|
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศอินเดีย |
ตามรอยคนไทในอัสสัม ประเทศอินเดีย |
|
ตามรอยคนไทยในอัสสัม
SpiritofASIA (1) |
|
|
เสือก่าฟ้าปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์อาหม
เจ้าหลวงเสือก่าฟ้า (Chao-Lung
Sukapha) ผู้สถาปนาราชวงศ์อาหม ได้ชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวอัสสัม
เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าเป็นโอรสองค์ที่สามของเจ้าพูช้างขาง
หรือ เจ้าช้างยืน ซึ่งมีเชื้อสายของกษัตริย์เมืองรีเมืองรามแห่งราชวงศ์ขุนลอง
เจ้าพูช้างขาง ซึ่งอภิเษกสมรสกับราชธิดาของเจ้าไทปุงแห่งเมืองเชียงแส
ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าฟ้าแห่ง เมืองมิตเก่งลาว ใน ค.ศ.
1202
ในปี พ.ศ. 1752 เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าซึ่งมีพระชันษา 23 พรรษา
ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ในราชอาณาจักรเมืองมิตเก่งลาว
ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยพระปรีชาสามารถเป็นเวลา 18 ปี
ปี พ.ศ. 1770 เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าทรงมอบราชอาณาจักรของพระองค์แก่เจ้าเมืองเมาลุง
สาเหตุเพราะเกิดความขัดแย้งกับเสือข่านฟ้า ผู้ปกครองแคว้นจุนลุง
ซึ่งมีพรมแดนติดกัน เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าทรงทราบเป็นอย่างดีว่าเสือข่านฟ้ามีความเข้มแข็งกว่าพระองค์มาก
พระองค์จึงได้ตัดสินพระทัยละทิ้งบ้านเมืองไปอยู่ที่เมืองลุง
ซึ่งเป็นเมืองที่เจ้าชายน้อยสานฟ้าทรงปกครองอยู่
เมื่อตอนเจ้าหลวงเสือก่าฟ้าเสด็จออกจากเมือง พระองค์ได้พากำลังพลจำนวนมากติดตามไปด้วย
ซึ่งประกอบด้วยกองทหาร ข้าทาสบริวารของพระองค์และประชาชน
เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติจากจากเจ้าน้อยสานฟ้า
ซึ่งได้อัญเชิญพระองค์เข้าไปพำนักอยู่ในนครหลวง เมื่อเจ้าน้อยสานฟ้าได้ทรงทราบจากเจ้าหลวงเสือก่าฟ้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทำให้เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าต้องละทิ้งบ้านเมืองมาเช่นนี้แล้ว
เจ้าน้อยสานฟ้าก็มีพระประสงค์จะให้เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าได้มีราชอาณาจักรใหม่ปกครองทางด้านตะวันตกของแคว้นนรา
ที่อยู่ในพื้นที่ชินด์วินซึ่งตอนนั้นเป็นที่อาศัยของชนเผ่าต่างๆ
ประจวบกับเวลานั้น เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าได้รับคำเชิญจากขุนพลสามลองฟ้า
ก็จึงได้เสด็จไปยังอัสสัม (ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า เสามาร์
(Saumar)
ในระหว่างทางเสด็จไปเมืองทุนสุนคำ(Mong Dun Sun Kham)
นั้น เจ้าหลวงเสือก่าฟ้าได้สู้รบกับผู้ที่มาขัดขวางอยู่บ่อยครั้งและก็มีชัยชนะทุกครั้ง
สำหรับพวกที่ยอมอ่อนน้อมต่อพระองค์ก็จะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในสถานที่อยู่เดิมต่อไปได้แต่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นและต้องส่งราชบรรณาการไปให้
และในที่สุดเมื่อได้เสด็จไปถึง เมืองลักนี เมืองกู่ พระองค์ก็ได้พบสถานที่เหมาะสมที่เจ้ตัมดอย
(ชไลเทพ) จึงได้สถาปนาเมืองนี้เป็นเมืองหลวงถาวรในปี พ.ศ.
1795 ทรงปกครองราชอาณาจักรแห่งนี้เป็นเวลา 18 ปี และเรียกราชอาณาจักรของพระองค์ว่า
เมืองทุนสุนคำ (แปลว่า ดินแดนที่เต็มไปด้วยสวนทอง หรือ ดินแดนผลไม้ทอง)
ซึ่งมีอาณาเขตไปไกลจรดภูเขาปาดไก่ และพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุ
77 พรรษา หรือในปี พ.ศ. 1811
กษัตริย์เสือก่าฟ้า เป็นผู้นำอารยธรรมเกษตรกรรมปลูกข้าวมาสู่อัสสัม
พร้อมกับได้ทรงสร้างระบบคูคลองและระบบชลประทานในลุ่มแม่น้ำนอนติลูที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
ก่อนหน้าที่กษัตริย์เสือก่าฟ้าจะเดินทางเข้ามาในอัสสัมนั้น
ประชาชนในดินแดนแถบบี้ทำการเกษตรแบบเผาป่าแบบเลื่อนลอยและปลูกข้าวในนาดอน
พระองค์ได้ทำการปรับปรุงดินแดนรกร้างว่างเปล่าให้เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก
ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้เกิดผลิตผลในทางการเกษตรอย่างไม่มีขีดจำกัด
นอกจากนั้นแล้วพระองค์ก็ยังทรงนำการไถนาแบบใช้ควายตัวเดียวลากไถมาใช้ในอัสสัมนี้เป็นบุคคลแรกอีกด้วย
ศิลปะการทอผ้า ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ชาวไทอาหมที่นำโดยกษัตริย์เสือก่าฟ้านำมาแนะนำแก่ประชาชนในอัสสัม
พวกไทอาหมได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน
โดยพวกผู้หญิงไทอาหมจะมีบทบาทสำคัญในเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมนี้
พวกผู้หญิงไทยอาหมมีความชำนาญในศิลปะการทอผ้ามาก สามารถทอผ้าชนิดเศษที่เรียกว่ากะบะ
(ผ้ากฐิน) ได้เสร็จภายในคืนเดียวนับตั้งแต่ทำการปั่นด้ายไปจนถึงทอเป็นผ้า
ท่านมหาตมคานธี รัฐบุรุษของอินเดีย ก็เคยมาเยี่ยมชมการทอผ้าของผู้หญิงไทอาหมในระหว่างการเยือนอัสสัมเมื่อปี
พ.ศ. 2466 และกล่าวว่าพวกผู้หญิงสามารถทอผ้าด้วยกี่กระตุกได้สวยงามมาก
สาเหตุการล่มสลายของราชอาณาจักรอาหม
สาเหตุที่ทำให้เกิดการล่มสลายของราชอาณาจักรอาหมนั้น เกิดจาการแตกแยกและต่อสู้กันของหมู่อำมาตย์ในตอนช่วงท้ายของราชวงศ์และเกิดการปะทะกันทางศาสนา
ระหว่ากลุ่มที่เชื่อในศาสนาฮินดูที่เผยแพร่ลัทธิไวษณะในอัสสัม
จนลุกลามใหญ่โตจนกลายเป็นการจลาจลภายในราชอาณาจักรที่เรียกว่ากบฏโมอาโมเรียน
(Moamorian Rebellion) ซึ่งส่งผลให้เกิดความอ่อนแอทั้งทางด้านอำนาจทางการเมือง
โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจของราชอาณาจักร และได้ส่งผลต่อไปทำให้เกิดความไร้ความสามารถของกองทัพอาหมที่จะทำการต่อต้านการรุกรานของต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจากการรุกรานของพม่า
การสิ้นสุดของอาณาจักรอาหม
อำนาจของราชอาณาจักรอาหมเสื่อมลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่
18 เมื่อเมืองหลวงของอาณาจักรอาหมถูกยึดในระหว่างเหตุการณ์การกบฏโมอาโมเรีย
ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 กองทัพพม่าได้เข้ามารุกรานราชอาณาจักรอาหมและได้ตั้งกษัตริย์อาหมที่เป็นเพียงหุ่นของพม่า
เมื่อพม่าพ่ายแพ้อังกฤษในสงครามอังกฤษ-พม่า ซึ่งส่งผลให้มีการลงนามในสนธิสัญญายันดาโบ(Treaty
of Yandabo) ในปี พ.ศ. 2369 ทำให้อังกฤษผนวกราชอาณาจักรอาหมไปเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนในบริติชอินเดียและเป็นการสิ้นสุดความยิ่งใหญ่ของราชอาณาจักรอาหมตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งถึงบัดนี้
เมื่อสนธิสัญญายันดาโบ (Teaty of
Yandabo) ระหว่างอังกฤษกับพม่ามีผลบังคับใช้เมื่อวันที่
24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2369 ความรุ่งเรืองมาเป็นเวลา 600 ปีของการปกครองของราชอาณาจักรอาหมก็ได้ดับวูบลง
และอัสสัมได้สูญเสียอำนาจอธิปไตยของตนเองไป โดยอัสสัมพร้อมด้วยรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนืออีก
2-3 รัฐก็ได้ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจวบจนกระทั่งถึงวันที่
15 สิงหาคม พ.ศ. 2490 เป็นวันที่อินเดียได้รับการปลดปล่อยให้ได้รับเอกราชจากอังกฤษ |
ตามรอยคนไทยในอัสสัม
SpiritofASIA (2) |
|
|
ชุมชนไทหมู่บ้านน้ำผาเก (Namphake) ในรัฐอัสสัม
คนไทน้ำผาเก คือพวกไทกลุ่มเดียวกับที่อพยพมาพร้อมกับเจ้าฟ้าหลวงเสือก่าฟ้า
ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์อาหม แต่เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองดอนสวนคำ
แต่พอครั้นอังกฤษเข้ายึดครองเมืองนี้แล้ว ก็พากันอพยพมาสร้างหมู่บ้านที่นำผาเก่
หมู่บ้านน้ำผาเก (Namphake) อยู่ในเมืองนหารกาติยะ
(Naharkatiya) รัฐอัสสัม เป็นหมู่บ้านของชุมชนไทผาเก่ (Tai
Phake) เป็นชุมชนที่มีตำนาน ประเพณีและวิถีชีวิตที่แตกต่างจากชุมชนของชนเผ่าอื่น
อยู่ห่างจากเมืองนหารการติยะ 6 กิโลเมตร ห่างจากเมืองดิบรูคารห์
(Dibrugarh) 37 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำบุรีดิฮิง
มีบ้านเรือนรวมกันประมาณ 150 หลังคาเรือน (ประมาณ 5 พันคน)
ภาษา คนไทน้ำผาเกพูดได้สองภาษา
คือ ภาษาไทและภาษาอัสสัม
ศาสนา นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้าน
มีการถวายอาหารและสบงจีวรแก่พระสงฆ์ มีพิธีทอดกฐิน เวลาเกิดความขัดแย้งกันของคนในหมู่บ้าน
จะไม่ไปแจ้งตำรวจให้จัดมาจัดการ แต่จะไปหาพระเพื่อให้พระมาช่วยไกล่เกลี่ยข้อพิทาทระหว่างกัน
การแต่งกาย ผู้หญิงไทผาเก
นิยมแต่งตัวแบบชาวไทใหญ่ คือจะแต่งตามวัย วัยเด็กหญิง หญิงสาว
หญิงชรา จะแต่งคนละแบบกัน แต่โดยรวมก็คือจะแต่งกายด้วยการสวมผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า
เสื้อทรงกระบอก โพกผ้า ส่วนผู้ชายก็สวมโสร่งและสวมเสือแขนยาว
เสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นเสื้อผ้าที่ทอใช้กันเอง
ลักษณะการสร้างบ้าน บ้านของชุมชนไทผาเก
มีลักษณะพิเศษ คือ เป็นบ้านทำด้วยไม้ไผ่ผสมไม้จริง ใต้ถุนสูง
ซึ่งเหมาะกับพื้นที่ที่น้ำท่วมถึง ในบริเวณพื้นที่ปลูกบ้านจะมีที่ดินสำหรับปลูกผัก
ทำสวนครัว และสวนดอกไม้
วัฒนธรรมการกิน ชาวไทน้ำผาเก
กินข้าวสวย หุงข้าวกิน เมื่อเกิดเจ็บป่วยก็ไม่ยอมพึ่งยาแผนปัจจุบันแต่จะใช้ยาแผนโบราณประเภทสมุนไพร
สำหรับในการเลือกคู่ครอง
ชุมชนน้ำผาเก นิยมแต่งงานกันระหว่างชายหญิงชุมชนเดียวกัน
แต่ก็ไม่ถึงกับมีกฎห้ามมิให้แต่งงานกับคนชุมชนอื่น
|
|
ตามรอยคนไทยในอัสสัม
SpiritofASIA (3) |
|
|
วัดพระพุทธศาสนาบ้านน้ำผาเก (Namphake Buddhist Monastery)
วัดน้ำผาเก (Namphake village)
เป็นวัดที่มีความสวยงามมาก ในวัดมีศูนย์ฝึกกัมมัฏฐาน มีบรรยากาศร่มรื่นเป็นที่สัปปายะสำหรับผู้ฝักใฝ่ทางธรรม
ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปเยือนอยู่เสมอ ที่ตั้งของวัดอยู่ไม่ไกลจากหนองน้ำเมืองจิริงตา
( Nong Mungchiringta) เสาหินพระเจ้าอโศก (Ashoka Pillar)
และบ้านโบราณของชาวไทอาหม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เคยเสด็จไปเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ในปี พ.ศ. 2552 และได้ทรงสนทนากับชาวบ้านด้วยภาษาไทย
ปรากฏว่าภาษาไทอาหมและภาษาไทยสมัยใหม่ของประเทศไทยพอที่จะใช้สื่อสารเข้าใจกันได้
ท่านเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันของวัดพระพุทธศาสนานำผาเก่ ชื่อว่า
ท่านคยานลาล มหาเถระ (Gyanlal Mahathera) เมื่อแรกสร้างวัดในปี
พ.ศ. 2393 ในโบสถ์มีพระพุทธรูปเพียง 2 องค์ แต่ปัจจุบันมีพระพุทธรูปมากถึง
230 องค์ พระพุทธรูปเหล่านี้มาจากประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศศรีลังกา
ท่านเจ้าอาวาสเล่าว่า ชาวไทอาหมที่อยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้เป็นพวกที่อพยพมาจากประเทศพม่าในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่
18 เป็นพวกที่รักสันติ เมื่อเกิดข้อพิพาทระหว่างกัน ก็จะให้ท่านเจ้าอาวาสวัดทำหน้าที่ตัดสินและคำตัดสินของท่านก็ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านทุกคน
|
|
|
|
|
|
|
อัสสัม
รูปและสถานที่ท่องเที่ยวเส้นทางรัฐอัสสัม |
|
เที่ยวอัสสัม กาจิรังคา ซาฟารีแห่งเอเชีย |
|
อัสสัม เก็บรูปมาฝากจากอัสสัม
อินเดีย |
|
อินเดีย ทัวร์อินเดีย เที่ยวอินเดีย ประเทศอินเดีย
สถานที่ท่องเที่ยว ประเทศอินเดีย
|
|
อินเดีย
ประเทศอินเดีย ดินแดนหลากศาสนาหลายวัฒนธรรม ดินแดนแห่งพุทธภูมิ
ดินแดนแห่งการแสวงบุญ อินเดียมีอะไรมากมายกว่าที่เราคิด... |
|
เลห์
ลาดัก ลาดักห์ ดินแดนที่ซ่อนเร้นอยู่ตรงกลางระหว่างเทือกเขาหิมาลัยและที่ราบสูงคาราโครัม
ดินแดนที่ได้ขึ้นชื่อว่า "ทิเบตน้อย"
ดินแดนลี้ลับที่ยากแก่การเข้าถึง...ดินแดนแห่งโลกพระจันทร์ |
|
พุทธคยา
เที่ยวอินเดีย สำหรับการเกิดมาเป็นชาวพุทธ สักครั้งหนึ่งในชีวิตก็ขอให้ได้มากราบนมัสการพระมหาเจดีย์พุทธคยา
เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิตและครอบครัว |
|
ทัชมาฮาล
สุสานหินอ่อน อนุสรณ์สถานแห่งความรัก ตั้งอยู่ในเมืองอัครา
นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ที่ผู้คนเชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่สวยที่สุดในโลก
|
|
แคชเมียร์
เที่ยวแคชเมียร์ แคชเมียร์ "ดินแดนแห่งสวรรค์บนดิน"
เมืองที่ได้เชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งทะเลสาบและสายน้ำ สวนดอกไม้
ทิวทัศน์แห่งขุนเขาและงานศิลปะ แคชเมียร์ ตั้งอยู่ตอนเหนือสุดของอินเดีย |
|
สิกขิม
ดินแดนในอ้อมกอดหิมาลัย มียอดเขาที่สูงที่สุดคือยอดเขาคันชังจุงก้าสูงถึง
8,598 เมตร สิกขิมมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์และสวยงาม มีหุบเขายุมถังดินแดนที่ได้รับสมญานามว่า
สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย |
|
ถ้ำอชันตา
: ถ้ำพระพุทธศาสนา
ถ้ำอชันตา มีเกิดมาตั้งแต่ พ.ศ.350 เดิมทีนั้นสร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน
และช่างแกะสลักส่วนใหญ่ก็เป็นชาวฮินดูที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ |
|
ราชสถาน
ดินแดนฟ้าจรดทราย ถ้าอยากดูอินเดียให้คุ้มค่าต้องมาราชสถาน
เมืองมหาราชา เมืองแห่งการค้าขาย มหานครแห่งความมั่งคั่งที่ประกอบด้วยนครสีชมพู
นครสีฟ้า และนครสีทอง |
|
ทัวร์อินเดีย
รวมโปรแกรมท่องเที่ยวอินเดีย สังเวชณียสถาน แคชเมียร์ เลห์ลาดัก
สิกขิม ถ้ำอชันตา ราชสถาน ไหว้พระพิษเนศ 8 ปาง ตามรอยคนไทยในอัสสัม
เมืองโอริสสา |
|
โอริสสา
รัฐโอริสสาบันทึกว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งครอบครัวชาวเมืองกาลิงคะ
8 ครอบครัว ร่วมไปกับพระสังฆมิตตาเถรี บุตรี นำกิ่งของต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปยังประเทศลังกา |
|
อินเดีย เที่ยวอินเดีย |
แคชเมียร์ แดนแดนโรแมนติก |
สถานที่ท่องเที่ยวอินเดีย |
เดลี ประตูชัย ตลาดจันปาท |
|
|
วัดอัครชาดาม
วัดดอกบัว |
หอคอยกุตับมินาร์
มรดกโลก |
|
|
อินเดีย เส้นทางพระพุทธศาสนา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เลห์ ลาดัก อ้อมกอดแห่งหิมาลัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เส้นทางรัฐมหาราช |
เส้นทางรัฐโอริสสา |
|
|
|
รัตนะคีรี อุทัยคีรี ลาลิตคีรี |
|
|
|
ทัวร์โอริสสา ทะเลสาบชิริกา |
สิกขิม สวิสเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย |
รัฐราชสถาน เมืองมหาราชา |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เส้นทางรัฐอัสสัม |
|
|
|
|
|
ทัวร์โปรโมชั่น
โปรแกรมทัวร์อื่นๆ |
 |
โปรแกรมจอยทัวร์ |
 |
XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
วันเดินทาง 30 เม.ย. - 7 พ.ค., 9 - 16 พ.ค., 21 - 28 พ.ค., 28 พ.ค. 4 มิ.ย., 11 - 18 มิ.ย., 18 - 25 มิ.ย., 25 มิ.ย. - 2 ก.ค. 2568
ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE (Full Service Airline) |
 |
TIBET651-8L : ทิเบต ลาซา พระราชวังโปตาลา วัดโจคัง นอร์บุหลิงฆา วัดเซรา ทะเลสาบ Yamdrok Tso เมืองซิกาท์เซ่ วัดทาซิลุนโป นั่งรถไฟหลังคาโลก (8L)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 6 11 มิถุนายน, 13 18 มิถุนายน, 20 - 25 มิถุนายน 2568
ชม พระราชวังโปตาลา พระราชวังที่สูงที่สุดในโลก
ชม วัดโจคัง วัดที่ถือว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจและศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวทิเบต
ชม ทะเลสาบ Yamdrok Tso ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของทิเบต
ชม วัดทาซิลุนโป (Tashilhunpo Monastery) วัดสำคัญอันดับสองรองจากพระราชวังโปตาลา
นั่งรถไฟความเร็วสูงหลังคาโลกทิเบต เมืองซิกาท์เซ่ ลาซา |
 |
URC8D-FM : Grand Altay ซินเจียงเหนือ อาเล่อไท้ คานาสือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ล่องเรือ หุบเขาอัลไต ทุ่งหญ้าอาเล่อไท้ ธารน้ำห้าสี แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (FM)
วันเดินทาง 17 - 24 พฤษภาคม 2568
เที่ยวหุบเขาอัลไต อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
เที่ยวครบซินเจียงเหนือ หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี
อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 4 ดาว ไม่ลงร้านช้อป |
 |
XIN872-CZ : ซินเจียงเหนือ คานาสือ ดอกไม้บาน ล่องเรือ หุบเขาอัลไต หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านไป่ฮาปา ธารน้ำห้าสี แกรนด์แคนยอนตูซานจื่อ ตลาดต้าปาจา (CZ)
วันเดินทาง 7 - 14 มิถุนายน, 14 - 21 มิถุนายน, 21 - 28 มิถุนายน 2568
ชมดอกไม้บานปีละครั้งช่วงที่สวยที่สุดที่ อุทยานคานาสือ (เข้าอุทยานคานาสือ 2 วัน เน้นถ่ายรูปสวยๆ)
ชม หมู่บ้านเหอมู่ หมู่บ้านที่วิวทิวทัศน์สวยที่สุดในหุบเขาอัลไต
ชม หมู่บ้านไป่ฮาปา หมู่บ้านที่สวยที่สุดของประเทศจีน อยู่ในอุทยานคานาสือ
เที่ยวครบ ธารน้ำห้าสี และ แพะเมืองผี บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
XIN765-CZ : ซินเจียงใต้ คัชการ์ ทะเลสาบไป๋ซาหู ถนนคาราโครัมไฮเวย์ ทะเลสาบคาราคู่เล่อ ถนนผานหลงกู่เต้า หมู่บ้านถ่าเอ๋อ เมืองโบราณซือโถเฉิง ภูเขาหิมะMuztagh Peak (CZ)
วันเดินทาง 26 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2568
ชม เมืองเก่าคัชการ์ The Old City of Kashgar ผสมระหว่างชาวฮั่นและชาวอูยกูร์
ชม ถนนสายมิตรภาพจีน-ปากีสถาน หรือ คาราโครัม ไฮเวย์ KKH (Karakoram Highway)
ชม ทะเลสาบไป๋ซาหู ที่ฉากหลังสวยงามด้วยภูเขาทรายสีขาวตัดกับท้องฟ้าสีคราม
ชม หมู่บ้านถาเอ่อ สวนดอกแอปริคอต - บิน China Southern Airline (Full-Service) |
 |
Kazak989-3U] เที่ยว 2 ประเทศ ซินเจียง อี้หนิง อัลมาตี้ คาซัคสถาน ทะเลสาบไซลี่มู่ ชารีนแคนยอน วิหารเซนคอฟ Shymbulak Ski หมู่บ้านคาจั่นฉี (3U)
วันเดินทาง 9 17 พฤษภาคม, 20 28 มิถุนายน 2568
ชม ชารีนแคนยอน แกรนด์แคนย่อนที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากอเมริกา
ชม เมืองอัลมาตี้ เมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคาซัคสถานและเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ
นั่งกระเช้า สู่ ชิมบูลัก (Shymbulak Ski Resort) อยู่ในเทือกเขา Zailiuskiy Alwatau
ชม ทะเลสาบไซลี่มู่ ที่ทอดตัวอยู่ในวงล้อมของเทือกเขาเทียนซาน อยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้าและภูเขาหิมะ |
 |
[MM19-8M] : เที่ยว 6 เมือง ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกาม มัณฑะเลย์ เจดีย์ชะเวดากอง พระธาตุมุเตา พระธาตุอินทร์แขวน เจดีย์ชเวสิกอง พระมหามุนี (8M)
วันเดินทาง 30 พฤษภาคม 4 มิถุนายน, 9 14 กรกฎาคม, 8 13 สิงหาคม, 9 - 14 ตุลาคม 2568
เที่ยว 6 เมืองหลักที่สวยงาม ย่างกุ้ง หงสาวดี ตองอู เนปิดอร์ พุกามและมัณฑะเลย์
ไหว้ 5 พะธาตุที่ยิ่งใหญ่ของพม่า เส้นทางแห่งพระพุทธศาสนา
อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว - บินสายการบิน Myanmar Airways |
|
สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
ID Line Office : @oceansmiletour
คุณเล็ก โทร.082-3656241 ID Line : lekocean2
คุณโจ้ โทร.093-6468915 ID Line : oceansmile
รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า |
|
| |
|