บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
• ประเทศภูฏาน ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า
ประเทศภูฏาน
ท้องทุ่งประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
จุดชมวิวเมืองปูนาคา
ประเทศภูฏาน
สามเณรภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ปูนาคาซอง
ประเทศภูฏาน
กีฬายิงธนู (Archery)
ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
วัดชิมิ (ชิมิลาคัง) ปูนาคา
ประเทศภูฏาน
เงินประเทศภูฏาน
คูซูซังโป kousouzangpo : สวัสดี ภูฎาน ดินแดนมังกรสายฟ้า
ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน
• ประเทศภูฏาน (Bhutan)
• ภูฏาน (Bhutan)
(อ่านว่า พู-ตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก
• เมืองหลวง : ทิมพู (Thimpu) เป็นเมืองหลวงของภูฏานในปัจจุบัน (อยู่ห่างจากเมืองปาโร ศูนย์กลางสนามบินเพียงแห่งเดียวของภูฏาน ประมาณ 65 กิโลเมตร) ทิมพูอาจจะเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟแดง เพราะเมืองนี้มีถนนเล็กๆเพียงไม่กี่สายเท่านั้น
• สถานที่ตั้งประเทศภูฎาน : ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"
• ที่มาของชื่อ Bhutan
•
ตามตำนานเล่าว่า ขณะที่ Tsangpa Gyare Yeshe Diorje (ค.ศ.1161-1211) กำลังประกอบพิธีสถาปนาวัดลามะแห่งหนึ่งในทิเบตกลาง ท่านได้ยินเสียงร้องซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเสียงของมังกร จึงได้ให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "Druk"(มังกร) และให้นามสำนักที่ท่านตั้งขึ้นว่า "Drukpa" ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศภูฎานคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)
• นอกจากนี้ภูฎานยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏานเสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
• อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ภูฎานอาจมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า โภ-ฏาน หมายถึง ปลายสุดของทิเบต หรือมาจากคำว่า ภู-อัฏฏาน แปลว่า ดินแดนบนที่สูง และบ้างก็อ้างว่านักสำรวจชาวตะวันตกยุคโบราณเรียกดินแดนแถบนี้ว่า โภ-ฏัน หมายถึง ดินแดนคนโภเทียส หรือ คนที่มาจากภูสูงทิเบต ชื่อเหล่านี้อาจจะถูกกัดกร่อนควบกล้ำมาเป็น ภูฏาน หรือ บุทัน ในที่สุด
• ภูฏานมีเนื้อที่ประมาณ 46,500 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับพื้นที่ของ 6 จังหวัดเหนือสุดของประเทศไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง และแพร่ รวมกัน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำภูฏาน
ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน
ระบำหน้ากาก ภูฏาน
แผนที่ประเทศภูฏาน
• ภูมิประเทศ ภูฏาน
• ประเทศภูฏาน ตั้งอยู่ในแถบขุนเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียกับจีน (ติดกับทิเบต) เป็นประเทศที่มีเทือกเขาเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่า "สวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย" เดิมเคยผูกพันอยู่กับทิเบต แต่ แยกออกมาเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ ค.ศ.1630 ภูฏาน เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ 47,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย มีสถานที่ท่องเที่ยวเหมาะกับคนที่ชอบธรรมชาติที่งดงามและวัฒนธรรมดั้งเดิม
• เทือกเขาหิมาลัยอันปกคลุมไปด้วยหิมะตลอดทั้งปีทอดตัวยาวผ่านตอนบนของภูฏานทั้งแถบ ลดหลั่นลงมาบรรจบกันเป็นหุบเขาในบริเวณตอนกลางของประเทศ แล้วค่อยๆ ลดระดับลงจนจรดที่ราบทางตอนใต้ที่ต่อเนื่องมาจากอินเดีย ทำให้ภูฏานมีภูมิประเทศหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันสุดขั้ว ตั้งแต่ยอดเขาสีขาวโพลนที่สูงกว่า 7,000 เมตรทางตอนเหนือ ไปจนถึงที่ราบลุ่มเขียวขจีสูง 300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตามแนวขอบประเทศทางตอนใต้
• ทิศเหนือและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับ ทิเบต (จีน)
• ทิศใต้ ติดกับ แคว้นอัสสัมและเบงกอลตะวันตก (อินเดีย)
• ทิศตะวันออก ติดกับ แคว้นอรุณาจัลประเทศ (อินเดีย)
• ทิศตะวันตก ติดกับ แคว้นสิกขิม (อินเดีย)
• ภูฏาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่น้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากยอดเขาหิมาลัย ตัดผ่านประเทศตามแนวเหนือ-ใต้ ความอุดมสมบูรณ์ของภาคกลางและใต้ ส่งผลให้ชาวภูฏานส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหุบเขาตอนกลางของประเทศ (ระดับความสูง 1,100 ถึง 2,600 เมตร) และบริเวณตอนใต้ (ระดับความสูง 300 ถึง 1,600 เมตร) เทือกเขาสูงชันจากเหนือไปใต้ที่ลดหลั่นลงมาจากหิมาลัย เป็นกำแพงกั้นระหว่างหุบเขาตอนกลางต่างๆ ตัดขาดชุมชนออกจากกัน ทิ้งให้หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่สามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้สะดวก
• เขตที่อุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดของประเทศคือ บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ เขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงระหว่าง 300-1,600 เมตร ก่อนหน้าที่จะปิดพรมแดนด้านที่ติดกับทิเบตในปี ค.ศ. 1959 ทิวเขาสูงในหิมาลัยถือเป็นเส้นทางหลักในการสัญจรไปยังหลายๆท้องที่ ทำให้ภูฏานกับทิเบตมีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันมาแต่ครั้งโบราณ ช่วงครึ่งแรกในศตวรรษที่ 20 ท้องที่บางแห่งที่เข้าถึงได้ง่ายในเขตภาคใต้ของภูฏานมีชาวเนปาลผู้คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในที่ลุ่ม เดินทางเข้ามาตั้งรกรากอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ต่อมาปี ค.ศ.1962 ทางรัฐบาลภูฏานได้สร้างถนนราดยางสายเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมกับทิมพูเข้ากับพุนโซลิงในภาคตะวันตกเฉียงใต้สำเร็จ
• ภูฏานภาคใต้ : เชิงผาหิมาลัย
• แต่เดิม เขตที่ราบภาคใต้เรียกว่า เขตดัวร์ แปลว่า ปากประตู กับเขตเชิงเขาหิมาลัยที่ความสูงไม่เกิน 1,700 เมตร กลายมาเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ เนื่องจากอยู่ใกล้ตลาดในภาคเหนือของอินเดียและบังคลาเทศ อาณาบริเวณแถบนี้จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเมืองศูนย์กลางการค้าเล็กๆเกิดขึ้นมากมาย ประชากรในภาคใต้ของภูฏานส่วนใหญ่เป็นชาวนาเชื้อสายเนปาล ที่อพยพเข้ามาในปลายศตวรรษที่ 19 ไล่เรื่อยมาจนถึงปี ค.ศ.1950 มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า โฮตซัมปา พูดภาษาเนปาล ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู

• ส่วนเขตหิมาลัยตอนกลาง คือแถบหุบเขาพาโร ทิมพู ปูนาคา วังดีโปดรัง ฮุนซี และบางส่วนของตาชิกัง เป็นถิ่นฐานของชาวไร่ชาวนาและคนเลี้ยงสัตว์กลุ่มมองโกลอยด์ พูดภาษาในตระกูลทิเบต-พม่า ที่เรียกตนเองว่า ดรุ๊กปะ นิยมสร้างบ้านเรืออยู่กระจัดกระจายห่างไกลกัน แต่ปัจจุบัน เริ่มมีชุมชนเมืองเกิดขึ้นรอบ ซอง(ป้อมและอาราม) ซึ่งเป็นป้อมปรากรป้องกันข้าศึกรุกรานและเป็นศูนย์กลางบริหารและการปกครองท้องที่แต่ละแห่งในสมัยโบราณ มีเทือกเขาดำน้ำทำหน้าหน้าที่เป็นสันปันน้ำ แยกเขตลุ่มแม่น้ำสองแห่งออกไว้คนละฟากข้าง โดยแม่น้ำทั้งสองสายจะไหลจากเหนือลงใต้ ไหลไปออกยังที่ราบในเขตอินเดีย กลายเป็นสี่แควใหญ่ของแม่น้ำพรหมบุตร (โตชา ไรดัก สันโกศ และมานัส) มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงถึง 30,000 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน ภฏานได้สร้างโรงไฟฟ้าขึ้นแล้วหลายแห่ง โดยได้รับความช่วยเหลือจากทั้งอินเดียและออสเตรเลีย
• ภูฏานตะวันตก : หุบเขาทั้งห้า
• พื้นที่ภาคตะวันตกของภูฏานเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาฮา (2,700 เมตร) ปาโร (2,200 เมตร) และทิมพู (2,300 เมตร) ในขณะที่ปูนาคากับวังดีโปรดัง ประกอบกันขึ้นเป็นหุบเขายาว ความสูง 1,300 เมตร หุบเขาทั้งห้าที่ประกอบขึ้นเป็นภาคตะวันตก เป็นถิ่นฐานของพวก งาลง แปลว่า ผู้ลุกขึ้นเป็นกลุ่มแรก พูดภาษา ซงคา แปลว่ ภาษาของป้อม ซึ่งเป็นภาษาของภูฏานในปัจจุบัน เป็นคนกลุ่มแรกที่หันมายอมรับนับถือพุทธศาสนา ผู้คนแถบนี้มีฐานะค่อนข้างดี และรัฐบาลภูฏานก็เข้ามาดูแลอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างเข้มงวด

• ภูฏานภาคกลาง : บุมทังภูมิหลังอันยาวนาน
• ภาคกลางประกอบขึ้นจากหลายท้องที่ แต่ละที่จะมีภาษาถิ่น (คา) ของตนเอง (อาทิ บุมทังคา เค็งคา กูร์เตคา) เป็นภาษาเก่าแก่ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาโบดิชโบราณที่แยกย่อยออกมาจากภาษาในตระกูลทิเบต-พม่าอีกต่อหนึ่ง มีช่องเขายูตงลา (3,300 เมตร เป็นประตูสู่เขตบุมทัง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของหุบเขาสี่แห่งที่ระดับ 2,700-4,000 เมตร หุบเขาชูเมะและโชโกร์เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ ส่วนหุบเขาตังและอูราจะทำการปศุสัตว์ บ้านเรือนส่วนใหญ่กอด้วยหินมากกว่าใช้ดินอัด ลวดลายดูบางตากว่าทางตะวันตก บุมทังได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยศิลปะและมีภูมิหลังอันยาวนาน ขนบประเพณีทางศาสนายังเป็นที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาโดยมิได้หายสูญ วัดวาแต่ละแห่งล้วนมีประวัติความเป็นมาเก่าแก่
• ภูฏานตะวันออก : ดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอ
• ภูฏานตะวันออกมีพื้นที่ครอบคลุมเขตมงการ์ ตาชิกัง เปมากาเช และซัมดรุปจงคา มีหุบเขาเป็นรูปตัว V มีท้องทุ่งและบ้านเรือนตั้งอยู่บนเนินอันโล่งเตียน บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านทรงภูฏานขนานแท้ ภาคตะวันออกเป็นถิ่นที่อยู่ของพวก ชาชปปะ (ซังลา) ซึ่งมีภาษาพูดเป็นของตนเอง ชาวชาชปปะเคร่งครัดศรัทธาในศาสนาจนขึ้นชื่อ ละแวกนี้จึงมีวัดเล็กๆ ตั้งอยู่ทั่วไป วัดในท้องที่ห่างไกลจะมี กมเซ็น (พระบ้าน) อยู่ประจำร่วมกับครอบครัว สตรีชาชปปะมีฝีมือในการทอผ้าทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ที่หุบเขายาดีและพงเมจึงได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งท้องนาและผ้าทอฝีมือประณีต
• ภูฏานภาคเหนือ : ภูผาหิมาลัย
• ภาคเหนือของภูฏานเป็นจุดตั้งต้นเขตภูผาหิมาลัย ด้วยความสูงกว่า 3,500 เมตร เขตลิงเซ ลายะ และลูนานา มีวิถีชีวิตคล้ายกับเขตหุบเขาสูงอย่างเมรักกับซักเต็งในภาคตะวันออก ผู้คนยังชีพด้วยการเลี้ยงจามรีและเพาะปลูกเล็กๆ น้อยๆ โดยปลูกได้เพียงข้าวบาร์เล่ย์กับพืชมีหัวใต้ดิน เพราะมีความสูงเป็นข้อจำกัด อาหารหลักคือ นม เนย เนยแข็งและเนื้อจามรี ชาวบ้านเป็นพวกเลี้ยงสัตว์เร่ร่อน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในหนึ่งปีอาศัยอยู่ในกระโจมสีดำที่ทอขึ้นจากขนจามรี
• เวลา : เวลาที่ภูฏานช้ากว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
• ไฟฟ้า : ใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์
• สกุลเงิน : สกุลเงินของภูฏานคือ งุลดรัม (Ngultrum) เรียกสั้นๆว่า นู (Nu) โดยค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปีซื้อของได้
งานระบำหน้ากากเมืองพาโร ประเทศภูฏาน
ระบำหน้ากากประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
งานระบำหน้ากากพาโรซอง
ประเทศภูฏาน
งานระบำหน้ากากพาโรซอง
ประเทศภูฏาน
งานระบำหน้ากากพาโรซอง
ประเทศภูฏาน
งานระบำหน้ากากเมืองพาโร
• ภูมิอากาศประเทศภูฏาน
• เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 15 - 25 องศาเซลเซียส กลางคืน 5 -10 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
• ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
• ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
• ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
• ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
• ศาสนาประเทศภูฏาน
• ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่ท่านก็สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน ท่านมีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก
• วัฒนธรรมประเทศภูฏาน
• การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป

• เครื่องแต่งกายประจำชาติ พระมหากษัตริย์จะผ้าผืนใหญ่พันองค์ ซึ่งผ้าพันกายนี้เป็นธรรมเนียมของบุรุษภูฏาน เพื่อแสดงถึงตำแหน่งฐานะ เช่นว่า ผ้าสีขาวมีขอบจะเป็นของสามัญชน ผู้พิพากษาจะพันด้วยผ้าสีเขียว สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สีส้มเหลือง เช่นเดียวกันกับพระสังฆราชาแห่งรัฐ ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชาย เรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิง เรียกว่า ฆีระ (Khira)
• ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองคา หรือ ฌงฆะ (Dzongkha) ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
• วันชาติ : 17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน ที่ป้อมปูนาคา
พาโรซอง สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
พาโรซอง เมืองพาโร
ประเทศภูฏาน
พาโรซอง เมืองพาโร
ประเทศภูฏาน
พาโรซอง เมืองพาโร
ประเทศภูฏาน
พาโรซอง เมืองพาโร
• ชนชาติประเทศภูฏาน
• ภูฏาน ประกอบด้วยชนชาติ 3 เชื้อชาติใหญ่ คือ
1.ชาชฮอป คนพื้นเมืองเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก
2.งาลอป ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
3.ลาร์ทเชมส์ ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้ เป็นพวกที่อพยพมาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา
• นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นๆ อีกหลายชนเผ่า มีภาษาแยกย่อยออกไปอีกราว 19 ภาษา
• การแบ่งเขตการปกครองประเทศภูฏาน
• ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร และแต่ละเขตบริหารก็แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขต รวมทั้งหมด 20 เขต
1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา
5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร
9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ
13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี
17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง
วัดทักซัง วัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ธงมนตราระหว่างทางวัดทักซัง
ประเทศภูฏาน
วัดทักซัง เมืองพาโร ภูฏาน
ประเทศภูฏาน
วัดทักซัง เมืองพาโร ภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ธงมนตราระหว่างทางวัดทักซัง
• ภาษาประจำถิ่นและภาษาสื่อสารของประเทศภูฎาน
• ภูฏานมีภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติเรียกว่า ภาษาซงคา หรือ ฌงฆะ หรือ ซองคา (Dzongkha) ก่อนหน้านั้นเป็นภาษาถิ่นใช้กันในแถบตะวันตก อักขรวิธีและการออกเสียงคล้ายภาษาทิเบต มีแบบอย่างมาจากเทวนาครีของสันสกฤต
• ซงคา คล้ายภาษาภาคกลางของทิเบต ซง หรือ ซอง แปลว่า ป้อมปราการที่อยู่ของเจ้าเมือง ซองคา หมายถึง ชาวป้อมปราการ เป็นภาษาที่ชาวชาชฮอปใช้กันมาก เมืองบุมทัง ภาคกลางของประเทศพูดคล้ายทิเบตและยังแยกย่อยไปอีกหลายภาษา ส่วนชาวเนปาลีอพยพอยู่ในภาคใต้พูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน
• ชาวภูฏานพูดภาษาอังกฤตได้ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อนเลย ทั้งนี้เพราะภูฏานมีโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤตเป็นภาคบังคับ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสื่อสารกับชาวภูฏานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการให้พลเมืองของตนไปศึกษาหาความรู้ทางตะวันตกต่อไปในภายหน้า หรือรู้เท่าทันโลกภายนอกให้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อใช้สื่อสารกับอาคันตุกะจากต่างแดนและการแสวงหาวิทยาการของโลก รวมถึงสื่อสารกับชาวเนปาลและอินเดียได้ง่ายขึ้น
• อย่างไรก็ตามคนภาคตะวันออกจะพูดภาษา ชาชฮอป (Sharchop) หรือ ฮาชังลา ทางตอนใต้เป็นพลเมืองเชื้อสายเนปาลที่อพยพเข้ามาเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะพูดเป็นภาษาเนปาลี หรือ อินโดอารยัน ส่วนตอนกลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางในภูฏานที่ใช้ได้เกือบทุกภาค
ทาชิโชซอง เมืองทิมพ ูสถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ทาชิโชซองหรือทิมพูซอง
ประเทศภูฏาน
ทาชิโชซองหรือทิมพูซอง
ประเทศภูฏาน
ทาชิโชซองหรือทิมพูซอง
ประเทศภูฏาน
ทาชิโชซองหรือทิมพูซอง
วัดชันกังคา (Changangkha) เมืองทิมพู สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
วัดชันกังคา (Changangkha)
ประเทศภูฏาน
วัดชันกังคา (Changangkha)
ประเทศภูฏาน
วัดชันกังคา (Changangkha)
ประเทศภูฏาน
วัดชันกังคา (Changangkha)
ประเทศภูฏาน
เมมโมเรียลโชเตน เที่ยวภูฏาน
ประเทศภูฏาน
เมมโมเรียลโชเตน ภูฏาน
ประเทศภูฏาน
เมมโมเรียลโชเตน ภูฏาน
ประเทศภูฏาน
เมมโมเรียลโชเตน ภูฏาน
• สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
• เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า "ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ"
• ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน
• สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
• สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
• มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
• ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา
• สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รอ่นเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
• ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า "เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง" เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็ฯอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า "ทาคิน" จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย
• ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน
• นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย
• อาหารประจำชาติภูฏาน : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
วัดนันนารี เมืองทิมพู สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
วัดนันนารี เมืองทิมพู
ประเทศภูฏาน
วัดนันนารี เมืองทิมพู
ประเทศภูฏาน
วัดนันนารี เมืองทิมพู
ประเทศภูฏาน
วัดนันนารี เมืองทิมพู
จุดชมวิวโดชูล่า (DOCHULA) สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
สถูปโดชูล่า (DOCHULA)
ประเทศภูฏาน
สถูปโดชูล่า (DOCHULA)
ประเทศภูฏาน
สถูปโดชูล่า (DOCHULA)
ประเทศภูฏาน
สถูป 108 องค์ โดชูล่า
• วันหยุดและเทศกาล
• วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
• วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
• วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว
• ทรัพยากรธรรมชาติ
• ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
• สกุลเงินของภูฏาน คือ งุลตรัม (BTN) ซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย
• เศรษฐกิจของภูฏานแม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา
• รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
• ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)
ปูนาคาซอง เมืองปูนาคา สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ปูนาคาซอง
ประเทศภูฏาน
ปูนาคาซอง
ประเทศภูฏาน
ปูนาคาซอง
ประเทศภูฏาน
ปูนาคาซอง
วังดีซอง สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
ประเทศภูฏาน
ป้อมวังดี เมืองวังดี
ประเทศภูฏาน
วังดีซอง เมืองวังดี
ประเทศภูฏาน
วังดีซอง เมืองวังดี
ประเทศภูฏาน
วังดีซอง เมืองวังดี
ภูฏาน ประเทศภูฏาน ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า
• สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน 
ภูฏาน
• ภูฏาน ประเทศภูฏาน ดินแดนมังกรสายฟ้า ประเทศที่อยู่อ้อมกอดหิมาลัย อยู่ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"
ราชวงศ์ภูฎาน
• ราชวงศ์ภูฎาน เจ้าชายจิกมี สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "เจ้าชายจิกมี่" กษัตริย์รัชกาลที่ 5 ของภูฏาน
ภูฏาน
• ภูฏาน เที่ยวภูฏาน ผมเดินทางมาถึงเมืองพาโร ก็โชคดีที่เขามีการจัดงานระบำหน้ากาก ซึ่งงานระบำหน้ากากที่พาโรซอง ถือว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่ง
ทาชิโชซอง ทิมพูซอง
• ทาชิโชซอง ทิมพูซอง ทาชิโชซอง เป็นสถาปัตยกรรมภูฏานที่งดงาม เป็นที่ทำการของรัฐบาล ประกอบด้วยคณะสงฆ์ และข้าราชการระดับสูง
ทัวร์ภูฎาน
• ทัวร์ภูฎาน เตรียมตัวเที่ยวภูฏาน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
วัดชันกังคา
• วัดชันกังคา เมมโมเรียลชอร์เตน วัดชันกังคาเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในเมืองทิมพู พระลามะทิเบตเป็นผู้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเมืองทิมพู
วัดทักซัง
• วัดทักซัง วัดทักซัง เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร ชายเขตเมืองพาโร วัดตักซังเป็นสถานที่แสวงบุญที่ชาวภูฏานเลื่อมใสศรัทธากันมากที่สุด
วัดนันนารี สวนสัตว์ภูฏาน
• วัดนันนารี สวนสัตว์ภูฏาน ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในประเทศภูฏานเพียงแห่งเดียวและอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่
ระบำหน้ากากภูฏาน
• ระบำหน้ากากภูฏาน ระบำภูฏานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบำหน้ากาก ซึ่งเป็นระบำเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ ส่วนอีกอย่างเป็นระบำเกี่ยวกับเรื่องราววิถีชีวิตของชาวภูฏาน
พูนาคา
• พูนาคา วัดชิมิลาคัง คนภูฏานเชื่อว่าเมื่อพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องคู่ครอง ก็จะมาแสวงบุญที่นี่ เพราะเชื่อว่าวัดชิมิลาคังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
พาโร
• พาโร ประตูสู่ประเทศภูฏาน เมืองพาโรเป็นเมืองที่ตั้งของสนามบินภูฏานซึ่งมีเพียงสนามบินเดียว เครื่องที่จะมาลงจอดได้ก็มีแต่สายการบินดรุ๊กแอร์เพียงสายเดียว
วัดคิชูลาคัง วัดตัมชู
• วัดคิชูลาคัง วัดตัมชู วัดคิชูเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูฏาน เป็นโบสถ์โบราณซึ่งพระเจ้าซังเซน กัมโป กษัตริย์ทิเบตทรงสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1212
ทิมพู
• ทิมพู เมืองหลวงประเทศภูฏาน ทิมพูหรือในชื่อที่เป็นทางการของภูฏานว่า ตาชิโชซอง เป็นเมืองหลวงของภูฏาน ทิมพูเป็นเมืองที่เจริญที่สุด เป็นแหล่งท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง
จุดชมวิวโดชูล่า
• จุดชมวิวโดชูล่า สถูป 108 องค์ สร้างขึ้นเป็นปกป้องคุ้มครองผู้ที่เดินทางผ่านไปมาให้ปลอดภัย รอบๆ บริเวณถูกประดับไปด้วยธงมนต์หลากสีสันเพื่อบูชาเทพแห่งป่าเขา
ปูนาคา
• ปูนาคา ปูนาคาซอง ปูนาคาซอง (Punakha Dzong) เป็นป้อมปราการประจำเมืองปูนาคา สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1637 ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโพและแม่น้ำโม ที่นี่เคยใช้เป็นเมืองหลวงในช่วงฤดูหนาว
• พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน ตั้งอยู่ในป้อมตาซองที่เป็นหอสังเกตการณ์ในยุคโบราณของพาโรซอง ป้อมตาซองนี้เคยเป็นที่คุมขังอูเก็น วังชุก (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ภูฏาน)
วังดีซอง
• วังดี วังดีซอง วังดีซอง ตั้งอยู่เหนือจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สายคือแม่น้ำปูนาคาและแม่น้ำดัง เป็นเมืองในอดีตที่สำคัญของประวัติศาสตร์ภูฏาน วังดีโปดรังซองสร้าง ในปี ค.ศ.1638
โรงแรมภูฏาน
• โรงแรมภูฏาน ร้านอาหารภูฏาน ภูฏาน เป็นประเทศที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารทุกมื้อ อาหารภูฏานนิยมเน้นข้าวและผักเป็นอาหารหลัก
ภาษาภูฏาน
• ภาษาภูฏาน ภาษาภูฏานหรือภาษาซงคา เป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน คูซูซังโป=สวัสดี คัดรินเซ=ขอบคุณ ดรุ๊กยุล=แผ่นดินมังกรสายฟ้า
ของฝากภูฏาน
• ของฝากภูฏาน การแต่งกายภูฏาน รัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ชุดผู้ชาย เรียกว่า “โค” ชุดผู้หญิง เรียกว่า “คีร่า”
• ศาสนาพุทธในภูฏาน พุทธศาสนาตันตรยาน ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ เป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ
สายการบินภูฏาน
• สายการบินภูฏาน สายการบินดรุ๊กแอร์ Drukair การเดินทางไปภูฏาน มีสายการบินเดียวที่บินจากรุงเทพฯ ไปภูฏาน เป็นสายการบินแห่งชาติภูฏาน
• สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
• ข้อมูลทั่วไปประเทศภูฏาน
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์ 2567
• กรุ๊ปจอยทัวร์หน้าร้าน
• XIN879-3U : เจาะลึกเส้นทางสายไหม ภูเขาสายรุ้ง ภูเขาหิมะเทียนซาน จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ขี่อูฐ สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน อุรุมฉี (8 วัน 7 คืน - 3U)
• เที่ยวชมมหัศจรรย์ ภูเขาสายรุ้ง และ ทะเลสาบวงพระจันทร์
• ชม ถ้ำตุนหวง ขี่อูฐทะเลทราย เที่ยวภูเขาหิมะเทียนซาน
• พักโรงแรม 5 ดาว - บินเสฉวนแอร์ไลน์และบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 14 - 21 เมษายน : 19 – 26 พฤษภาคม : 16 - 23 มิถุนายน 2567
• ราคา 55,995.-บาท
• TIBET-51 : คุนหมิง ทิเบต ลาซา วังโปตาลา วัดโจคัง ทะเลสาบ เมืองซิกาท์เซ่ วัดเซร่า รถไฟหลังคาโลก ซีหนิง ซีอาน โชว์ทิเบต (8 วัน 7 คืน - TG)
• นั่งรถไฟสายหลังคาโลก ลาซา-ซีหนิง ห้องวีไอพี
• เที่ยวพระราชวังโปตาลา และเมืองซิกาท์เซ่ วัดปันเชนลามะ

• ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทยและบินภายในประเทศ
• วันที่ 19 - 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 77,995.-บาท
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (6 วัน 5 คืน - TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก

• พัก 5 ดาว - ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทย
• วันที่ 23 – 28 ตุลาคม : 5 – 10 ธันวาคม : ราคา 37,995.-บาท
• วันที่ 28 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568 : ราคา 39,995.-บาท
• INDIA-871: แคชเมียร์ ทัชมาฮาล ดอกทิวลิปบาน อัคราฟอร์ท พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค ทะเลสาบดาล (8 วัน 6 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค
• ชม ทัชมาฮาล สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 14 - 21 เมษายน 2567
• ID19 : แคชเมียร์  - เลห์ ลาดัก พาฮาลแกรม โซนามาร์ค ทะเลสาบพันกอง นูบราวัลเลย์ วัดมาลายูรู วัดเฮมิส วัดธิคเซย์ (10 วัน 8 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม โซนามาร์ค
• เที่ยวเลห์ ลาดัก ทะเลสาบพันกอง นูบร้าวัลเลย์
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 18 – 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 68,995.-บาท
• TG-659 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า เมืองโบราณหวงหลงซี โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (6 วัน 5 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 11 - 16 ต.ค., 18 - 23 ต.ค., 23 - 28 ต.ค., 7 - 14 พ.ย. : ราคาเริ่มต้น 41,995.-บาท
• TG-879 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ภูเขาง้อไบ้ ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• ขึ้นเขา ง้อไบ้ 1 ใน 4 พุทธคีรีแห่งประเทศจีน (เที่ยวเต็มวัน)

• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 3 - 10 พฤศจิกายน : ราคา 49,995.-บาท
• CANAT19 : เจาะลึกเส้นทางสายไหม ซีอาน ลั่วหยาง หลงเหมิน วัดเส้าหลิน ถ้ำม่ายจีซาน จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ขี่อูฐ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน อุรุมฉี (12 วัน 10 คืน - FD)
• เที่ยวชมเส้นทางสายไหมและเส้นทางพระถังซำจั๋งแบบเจาะลึกยาวๆ
• ชม 3 ถ้ำพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
• ชม ถ้ำตุนหวง ขี่อูฐทะเลทราย ทะเลสาบวงพระจันทร์
• พักโรงแรม 5 ดาว - อาหารดี - บินแอร์เอเชียและบินภายใน
• วันที่ 11 - 22 ตุลาคม 2567 :
ราคา 80,995.-บาท
• INDIA877 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี ล่องเรือแม่น้ำคงคา สารนาท พารานสี (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 4 สังเวชนียสถาน พุทธคยา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี
• ชม ล่องเรือแม่น้ำคงคา เที่ยวชม วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
• พักโรงแรม 4 ดาว - มีอาหารไทย - มีพระวิทยากร - บินการบินไทย
• วันที่ 8 - 15 ธันวาคม : วันที่ 28 ธันวาคม - 4 มกราคม : 9 - 16 กุมภาพันธ์
2568
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม   ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)