บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ 
• ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์
• ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์
• คำว่า บุรีรัมย์ ซึ่งแปลว่า “เมืองที่น่าพอใจ”
• ดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน เป็นดินแดนที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นมาโดยตลอด จากหลักฐานต่างๆ
๑.จากการศึกษาสำรวจ และศึกษาจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของ รศ. ศรีศักร วัลลิโภดม และ ผศ. ทิวา ศุภจรรยา ปรากฏว่า มีเมืองและชุมชนโบราณเฉพาะในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เกินกว่า ๑๓๐ แห่ง เมืองและชุมชนเหล่านั้นจะมีคูน้ำ คันดินล้อมรอบถึง ๓ ชั้น ก็มีลักษณะของเมืองเป็นรูปทรงกลมเกือบทั้งหมด จากการวิเคราะห์ในชั้นต้นเป็นเมืองและชุมชนที่อายุอยู่ในสมัยทวารวดี
๒.มีการขุดพบพระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวารวดี ที่บ้านเมืองฝ้าย ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอ ลำปลายมาศ และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เป็นพระพุทธรูปนาคปรก สมัยทวารวดีที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบในประเทศไทย
นอกจากนั้นยังพบพระพุทธรูปสมัยทวารวดีอีกหลายองค์ ที่อำเภอพุทไธสง ซึ่งมีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ และพบใบเสมาที่บ้านปะเคียบ อำเภอคูเมือง อันเป็นโบราณวัตถุสมัย ทวารวดี ดังนั้นจึงทำให้สันนิษฐานได้ว่า ดินแดนจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบันเคยเป็นที่ตั้งชุมชนสมัยทวารวดี อย่างน้อยที่สุดก็ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓
๓.จากหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันด้านสถาปัตยกรรม และเครื่องมือเครื่องใช้ เช่นปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำและอื่นๆ อีกมาก เทวรูป พระพุทธรูป ซึ่งมีความงดงามและมีอยู่เป็นจำนวนมากในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และใกล้เคียง นอกจากนั้นยังมีเครื่องปั้นดินเผาชนิดเผาแกร่ง มีเตาเผาขนาดใหญ่ ซึ่งนักโบราณคดีหลายท่านกล่าวว่า ไม่พบในที่อื่นแม้แต่ในเขมรต่ำ (ประเทศกัมพูชา) ศิลปสถาปัตยกรรมเหล่านี้มีอายุอยู่ในสมัยพระนคร
๔.จากการก่อสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานประกอบกิจทางศาสนา และเพื่อเป็นการเสริมสร้างบารมีของกษัตริย์ผู้มีอำนาจ เข้าใจว่าปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ของเมืองใดเมืองหนึ่งในละแวกใกล้เคียงกันเพราะห่างจากเขาลูกนี้ไปทางใต้ ประมาณ ๘ กิโลเมตร มีเมืองโบราณเมืองหนึ่งขนาดไม่ใหญ่โตนักแต่มีระบบการชลประทาน หรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชนเมืองนั้นได้ตลอดทั้งปี
๕. จากศิลาจารึก ซึ่งพบที่ เขาพนมรุ้ง ได้กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์ ที่เป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างและดูแลรักษาปราสาทพนมรุ้ง เป็นคนละองค์กับกษัตริย์ที่ปกครองนครวัด เช่น หิรัณยะวร-มันกษีตินทราทิตย์ วิเรนทรวรมัน และระบุศักราชเป็น พ.ศ. ๑๔๓๓ ก็มี ๑๕๓๒ ก็มี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแถบนี้เป็นอิสระ แต่ยอมรับความเป็นผู้นำของพระนคร
• จากหลักฐานและเหตุผลข้างต้นนี้ พอจะสรุปได้ว่าดินแดนอันเป็นที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ (เขตจังหวัดไม่ใช่ตัวจังหวัด) ปัจจุบันนี้เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาตั้งแต่ สมัยทวารวดีถึงสมัยลพบุรี มีกษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองเป็นอิสระ มีประชาชนอยู่หนาแน่น จนสามารถเกณฑ์แรงงานสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่อย่างปราสาทเขาพนมรุ้ง และแต่ละชุมชนจะต้องมีประชากรหนาแน่นพอที่จะสร้างคูเมืองขนาดใหญ่ได้ เมืองต่างๆ เหล่านี้คงร้างไปตามธรรมชาติ หรือจากภัยต่างๆ เช่น ฝนแล้ง โรคระบาด สงคราม โจรผู้ร้าย เป็นต้น

• สมัยกรุงศรีอยุธยา
• สมัยนี้ดินแดนในแถบเมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง เมืองตลุง (อ.ประโคนชัย ปัจจุบัน) เมืองนางรอง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองตลุงเป็นหัวเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็น หัวเมืองชั้นเอก
• จากประวัติจังหวัดนครราชสีมา รวบรวมโดยสุขุมาลย์เทวีกล่าวว่า ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้น พระองค์ได้แต่งตั้งให้พระยายมราช (สังข์) ครองเมืองนครราชสีมา สมัยนั้นเมืองนครราชสีมาเป็นเมืองใหญ่ มีเมืองขึ้น ๕ เมือง คือ นครจันทึก ชัยภูมิ พิมาย บุรีรัมย์ นางรอง ต่อมาขยายเมืองเพิ่มเติมอีก ๙ เมือง คือ จัตุรัส เกษตรสมบูรณ์ ภูเขียว ชนบท พุทไธสง ประโคนชัย รัตนบุรี และปักธงชัย

• สมัยกรุงธนบุรี
• ใน พ.ศ. ๒๓๒๐ กองทัพกรุงธนบุรีได้ยกไปตีเมืองบุรีรัมย์ และจากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ กล่าวว่าใน พ.ศ. ๒๓๒๑ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก เป็นแม่ทัพทางบก นำทัพสมทบกับกำลังเมืองตะวันออก ให้เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวา-ธิราช เป็นแม่ทัพยกไปเกณฑ์เขมรต่อเรือรบ ยกขึ้นไปทางแม่น้ำโขง เพื่อตีเมืองนครจำปาศักดิ์ ในการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกกองทัพมานี้ ปรากฏประวัติเมืองบุรีรัมย์ว่า ใน พ.ศ. ๒๓๒๑ พระยานางรองเป็นกบฎโดยคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงให้เจ้าพระยาจักรี (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) มาปราบปรามเกลี้ยกล่อมหัวเมืองเหล่านี้ให้เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมาตามเดิม
แต่ตามจดหมายจากประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ นั้นกล่าวว่า เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ครั้งนั้นชื่อ เจ้าไชยกุมารฯ พ่ายแพ้แก่กองทัพกรุงธนบุรี จึงถูกคุมตัวไปยังกรุงธนบุรี แต่ในที่สุดได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปนครจำปาศักดิ์ ในฐานะประเทศราชอีก ในการที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเดินทัพมาถึงจังหวัดบุรีรัมย์เดี๋ยวนี้ หนังสืออ่านเรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ตีพิมพ์ในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ กล่าวว่า พระองค์ได้พบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจรเข้มาก มีชัยภูมิดี แต่สถานที่เดิมมีไข้เจ็บชุกชุม เขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านอยู่โดยรอบ คือ บ้านโคกหัวช้าง บ้านทะมาน๓ (บริเวณสนามบินปัจจุบัน) จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเมืองร้างนั้นที่ข้างต้นแปะใหญ่ (ที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองปัจจุบันนี้) และโปรดเกล้าฯ ให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสง ซึ่งติดตามมาพร้อมด้วยครอบครัวเป็นเจ้าเมืองแล้วชักชวนให้ชาวเขมรป่าดงนี้ มาตั้งหลักแหล่งทำเรือกสวน ไร่ นา ในเมืองร้างจนเป็นปึกแผ่น เมืองนี้จึงใช้นามว่า เมืองแปะ บุตรเจ้าเมืองพุทไธสงสมัยนี้ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี เมื่อพระยานครภักดีวายชนม์ลง บุตรชื่อนายหงส์ เป็นเจ้าเมืองแทน ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐
• นอกจากนี้ปรากฏจากพงศาวดารเมืองสุรินทร์ว่า ในจุลศักราช ๑๑๔๓ ปีฉลู ตรีศก ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๒๔ ทางฝ่ายเขมรเกิดจลาจลโดย เจ้าฟ้าทะละหะ (มู) กับพระยาวิบูลราช (ชู) คิดกบฎจับสมเด็จพระบรมราชาธิราช เจ้ากรุงกัมพูชาไปถ่วงน้ำเสีย ยกนักองค์เองขึ้นเป็นเจ้าแล้วกลับไปฝักใฝ่ทางญวน พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกกองทัพไปปราบปรามโดยเกณฑ์กำลังทางขุขันธ์ สุรินทร์ สังขะ แล้วไปตีเมืองประทายเพ็ชร ประทายมาศ ประทายสมันต์ กำแพงสวาย เสียมราฐ แต่การยกทัพไปปราบปรามยังมิทันราบคาบดี ข้างฝ่ายใน กรุงธนบุรี พระเจ้าแผ่นดินมีสติวิปลาศ ทรงประพฤติการวิปริตต่างๆ บ้านเมืองกำลังระส่ำระสายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทราบข่าวจำเป็นต้องกลับคืนสู่พระนคร บ้านเมืองที่ตีได้ก็กวาดต้อนและ แตกตื่นอพยพมาบ้าง ทั้งพระสุรินทร์ภักดีณรงค์จางวาง ก็ได้มีหนังสือลงไปเกลี้ยกล่อมญาติพี่น้อง ปรายเขมร ทางแขวงเมืองเสียมราฐ สะโตง กำแพงสวาย ประทายเพ็ชร ให้ขึ้นมาทางบน ออกญาแอก กับนางรอง พาบ่าวไพร่ไปตั้งอยู่ที่นางรอง ออกญาหงษ์ ไปตั้งอยู่ที่โคกเมืองแปะ (ที่ตั้งจังหวัดบุรีรัมย์ปัจจุบัน)

• สมัยรัตนโกสินทร์
• สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตามที่ปรากฏในบันทึกภูมิศาสตร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่นายสุข รวบรวมไว้มีความว่า พระนครภักดี (หงส์ ต้นตระกูล หงษ์รุจิโก) บุตรพระยาดร (เอม) เจ้าเมืองพุทไธสมัน (ปัณเทียยมาล) ได้พาครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านตะโก ต่อมาได้สร้างเป็นเมืองขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ เรียกว่า เมืองแปะ เพราะมีต้นแปะอยู่กลางเมือง
• นอกจากนี้บางประวัติยังกล่าวว่าใน พ.ศ. ๒๓๗๐ เจ้าอนุเวียงจันทน์เป็นกบฎ ได้ให้เจ้าราชวงศ์ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนและเสยียงอาหารแถบเมืองพุทไธสง เมืองแปะ เมืองนางรอง พระนครภักดี (หงษ์) นำราษฎรออกต่อสู้ เมื่อสู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองพุทไธสมัน ทหารลาวตามไปทันแล้วจับตัวได้ที่ช่องเสม็ด (ช่องเขาที่จะไปประเทศกัมพูชา) เมื่อถูกจับแล้ว ทหารลาวนำตัวพระยานครภักดี (หงษ์) และครอบครัวที่จับได้ไปให้เจ้าราชวงศ์ แล้วถูกควบคุมตัวไว้ที่ทุ่งเมืองสุวรรณภูมิ ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดซึ่งเจ้าราชวงศ์ตั้งทัพอยู่ที่นั่น แต่พระยานครภักดี (หงส์) และครอบครัวที่ถูกควบคุมตัวได้จับอาวุธต่อสู้เพื่อหนี จึงถูกฆ่าตายหมด
• ประวัติศาสตร์บางเล่มก็เล่ากันว่า ขอมได้ครอบครองเมืองบุรีรัมย์และใช้เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างกัมพูชา กับหัวเมืองขึ้นในภาคอีสานของไทย เช่น พิมาย สกลนคร มีถนนโบราณเหลืออยู่สายหนึ่ง เริ่มจากบ้านละลมพะเนา (บ้านละลมทะนู ปัจจุบัน) ตำบลจันดุม อำเภอประโคนชัย ขึ้นไปอำเภอพุทไธสง มีหลักหินปักเป็นระยะๆ จนถึงเขาพนมรุ้งในสมัยที่ไทยเรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตมายังเมืองบุรีรัมย์ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าได้มาครองเมืองบุรีรัมย์ ทางนครราชสีมา หรือทางหลวงพระบาง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเมืองขึ้นอยู่กับนครราชสีมา มีศูนย์กลางการ ปกครองอยู่ที่เมืองนางรอง (ปัจจุบัน คือ อำเภอนางรอง) และมีเมืองใกล้เคียงหลายหัวเมือง เช่น เมืองพุทไธสมัน (ปัจจุบัน คือ อำเภอพุทไธสง) เมืองตลุง (ปัจจุบัน คือ อำเภอประโคนชัย) ในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๑ เจ้าเมืองนางรอง ได้แข็งเมือง เจ้าพระยาจักรได้ยกมาเกลี้ยกล่อมให้เป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา ตามเดิม เมื่อเสด็จกลับได้ทรงพบเมืองร้างซึ่งมีชัยภูมิดี จึงโปรดให้ตั้งเมืองขึ้นเรียกว่า เมืองแปะ ตามชื่อต้นแปะใหญ่ (ปัจจุบันบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมือง) ทรงแต่งตั้งบุตรเจ้าเมืองพุทไธ-สมัน คือ พระยาภักดี ขึ้นครองเมือง ครั้นถึง สมัยพระยานครภักดี (ทองดี) เป็นเจ้าเมือง ทางราชการได้รวมเมืองนางรอง เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เมืองรัตนบุรี เมืองตลุง และเมืองแปะ เข้ามาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า บริเวณนางรอง และตัวศาลากลางอยู่ที่เมืองปะ ต่อมาอาณาเขตนางรองเปลี่ยนไป คือ เมืองพิมายโอนไปขึ้นอยู่กับนครราชสีมา เมืองรัตนบุรีไปขึ้นอยู่กับสุรินทร์ ซึ่งบริเวณนางรองก็เปลี่ยนเป็นบุรีรัมย์ มี พระรังสรรค์สารกิจ (เลื่อน) เป็นเจ้าเมืองคนแรก (พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๔๔๔)

• บุรีรัมย์ตำน้ำกิน
• “บุรีรัมย์ตำน้ำกิน” เป็นคำพังเพยในอดีตที่แสดงถึงภาวะการขาดแคลนน้ำในบริเวณพื้นที่อันเป็นเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์ในอดีต และแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของชาวบุรีรัมย์สมัยก่อนที่นำเอาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ
กรรมวิธีที่ได้ชื่อว่าเป็นการตำน้ำกินคือการขุดหลุมดินขนาดย่อมขึ้นก่อน แล้วตักเอาโคลนตมในบ่อ สระ หรือบึง มาใส่หลุมที่ขุดไว้และย่ำด้วยเท้าจนเป็นเลนหรือนำมาใส่ครุไม้ไผ่ยาชัน แล้วตำด้วยไม้ให้โคลนเลนมีความหนาแน่นสูงขึ้น ปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอน น้ำจากโคลนเลนจะปรากฏเป็นน้ำใสอยู่ข้างบนตักไปใช้บริโภคได้ แก้ปัญหาการ ขาดแคลนน้ำอันเป็นปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
• “บุรีรัมย์ตำน้ำกิน” เป็นคำพังเพยที่อยู่ในความทรงจำ และความภาคภูมิใจ ในอดีตของชาวบุรีรัมย์ ในฐานะที่เป็นคำพังเพยที่แสดงถึงความยากลำบากและทรหดอดทนของบรรพบุรษผู้บุกเบิกแผ่นดิน ให้ประโยชน์ตกทอดแก่ลูกหลาน เหลน ในปัจจุบัน และในฐานะที่สามารถนำความรู้ เกี่ยวกับธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างเฉลียวฉลาด
• ปัจจุบันภาวะเรื่องน้ำของจังหวัดบุรีรัมย์ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก กรมชลประทานได้สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ เพิ่มขึ้น และสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทก็ได้ปิดกั้นทำนบ เหมืองฝาย และ ขุดลอก ห้วย หนอง คลอง บึง สร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สร้างสระน้ำมาตรฐานขึ้นเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นสร้างถังเก็บน้ำฝน สระน้ำ บ่อน้ำตื้น บ่อบาดาล หอถังจ่ายน้ำโดยสร้างเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ความหมายและภาพพจน์ของคำพังเพยดังกล่าวได้หมดไปแล้วในปัจจุบัน

แผนที่บุรีรัมย์
• ข้อมูลทั่วไป จังหวัดบุรีรัมย์

• บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 21 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ กิ่งอำเภอแคนดง และกิ่งอำเภอบ้านด่าน
• ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18
• หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้
อาณาเขต
• ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม
• ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสระแก้วและเทือกเขาพนมมาลัย ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา
การเดินทาง
• รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงสระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 24 (โชคชัย-เดชอุดม) ผ่านอำเภอหนองกี่ อำเภอนางรอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ตามทางหลวงหมายเลข 218 รวมระยะทาง 410 กิโลเมตร หรือจากนครราชสีมา ตามทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอ
จักราช-ห้วยแถลง-ลำปลายมาศ รวมระยะทาง 384 กิโลเมตร
• รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เดินรถระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์ ทุกวัน มีทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร.936-1880 , 936-0657, 936-0667,936-2852 สถานีขนส่งบุรีรัมย์ โทร. (044) 612534
• รถไฟ มีรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี กรุงเทพฯ-สุรินทร์ และนครราชสีมา-อุบลราชธานี ทั้งที่เป็นขบวนรถด่วน รถเร็ว รถธรรมดา และรถดีเซลราง ผ่านสถานีบุรีรัมย์ทุกขบวน รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ 1690, 223-7010, 223-7020
• เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินไปจังหวัดบุรีรัมย์โดยตรงโดยมีเที่ยวบินไปลงที่สนามบินอำเภอสตึก จากนั้นต่อรถเข้าตัวเมืองบุรีรัมย์เป็นระยะทางอีกประมาณ 40 กิโลเมตร ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1566, 280-0060, 628-2000
การเดินทางภายในจังหวัด
• การเดินทางภายในตัวเมืองสามารถใช้บริการรถสามล้อรับจ้าง ตกลงค่าโดยสารก่อนใช้บริการ ส่วนการเดินทางระหว่างอำเภอมีรถโดยสารจากตัวเมืองบุรีรัมย์ไปยังอำเภอต่าง ๆ
• ระยะทางจากอำเภอเมือง ไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ เป็นดังนี้:-
ห้วยราช 12 กิโลเมตร, กระสัง 32 กิโลเมตร, ลำปลายมาศ 32 กิโลเมตร, คูเมือง 33 กิโลเมตร, สตึก 40 กิโลเมตร, พลับพลาชัย 40 กิโลเมตร,นางรอง 54 กิโลเมตร, หนองหงส์ 60 กิโลเมตร, ประโคนชัย 44 กิโลเมตร, พุทไธสง 64 กิโลเมตร, โนนสุวรรณ 40 กิโลเมตร, บ้านกรวด 66 กิโลเมตร, เฉลิมพระเกียรติ 68 กิโลเมตร, นาโพธิ์ 78 กิโลเมตร, ปะคำ 78 กิโลเมตร,หนองกี่ 83 กิโลเมตร, ละหานทราย 100 กิโลเมตร,โนนดินแดง 92 กิโลเมตร, ชำนิ 70 กิโลเมตร, บ้านใหม่ไชยพจน์ 85 กิโลเมตร, บ้านด่าน 15 กิโลเมตร, แคนดง 56 กิโลเมตร
การเดินทางระหว่างจังหวัด
จากสถานีขนส่งบุรีรัมย์ มีรถโดยสารไปยังจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้
- รถธรรมดาไปนครราชสีมา ร้อยเอ็ด ขอนแก่น สุรินทร์
- รถปรับอากาศไปเชียงใหม่ พัทยา ระยอง จันทบุรี สระแก้ว อุบลราชธานี นครราชสีมา
กรุงเทพฯ
- สอบถามสถานีขนส่งจังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 612534

แผนที่ตัวเมืองบุรีรัมย์
บุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ โรงแรมบุรีรัมย์
เมืองปราสาทหิน ถิ่นภูเขาไฟ ผ้าไหมสวย รวยวัฒนธรรม
•  ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์  
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์อื่นๆ - เช็คที่นั่ง
• โปรแกรมจอยทัวร์
• XIN879-CZ : เส้นทางสายไหม หลานโจว ภูเขาสายรุ้ง จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ถ้ำตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน ภูเขาหิมะเทียนซาน อูรูมูฉี (CZ)
• ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
• ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
• เที่ยวชม ภูเขาหิมะเขาเทียนซาน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของซินเจียง (มรดกโลก)
• ไม่ลงร้านช้อป - อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บิน CHINA SOUTHERN AIRLINE นั่งสบาย
• วันที่ 2 – 9 เมษายน, 9 – 16 เมษายน, 30 เมษายน – 7 พฤษภาคม, 9 – 16 พฤษภาคม, 21 – 28 พฤษภาคม 2568
• UQ-879 : เส้นทางสายไหม ภูเขาสายรุ้ง ถ้ำตุนหวง สกีหิมะ Silk Road ลั่วหยาง หลานโจว จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู อูรูมูฉี (UQ)
• เที่ยวชม เมืองลั่วหยาง หนึ่งในสี่เมืองหลวงเก่าที่ยิ่งใหญ่ของหลายราชวงศ์จีน
• ชมความมหัศจรรย์ของ ภูเขาสายรุ้ง Rainbow Mountain กับธรรมชาติที่สรรค์สร้าง
• ชม ถ้ำตุนหวง ถ้ำหินแกะสลักขนาดใหญ่ที่สุดของจีน ขี่อูฐกลางทะเลทราย
• สนุกสนานกับ สกีหิมะ Silk Road เขาเทียนซาน ลานสกีที่โด่งดังของเมืองอูรูมูฉี
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว – บิน Urumqi Air (UQ) 3 ไฟลท์ เที่ยวแบบไม่เหนื่อย
• วันที่ 14 - 21 มีนาคม 2568 : ราคา 59,995.-บาท
ทัวร์ซีอาน ดอกโบตั๋นบาน
• CGO651-DD : ซีอาน เทศกาลดอกโบตั๋นบาน ลั่วหยาง สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี อุทยานหยุนไถ่ซาน ถ้ำหลงเหมิน เจดีย์ห่านป่าใหญ่ โชว์เส้นทางสายไหม (DD)
• ชม ดอกโบตั๋นบาน เทศกาลดอกโบตั๋นบานเมืองลั่วหยางที่สวยงามที่สุดในประเทศจีน
• ชม สุสานทหารดินเผาจิ๋นซี อันยิ่งใหญ่ และชม ถ้ำผาหลงเหมิน ผาหินแกะสลักมรดกโลก
• ชม ถ้ำน้ำแข็งหมื่นปี คล้ายคริสตัลและชม อุทยานหยุนไถซาน อุทยานสวรรค์ที่สวยงามที่สุด
• ชม โชว์เส้นทางสายไหม โชว์ที่สวยที่สุดของซีอานที่บอกเล่าเรื่องราวเส้นทางการค้าโบราณ
• อาหารดี - โรงแรมที่พักระดับ 5 ดาว – นั่งรถไฟความเร็วสูง (ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ)
• วันที่ 12 - 17 เมษายน 2568
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 11 - 16 เมษายน, 12 - 17 เมษายน 2568
ทัวร์หุบเขาเทวดา
• FD659-CSX : หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ หมู่บ้านโบราณหวงหลิง ล่องเรือชมแสงสีอู้วนี่โจว ภูเขาหลิงซาน ไหว้พระใหญ่ตงหลิน เมืองจิ่งเต๋อเจิ้น พิพิธภัณฑ์เซรามิค (FD)
• เที่ยว หมู่บ้านโบราณหวงหลิง นับเป็นหมู่บ้านสวยที่สุดในเมืองอู้หยวน มณฑลเจียงซี
• พักใน หุบเขาเทวดาวั้งเซียนกู่ ถ่ายรูปสวยๆแสงสีแสงไฟยามค่ำคืน
• นำท่าน ล่องเรือ ชมแสงสียามค่ำคืนอู้วี่โจว พร้อมชมแลนด์มาร์คแห่งใหม่
• อาหารดี - โรงแรมระดับ 5 ดาว – ไม่ลงร้านช้อป - ไม่ต้องลากกระเป๋าขึ้นรถไฟ
• วันที่ 11 - 16 กุมภาพันธ์, 18 - 23 มีนาคม, 22 - 27 เมษายน 2568
• PU-541 : ภูฏาน พาโร ทิมพู ปูนาคา วัดทักซัง พาโรซอง ทิมพูซอง ปูนาคาซอง ซิมโทกาซอง คิชูลาคัง สวนสัตว์ภูฏาน (KB)
• เที่ยวครบ 3 เมืองหลัก เมืองพาโร เมืองทิมพู เมืองปูนาคา
• อาหารดี - โรงแรมที่พักมาตรฐานรัฐบาล
• วันที่ 29 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568
• INDIA877 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี ล่องเรือ สารนาท พารานสี (TG)
• เที่ยวครบ 4 สังเวชนียสถาน พุทธคยา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี
• ชม ล่องเรือแม่น้ำคงคา เที่ยวชม วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
• พักโรงแรม 4 ดาว - มีอาหารไทย - มีพระวิทยากร - บินการบินไทย
• วันที่ 9 - 16 กุมภาพันธ์ 2568
• DEL755-TG : ถ้ำอชันต้า ถ้ำเอลโลร่า ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ท มุมไบ ถ้ำช้ำง วัดพระพิฆเนศ (TG)
• ชม ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด
• ชม ถ้ำช้าง และ วัดพระพิฆเนศเมืองมุมไบ
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล และ อัคราฟอร์ท เมืองอัครา
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 11 - 17 กุมภาพันธ์ 2568 : ราคา 53,995.-บาท
• Pune636-6E : ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า เมืองออรังกาบัด ชมถ้ำพุทธศิลป์อินเดีย ขอพรพระพิฆเนศ เมืองปูเน่ (6E)
• เที่ยว 2 ถ้ำพุทธศิลป์ ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า
• ไหว้พระพิฆเนศ เมืองปูเน่
• พักโรงแรม 4 ดาว - อาหารดี - บินตรงเมืองปูเน่
• วันที่ 12 – 17 กุมภาพันธ์, 2 – 7 เมษายน 2568 : ราคา 34,995.-บาท
• Pune635-6E : ไหว้พระพิฆเนศ 9 วัด เมืองปูเน่ เมืองต้นกำเนิดพระพิฆเนศ (6E)
• เที่ยว 2 ถ้ำพุทธศิลป์ ถ้ำอชันตา ถ้ำเอลโลร่า
• ไหว้พระพิฆเนศ เมืองปูเน่
• พักโรงแรม 4 ดาว - อาหารดี - บินตรงเมืองปูเน่
• วันที่ 15 – 20 มกราคม, 12 – 17 กุมภาพันธ์, 2 – 7 เมษายน 2568 : ราคา 37,995.-บาท
• DEL864-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• อาหารดี - โรงแรมดีระดับ 4-5 ดาว 6 คืน / เดินทางสะดวกสบายโดย Air India (Full-Service)
• วันที่ 6 - 13 เม.ย., 12 - 19 เม.ย., 13 - 20 เมษายน 2568 : ราคา 56,995.-บาท
• DEL189-AI : แคชเมียร์ ดอกทิวลิปบาน ทัชมาฮาล พระราชวังอัคราฟอร์ด ชัยปุระ นครสีชมพู ศรีนาคา พาฮาลแกม Aru Valley สวนชาลิมาร์ กุลมาร์ค โซนามาร์ค ล่องทะเลสาบดาล (AI)
• เที่ยวชม ทัชมาฮาล 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ชม อัคราฟอร์ท Agra Fort พระราชวังเก่าแก่ของราชวงศ์โมกุล
• ชม เมืองชัยปุระ นครสีชมพู เมืองแห่งอารยธรรมราชบุตร
• เที่ยวครบ 4 สถานที่หลัก พาฮาลแกรม, กุลมาร์ค, โซนามาร์ค และ เมืองศรีนาคา
• ชม เทศกาลดอกทิวลิปบาน ปีละครั้ง (เฉพาะเดือนเมษายน)
• วันที่ 6 - 15 เมษายน 2568 : ราคา 66,995.-บาท
 
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม
• ID Line Office : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028