
จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
คลิปวีดีโอ
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท เมืองจ๊อดปูร์ (Jodhpur) นครสีฟ้า |
|
|
ตัวเมืองจ๊อดปูร์
(Jodhpur) นครสีฟ้า |
|
|
•
เมืองจ๊อดปูร์ (Jodhpur) นครสีฟ้าแห่งราชสถาน
• เมืองจ๊อดปูร์ (Jodhpur)
หรือเมืองที่คนไทยมักจะเรียกกันติดปากว่า “โยธะปุระ” มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในรัฐราชสถาน
รองจากเมืองชัยปุระ ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกของรัฐราชสถานและเป็นเมืองชายของของทะเลทรายทาร์
(Thar Desert) ที่ทั่วทั้งเมืองเป็นสีฟ้าราวกับน้ำทะเล ซึ่งในช่วงแรกนั้น
การทาบ้านด้วยสีฟ้าจะมีเฉพาะบ้านของชาวฮินดูวรรณะพราหมณ์เท่านั้น
แต่ต่อมา มีความเชื่อว่า สีฟ้าจะช่วยกันแมลงและทำให้บ้านเย็นในฤดูร้อน
ผู้คนจึงพากันทาบ้านตัวเองด้วยสีฟ้า จนกลายเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองจ๊อดปูร์
• เมืองจ๊อดปูร์ หรือนครนักรบ
มีอายุราว 550 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นราชธานีขึ้นในปี ค.ศ.
1459 โดยมหาราชา เรา จ๊อดฮา (Maharaja Rao Jodha) แห่งอาณาจักรมาร์วาร์
(Marwar) ของกลุ่มเจ้าราชปุตสายราธอเร่ (Rathore) ซึ่งราชปุตกลุ่มราธอเร่นั้น
ขึ้นชื่อว่าเป็นนักรบที่เข้มแข็ง และต่อสู้เพื่อป้องกันการรุกรานของกลุ่มโมกุลอย่างทรหด
โดยในการรบนั้น ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอยู่หลายครั้ง จนในที่สุดปี
ค.ศ. 1561 ก็ต้องยอมศิโรราบให้กับจักรพรรดิอัคบาร์ นักรบผู้ยิ่งใหญ่ของกลุ่มโมกุล
เพื่อแลกกับการเป็นดินแดนอิสระ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าให้สามารถปกครองตนเองภายในได้
แต่จะต้องส่งส่วยและภาษีให้กับจักรพรรดิอัคบาร์ ทว่า ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์ราธอเร่กับราชวงศ์โมกุลนั้นลุ่มๆ
ดอนๆ เรื่อยมา จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 อาณาจักรมาร์วารีจึงได้ตัดสินใจจับมือกับอาณาจักรเมวาร์
(Mewar) แห่งเมืองอุไดปูร์และจัยปูร์ ร่วมกันต่อต้านกลุ่มโมกุลจนได้รับอิสรภาพอีกครั้ง |
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
•
สถานที่ท่องเที่ยวเมืองจ๊อดปูร์ (Jodhpur)
• ป้อมเมห์รานการห์ (Mehrangarh Fort)
: ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่าของจ๊อดปูร์ เป็น 1 ใน 4 พระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
ป้อมปราการที่ยาวเหยียดข้ามเขาถึง 125 ลูก ภายในมีพระราชวังที่สวยงามและใหญ่ที่สุด
และเป็นจุดชมวิวเมืองสีฟ้าที่ดี ป้อมเมห์รานการห์ถูกสร้างบนเนินเขาสูง
122 เมตร ใน ค.ศ.1459 เมื่อฤาษีท่านหนึ่งบอกแก่มหาราชาจ๊อดธะ
(Jodha แปลว่า นักรบ) พระองค์ควรสร้างเมืองขึ้นที่นี่ จ๊อดปูร์
เป็นศูนย์กลางอาณาจักรใหญ่แต่ครั้งโบราณ ป้อมจึงถูกเสริมเติมแต่งจนมีขนาดใหญ่มหึมา
ป้อมเมห์รันกาห์นี้ ภายในตกแต่งประดับประดาด้วยแก้วหลากสี
แบ่งเป็นห้องหรือท้องพระโรงขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง เปิดให้เข้าชมทกวัน
ตั้งแต่เวลา 09-00-17.00 น.
• สิ่งสำคัญภายในป้อมเมห์รานการห์
• ประตูแห่งชัยชนะ จัยโปล (Jai Pol)
: สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1806 เพื่อฉลองชัยชนะที่กองทัพมาร์วาร์
สามารถต้านทานการบุกรุกจากกองทัพของมหาราชาแห่งจัยปูร์และอุไดปูร์ได้ในคราวเดียวกัน
โดยมีร่องรอยของกระสุนปืนใหญ่ฝังอยู่บนผนังหินของประตู ซึ่งแสดงให้เห็นการผ่านการกรำศึกมายาวนาน
• ประตูโลหะโปล (Loha Pol)
: เป็นอนุสรณ์แห่งความทรงจำของเหตุการณ์ในปี ค.ศ. 1843 ที่เหล่าสนมของมหาราชามาน
สิงห์ (Maharaja Man Singh) กระโดดเข้ากองไฟตายตามสามี เรียกว่าประเพณีสาติ
(Sati) ซึ่งถือเป็นพิธีกรรมที่มีเกียรติของกลุ่มราชปุต แต่ประเพณีนี้ถูกสั่งห้ามเด็ดขาดในช่วงที่อินเดียอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
• พระตำหนักพูลมาฮาล (Phool Mahal)
: หรือพระตำหนักแห่งมวลดอกไม้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1724 โดยได้รับการยกย่องว่าสวยและตกแต่งได้ละเอียดอ่อนที่สุดในบรรดาพระตำหนักทั้งหมดที่อยู่ในป้อมเมห์รานการห์
ความพิเศษของพระตำหนักคือภาพวาดบนผนังและเพดานทั้งหมดเป็นผลงานของศิลปินเพียงท่านเดียว
ซึ่งต่อมาถึงแม้จะเสียชีวิตลง แต่มหาราชาก็ไม่ได้ให้ศิลปินอื่นมาสนผลงานต่อ
จึงทำให้กำแพงบางส่วนเป็นเพียงผนังโล่งที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ
ส่วนเพดานและผนังห้องนั้น ใช้สีทองในการตกแต่งเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีภาพวาดลายดอกไม้และเถาไม้ประดับอยู่จำนวนมาก
โดยสไตล์การวาดแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “รักมาลา” (Ragmala
Painting) หมายถึง ภาพวาดแห่งสีสันและอารมณ์
• พระตำหนักโมติมาฮาล (Moti Mahal)
: หรือพระตำหนักไข่มุก ซึ่งมีจุดเด่นอยู่ที่การนำเปลือกหอยมุกมาบด
ก่อนนำไปผสมปูนแล้วฉาบลงบนผนังห้อง ทำให้เวลาจุดเทียนตอนกลางคืนผนังห้องจะดูแวววาว
ส่วนเพดานใช้กระจกสีสันสดใสตัดขอบด้วยสีทอง เพื่อช่วยเพิ่มมิติให้ห้องโดดเด่นขึ้น
แต่จุดประสงค์การใช้งานห้องนี้ใช้สำหรับมหาราชาปรึกหาหารือข้อราชการกับข้าราชบริพารระดับสูง
• อนุสรณ์สถานจัสวันต์ธาดา (Jaswant
Thada) ตั้งอยู่ห่างจากป้อมเมห์รานการ์ไปประมาณ 1
กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1899 โดยสร้างจากหินอ่อน โดยมีจุดเด่นอยู่ตรงประตูและเสาที่แกะสลักได้อย่างละเอียดงดงาม
เพื่ออุทิศให้กับมหาราชาจัสวันต์ สิงห์ที่ 2 (Maharaja Jaswant
Singh ll) หลังกจากที่พระองค์เสียชีวิตไปแล้ว 4 ปี โดยพระองค์เป็นมหาราชาที่ได้รับการนับถืออย่างล้นหลามจากประชาชน
นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งของเมืองด้วย |
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
•
พิพิธภัณฑ์พระราชวังอุเหมาบาวัน (Umaid Bhavan Palace)
: ตั้งอยู่บริเวณถนนพาเลซ ห่างจากเมืองจ๊อดปูร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ
4 กิโลเมตร สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1929 เป็นพระราชวังที่ก่อสร้างขึ้นในยุคใหม่และเป็นพระราชวังสุดท้ายที่สร้างขึ้นก่อนอินเดียได้รับอิสรภาพจากอังกฤษ
หรือในสมัยของมหาราชาอุเหมด สิงห์ (Maharaja Umaid Singh)
โดยใช้ฝีมือแรงงานกว่า 3,000 คน และใช้เวลาก่อสร้างถึง 15
ปีกว่าจะแล้วเสร็จ
• ตัวพระราชวังอุเหมาบาวัน ก่อขึ้นจากหินทรายและหินอ่อนซึ่งขนมาจากอีกเมืองหนึ่ง
จากนั้นจึงตัดหินเป็นบล๊อกๆ ก่อนนำมาเข้าล็อกกันโดยไม่ใช้ปูนยึด
ผู้ออกแบบคือ เอช.วี. แลนเชสเตอร์ (H.V. Lanchester) สถาปนิกชาวอังกฤษ
ผู้ออกแบบอาคารเซ็นทรัลฮอลล์ออฟเวสต์มินสเตอร์ (Central
Hall of Westminster) ทั้งยังเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างเซนและราชปุตเข้าด้วยกัน
โดยมีการตกแต่งภายในเป็นแบบตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
• ภายในพระราชวังแห่งนี้ประกอบด้วยห้องต่างๆ 347 ห้อง แบ่งเป็นห้องจัดงานเลี้ยงที่จุคนได้ราว
1,000 คน ถึง 8 ห้อง นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์ รวมถึงสระน้ำขนาดยักษ์อยู่ชั้นใต้ดินด้วย
ตามประวัติกล่าวว่า สาเหตุสำคัญที่มหาราชาอุเหมด สิงห์ ตัดสินใจให้ก่อสร้างพระราชวังขนาดมหึมาขนาดนี้
เพราะทรงต้องการสร้างงานให้กับประชาชน ในช่วงประเทศประสบปัญหาความแห้งแล้งอย่างหนักนั่นเอง
• เวลาเปิด-ปิด : เดือนเมษายน-กันยายน เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา
08.30-17.30 และเดือนตุลาคม-มีนาคม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา
09.00-17.00 น. |
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
•
สวนมานดอเร่ (Mandore Garden)
: อยู่ห่างจากเมืองจ๊อดปูร์ไปทางเหนือประมาณ 9 กิโลเมตร
เมืองมานดอเร่เคยเป็นที่มั่นของมหาราชาราชปุตกลุ่มปาริหาร์
(Parihar) มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6-14 ก่อนจะพ่ายแพ้ให้กับมหาราชา
จ๊อดฮา (Maharaja Rao Jodha) กลุ่มราธธอเร่ (Rathore) อย่างราบคาบในปี
ค.ศ. 1381 แต่ในที่สุดมหาราชาก็ตัดสินใจละทิ้งที่นี่ เพื่อไปสร้างเมืองใหม่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดีกว่าเดิม
โดยเมืองมานดอเร่อยู่ห่างจากเมืองจ๊อดปูร์ไปทางเหนือประมาณ
9 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่คล้ายอุทยานประวัติศาสตร์
ตรงกลางเป็นสวนมีโบราณสถานตั้งอยู่หลายจุด แต่มีจุดเด่นๆ
คือ กลุ่มอนุสรณ์สถานในรูปทรงของซุ้มโค้งตามแบบฉบับของราชปุต
ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงมหาราชาและสมาชิกในราชวงศ์ราธอเร่
นอกจากนี้ ยังมีเอ็กทัมบามาฮาล (ExThamba Mahal) หอแปดเหลี่ยมขนาดสามชั้นและฮอลล์ออฟฮี
(Hall of Heroes) อาคารที่มีรูปแกะสลักของรูปเทพเจ้าฮินดูและบรรดานักรบราชปุต
(บนผนังหินแผ่นเดียวทั้งหมด 16 รูป) รวมทั้งพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็ก
ที่มีรูปแกะสลักหินแนวอีโรติกจากสมัยคริสต์ศักราชที่ 12
เป็นไฮไลต์ของสวนแห่งนี้ สวนเปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00
น. ส่วนพิพิธภัณฑ์เปิดทุกวัน เวลา 10.00-16.00 น. (ยกเว้นวันศุกร์)
• หมู่บ้านบิชนอย (Bishnoi Village)
เป็นหมู่บ้านกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่า ที่มีชื่อเสียงจากการสละชีวิตเพื่อรักษาต้นไม้
โดยเรื่องราวของพวกเขาได้รับการบันทึกว่า ในปี ค.ศ.1730
กลุ่มชาวบ้านจำนวน 363 คน ยอมสละชีวิตตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารของมหาราชาตัดต้นไม้ในหมู่บ้านบิซนอย
ความกล้าหาญนี้ทำให้มหาราชาประกาศว่าจะไม่แตะต้องต้นไม้
และสัตว์ป่าในพื้นที่ของหมู่บ้านบิซนอยนับตั้งแต่นั้นมา
วีรกรรมของพวกเขาทำให้หมู่บ้านได้รับการยกย่อง และกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้คนไปศึกษาวิถีชีวิต
• โอเชี่ยน (Osian) : เมืองโบราณกลางทะเลทรายทาร์
ตั้งอยู่ห่างจากเมืองจ๊อดปูร์ไปทางทิศเหนือ 65 กิโลเมตร
มีจุดเด่นอยู่ที่กลุ่มวัดเซนและวัดฮินดูเก่าแก่ สร้างระหว่างศตวรรษที่
8-12 ในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูจากเส้นทางการค้าขายผ่านทะเลทรายทาร์
|
ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท
เมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
|
|
ตัวเมืองจ๊อดปูร์
(Jodhpur) นครสีฟ้าแห่งรัฐราชสถาน |
|
|

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์ |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์ |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมืองจ๊อดปูร์ |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์ |

ป้อมเมห์รานการห์ฟอร์ท |
เมืองจ๊อดปูร์ |
เมืองจ๊อดปูร์ |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์ |
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
เมห์รานการห์ฟอร์ท จ๊อดปูร์
|
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ จ๊อดปูร์ |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |
ป้อมเมห์รานการห์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |

จ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
•
โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ นครสีฟ้า |
โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์
นครสีฟ้า |
|
|
โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |
โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |
ลิงหน้าโรงแรมเมืองจ๊อดปูร์
|
บรรยากาศโรงแรมเมืองจ๊อดปูร์
|

บรรยากาศโรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |

โรงแรมเมืองจ๊อดปูร์ |