อำเภอปักธงชัย
วัดหน้าพระธาตุ
(วัดตะคุ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลตะคุ การเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางหลวงหมายเลข
314 ประมาณ 30 กิโลเมตร (ผ่านสี่แยกปักธงชัย) มีทางแยกด้านขวามือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข
2238 ไปบ้านตะคุ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่ทางซ้ายมือ
วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่
3 ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้แก่ เจดีย์ อุโบสถ และหอไตรกลางน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี
มีศิลปะแบบท้องถิ่นปะปนอยู่มาก อุโบสถหลังเก่ามีจิตรกรรมฝาผนังสมัยต้นรัตนโกสินทร์ปรากฎให้เห็นอยู่เกือบสมบูรณ์ทั้งบริเวณผนังด้านหน้าข้างนอกและผนังด้านในทั้งสี่ด้าน
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติชาดกและเป็นภาพการสักการะพระพุทธบาท
นอกจากนั้นยังแทรกภาพชีวิตประจำวันของชาวบ้านในสมัยนั้นด้วยเช่น
การทำนา การหาปลา เป็นต้น ทางด้านหน้าอุโบสถหลังเก่า มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ที่กลางสระมีหอไตร 1 หลัง ทรงเตี้ยแบบหอไตรพื้นเมืองอีสานซึ่งมีภาพลายรดน้ำที่บานประตูเป็นลวดลายวิจิตรสวยงามมาก
ระหว่างหอไตรและอุโบสถหลังเก่า ยังมีเจดีย์ศิลปะแบบลาวเก่าอีก
1 องค์ สร้างโดยชุมชนที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์
เขื่อนลำพระเพลิง
อยู่ในเขตอำเภอปักธงชัย ใช้เส้นทางสาย 314
ผ่านทางเข้าอำเภอปักธงชัยไปประมาณ 4 กิโลเมตร จะพบสี่แยกเลี้ยวขวามือเข้าไปเป็นระยะทาง
28 กิโลเมตร เป็นเขื่อนในความดูแลของกรมชลประทาน ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อน
รับประทานอาหาร ตกปลาและชมทิวทัศน์ริมอ่างเก็บน้ำ มีบริการบ้านพักรับรองหลายหลัง
ติดต่อโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำพระเพลิง โทร. 0 4437 3184
ต่อ 114 นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเหมาเรือหางยาวไปชมบรรยากาศภายในอ่างเก็บน้ำ
เที่ยวน้ำตกคลองกี่หรือน้ำตกขุนโจนได้ โดยใช้เวลาไป-กลับประมาณ
3-4 ชั่วโมง ติดต่อได้ที่สโมสรเขื่อนลำพระเพลิง โทร. 0 4437
3184 ต่อ 117
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ไร่องุ่นรัตนธงชัย
ตั้งอยู่ที่บ้านดู่ อำเภอปักธงชัย บนเนื้อที่กว่า 80
ไร่ องุ่นพันธุ์เยี่ยมจากต่างประเทศที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเติบโตและให้ผลผลิตได้ในเมืองไทย
ได้นำมาปลูกไว้ในพื้นที่ปักธงชัยนี้และสามารถติดดอกออกผลที่มีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ
มีทั้งองุ่นมีเมล็ดและไม่มีเมล็ดหลายสายพันธุ์ด้วยรสชาติหวานอร่อยของผลสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปนานาชนิด
การเดินทาง จากตัวเมืองนครราชสีมาใช้เส้นทางหมายเลข 314 (โคราช-ปักธงชัย)
ประมาณ 25 กิโลเมตร จนถึงสี่แยกอวยชัย เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอโชคชัย
ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ทางเข้าไร่ทางขวามือ (ทางเข้าทางเดียวกับโครงการพิมคำแลนด์)
ประมาณ 1 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0
1877 1228 , 0 1977 4278
โครงการสวนปู่ย่าน่าอยู่
บ้านสวนหอม ม.14 ต.ตูม บนเส้นทางเข้าสู่เขื่อนลำพระเพลิง
(ระยะทาง 8 กิโลเมตรจากสี่แยกลำพระเพลิง) เป็นลักษณะไร่นาสวนผสมแบบเก่า
ปลูกพืชเล่นระดับสูง กลาง ต่ำ บนพื้นที่ 21 ไร่ ของนายเหวา
เลิศพรหมราช เป็นบ้านที่ได้รับรางวัลด้านการพัฒนาดีเด่น มีผู้สนใจเดินทางมาศึกษาดูงานด้านการเกษตรตลอดปี
อำเภอวังน้ำเขียว
สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
เป็นศูนย์วิจัยพันธุ์ไม้ในเขตป่าภาคอีสานและเปิดให้หมู่คณะที่สนใจมาจัดกิจกรรมทัศนศึกษาเชิงนิเวศ
อยู่ริมเส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทาง
57 กิโลเมตรจากตัวเมือง มีพื้นที่ประมาณ 78 ตารางกิโลเมตร
(48,750 ไร่) สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง พบสัตว์ป่าหลายชนิด
ไม่ว่าจะเป็นหมูป่า ไก่ป่า ไก่ฟ้าพระยาลอและนกต่าง ๆ หากได้มีโอกาสปีนขึ้นไปบนยอดหอคอยสูงเหนือระดับยอดไม้ที่ทางสถานีสร้างขึ้น
จะมองเห็นผืนป่าเขียวขจีอันกว้างใหญ่รายล้อมอยู่รอบตัว ตลอดจนเห็นเขาแผงม้าที่อยู่ไกลออกไป
อากาศที่นี่เย็นสบายตลอดปี มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทางซึ่งใช้เวลาตั้งแต่
1 ชั่วโมงครึ่ง ถึง 3 ชั่วโมง มีบ้านพักไว้บริการจำนวน 3 หลัง
พักได้หลังละ 20 คน สอบถามรายละเอียดโทร.0 4425 8642 หรือ
ติดต่อที่ฝ่ายจัดการสถานีวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
กรุงเทพฯ โทร 0 2579 112130,
0 2579 0160 ต่อ 4401 โทรสาร 0 2561 4771
น้ำตกห้วยใหญ่
เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทับลาน ในท้องที่อำเภอวังน้ำเขียว
ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) เข้าทางตลาดกม.79
ไปประมาณ 6 กิโลเมตร ทางเดินเข้าน้ำตกเป็นทางลาดเล็กน้อย เข้าไปประมาณ
20 เมตร ก็จะพบธารน้ำตกขนาดเล็ก ไหลผ่านก้อนหินใหญ่สองก้อน
น้ำตกจะมีเฉพาะช่วงฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน)
โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ
(เขาแผงม้า) อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา
ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 (นครราชสีมา-กบินทร์บุรี) ระยะทางประมาณ
79 กิโลเมตร เมื่อถึงตลาด บริเวณกิโลเมตร 79 มีทางแยกขวาไปตามถนนรพช.สายศาลเจ้าพ่อหนองคุ้มอีก
11 กิโลเมตร เส้นทางช่วงสุดท้ายประมาณ 4 กิโลเมตรเป็นทางดินขึ้นเขามีทิวทัศน์สวยงามแต่ค่อนข้างขรุขระ
เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะเห็นภูเขาสลับซับซ้อน อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล
850 เมตร พื้นที่นี้เป็นโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ซึ่งอยู่ในความดูแลของมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย
พื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ มีการจัดกิจกรรมปลูกป่า เดินป่า
ดูสัตว์ (โดยเฉพาะกระทิงซึ่งยังมีให้เห็น) และฉายสไลด์ให้ความรู้กับผู้สนใจ
มีค่ายพักแรมลักษณะเป็นเรือนนอนไม้ไผ่ 3 หลัง พักได้หลังละ
1020 คน ติดต่อล่วงหน้าได้ที่โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ
เขาแผงม้า หมู่ 4 ตำบลวังน้ำเขียว โทร 0 1976 9130
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนสตรอเบอร์รี่บ้านปฏิรูป
เลขที่ 333 หมู่ที่ 3 ต.ไทยสามัคคี โทร. 0 4422 8370
นายเสน่ห์ ศิริชัยคีรีโกศล เกษตรกรผู้ผลิต ได้เริ่มทดลองปลูกสตรอเบอร์รี่มาตั้งแต่ปี
2540 โดยนำสายพันธุ์มาจากอำเภอแม่จริม จังหวัดเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีการเจริญเติบโตได้ผลผลิต
และมีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด แต่เน้นการปลูกในกระถางและถุงพลาสติกดำ
ซุ้มไม้งาม ของนายชูสักดิ์
นิยมนา อยู่ที่บ้านบุไผ่ ต.ไทยสามัคคี เลยที่ว่าการอำเภอวังน้ำเขียวไป
5 กิโลเมตร แยกซ้ายบ้านบุไผ่อีก 3 กิโลเมตร เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับ
ได้รับทุนโครงการหลวงมาช่วยพัฒนา ผลผลิต ได้แก่ เฟิร์น, เบญจมาศ,
เซอนาดู่ (ตัดใบขายใช้แต่งแจกัน) กุหลาบ (มีเฉพาะช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม)
หน้าวัว ผลไม้ได้แก่ มังคุด เงาะ ลิ้นจี่ กระท้อน ลองกอง มะขามหวาน
ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม มีผลไม้ทุกชนิด
ผักสลัดเมืองหนาวปลอดสารพิษบ้านสุขสมบูรณ์
อยู่ที่ 111 ม.2 ต.ไทยสามัคคี ห่างจากซุ้มไม้งามไปอีก
5 กิโลเมตรผ่านโรงเรียนบ้านไทยสามัคคี เป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
เรื่องการผลิตผักปลอดสารพิษ และเป็นแหล่งปลูกผักสลัด ทั้งสลัดใบเขียว
ใบแดง สลัดแก้ว สลัดใบแดงหยิกฝอย ฯลฯ สนใจติดต่อ นายไกร ชมน้อย
โทร. 0 1274 6961
สวนผลไม้ปลอดสารพิษบ้านศาลเจ้าพ่อ
อยู่ที่ 268 หมู่ที่ 1 บ้านศาลเจ้าพ่อ ต.วังน้ำเขียว
แยกขวามือตรงศาลเจ้าพ่อหลวงราช (ทางขึ้นเขาแผงม้า) เข้าไปประมาณ
1 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านศาลเจ้าพ่อ คลองสอง อีกประมาณ
500 เมตร มีพื้นที่ 40 ไร่ ปลูกผลไม้ในลักษณะผสมผสานกันจำนวนมากกว่า
40 ชนิด เช่น เงาะ มังคุด ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ ฯลฯ โดยไม่ใช้สารเคมีแต่ใช้วิธีคิดค้นหาสูตรจากพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ทำให้ลดต้นทุนการผลิตไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สนใจเข้าชมติดต่อ
นายสมนึก กองลำเจียก โทร. 0 4428 8323
สวนหน้าวัวคุณสุชาดา
อยู่ที่บ้านเลขที่ 116 ม.4 บ้านเขาแผงม้า จากทางแยกขวามือ
ตรงศาลเจ้าพ่อหลวงราช ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางวัดเขาแผงม้า
เป็นทางลูกรังอีก 1 กิโลเมตร ปลูกหน้าวัวหลากหลายสายพันธุ์จากประเทศฮอลล์แลนด์
ทั้งดอกสีแดง สีขาว สีเขียว สีม่วง สีเขียวอ่อน สีเขียวมรกต
เป็นต้น สนใจเข้าชมติดต่อล่วงหน้าที่ คุณสุชาดา หล่อสกุลสินธ์
โทร. 0 1996 4974, 0 1823 9432
อำเภอโชคชัย
หมู่บ้านทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
อยู่ห่างจากตัวเมือง 15 กิโลเมตร ตามทางหลวงสาย
224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ในสมัยโบราณตำบลนี้เป็นที่พักกองเกวียนที่ค้าขายระหว่างโคราช-เขมร
มีแม่น้ำมูลไหลผ่าน ชาวบ้านใช้ดินริมฝั่งแม่น้ำมาปั้นภาชนะใช้สอย
และได้ทำสืบต่อกันมานับเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันด่านเกวียนมีชื่อเสียงมากในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาได้สวยงาม
มีรูปแบบที่แปลกและหลากหลาย แต่ยังคงลักษณะดั้งเดิมของกรรมวิธีในการปั้นและใช้ดินดำสัมฤทธิ์ที่มีเอกลักษณ์ของสีแบบดินเผาด่านเกวียนโดยเฉพาะ
ปราสาทพะโค
ตั้งอยู่ที่ตำบลกระโทก จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข
224 (นครราชสีมา-โชคชัย) ระยะทาง 29 กิโลเมตร ต่อด้วยทางหลวงหมายเลข
2071 อีกประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ริมถนนทางด้านขวามือ เป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู
ก่อสร้างด้วยหินทรายสีขาว ประกอบด้วยกลุ่มโบราณสถาน 3 หลัง
แต่ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียง 2 หลัง มีคูน้ำล้อมรอบเป็นรูปเกือกม้า
ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ได้พบชิ้นส่วนหน้าบันที่แสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมเขมรแบบบาปวนในราวพุทธศตวรรษที่16
ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
สวนมะนาวด่านเกวียน
ตั้งอยู่เลขที่ 135 หมู่ 3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย
การเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาใช้ทางหลวงหมายเลข 224 (นครราชสีมา-โชคชัย)
ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร (ก่อนถึงชุมชนเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน)
แยกขวาทางเข้าวัดป่าหิมพานต์ อีกประมาณ 1 กิโลเมตร
สวนแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ ปลูกมะนาวพันธุ์ด่านเกวียนซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการตั้งชื่อตามแหล่งที่พบ
มีลักษณะเฉพาะตัว คือ ทนทานต่อความแห้งแล้ง ผลใหญ่ มีน้ำมากทุกขนาดผล
กลิ่นเปลือกไม่ฉุนจัด รสชาติกลมกล่อม แต่ละต้นมีผลดกมาก บางต้นมีมากถึง
5,000 ผล ถ้าปล่อยให้ผลเติบโตต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่แย่งอาหารกัน
ผลก็จะเจริญเติบโตขึ้นจนคล้ายส้มเกลี้ยง ส้มซ่า แต่มีความเปรี้ยวตามแบบของมะนาวทุกอย่าง
สวนมะนาวด่านเกวียนเปิดให้ชมทุกวัน มีผลผลิตและกิ่งพันธุ์จำหน่าย
หากต้องการจัดทัศนศึกษาชมงานสวนมะนาวด่านเกวียน สามารถติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นายณรงค์ รัตนจันทร์ โทร.0 4421 2696 หรือ โทร. 0 1976 7768
อำเภอเลิงสาง
หาดชมตะวัน
อยู่ในความรับผิดชอบของที่ทำการเขตจัดการอุทยานแห่งชาติทับลานที่
4 (ลำปลายมาศ) ซึ่งดูแลรักษาพื้นที่ป่าในอุทยานแห่งชาติทับลานด้านอำเภอเลิงสาง
อำเภอครบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว พื้นที่ริมอ่างเก็บน้ำได้รับการพัฒนาให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน
และเป็นที่ประกอบอาชีพของชาวบ้านลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
นักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและรับประทานอาหาร รวมทั้งยังชมทิวทัศน์อันสวยงาม
หรือพักแค้มปิ้งได้ อาจเช่าเรือหางยาวล่องไปตามลำน้ำ เดินป่าชมแหล่งท่องเที่ยวต่าง
ๆ เช่น วังผีเสื้อ (มีเฉพาะในฤดูหนาว) ถ้ำพระ ถ้ำคอมมิวนิสต์
ที่มีตัวอักษรเขียนที่ผนังถ้ำว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
และ ต้นตะเคียนทองยักษ์ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณพันปี
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 4444 8386 การเดินทาง จากนครราชสีมาไปอำเภอเลิงสาง
ใช้ทางหลวงหมายเลข 224 ต่อด้วยทางหลวง 2071 และ 2119 ตามลำดับ
ระยะทาง 89 กิโลเมตร เมื่อถึงสี่แยกอำเภอเลิงสางเลี้ยวขวาไปตามทางหลวง
2317 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร
อำเภอโนนสูง
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่
44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา
ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์
ลงรถที่กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน
บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง
ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า
มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์
มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง
1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชม มีทั้งหมด
3 แห่ง คือ
หลุมขุดค้นที่ 1 มีโครงกระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย
แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก
5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค
2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้
แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ เช่น กำไลเปลือกหอย
ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย
ในช่วงสามระยะแรกนี้เป็นภาชนะดินเผาเคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ
ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท
บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ
คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง
หลุมขุดค้นที่ 2 ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่
13-16 เรียกกันว่า กู่ธารปราสาท และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน
ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์
และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่ 3 พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5
เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ
และ ภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน
และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง
500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่
21 เมษายน ของทุกปี
โฮมสเตย์บ้านปราสาท (แหล่งพักชุมชนบ้านปราสาท)
ตำบลปราสาทประกอบด้วยหมู่บ้านปราสาทเหนือและบ้านประสาทใต้ซึ่งอยู่ติดกัน
แต่ชุมชนที่ทำโฮมสเตย์ คือ บ้านปราสาทใต้ กิจกรรมนี้เริ่มจากการที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยนำชาวต่างชาติไปพักค้างแรมเป็นครั้งคราวและทำเป็นกิจกรรมต่อเนื่องอย่างจริงจังเมื่อปี
พ.ศ. 2539 จนปัจจุบันบ้านปราสาทเป็นตัวอย่างสำหรับหมู่บ้านอื่นทั่วประเทศ
นิยมมาศึกษาดูงานเพื่อนำไปปรับใช้กับหมู่บ้านของตนเป็นการเพิ่มรายได้และพัฒนาความเป็นอยู่ในชุมชน
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การมาพักคือระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมซึ่งอากาศกำลังเย็นสบาย
ชาวบ้านปราสาทก็เหมือนกับหมู่บ้านอีสานทั่วไปที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา
โดยทำนากันเพียงปีละครั้ง ยามว่างชาวบ้านมักประกอบอาชีพทำหัตถกรรมเสริมรายได้
บ้างสานเสื่อกก สานหมวก หรือสานรองเท้า กระเป๋า บางบ้านเลี้ยงไหมทอผ้า
บ้างทำเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสาย มีทั้งซออู้และซอด้วง
บรรยากาศโดยรอบของหมู่บ้านจะเป็นทุ่งนา มีธารปราสาทที่เชื่อว่าเป็นแม่น้ำศักสิทธิ์ไหลผ่านแบ่งเขตแดนบ้านปราสาทเหนือและใต้
เป็น 1 ในแม่น้ำ 9 สายที่นำไปใช้ในพิธีกรรมในราชสำนักแม่น้ำสายนี้จะไหลไปรวมกับแม่น้ำมูล
ชาวบ้านได้อาศัยจับปลาจากแม่น้ำมาเป็นอาหาร
สนใจร่วมเรียนรู้ชีวิตชนบทติดต่อได้ที่
ผู้ใหญ่เทียม ละอองกลาง โทร.0 4436 7075 หรือ อาจารย์จรัญ
จอมกลาง โทร. 0 4436 7062
แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้
ม.7 ต.ธารปราสาท ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 45 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครราชสีมา
ขอนแก่น บริเวณหลัก กม.ที่ 44 แล้วแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร
เป็นหมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวสามารถไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างใกล้ชิดในลักษณะ
Home stay นอกจากจะได้ชมโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุ 3,000 ปี
สมาชิกกลุ่มแม่บ้านบ้านปราสาทใต้ ยังดำเนินกิจกรรมแปรรูปกกจันทบูรณ์
เป็นกระเป๋า แฟ้มเอกสาร กล่องกระดาษชำระ รองเท้า หมวก ฯลฯ
สนใจเดินทางไปชมติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง โทร. 0 4437
9269 หรือที่ทำการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านธารปราสาทใต้ โทร.
0 4423 2735 |