|
|
|
|
|
|
|
|
คลิป
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
(1) |
|
|
คลิป
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
(2) |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร : วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง
สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ
50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปีเมืองขอนแก่น องค์พระธาตุเป็นศิลปะแบบทวารวดี
ผสมผสานอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง
เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง
และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน
(บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่
2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง
ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี
พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา
พระมหาธาตุแก่นนคร มีความสูง 80 ม. มีพระจุลธาตุ 4 องค์ใน
4 มุม ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียร พระธาตุแห่งนี้มี
9 ชั้น ชาวบ้านจึงเรียก พระธาตุ 9 ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ
ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์
ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า
ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร
ที่เรียกว่า ตักบาตร 108 โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น
ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า
ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้
เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของ
ตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว
หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง
เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่
ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน
พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของคนอีสาน
ที่เรียกว่า คะลำ ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน
โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ
ชั้นที่ 3 เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทานเรื่องนางผมหอม
เป็นนิทานที่ได้เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณของชาวอีสาน และในชั้นที่สามนี้ได้รวบรวมตาลปัตร
พัดยศ และเครื่องอัฐบริขารของพระภิกษุสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในจังหวัดขอนแก่น
ชั้นที่ 4 เป็นหอปริยัติธรรม ภายในมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมของเก่า
บานประตูหน้าต่าง ภาพพระประจำวันเกิด เทพประจำทิศ
ชั้นที่ 5 เป็นหอพิพิธภัณฑ์ มีบริขารของหลวงปู่พระครูปลัดบุษบา
สุมโน อดีตเจ้าอาวาสวัดบานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธชาดก
ชั้นที่ 6 เป็นหอพระอุปัชฌาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดกเรื่องเวสสันดร
ชั้นที่ 7 เป็นหอพระอรหันต์สาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานเรื่องพระเตมีย์มีใบ้
ชั้นที่ 8 เป็นหอพระธรรม เป็นที่รวบรวมพระธรรม คัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนามีพระไตรปิฏก
ฯลฯ บานประตูแกะสลักรูปพรหม 16 ชั้น
ชั้นที่ 9 เป็นหอพระพุทธ ตรงกลางมีบุษบก เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
บานประตูแกะสลักภาพ 3 มิติ รูปพรหม 16 ชั้น และสามารถชมทัศนียภาพของตัวเมืองขอนแก่นได้ทั้ง
4 ด้าน โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่สวยงาม
ทางวัดได้จัดให้มีมัคคุเทศก์น้อยนำชม อธิบายภาพเขียนต่าง
ๆ รวมทั้งสิ่งของที่จัดแสดงไว้ เพื่อความเข้าใจในเรื่องราวต่าง
ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ภายในรวบรวมพระธรรมคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา แต่ละชั้นโดดเด่นด้วยลวดลายของบานประตูและหน้าต่างแกะสลัก
บอกเล่าเรื่องราวเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ และภาพแกะสลักรูปพรหม
16 ชั้น ชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก
อีกทั้งยังสามารถชมทัศนียภาพของเมืองขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ
คำนมัสการพระมหาธาตุแก่นนคร
: นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) อะหัง
วันทามิ อิธะ ปติฎฐิตา พุทธะธาตุโย ตัสสานุภาเวนะ สัพพัตถะ
สะทา โสตถี ภะวันตุ เม
อานิสงส์ที่ได้รับ : ก้าวหน้ารุ่งเรือง
สักการะพระธาตุ 9 ชั้น ก้าวหน้ารุ่งเรือง เปรียงดังบูชาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
เที่ยวชมตัวเมืองขอนแก่น ซึ่งเปรียบเป็นเมืองหลวงของภาคอีสาน
ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก สบาย สวยงาม ควบคู่กับสิ่งสำคัญมากมาย
เริ่มจาก ศาลเจ้าเทพารักษ์หลักเมือง ซึ่งเป็นศาลหลักเมืองของจังหวัดขอนแก่น
ตั้งอยู่บริเวณ ถนนเทพารักษ์
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่น ที่
ถ.หลังศูนย์ราชการ ชมใบเสมาหินทรายขนาดใหญ่ที่สุดที่ขุดค้นพบและย้ายมาจากเมืองฟ้าแดดสงยาง
จังหวัดกาฬสินธุ์ นอกจากนั้น ยังมีโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ขุดค้นพบมากมาย
ยังมีส่วนจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนอีสานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นอยู่ของผู้คนในภูมิภาคนี้
เข้าชมได้ทุกวัรน เวลา 09.00-16.00 น. เก็บค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 043-246170
โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น สำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย
แต่อยากรู้จักขอนแก่นในทุกแง่ทุกมุม ควรเที่ยวชมโฮงมูนมังเมืองขอนแก่น
ซึ่งอยู่ชั้นล่างของอาคารสวนสาธารณะ 200 ปี บึงแก่นนคร ภายในเป็นห้องนิทรรศการ
จัดแสดงและจำลองเรื่องราวของขอนแก่นไว้ครบถ้วน ตั้งแต่ยุคสร้างบ้านแปงเมือง
จนถึงปัจจุบัน เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-เสาร์ (หยุดวันอาทิตย์และวันนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-17.00 น. เก็บค่าเข้าชม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 043-271173
บึงแก่นนคร เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ
ชมบึงแก่นนครยามเย็น ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ใจกลางเมืองขอนแก่น
นับเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจชั้นดี นอกจากมีบริเวณกว้างขวาง
รื่มรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ และทัศนียภาพงดงามมองเห็นพระธาตุแก่นนครแล้ว
ที่นี่ยังเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ เจ้าเพี้ยเมืองแพน
ผู้ก่อตั้งเมืองขอนแก่นอีกด้วย |
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|
พระมหาธาตุแก่นนคร
: วัดหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
|
|

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |

พระมหาธาตุแก่นนคร |

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |

พระธาตุแก่นนคร ขอนแก่น |

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |

วัดหนองแวง พระธาตุแก่นนคร |