บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอินเดีย
• เส้นทางราชสถาน เมืองมหาราชา (ดูรูปเพิ่มเติม คลิ๊กที่รูป นะครับ)
ชัยปุระ-ราชสถาน
พระราชวังน้ำ เมืองชัยปุระ
ชัยปุระ-ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ชัยปุระ-ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ชัยปุระ-ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
คลิปวีดีโอ เมืองชัยปุระ หรือ เมืองจัยปูร์ นครสีชมพู ประตูสู่ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
รูปพระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถา
• รัฐราชสถาน (Rajasthan)
• ราชสถาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย ทางฝั่งตะวันตกของรัฐติดกับประเทศปากีสถาน ทางเหนือติดกับรัฐปัญจาบและรัฐหรยาณา ทางตะวันออกติดกับรัฐอุตตรประเทศและรัฐมัธยประเทศ ทางใต้ติดกับรัฐคุชราต ทางใต้ของรัฐราชสถานจะอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลอาหรับ 400 กม. มีเทือกเขา Aravalli ซึ่งจะแบ่งราชสถานออกเป็นสองฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งเป็นทะเลทรายปกคลุม 2 ใน 3 ของรัฐ และฝั่งตะวันออกซึ่งเป็นที่ดินอุดมสมบูรณ์
• เมืองหลวง : คือเมืองชัยปุระ (Jaipur) หรือ จัยปูร์
• ขนาดพื้นที่ : มีพื้นที่342,239 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
• ภาษาประจำรัฐ : ฮินดี ราชสถานี อังกฤษ
• ภูมิประเทศ : พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัฐราชสถาน คือ ทะเลทราย Thar ซึ่งมีชายแดนขนานกับ Sutlej-Indus river valley คู่กับประเทศปากีสถาน และไม่มีพื้นที่ติดทะเล มีแม่น้ำ Chambal ซึ่งจะเป็นแม่น้ำเดียวที่ไหลตลอดปี ส่วนแม่น้ำ Banas เป็นแม่น้ำเดียวที่จะไหลอยู่แต่เพียงภายในรัฐราชสถาน
• ภูมิอากาศ : ภูมิอากาศจะร้อนแห้งกึ่งทะเลทราย
• อาหารแบบราชสถาน
• ดาล-บาตี-โชมา (Dhai-Baati-Churma) : อาหารจานเด่นของราชสถาน ซึ่งชาวเมืองชัยปุระนิยมเป็นพิเศษ มีส่วนผสมหลักเป็นแป้ง, ถั่วบด, น้ำตาล, เครื่องเทศ ฯลน โดยปั้นเป็นลูกกลมๆขนาดพอดี เวลาจะกินจะยีให้แหลกแล้วกินกับน้ำแกงข้นๆ มีรสชาติคล้ายมันฝรั่งบด มีรสชาติหวาน สามารถหากินได้ทั่วไปในทุกร้านในเมืองชัยปุระ
• ขนมพาเนียร์เกวาร์ (Paneer Ghewar) : เป็นขนมทำจากแป้ง เมื่อนำไปทอดแล้ว หน้าตาคล้ายถ้วยกลมๆ โดยก่อนกินจะต้องเอาขนมจุ่มลงไปในน้ำเชื่อมเล็กน้อย แล้วโรยหน้าด้วยถั่วบด มีรสชาติกรอบหวาน หากินได้ตามร้านขนมหวานทั่วไป
• สวีทปันน์ (Sweet Pann) : มีรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมาก แต่เป็นหมากที่ไม่ใส่ปูนแดง แต่จะใส่มะพร้าวเชื่อม ผลไม้อบแห้ง และส่วนผสมต่างๆ ม้วนด้วยใบพลู
• วันหยุดประจำปี
• 26 มกราคม วันชาติ
• 9 มีนาคม วันแม่
• 27 มีนาคม วันวิสาขบูชา
• 15 สิงหาคม วันประกาศเอกราช
• 2 ตุลาคม วันเกิดของท่านมหาตมะ คานธี
• เทศกาลและงานประเพณีในรัฐราชสถาน
• Elephant Festival เมืองจัยปูร์ : เป็นเทศกาลข้างที่มีการนำช้างนับร้อยเชือกมาตกแต่งด้วยผ้าสีสันสดใส เพื่อจำลองเป็นขบวนพาเหรดของมหาราชาให้นักท่องเที่ยวชม นอกจากนี้ ยังมีการบรรเลงดนตรีและการแสดงพื้นบ้านที่สนุกสนาน
• Gangaur Festival เมืองจัยปูร์ : เทศกาลนี้มีความน่าสนใจคือ การแห่หุ่นเจ้าแม่ปารวตี (Goddess Parvati) ไปรอบเมืองจัยปูร์ เทศกาลนี้มีความหมายมากสำหรับหญิงสาวทั้งที่ที่เป็นโสดและที่แต่งงานแล้ว เพราะหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงานจะขอพรจากเจ้าแม่ให้พบสามีที่ดีในอนาคต ส่วนหญิงสาวที่มีครอบครัวแล้ว จะขอพรให้สามีของตัวเองเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ดีสืบนานเท่านาน
• Teej Festival เมืองจัยปูร์ : เป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการมาถึงของฤดูฝนเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเป็นทะเลทราย
• Marwar Festival เมืองจัยปูร์ : เทศกาลนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองให้กับอดีตอาณาจักรมาร์วาร์อันเกรียงไกร ภายในงานมีการละเล่นพื้นบ้าน การแสดงดนตรีท้องถิ่น และการเต้นรำในบรรยากาศย้อนยุค
• Desert Festival เมืองจัยแซลเมียร์ : เป็นเทศกาลรื่นเริงที่จัดขึ้นในหมู่บ้านแซม ทะเลทรายทาร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเมืองจัยแซลเมียร์ ซึ่งนอกจากจะมีการแข่งขันประกวดประชันอูฐแล้ว ยังมีดนตรีและการละเล่นพื้นบ้านให้ชมมากมาย นับเป็นเทศกาลที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด
• Mewar Festival เมืองอุดัยปูร์ : เป็นเทศกาลรื่นเริงของเมืองแห่งทะเลสาบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ งานจะเต็มไปด้วยสีสัน เสียงดนตรี ขบวนแห่ และการจุดพลุดอกไม้ไฟ
• Pushkar Festival และ Camel Fair เมืองพุชคาร์ : เป็นงานรื่นเริงของเมืองพุชคาร์ ซึ่งรวบเข้ากับเทศกาลค้าอูฐ (Camel Fair) ที่สำคัญและยิ่งใหญ่ระดับประเทศของอินเดีย โดยจะเป็นการเดินทางมาพบกันระหว่างพ่อค้าและคนขายอูฐ นอกจากนี้ยังมีผู้แสวงบุญที่เดินทางมาอาบน้ำ และใช้น้ำในทะเลสาบที่ถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย
พระราชวังน้ำ เมืองชัยปุระ หรือ เมืองจัยปูร์ ประตูสู่ราชสถาน
รูปพระราชวังน้ำ เมืองชัยปุระ
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
• สถานที่ท่องเที่ยว เมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน
• เมืองชัยปุระ หรือ จัยปูร์ (Jaipur)
• เมืองชัยปุระ นครแห่งชัยชนะ คนอินเดียเรียกเมืองนี้ว่า จัยปูร์ หรือ จัยเปอร์ รัฐราชสถานได้ชื่อว่า นครสีชมพู (Pink city) โดยที่มาของเมืองสีชมพูก็เนื่องจากในปีค.ศ. 1876 มหาราช ซาราม ซิงห์ (Maharaja Ram Singh) ได้มีรับสั่งให้ประชาชนทาสีชมพูทับบนสีปูนเก่าของบ้านเรือนตนเอง เพื่อแสดงถึงไมตรีจิตครั้งต้อนรับการมาเยือนของเจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Waies) เจ้าชายมกุฎราชกุมารของอังกฤษ ซึ่งภายหลังคือกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 7 (King Edward Vll) แห่งสหราชอาณาจักรและต่อมารัฐบาลอินเดียก็ยังออกกฎหมายควบคุมให้สิ่งก่อสร้างภายในเขตกำแพงเมืองเก่าต้องทาสีชมพูเช่นเดิม จนกลายเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตาและทำให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ต่างพากันเดินทางมายังเมืองชัยปุระอย่างไม่ขาดสาย
• จัยปูร์ หรือที่คนไทยเรียกว่า ชัยปุระ แปลว่า “เมืองแห่งชัยชนะ” สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1727 ตรงกับสมัยของมหาราชาหวายจัย สิงห์ที่ 2 (Maharaja Sawai Jai Singh ll) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากราชปุต ราชวงศ์กาญจวาหา (Kachchwaha) โดยมหาราชาของชัยปุระจะต้องมีคำนำหน้าว่า สะหวาย (Sawai) ทุกพระองค์ ซึ่งคำนี้มีที่มาจากเมื่อครั้งท่านจัย ซิงห์ที่ 2 ยังไม่ได้ขึ้นสืบทอดตำแหน่งมหาราชต่อจากพระบิดา โดยถูกส่งเข้าไปเรียนรู้งานในราชสำนักของจักรพรรดิออรังเซบ (Emperor Aurangzab) แห่งราชวงศ์โมเลกุล
• สำหรับกลุ่มราชปุตราชวงศ์นี้ถือเป็นราชวงศ์ฮินดูกลุ่มแรกๆ ที่ยอมสานสัมพันธ์กับกลุ่มโมกุลของจักรพรรดิอัคบาร์ โดยมหาราชามาน ชิงห์ที่ 1 (Maharaja Man Singh l) ทรงยกน้องสาวให้อภิเษกกับจักรพรรดิอัคบาร์ เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ราชวงศ์ซึ่งความร่ำรวยส่วนหนึ่งของเมืองชัยปุระก็มาจากสาเหตุนี้ด้วย
• ทั้งนี้มหาราชสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงมองการณ์ไกลและฉลาดปราดเปรื่อง โดยพระองค์ตัดสินพระทัยย้ายราชธานีจากพระราชวังบนป้อมแอมแมร์มายังเมืองชัยปุระ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าการรบ ส่วนการออกแบบผังเมืองก็เป็นการผสมผสานระหว่างความทันสมัยและความเชื่อแบบฮินดู โดยเมืองชัยปุระถูกออกแบบให้มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน 9 ช่อง แล้วตัดด้วยถนนกว้างเป็นตารางหมากรุก และมีพระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) ตั้งอยู่ตรงกลางกินพื้นที่เกือบ 4 ส่วนใน 9 ของเมือง
• ปัจจุบันเมืองชัยปุระเป็นศูนย์กลางทางการค้าซึ่งทันสมัยสุดของรัฐราชสถาน แถมยังมีประชากรหนาแน่นเกือบ 3 ล้านคน อย่างที่มหาราชาสะหวายจัย ซิงห์ที่ 2 ได้คาดการณ์ไว้ สิ่งที่น่าสนใจในเมืองชัยปุระคือ ผังเมืองเก่า และสิ่งก่อสร้างดั้งเดิม รวมทั้งประตูเมืองซึ่งยังคงอยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ สีชมพูของเมืองก็กลายเป็นเอกลักษณ์ จนทำให้เมืองนี้เป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
• นอกจากเมืองชัยปุระจะมีสีชมพูและพระราชวังซิตี้พาเลซแล้ว บริเวณเขตเมืองเก่ายังมีวนเวียนอีก 2 แห่งคือ วงเวียนบาดีโซปาร์ (Badi Chaupar) และวงเวียนโซติปาร์ (Choti Chaupar) ซึ่งเป็นจุดสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ เพราะแวดล้อมไปด้วยสถานที่สำคัญต่างๆ โดย “โซปาร์” (Chapar) เป็นภาษาท้องถิ่นแปลว่าสี่แยกหรือจัตุรัส นอกจากนี้ บาดีโซปาร์ ยังถือเป็นหัวใจสำคัญของเมืองเก่ามาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นจุดนัดพบและแหล่งจับจ่ายสินค้าราคาแพง เช่น ชุดแต่งงาน เครื่องประดับ และอัญมณี เป็นต้น

• พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace)
ตั้งอยู่บริเวณถนน Hawa Mahal Bazar ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 1 ใน 7 ของใจกลางเมือง สร้างขึ้นในสมัยมหาราชาสะหวายจัย ซิงห์ที่ 2 จากนั้นก็ได้รับการดูแลต่อเติมโดยมหาราชาของชัยปุระรุ่นต่อๆ มา ที่สำคัญตอนเริ่มก่อสร้างพระราชวัง ยังอยู่ในช่วงที่ราชวงศ์โมกุลเข้ามามีอิทธิพลต่อรัฐราชสถานแล้ว สถาปัตยกรรมจึงมีการผสมผสนระหว่างแบบราชปุตกับโมกุล นอกจากนี้ การออกแบบพื้นที่ใช้สอยอาคารอย่างลงตัว ไม่แน่นทึบ และมีทางเดินกว้างขวาง ซึ่งถือเป็นความน่าสนใจอย่างหนึ่งของพระราชวังแห่งนี้ โดยปัจจุบันพระราชวังซิตี้พาเลซได้เปิดให้ประชาชนเข้าชมในนามของพิพิธภัณฑ์สะหวายมานสิงห์ (Sawai Man Singh Museum) แม้ยุคนี้จะไม่มีมหาราชาอีกต่อไป แต่ City Palace แห่งนี้ก็ยังเป็นสมบัติส่วนพระองค์ และชาวเมืองชัยปุระบางส่วนก็ยังนับถือพระองค์อยู่แม้พระองค์จะไม่มีอำนาจใดๆ
• หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar) จัดว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองชัยปุระ โดยได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 2010 สร้างและคิดค้นขึ้นโดยมหาราชาสะหวายจัย สิงห์ที่ 2 ด้วยทรงมีความสนพระทัยและพระปรีชาในเรื่องดาราศาสตร์ จึงได้ทรงรับสั่งให้สร้างหอดูดาวแห่งนี้ขึ้นมาพร้อมๆ กับการก่อสร้างพระราชวังซิตี้พาเลซ เพื่อใช้ดูความเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว โดยหอดูดาวจันตาร์มันตาร์แห่งนี้ ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในสมัยโบราณ เนื่องจากจะใช้คำนวนฤกษ์เวลาในการออกรบนั่นเอง
คลิปวีดีโอ พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
รูปพระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถา
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ เมืองชัยปุระ ราชสถา
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
พระราชวังซิตี้พาเลซ (City Palace) เมืองชัยปุระ
• พระตำหนักมูบารักมาฮาล (Mumarak Mahal) หรือเวลคัมพาเลซ (welcome Palace) โดยพระตำหนักมูบารักมาฮาลสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1899 เพื่อรับรองแขกบ้านแขกเมือง มีความโดดเด่นตรงการแกะสลักเสาหินอ่อนและประตูที่ทำแบบเท่ากันทุกสัดส่วน โดยตัวอาคารเป็นการผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมแบบราชปุต อิสลาม และอังกฤษ ปัจจุบัน ตำหนักแห่งนี้ ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องแต่งกายของมหาราชาและมหารานีในแต่ละยุคนั้น เช่น กระโปรงปักด้วยดิ้นทอง เสื้อคลุมของมหาราชา ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีข้าวของเครื่องใช้ล้ำค่าในวังอีกหลายชิ้น แต่
• ป้อมไจการห์ (Jaigarh Fort) ตั้งอยู่บนถนนแอมแมร์ (Amber Road) สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1726 ในสมัยมหาราชาสะหวายจัย ซิงห์ที่ 2 เพื่อคุ้มกันเมืองแอมแมร์จากผู้รุกราน ด้านบนมีปืนใหญ่ (Cannon) ชื่อว่าจัยแวน (Jai Van) หนักถึง 50 ตัน โดยเชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังมีวัดและพระราชวังเก่าอายุราว 200 ปี ตั้งอยู่ด้วย เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
• ป้อมนราห์การห์ (Naharagrh Fort) หรือรู้จักกันในชื่อป้อมไทเกอร์ (Tiger Fort) ห่างจากเมืองชัยปุระไปทางทิศเหนือประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นป้อมที่มองเห็นได้จากใจกลางเมืองชัยปุระ สร้างในปี ค.ศ. 1734 สมัยมหาราชาสะหวายจัย ซิงห์ที่ 2 เพื่อช่วยปกป้องเมืองชัยปุระอีกด้านหนึ่ง ปัจจุบัน ด้านบนยังมีพระราชวังเก่าหลงเหลือให้ชมอยู่บ้าง เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น.
• อนุสรห์สถานมหาราชาแห่งชัยปุระ (Royal Gaiotor) ตั้งห่างจากเมืองชัยปุระไปทางทิศตะวันออกประมาณ 10 กิโลเมตร สร้างขึ้นในบริเวณที่ถวายเพลิงพระศพของมหาราชาแห่งชัยปุระ เพื่อรำลึกถึงอดีตมหาราชาที่เคยปกครองเมืองชัยปุระ อนุสรณ์สถานแห่งนี้สร้างด้วยหินอ่อนเป็นรูปโดมแบบฮินดูสไตล์ของราชปุต มีความละเอียดและงดงามเป็นอย่างมาก เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 09-30-16.30 น.
• อิซร์ลัต (Isar Lat) หรือเรียกว่า สวาร์กาสูลี (Swargasuli) เป็นหอคอยสูงสีเหลืองนวล ซึ่งเป็นจุดชมวิวเมืองชัยปุระที่งดงาม เปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
• เบียร์ล่ามันเดียร์ (Birla Mandir) หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดลักษมีนารายัน (Laxmi Narayan) เป็นวัดฮินดูสีขาวโดดเด่น สร้างโดยมหาเศรษฐีชาวอินเดีย ฤดูร้อนเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-12.00 น. และ 15.00-21.00 น. ส่วนฤดูหนาวจะเปิดเวลา 06.30-12.00 น. และ 15.00-20.30 น.
• อัลเบิร์ตฮอลล์ (Albert Hall) หรือพิพิธภัณฑ์กลางของเมืองชัยปุระ สร้างตามสถาปัตยกรรมของอังกฤษ ดูแปลกแยกจากรูปแบบอาคารบ้านเรือนของเมืองชัยปุระ ด้านในจัดแสดงวิถีชีวิตของชนกลุ่มน้อยในราชสถาน รวมถึงห้องสมุดและภาพวาดแบบย่อส่วน (Miniature Painting) ในสมัยของโมกุลให้ชมด้วย เปิดให้เข้าชมวันอังคาร-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00-16.30 น. ค่าเข้าชม 100 รูปี
• รัมบักห์พาเลซ (Rambagh Palace) เป็นพระราชวังอีกแห่งหนึ่งของมหาราชาแห่งเมืองชัยปุระ ปัจจุบันถูกดัดแปลงให้กลายเป็นโรงแรมที่แพงที่สุดของชัยปุระ
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar)
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar) เมืองชัยปุระ ราชสถาน
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์ (Jantar Mantar)
เมืองชัยปุร
เมืองชัยปุระ / เมืองจัยปูร์
เมืองชัยปุร
เมืองชัยปุระ / เมืองจัยปูร์
เมืองชัยปุร
พระราชวังน้ำ เมืองชัยปุระ
เมืองชัยปุร
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ชัยปุระ
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ซิตี้พาเลซ
พระราชวังซิตี้พาเลซ ราชสถาน
ราชสถาน-ของฝาก
ของฝากเมืองชัยปุระ
ราชสถาน-ของฝาก
ของฝากเมืองชัยปุระ
ราชสถาน-หอดูดาว
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์
ราชสถาน-หอดูดาว
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์
ราชสถาน-หอดูดาว
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์
ราชสถาน-หอดูดาว
หอดูดาวจันตาร์มันตาร์
ของฝากเมืองชัยปุระ ราชสถาน
ของฝากเมืองชัยปุระ ราชสถาน
ของฝากเมืองชัยปุระ
ของฝากเมืองชัยปุระ
ของฝากเมืองชัยปุระ
ของฝากเมืองชัยปุระ
ของฝากเมืองชัยปุระ
ของฝากเมืองชัยปุระ
โรงแรมเมืองชัยปุระ
โรงแรมเมืองชัยปุระ
ราชสถาน
• เส้นทางกรุงเดลี - ราชสถาน
• เดลี เมืองหลวงอินเดีย
อินเดีย ทัวร์อินเดีย เที่ยวอินเดีย ประเทศอินเดีย
• สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอินเดีย  
อินเดีย
• อินเดีย ประเทศอินเดีย ดินแดนหลากศาสนาหลายวัฒนธรรม ดินแดนแห่งพุทธภูมิ ดินแดนแห่งการแสวงบุญ อินเดียมีอะไรมากมายกว่าที่เราคิด...
เลห์ลาดัก
• เลห์ ลาดัก ลาดักห์ ดินแดนที่ซ่อนเร้นอยู่ตรงกลางระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงคาราโครัม ดินแดนที่ได้ขึ้นชื่อว่า "ทิเบตน้อย" ดินแดนลี้ลับที่ยากแก่การเข้าถึง...ดินแดนแห่งโลกพระจันทร์
เที่ยวอินเดีย
• พุทธคยา เที่ยวอินเดีย สำหรับการเกิดมาเป็นชาวพุทธ สักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ขอให้ได้มากราบนมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตและครอบครัว
ทัชมาฮาล
• ทัชมาฮาล สุสานหินอ่อน อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ตั้งอยู่ในเมืองอัครา นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก
แคชเมียร์
• แคชเมียร์ เที่ยวแคชเมียร์ แคชเมียร์ "ดินแดนแห่งสวรรค์บนดิน" เมืองที่ได้เชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลสาบและสายน้ำ สวนดอกไม้ ทิวทัศน์แห่งขุนเขาและงานศิลปะ แคชเมียร์ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของอินเดีย
สิกขิม
• สิกขิม ดินแดนในอ้อมกอดหิมาลัย มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาคันชังจุงก้าสูงถึง 8,598 เมตร สิกขิมมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงาม มีหุบเขายุมถังดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า “สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย”
ถ้ำอชันตา
• ถ้ำอชันตา : ถ้ำพระพุทธศาสนา
• ถ้ำอชันตา มีเกิดมาตั้งแต่ พ.ศ.350 เดิมทีนั้นสร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน และช่างแกะสลักส่วนใหญ่ก็เป็นชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ
ราชสถาน
• ราชสถาน ดินแดนฟ้าจรดทราย ถ้าอยากดูอินเดียให้คุ้มค่าต้องมาราชสถาน เมืองมหาราชา เมืองแห่งการค้าขาย มหานครแห่งความมั่งคั่งที่ประกอบด้วยนครสีชมพู นครสีฟ้า และนครสีทอง
ทัวร์อินเดีย
• ทัวร์อินเดีย รวมโปรแกรมท่องเที่ยวอินเดีย สังเวชณียสถาน แคชเมียร์ เลห์ลาดัก สิกขิม ถ้ำอชันตา ราชสถาน ไหว้พระพิษเนศ 8 ปาง ตามรอยคนไทยในอัสสัม เมืองโอริสสา
โอริสสา
• โอริสสา รัฐโอริสสาบันทึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งครอบครัวชาวเมืองกาลิงคะ 8 ครอบครัว ร่วมไปกับพระสังฆมิตตาเถรี บุตรี นำกิ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปยังประเทศลังกา
• อินเดีย เที่ยวอินเดีย
• แคชเมียร์ แดนแดนโรแมนติก
• สถานที่ท่องเที่ยวอินเดีย
• เดลี ประตูชัย ตลาดจันปาท
• วัดอัครชาดาม วัดดอกบัว
• หอคอยกุตับมินาร์ มรดกโลก
• อินเดีย เส้นทางพระพุทธศาสนา
• เลห์ ลาดัก อ้อมกอดแห่งหิมาลัย
• เส้นทางรัฐมหาราช
• เส้นทางรัฐโอริสสา
• รัตนะคีรี อุทัยคีรี ลาลิตคีรี
• ทัวร์โอริสสา ทะเลสาบชิริกา
• สิกขิม สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย
• รัฐราชสถาน เมืองมหาราชา
• เส้นทางรัฐอัสสัม
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์อื่นๆ - เช็คที่นั่ง
• โปรแกรมจอยทัวร์
• XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
• ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
• ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
• เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
• ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE นั่งสบาย
• วันที่ 2 – 9 เมษายน, 9 – 16 เมษายน, 30 เมษายน – 7 พฤษภาคม, 9 – 16 พฤษภาคม, 21 – 28 พฤษภาคม 2568
• TG-655 : อุทยานจิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ต๋ากูปิงชวน โชว์เปลี่ยนหน้ากาก เมืองเก่าซงพาน ซอยกว้างแคบ ถนนคนเดินจิ่งหลี่ Pop Mart โชว์ทิเบต (TG)
• เที่ยวครบ 3 อุทยาน 3 บรรยากาศ จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง อุทยานต๋ากู่ปิงชวน
• ชม 2 โชว์ โชว์เปลี่ยนหน้ากาก ที่โด่งดังแห่งเสฉวน และ โชว์ทิเบต แห่งจิ่วจ้ายโกว
• อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว – ไม่ลงร้านช้อป - บินการบินไทย
• วันที่ 11 - 16 เมษายน 2568
ทัวร์ซีอาน ดอกโบตั๋นบาน
• CGO651-DD : ซีอาน เทศกาลดอกโบตั๋นบาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
• ชม ดอกโบตั๋นบาน เทศกาลดอกโบตั๋นบานเมืองลั่วหยางที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
• ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
• ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
• ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว – นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
• วันที่ 12 - 17 เมษายน 2568
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 11 - 16 เมษายน, 12 - 17 เมษายน 2568
ทัวร์หุบเขาเทวดา
• FD659-CSX : หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณหวงหลิง ล่องเรือชมแสงสีอู้วนี่โจว ภูเขาหลิงซาน ไหว้พระใหญ่ตงหลิน เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น พิพิธภัณฑ์เซรามิค (FD)
• เที่ยว หมู่บ้านโบราณหวงหลิง นับเป็นหมู่บ้านสวยที่สุดในเมืองอู้หยวน มณฑลเจียงซี
• พักใน หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ ถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
• นำท่าน ล่องเรือ ชมแสงสียามค่ำคืนอู้วี่โจว พร้อมชมแลนด์มาร์คแห่งใหม่
• อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว – ไม่ลงร้านช้อป - ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 18 - 23 มีนาคม, 22 - 27 เมษายน 2568
• XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
• ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
• ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
• ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
• ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต ชมดอกแอปริคอตที่บานสวยงามทั้งหมู่บ้านในแถบเทือกเขาคุนหลุน
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว – บิน China Southern Airline (Full-Service)
• วันที่ 24 - 30 มีนาคม, 28 เม.ย. - 4 พ.ค., 26 พ.ค. - 1 มิ.ย., 16 - 22 มิถุนายน 2568
• DEL864-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• อาหารดี - โรงแรมดีระดับ 4-5 ดาว 6 คืน / เดินทางสะดวกสบายโดย Air India (Full-Service)
• วันที่ 6 - 13 เม.ย., 12 - 19 เม.ย., 13 - 20 เมษายน 2568 : ราคา 56,995.-บาท
• DEL189-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ชัยปุระ นครสีชมพู ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• ชม เมืองชัยปุระ นครสีชมพู เมืองแห่งอารยธรรมราชบุตร
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• วันที่ 6 - 15 เมษายน 2568 : ราคา 66,995.-บาท
• DEL755-TG : ถ้ำอชันต้า ถ้ำเอลโลร่า ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ท มุมไบ ถ้ำช้ำง วัดพระพิฆเนศ (TG)
• ชม ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด
• ชม ถ้ำช้าง และ วัดพระพิฆเนศเมืองมุมไบ
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล และ อัคราฟอร์ท เมืองอัครา
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2568 : ราคา 53,995.-บาท
 
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
• ID Line Office : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028