ กาสี กุรุ วัชชี ต่อมาแคว้นโกศลได้ผนวกแคว้นกาสีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง รวมทั้งยังปกครองแคว้นสักกะซึ่งเป็นเมืองพุทธบิดาอีกด้วย
• พระบรมศาสดาได้เสด็จจาริกสู่เมืองสาวัตถี เพื่อโปรดมหาชนเป็นครั้งแรกเมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลนิมนต์ และได้จำพรรษาถึง ๒๕ พรรษา ทรงประทับอยู่จำพรรษาในวัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ๑๙ พรรษาและวัดบุพพารามของนางวิสาขา ๖ พรรษา ทั้งนี้เป็นเพราะเศรษฐีและนางวิสาขาศรัทธาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา และมีอุปการะคุณต่อพระภิกษุสงฆ์นานับประการ
• สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถีถึง ๒๕ พรรษา เพราะเหตุการณ์ในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งพระองค์เลือกเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาครั้งแรกนั้น พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสคือพระเจ้าอชาตศัตรู แย่งชิงราชสมบัติ เพราะหลงเชื่อพระเทวทัต บ้านเมืองไม่อยู่ในภาวะปกติ ประกอบกับพระพุทธองค์ได้รับความอุปถัมภ์จากพระเจ้าปเสนทิโกศลกษัตริย์แห่งกรุงสาวัตถี และพระนางมัลลิกาเอกอัครมเหสี ทั้งสองพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธองค์อย่างยิ่ง และพระพุทธองค์ได้บุคคลผู้เป็นกำลังสำคัญที่สุดในฝ่ายอุบาสกคือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้บริจาคทรัพย์ ๕๔๐ ล้านสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร และฝ่ายอุบาสิกาคือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้บริจาคทรัพย์ ๒๗๐ ล้านสร้างวัดบุพพาราม รวมทั้งพระราชาและชาวเมืองได้ถวายความอุปถัมภ์แก่พระพุทธองค์และภิกษุสงฆ์ในด้านอื่น ๆ อีกหลายประการ พระพุทธศาสนาจึงตั้งมั่นแพร่หลายในแคว้นโกศล เพราะพระราชาและชาวเมืองเป็นผู้มีศรัทธาเต็มเปี่ยม
• สาวัตถี สาเหตุที่เมืองนี้ได้ชื่อว่า “สาวัตถี” เพราะที่ตรงนี้เคยเป็นที่อยู่ของท่านมหาฤาษีสาวัตถะ มาก่อน สืบเนื่องมาจากกษัตริย์ต้นราชวงศ์ได้พาชาวเมืองอพยพมาตั้งบ้านเมืองใหม่ มาถึงที่อยู่ของท่านฤาษี เห็นภูมิประเทศที่เหมาะตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำแม่น้ำอจิระวดี เหมาะแก่การสร้างเมือง จึงขอที่ตรงนั้นสร้างเมือง ท่านฤาษีอนุญาต เมื่อสร้างเมืองเสร็จจึงตั้งชื่อเมืองว่า “สาวัตถี” เพื่อเป็นที่ระลึกและอนุสรณ์แก่ท่านฤาษี
• เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นในกรุงสาวัตถี
๑.ทรงชนะจอมโจรองคุลิมาลเป็นชัยชนะลำดับที่ ๔ ในชัยชนะ ๘ อย่างที่ยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ในชัยมงคลคาถา
๒.ทรงชนะสาวกเดียรถีย์ที่กล่าวตู่พระองค์ เป็นชัยชนะลำดับที่ ๔ ในชัยชนะ ๘ อย่างที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ในชัยมงคลคาถา
๓.แผ่นดินสูบพระเทวทัต พระเทวทัตถูกลาภสักการะครอบงำ ต้องการปกครองคณะสงฆ์ จึงยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นบิดา ส่วนท่านเองจะฆ่าพระพุทธเจ้า พระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าพ่อตาย ภายหลังเกิดสำนึกผิด หันมานับถือพระพุทธศาสนาและได้ฟังธรรม บำรุงพระพุทธศาสนาต่อมา
๔.พระเถรีปฏาจารา สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายทางด้านทรงพระวินัย
๕.นางยักษิณีถวายสลากภัตร มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ......นางจึงนำอาหารเหล่านั้นไปถวายพระตามสลาก จนเป็นบุญถวายสลากภัตรจนถึงทุกวันนี้
๖.พวกเดียรถีย์ใส่ความพระพุทธองค์และสาวก
๗.ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ ทำลายทิฏฐิของเหล่าเดียรถีย์ เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงราชคฤห์
• ในช่วงปลายพุทธกาล ได้เกิดเหตุการณ์ที่พระเจ้าอชาตศัตรู ทำปิตุฆาตปลงพระชนม์พระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้พระนางเวเทหิ อัครมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลเสียพระทัยจนสิ้นพระชนม์ตามกันไป พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงกริ้วพระเจ้าอชาตศัตรูมาก จึงสั่งยึดเมืองในแคว้นกาสีที่พระเจ้ามหาโกศลยกให้พระเจ้าพิมพิสารคืน โดยทรงถือว่า ผู้ฆ่าพ่อไม่มีสิทธิ์ได้รับสมบัติพ่อ และได้ทำสงครามกัน ผลัดกันแพ้ชนะ จนสุดท้ายพระเจ้าปเสนทิโกศลชนะ จับพระเจ้าอชาตศัตรูได้ แต่ไม่ประหารชีวิตเพราะเห็นแก่เป็นพระนัดดา แต่สั่งให้สละราชสมบัติแทน และต่อมาก็ทรงให้พระเจ้าอชาตศัตรูกลับไปครองราชสมบัติอีกด้วยคงเห็นพระทัย โดยในครั้งนั้นได้ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ให้ไปอภิเษกด้วย ทั้งสองแคว้นจึงกลัยมามีสัมพันธไมตรีกันอีกครั้ง ทำให้เมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์กลับเป็นไมตรีกันจนสิ้นรัชกาลของพระปเสนทิโกศล
• ในช่วงปลายรัชกาลพระเจ้าปเสนทิโกศล ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะพระราชโอรสของพระองค์เองยึดอำนาจ พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงทรงม้าหนีไปเมืองราชคฤห์กับผู้ตามเสด็จอีกหนึ่งคน โดยหวังให้พระเจ้าอชาตศัตรูช่วยเหลือเพื่อนำราชสมบัติคืน แต่พระองค์เสด็จมาถึงเมืองราชคฤห์ในเวลากลางคืน ไม่สามารถเข้าประตูเมืองได้ ทำให้พระองค์เสด็จสวรรคตในคืนนั้นเองเพราะต้องประทับค้างแรมอยู่ข้างนอกที่มีอากาศหนาว ในขณะที่พระองค์ทรงเหน็ดเหนื่อยจากการหลบหนีและมีพระชนม์มากถึง 80 พรรษา เมื่อถึงเวลาเช้าพระเจ้าอชาตศัตรูซึ่งพึ่งทราบข่าวจึงอัญเชิญพระศพไปถวายพระเพลิง • หลังจากพระเจ้าปเสนทิโกศลสวรรคตและหลังพระพุทธปรินิพพาน พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธได้เริ่มทำสงครามยึดแว่นแคว้นต่างๆ และได้กำจัดแคว้นวัชชีได้สำเร็จ และหลังจากกำจัดแคว้นวัชชีได้ไม่นาน พระองค์จึงได้ยกทัพมายึดเมืองสาวัตถีไว้ในอำนาจได้สำเร็จ เมืองสาวัตถี จึงสิ้นสุดความสำคัญในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้นโกศล จากนั้นการค้า ฯลฯ อำนาจต่าง ๆ ได้ไปรวมศูนย์ที่เมืองราชคฤห์และสุดท้ายที่เมืองปาฏลีบุตรในฐานะเมืองหลวงแห่งแคว้น แต่วัดเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นศูนย์กลางสำคัญทางศาสนาอยู่
วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
บ่อน้ำโบราณที่วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี

• สาวัตถีหลังพุทธกาล
• สิ้นสมัยของพระเจ้าปเสนทิโกศล อำนาจของแคว้นโกศลเริ่มถดถอย ถึงรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช วัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารยังคงเป็นสำนักที่ใหญ่โตและรุ่งเรือง เมื่อหลวงจีนฟาเหียนมาถึงสาวัตถี (พ.ศ.๙๔๔–๙๕๓) เมืองกลายเป็นเมืองร้าง มีประชากรราว ๒๐๐ ครอบครัว แต่วัดพระเชตวันมหาวิหารยังคงเป็นสถานที่สำคัญอยู่
• จากการขุดค้นสำรวจในยุคหลัง ได้พบหลักฐานแสดงชัดว่า วัดพระเชตวันมหาวิหารได้รับการบูรณะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ หลังการมาของหลวงจีนฮวนฉางไม่นาน ก็ได้เป็นพุทธสถานที่สำคัญเรื่อยมา จนถูกพวกมุสลิมเติร์กทำลายในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ จนเหลือเพียงซากในปัจจุบัน
• สาวัตถีในปัจจุบัน
• เมืองสาวัตถีในปัจจุบัน มีฐานะเป็นอำเภอหนึ่ง ทางภาคตะวันออกของรัฐอุตรประเทศ ห่างจากลัคเนาว์ (Luknow) เมืองหลวงของรัฐอุตรประเทศ ประมาณ ๑๕๑ กิโลเมตร
• จากการขุดค้น ได้พบหลักฐานบอกให้ทราบแน่ชัดว่า ซากที่เรียกว่า สาเหต คือวัดพระเชตวันมหาวิหาร วัดที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสมัยพระพุทธกาล และที่เรียกว่า มาเหต ได้แก่ตัวเมืองสาวัตถี ทั้งสองแห่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน ซากตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งด้านทิศใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรืออจิราวดีในพุทธกาล ซากวัดพระเชตวันมหาวิหารตั้งอยู่ทางใต้ของตัวเมือง ห่างจากกำแพงเมืองตอนที่อยู่ใกล้ที่สุดประมาณ ๑ กิโลเมตร ซากของสาเหตุหรือวัดพระเชตวันมหาวิหารมหาวิหารมีเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ไร่ ได้มีการขุดค้นสำรวจพบซากกุฏิน้อยใหญ่ วิหาร สถูปเจดีย์ ศาลาราย สระน้ำ ศาลาธรรมสภา และอื่น ๆ อีกมากมาย และมีต้นโพธิ์เรียกว่า “อานันทโพธิ์” ซึ่งนำเมล็ดมาจากต้นโพธิ์ที่พุทธคยา มาปลูกไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อพระองค์ไม่ประทับอยู่ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร ส่วนตัวเมืองสาวัตถี มีเนื้อที่มากกว่านั้น แต่การขุดสำรวจยังทำได้ไม่มาก ส่วนวัดบุพพารามนั้น ไม่มีซากปรักหักพังให้เห็น เพราะตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำจึงถูกแม่น้ำอจิรวดีพัดพังจมน้ำไปหมด
• ปัจจุบันถึงแม้ว่านครสาวัตถี วัดพระเชตวันมหาวิหาร วัดบุพพาราม วัดราชิการาม จะเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จนเหลือแต่ซากปรักหักพังแล้วก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังเป็นเครื่องเตือนใจให้ชาวพุทธที่ได้ไปเยือน น้อมระลึกถึงศรัทธา อันแรงกล้าของท่านผู้สร้าง และน้อมถึงพระบรมศาสดา และภิกษุสาวกสงฆ์ ผู้ได้พำนัก ณ เมืองแห่งนี้ น้อมระลึกถึงพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง อันเป็นผลให้ผู้ฟังจำนวนมาก ได้เข้าถึงสวรรค์ และมรรคผลนิพพาน เป็นอริยสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
• สถานที่นี้เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกท่านต้องไปให้ได้สักครั้งในชีวิต เพื่อระลึกนึกถึงนครแห่งนี้ นครแห่งพระพุทธเจ้า นครแห่งคนดี นครสาวัตถี

วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
ต้นอานันทโพธิ์ วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
ชาวศรีลังกา นิยมมาห่มต้นอานันทโพธิ์ วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

• วัดเชตวันมหาวิหาร
• ต้นอานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ซึ่งชาวพุทธนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอันดับสองรองจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาวัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของบิณฑิกเศรษฐีเป็นอารามที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา
• ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
• วัดเชตวันในสมัยพุทธกาล
• พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน สถานที่พระพุทธองค์ประทับจำพรรษานานที่สุดถึง 19 พรรษา เดิมวัดเชตวันเป็นพระราชอุทยานสำหรับเสด็จประพาสของเจ้าชายเชตราชกุมาร เจ้าชายในราชวงศ์โกศลแห่งเมืองสาวัตถี เป็นพระราชอุทยานร่มรื่นนอกตัวเมืองหลวง มีเนื้อที่ 80 ไร่
• วัดเชตวันมหาวิหาร วัดที่อนาถบิณฑิกะสร้างถวายแต่ใช้ชื่อวัดของเจ้าของที่เดิม เพราะวัดแห่งนี้เดิมเป็นที่ของเจ้าชายเชตราชกุมาร เศรษฐีเจ้าที่ดินในสมัยนั้น ซึ่งอนาถบิณฑิกะซื้อต่อมาด้วยราคาที่แพงมหาศาลถึง 18 โกฏิ (เจ้าเชตกำหนดให้นำเหรียญทองมาปูเต็มพื้นที่ ๆ ต้องการซื้อ) และซ้ำยังต้องใช้ชื่อวัดเป็นชื่อของเจ้าเชตอีกด้วย จึงทำให้วัดนี้ได้นามตามเจ้าของเดิม ในขณะที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเจ้าของที่ผู้สร้างวัดถวายไม่สามารถใส่ชื่อของตนไปในนามวัดได้ โดยวัดแห่งนี้อนาถบิณฑกเศรษฐีได้สร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ สิ้นเงินไปอีก 18 โกฏิ
• วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญ ๆ ในพระพุทธศาสนามากมายเช่น เรื่องของพระองคุลิมาล, นางปฏาจาราเถรี, พระนางกิสาโคตมีเถรี, การถวายอสทิสทาน, เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้, พราหมณ์จูเฬกสาฏก, ทรงพยากรณ์สุบินนิมิต 16 ประการ, นางกาลียักษิณี, นางจิญมาณวิกา ถูกแผ่นดินสูบ, พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ เป็นต้น ในส่วนพระสูตรนั้นมีจำนวนมาก ที่รสำคัญ ๆ เช่น มหามงคลสูตร, ธชัคคสูตร, ทสธัมมสูตร, สาราณียธรรมสูตร, อหิราชสูตร, เมตตานสังสสูตร, คิริมานนทสูตร, ธัมมนิยามสูตร, อปัณณกสูตร, อนุตตริยสูตร, พลสูตร, มัคควิภังคสูตร, โลกธัมมสูตร, ทสนารถกรณธัมมสูตร, อัคคัปปทานสูตร, ปธานสูตร, อินทริยสูตร, อนริยสูตร และสัปปุริสธัมมสูตร โดยทั้งหมดทรงแสดง ณ วัดเชตวันแห่งนี้
• วัดเชตวันหลังการปรินิพพาน
• วัดเวฬุวันได้รับการดูแลมาตลอด โดยเฉพาะมูลคันธกุฎีที่มีพระสงฆ์เฝ้าดูแลทำการปัดกวาดเช็ดถูปูลาดอาสนะและปฏิบัติต่อสถานที่ ๆ พระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ทุก ๆ แห่ง เหมือนสมัยที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่มิได้ขาด โดยมีการปฏิบัติเช่นนี้ติดต่อกันจวบจนเมืองสาวัตถีตกไปอยู่ในอำนาจของแคว้นมคธและเสื่อมความสำคัญลง จนถูกเมืองสาวัตถีและวัดแห่งนี้ได้ถูกทิ้งร้างไป และสิ่งก่อสร้างถูกทิ้งกลายสภาพเป็นเนินดิน และชื่อของสาวัตถีได้ถูกลืมไปจากอินเดีย
• วัดเชตวันในปัจจุบัน สถานที่สำคัญๆ ที่พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันนิยมไปนมัสการคือ พระมูลคันธกุฎี ที่ได้ทำการขุดค้นปรับแต่งเป็นอย่างดี อานันทโพธิ์ ต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล ต้นโพธิ์ต้นนี้ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์และยังคงเป็นยืนต้นมาจนปัจจุบัน หมู่กุฏิพระมหาเถระ บ่อน้ำสรงสนานของพระพุทธองค์ เป็นต้น

วัดเชตวัน วัดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเมืองสาวัตถี
พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
พระมูลคันธกุฏี วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

ทางเข้าวัดเชตวันมหาวิหาร

ต้นอานันทโพธิ์ วัดเชตวัน

ต้นอานันทโพธิ์ วัดเชตวัน

ต้นอานันทโพธิ์ วัดเชตวัน

ธงบูชาของชาวศรีลังกา

กุฎิพระสีวลี วัดเชตวัน

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

ชาวศรีลังกามาแสวงบุญ

กุฎิพระพุทธเจ้า วัดเชตวัน

ชาวไทยมาแสวงบุญ

กุฎิพระพุทธเจ้า วัดเชตวัน

ชาวไทยมาแสวงบุญ

ชาวศรีลังกามาแสวงบุญ

วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี

ชาวไทยมาแสวงบุญ
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมืองสาวัตถี
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี
เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า “สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาลเมื่อเกิดมา มีชื่อว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากอนาถา
• เมื่อบิดามารดาของท่านได้ตายไปก็ทิ้งสมบัติไว้มากมายกลายเป็นมหาเศรษฐีแทน และนางสุทัตตะได้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั้งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะนิสัยวว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถ” และได้เรียกกับต่อมมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไป
• อนาถปิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐราชคหกะี ซึ่งเป็นเศรษฐีเมืองราชคฤห์และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกับและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถปิณฑิกะนำสินค้นมาขายยังเมืองราชคฤห์ จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคหกเศรษฐี ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและทั้งพี่เมียอยู่เป็นประจำ
• อนาถปิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตในกรุงสาวัตถีโดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้นเป็นวันที่ราชคหกะเศรษฐี ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายมาเสวยและฉันภัตตาการที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น
• ราชคหกะเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถารต้อนรับท่านอนาถปิณฑิกะเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้นก็สั่งงานต่อไป แม้ท่านอนาถปิณฑิกก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกะเศรษฐี คงจะมีงานบูชายัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ้งนี้”
• เมื่อการสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิเศรษฐี และท่านอนาถปิณฑกะก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสังสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่า ที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ้งนี้
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกประหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกะเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปิติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันทีนั้น แต่ราชคหกะเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกะเศรษฐี ได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจสี่จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอกชีวิต
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสร็จกิจแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายที่เมืองสาวัตถีนั้น พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูล
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๕ โยชน์ ได้บริจากทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์
• เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื่อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินซื้อที่ดิน 18 โกฏิ และค่าก่อสร้างพระคันธกุฏิที่ประทับของพระบรมศาสดาและเสนาสนะสงฆ์ อีก 18 โกฎิ
• เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันปราณีตแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล
• อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจนและการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั้งทรัยพ์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนในที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันปราณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า
บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมืองสาวัตถี
บ้านพ่อองคุลิมาล เมืองสาวัตถี

บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

บ้านพ่อองคุลิมาล

บ้านพ่อองคุลิมาล

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

วัดเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี

เนินดินยมกปาฏิหาริย์

เนินดินยมกปาฏิหาริย์

บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

บ้านพ่อองคุลิมาล

แดนมหามงคล

แดนมหามงคล
เนินดินยมกปาฏิหาริย์ เมืองสาวัตถี
 
วัดไทยเชตวันมหาวิหาร

วัดไทยเชตวันมหาวิหาร

วัดไทยเชตวันมหาวิหาร

วัดไทยเชตวันมหาวิหาร

วัดไทยเชตวันมหาวิหาร

รถบัสนำเที่ยว

โรงแรมเมืองสาวัตถี

โรงแรมเมืองสาวัตถี

โรงแรมเมืองสาวัตถี
อินเดีย ทัวร์อินเดีย เที่ยวอินเดีย ประเทศอินเดีย
• รูปและข้อมูลท่องเที่ยวเส้นทางพระพุทธศาสนา
อินเดีย ทัวร์อินเดีย เที่ยวอินเดีย ประเทศอินเดีย
• สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอินเดีย  
อินเดีย
• อินเดีย ประเทศอินเดีย ดินแดนหลากศาสนาหลายวัฒนธรรม ดินแดนแห่งพุทธภูมิ ดินแดนแห่งการแสวงบุญ อินเดียมีอะไรมากมายกว่าที่เราคิด...
เลห์ลาดัก
• เลห์ ลาดัก ลาดักห์ ดินแดนที่ซ่อนเร้นอยู่ตรงกลางระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงคาราโครัม ดินแดนที่ได้ขึ้นชื่อว่า "ทิเบตน้อย" ดินแดนลี้ลับที่ยากแก่การเข้าถึง...ดินแดนแห่งโลกพระจันทร์
เที่ยวอินเดีย
• พุทธคยา เที่ยวอินเดีย สำหรับการเกิดมาเป็นชาวพุทธ สักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ขอให้ได้มากราบนมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตและครอบครัว
ทัชมาฮาล
• ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อน อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ตั้งอยู่ในเมืองอัครา นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก
แคชเมียร์
• แคชเมียร์ เที่ยวแคชเมียร์ แคชเมียร์ "ดินแดนแห่งสวรรค์บนดิน" เมืองที่ได้เชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลสาบและสายน้ำ สวนดอกไม้ ทิวทัศน์แห่งขุนเขาและงานศิลปะ แคชเมียร์ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของอินเดีย
สิกขิม
• สิกขิม ดินแดนในอ้อมกอดหิมาลัย มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาคันชังจุงก้าสูงถึง 8,598 เมตร สิกขิมมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงาม มีหุบเขายุมถังดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า “สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย”
ถ้ำอชันตา
• ถ้ำอชันตา : ถ้ำพระพุทธศาสนา
• ถ้ำอชันตา มีเกิดมาตั้งแต่ พ.ศ.350 เดิมทีนั้นสร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน และช่างแกะสลักส่วนใหญ่ก็เป็นชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
ราชสถาน
• ราชสถาน ดินแดนฟ้าจรดทราย ถ้าอยากดูอินเดียให้คุ้มค่าต้องมาราชสถาน เมืองมหาราชา เมืองแห่งการค้าขาย มหานครแห่งความมั่งคั่งที่ประกอบด้วยนครสีชมพู นครสีฟ้า และนครสีทอง
ทัวร์อินเดีย
• ทัวร์อินเดีย รวมโปรแกรมท่องเที่ยวอินเดีย สังเวชณียสถาน แคชเมียร์ เลห์ลาดัก สิกขิม ถ้ำอชันตา ราชสถาน ไหว้พระพิษเนศ 8 ปาง ตามรอยคนไทยในอัสสัม เมืองโอริสสา
โอริสสา
• โอริสสา รัฐโอริสสาบันทึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งครอบครัวชาวเมืองกาลิงคะ 8 ครอบครัว ร่วมไปกับพระสังฆมิตตาเถรี บุตรี นำกิ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปยังประเทศลังกา
• อินเดีย เที่ยวอินเดีย
• แคชเมียร์ แดนแดนโรแมนติก
• สถานที่ท่องเที่ยวอินเดีย
• เดลี ประตูชัย ตลาดจันปาท
• วัดอัครชาดาม วัดดอกบัว
• หอคอยกุตับมินาร์ มรดกโลก
• อินเดีย เส้นทางพระพุทธศาสนา
• เลห์ ลาดัก อ้อมกอดแห่งหิมาลัย
• เส้นทางรัฐมหาราช
• เส้นทางรัฐโอริสสา
• รัตนะคีรี อุทัยคีรี ลาลิตคีรี
• ทัวร์โอริสสา ทะเลสาบชิริกา
• สิกขิม สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย
• รัฐราชสถาน เมืองมหาราชา
• เส้นทางรัฐอัสสัม
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์อื่นๆ - เช็คที่นั่ง
• โปรแกรมจอยทัวร์
• XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
• ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
• ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
• เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
• ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE นั่งสบาย
• วันที่ 2 – 9 เมษายน, 9 – 16 เมษายน, 30 เมษายน – 7 พฤษภาคม, 9 – 16 พฤษภาคม, 21 – 28 พฤษภาคม 2568
ทัวร์ชิงเต่า
• TAO641-SC : ชิงเต่า – จี่หนาน ภูเขาจักรพรรดิไท่ซาน โรงงานเบียร์ สวนจงซาน สะพานจ้านเฉียว วัดขงจื้อ บ่อน้ำพุเป้าทู ทะเลสาบต้าหมิงหู (SC)
• เที่ยวชม ภูเขาไท่ซาน ภูเขาจักรพรรดิ ราชาแห่งภูเขาศักดิ์สิทธิ ขอพรเง็กเซียนฮ่องเต้
• เที่ยว วัดขงจื้อ หรือ พระราชวังขงจื้อ อันยิ่งใหญ่ตระการตา
• ชม เมืองชิงเต่า เมืองที่ตึกรามบ้านช่องสไตล์แบบยุโรป ชิมฟรี...เบียร์ชิงเต่าไม่อั้น!!
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว – ไม่ลงร้านช้อป - บินตรงชิงเต่า กลับเมืองจี่หนาน
• วันที่ 13 - 18 มีนาคม, 20 - 25 มีนาคม, 3 - 8 เมษายน 2568 : ราคา 29,995.-บาท
ทัวร์ซีอาน ดอกโบตั๋นบาน
• CGO651-DD : ซีอาน เทศกาลดอกโบตั๋นบาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
• ชม ดอกโบตั๋นบาน เทศกาลดอกโบตั๋นบานเมืองลั่วหยางที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
• ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
• ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
• ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว – นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
• วันที่ 12 - 17 เมษายน 2568
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 11 - 16 เมษายน, 12 - 17 เมษายน 2568
ทัวร์หุบเขาเทวดา
• FD659-CSX : หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณหวงหลิง ล่องเรือชมแสงสีอู้วนี่โจว ภูเขาหลิงซาน ไหว้พระใหญ่ตงหลิน เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น พิพิธภัณฑ์เซรามิค (FD)
• เที่ยว หมู่บ้านโบราณหวงหลิง นับเป็นหมู่บ้านสวยที่สุดในเมืองอู้หยวน มณฑลเจียงซี
• พักใน หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ ถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
• นำท่าน ล่องเรือ ชมแสงสียามค่ำคืนอู้วี่โจว พร้อมชมแลนด์มาร์คแห่งใหม่
• อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว – ไม่ลงร้านช้อป - ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 18 - 23 มีนาคม, 22 - 27 เมษายน 2568
• XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
• ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
• ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
• ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
• ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต ชมดอกแอปริคอตที่บานสวยงามทั้งหมู่บ้านในแถบเทือกเขาคุนหลุน
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว – บิน China Southern Airline (Full-Service)
• วันที่ 24 - 30 มีนาคม, 28 เม.ย. - 4 พ.ค., 26 พ.ค. - 1 มิ.ย., 16 - 22 มิถุนายน 2568
• DEL864-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• อาหารดี - โรงแรมดีระดับ 4-5 ดาว 6 คืน / เดินทางสะดวกสบายโดย Air India (Full-Service)
• วันที่ 6 - 13 เม.ย., 12 - 19 เม.ย., 13 - 20 เมษายน 2568 : ราคา 56,995.-บาท
• DEL189-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ชัยปุระ นครสีชมพู ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• ชม เมืองชัยปุระ นครสีชมพู เมืองแห่งอารยธรรมราชบุตร
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• วันที่ 6 - 15 เมษายน 2568 : ราคา 66,995.-บาท
• DEL755-TG : ถ้ำอชันต้า ถ้ำเอลโลร่า ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ท มุมไบ ถ้ำช้ำง วัดพระพิฆเนศ (TG)
• ชม ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด
• ชม ถ้ำช้าง และ วัดพระพิฆเนศเมืองมุมไบ
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล และ อัคราฟอร์ท เมืองอัครา
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2568 : ราคา 53,995.-บาท
 
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
• ID Line Office : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028