พระราชวังโปตาลา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
วัดโจคัง ทิเบต |
โชว์ทิเบต |
เดินทางจากคุนหมิง
สู่ นครลาซา ทิเบต รถไฟหลังคาโลก ซีหนิง หลานโจว |
|
|
บันทึกการเดินทางเที่ยวทิเบต บนเส้นทางสายหลังคาโลก
ก่อนเดินทางไปทิเบต ผมนั่งดูสารคดี ภาพยนต์ หนังสือต่างๆมากมายกับดินแดนลี้ลับแห่งนี้
มันทำให้ผมอยากไปทิเบตมากขึ้นทุกที ดินแดนที่ขึ้นชื่อว่า "หลังคาโลก"
คนทิเบตเกิดมาอาบน้ำ 3 ครั้งในชีวิต คือตอนเกิด ตอนแต่งงาน
และตอนที่ตาย (แล้วอย่างนี้ฉันจะไปทนกลิ่นทิเบตไหวหรือปล่าว...?????)
มนต์ขลังแห่งดินแดนหลังคาโลก มันเรียกร้องให้ผมต้องเดินทางไปเยี่ยมชมเขตปกครองตนเองทิเบตสักครั้ง.... |
ก่อนเดินทางไปทิเบต
ข้อมูลของนักเดินทางรุ่นก่อนหลายคนที่แนะนำว่าให้บินเข้าไปเฉินตูแล้วต่อเครื่องไปซีหนิง
มณฑลชิงไห่ แล้วไปนั่งรถไฟเข้าทิเบต วิธีนี้จะช่วยลดเรื่องความเสี่ยงต่อการแพ้เรื่องการไปอยู่บนที่สูงได้
แต่ผมเองชักไม่แน่ใจเพราะเส้นทางรถไฟที่ขึ้น-ลงจากระดับ 2,000-5,000
เมตร มันคงไม่น่าจะทำให้เราปรับตัวตัวได้ เพราะยังไงการปรับตัวมันต้องใช้เวลาถึง
24 ชั่วโมง แต่นี่มันทั้งขึ้นสูงและลดต่ำอยู่ตลอดเส้นทาง
ข้อมูลของบางคนก็บอกว่าให้บินเข้าทิเบตแล้วก็เข้าโรงแรมไปนอนพักดีกว่าจะสะดวกดี
(วิธีนี้น่าสนใจ) แต่จะบินทางเส้นไหนดีละ เพราะจากกรุงเทพฯ
มันต้องต่อเครื่อง บินเข้าเฉินตู ปักกิ่ง กวางเจา หรือคุนหมิง
ถ้าดูจากแผนที่และระยะเวลาของเวลาบินแล้ว คุนหมิงเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด
ผมเลือกวิธีนี้จะสะดวกสุด |
สนามบินกงก่า นครลาซา ทิเบต
หลังจากเครื่องบินออกจากคุนหมิงสู่สนามบินจงเตี้ยน (แชงกรีล่า)
บนความสูงประมาณ 3,200 เมตร เครื่องก็แวะให้เราลงไปพักที่สนามบินแชงกรีล่าประมาณ
40 นาที จากนั้นก็บินต่อสู่สนามบินกงก่า นครลาซา ทิเบต
สนามบินกงก่า ทิเบต บนความสูง 3,650 เมตร หลังจากออกสนามบินมารับกระเป๋า
ด้วยความที่รีบร้อนไปหน่อยทำให้ตัวเองรู้สึกเข่าอ่อนทันที
แล้วต้องคอยบอกตัวเองย้ำเตือนตัวเองตลอดว่า ให้เดินช้าๆ หายใจยาวๆ
เพราะร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนน้อยกว่าพื้นราบข้างล่าง |
เข้าโรงแรม
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เมื่อเข้าโรงแรม พักผ่อน ก็จะนอนหลับพักผ่อน
จากประสบการณ์ของตัวเองที่เคยไปทิเบตมาหลายครั้ง อยากบอกว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ผิดนะครับ
เพราะเวลานอนหลับ ร่างกายทำงานน้อย อ๊อกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็ยิ่งน้อยไปอีก
ทางที่ดีเวลาเข้าโรงแรมก็ควรนั่งพักผ่อน นอนดูทีวี เดินเล่น
จิ๊บน้ำบ่อยๆ หายใจลึกๆ แล้วก็หาผลไม้มาทานเยอะๆและของขบเคี้ยวแบบหวานๆ
อย่างพวกช้อคโกแลท จะช่วยให้ร่างการได้ปรับตัวได้ดีขึ้น |
อาการแพ้ที่สูง (Altitude Sickness)
อาการแพ้ที่สูงส่วนใหญ่จะรู้สึกมึนงง เวียนหัวและอ่อนเพลีย
ทำให้อยากนอนอย่างเดียว ตรงนี้สำคัญมาก ห้ามทานยาที่ทำให้ง่วงนอนนะครับ
อย่างพวก ทิฟฟี่ ดีคอลเจน หรือยาแก้แพ้แก้ไข้ต่างๆ
ยาที่ใช้บนที่สูงที่นิยมใช้กัน
Diamox ยานี้ช่วยเพิ่มการหายใจ
ปวดศีรษะ มึนงง ยานี้ควรทานก่อนขึ้นที่สูงประมาณ 24 ชั่วโมง
และควรทานต่อเนื่องขณะอยู่บนที่สูง วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร
เช้า-เย็น (ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด) ยานี้ห้ามคนที่แพ้ซัลฟาทานนะครับ
ยาหงจิ่งเทียน อันนี้เป็นยาจีน
มีชนิดเม็ดและน้ำ เป็นยาที่นิยมใช้กันบนที่สูงอีกชนิดหนึ่งและได้ผลค่อนข้างดีด้วย
อ๊อกซิเจนกระป๋อง นักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมชอบซื้ออ๊อกซิเจนกระป๋อง
ตรงนี้ผมไม่ว่าไรครับ ซื้อไว้สัก 1 กระป๋องเอามานอนกอดเล่น
แต่ไม่ใช่ว่าเอามาดมตลอดเวลานะครับ เพราะถ้าเอามาดมอยู่บ่อยๆ
มันจะทำให้ร่างกายจะปรับสภาพบนที่สูงไม่ได้ เราก็จะขาดอ๊อกซิเจนไม่ได้
มันจะมีปัญหาตอนเวลานอนนะ เพราะจะทำให้เรานอนไม่หลับ |
อาการแพ้ที่สูงไม่หาย...ทำไงดี ???
หากว่าทดลองทำทุกวิธีแล้วมันยังไม่หาย
ผมขอแนะนำว่าให้ฉีดยาโดยหมอจีนเลยครับ เพราะโรงแรมที่ทิเบตส่วนใหญ่จะมีหมอมาประจำอยู่เกือบทุกโรงแรม
การตรวจของหมอจีนเขาตรวจให้ฟรี แต่ค่าฉีดยาเข็มละ 2,500-3,000.-บาท
ฉีดแค่เข็มเดียวก็หายเลย มีนักท่องเที่ยวชาวจีน ชาวฝรั่งมากมายที่ฉีดยาแพ้ที่สูง
(สำหรับคนไทยส่วนใหญ่กลัวครับ) แต่เห็นคนที่แพ้ที่สูงมากๆแล้วไปฉีดยา
ก็หายแบบเป็นปกติ ตรงนี้ผมเห็นมาเยอะแล้ว การจะฉีดยาแพ้ที่สูงว่าเราควรจะฉีดหรือไม่
หมอเขาจะตรวจและบอกอาการเราได้เลย ถ้าอยากได้ราคาถูกหน่อยก็ไปให้หมอที่โรงพยาบาลฉีดครับ |
เดินทางสู่ทิเบต |
ท้องทุ่งแห่งทิเบต |
ท้องทุ่งแห่งทิเบต |
แม่น้ำลาซา ทิเบต |
เตรียมตัวเดินทางไปเที่ยวทัวร์ทิเบต...
1.สำหรับการวางแผนแต่เตรียมตัวเดินทางไปทิเบต ก่อนเดินทางสัก
1 เดือน ให้ออกกำลังกายเพื่อฟอร์มให้ปอดได้ขยายตัวแล้วก็ทานอาหารประเภทผัก
ผลไม้เยอะๆหน่อย เพื่อไม่ให้เลือดมันข้นมาก เลือดจะหมุนเวียนตลอด
แต่ก่อนเดินทางสัก 7 วัน ก็พักผ่อนแบบธรรมดาได้เลยครับ
2.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง อย่าให้เจ็บป่วย เป็นไข้ก่อนวันเดินทาง |
มีใครบ้างที่ควรปรึกษาหมอก่อนเดินทาง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ พายพาสหัวใจ โรคหอบหืด โรคปอดและโรคความดัน
กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อนไปเที่ยวทิเบตนะครับ |
พร้อมเดินทางไปนครลาซา นั่งรถไฟสายหลังคาโลกกันครับ
สำหรับรูปและคลิปในทริปนี้
ผมเลือกที่จะเดินทางเข้าทางคุนหมิง แล้วก็ต่อเครื่องไปนครลาซา
ทิเบต จากนั้นก็เที่ยวอยู่ในทิเบต
ส่วนขากลับก็นั่งรถไฟสายหลังคาโลก
ลงมาเมืองซีหนิง เที่ยวทะเลสาบชิงไห่ แล้วก็เดินทางเข้าสู่มณฑลกานซู่
มาขึ้นเครื่องที่เมืองหลานโจว กลับมาที่คุนหมิง ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศไทย...(Mr.โจ้
พรชนก ศักดิ์ธานี) |
|
ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa) เป็นเมืองหลวงที่สูงที่สุดในโลก
เขตปกครองตนเองทิเบต เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน
มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชาวทิเบตนับถือศาสนาพุทธนิกายตันตระยาน
คล้ายกับประเทศภูฏาน
ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก
จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก
และมีความกดอากาศและอ๊อกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน
และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย
พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนที่จีนจะยึดครองทิเบต
ทิเบตมีสามเณรมากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด
จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) |
พระราชวังโปตาลา
นครลาซา พระราชวังศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนหลังคาโลก |
|
|
พระราชวังโปตาลา
พระราชวังศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนหลังคาโลก ทิเบต |
|
|
พระราชวังโปตาลา
พระราชวังโปตาลา ตั้งอยู่บนยอดเขาแดง บนความสูงประมาณ
300 เมตร พระราชวังโปตาลาแห่งนี้มีประวัติอันยาวนานมากว่า
1,300 ปี ที่มีความสวยงามและอลังการมาก มีห้องมากกว่า 1,000
ห้อง ซึ่งนับว่าเป็นศิลปสุดยอดฝีมือที่สวยงามที่สุดของทิเบต
ภายในพระราชวังโปตาลานี้มีอาคาร 13 ชั้น สูงประมาณ 400 เมตร
พระราชวังโปตาลา ถือว่าเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของการมาเที่ยวทัวร์ทิเบต |
พระราชวังโปตาลา ทิเบต |
พระราชวังโปตาลา ทิเบต |
พระราชวังโปตาลา ทิเบต |
พระราชวังโปตาลา |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา
มรดกโลกแห่งทิเบต |
|
|
คลิปตำหนักนอร์บุหลินฆา
มรดกโลกแห่งทิเบต |
|
|
ตำหนักนอร์บุหลินฆา
ตำหนักนอร์บุหลินฆา หรือ หลัวปู้หลินข่า ตั้งอยู่ชานเมืองด้านตะวันตกของกรุงลาซา
คำว่า นอร์บุหลินฆา เป็นภาษาทิเบต แปลว่า สวนป่าที่วิเศษ หรือสวนป่ามหาสมบัติ
ตำหนักนอร์บุหลินฆา สร้างใน ค.ศ.1750 โดยดาไลลามะ ที่ 7
เพื่อเป็นที่พักในยามชรา เนื่องจากท่านสุขภาพไม่ดี และมีโรคบางอย่าง
เลยมีผู้แนะนำให้ท่านมาอาบน้ำแร่ที่บริเวณสวนแห่งนี้ |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
ตำหนักนอร์บุหลินฆา ทิเบต |
วัดเซร่า
โรงเรียนสอนลามะทิเบต |
|
|
คลิปวัดเซร่า
โรงเรียนสอนลามะทิเบต |
|
|
วัดเซรา ทิเบต
วัดเซรา ภาษาจีนเรียก เซ่อลาซื่อ
ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของกรุงลาซา เป็นโรงเรียนสอนลามะแห่งทิเบต |
ท่องเที่ยวทิเบต วัดเซร่า |
กงล้อมนตรา วัดเซร่า |
สามเณรที่วัดเซร่า |
ศิลปะ วัดเซร่า |
วัดโจคัง
วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในทิเบต |
|
|
คลิปวัดโจคัง
วัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในทิเบต |
|
|
วัดโจคัง (Jokhang)
วัดโจคัง (Jokhang) หรือชาวจีนเรียกว่า
ต้าเจ้าซื่อ (Dazhao Si ) เป็นวัดที่มีอายุมากกว่า
1,400 ปี สร้างขึ้นตั้งแต่ ประมาณ ปี ค.ศ. 639-647 ชาวทิเบตนับถือว่าวัดแห่งนี้เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด |
หน้าวัดโจคัง ทิเบต |
หน้าวัดโจคัง ทิเบต |
วัดโจคัง วัดทิเบต |
วัดโจคัง วัดทิเบต |
วัดโจคัง ทิเบต |
วัดโจคัง วัดทิเบต |
วัดโจคัง ทิเบต |
วัดโจคัง วัดทิเบต |
ตลาดแปดเหลี่ยม
ศูนย์รวมของฝากทิเบต |
|
|
ตลาดแปดเหลี่ยม
ตลาดแปดเหลี่ยม หรือ ถนนแปดเหลี่ยม ชาวทิเบตมีความเชื่อว่า
ถนนแปดเหลี่ยมนี้เป็นเส้นทางจงกรม จากชาตินี้สู่ชาติหน้าได้
มีคำกล่าวไว้ว่า หากท่านเดินทางมาทิเบตไม่ได้มาที่นี่ เปรียบเหมือนท่านไม่ได้ย่างสู่ทิเบต
ถนนแปดเหลี่ยม ยังเป็นแหล่งช้อปปิ้งสินค้าพื้นเมือง ของที่ระลึกมากมาย
รวมไปถึงงานฝีมือต่าง ๆ มากมายที่ชาวทิเบตนำมาวางขายรายรอบถนนสายนี้ |
คลิปตลาดแปดเหลี่ยม
ศูนย์รวมของฝากทิเบต |
|
|
ของฝากทิเบต |
ของฝากทิเบต |
ตลาดแปดเหลี่ยม ทิเบต |
ตลาดแปดเหลี่ยม ทิเบต |
คลิปทะเลสาบ
Yamdrok ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์แห่งทิเบต |
|
|
ทะเลสาบ
Yamdrok ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์แห่งทิเบต |
|
|
ทะเลสาบสรวงสวรรค์ |
ทะเลสาบสรวงสวรรค์ |
ทะเลสาบ Yamdrok Tso |
ทะเลสาบทิเบต |
ทะเลสาบทิเบต |
ทะเลสาบ Yamdrok Tso |
ทะเลสาบทิเบต |
ทะเลสาบ Yamdrok Tso |
คลิปโชว์ทิเบต
นครลาซา สีสันแห่งหลังคาโลก |
|
|
โชว์ทิเบต
นครลาซา สีสันแห่งหลังคาโลก |
|
|
โชว์ทิเบต
โชว์ทิเบต เป็นการการแสดงการฟ้อนรำของชนกลุ่มน้อยชาวทิเบตและชาวเจียง
เป็นการเล่าเรื่องราวของวิถีชีวิต วัฒนธรรม การละเล่นและประเพณีต่างๆ
ให้ท่านได้ทราบถึงความเป็นมาในการสร้างรัฐสร้างชาติ จนมาหล่อหลอมรวมกันเป็นชาติจีนในที่สุด
โชว์ทิเบตที่นครลาซา มีการแต่งชุดเสื้อผ้า ฉากและการจัดแสงสีไว้อย่างสวยสดงดงาม
สำหรับใครที่ไปเที่ยวนครลาซาก็ไม่น่าพราดกับการแสดงชุดนี้นะครับ... |
โชว์ทิเบต |
โชว์ทิเบต |
โชว์ทิเบต |
โชว์ทิเบต |
คลิปพิธีศพทิเบต
ฝังศพแบบทิเบต |
|
|
ทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต
ทางรถไฟสายชิงไห่-ทิเบต เป็นเส้นทางรถไฟบนที่ราบสูงที่สูงที่สุดและยาวที่สุดของโลก
ทดลองใช้จริงเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 เริ่มต้นเดินทางจากเมืองซีหนิง
เมืองเอกของมณฑลชิงไห่ ถึงปลายทางเมืองลาซา เมืองเอกของเขตปกครองตนเองทิเบต
ใช้เวลาเดินทางประมาณ 24 ชั่วโมง บนเส้นทางมีสถานีรถไฟสูงที่สุดในโลกคือ
ถังกู่ลา-ซาน จุดสูงสุดที่ทางรถไฟสายนี้ สูงจากระดับน้ำทะเล
5,072 เมตร |
คลิปรถไฟทิเบต
สายหลังคาโลก |
|
|
คลิปรถไฟทิเบต
สายหลังคาโลก 2 |
|
|
สถานีรถไฟนครลาซา ทิเบต |
วิวทิวทัศน์ระหว่างทาง |
วิวทิวทัศน์ระหว่างทาง |
วิวทิวทัศน์ระหว่างทาง |
ตู้นอนวีไอพี รถไฟทิเบต |
ตู้แบบนั่ง |
ตู้อาหารบนรถไฟ |
วิวทิวทัศน์ระหว่างทาง |
คลิปเขาสุริยันจันทรา |
|
|
เขาสุริยันจันทรา
เขาสุริยันจันทรา (เนินเขาสีแดง)
หรือ ยื่อเอวี้ยซาน บริเวณที่เรียกว่า ยื่อเอวี้ยซานนั้น
อยู่ห่างจากเมืองซีหนิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอหวงเหวียนเสี้ยน
ตามตำนานเล่าว่า เมื่อองค์หญิงเหวินเฉิง องค์หญิงแห่งราชวงศ์ถัง
ออกเดินทางจากเมืองฉางอานในเดือนอ้าย ตามปฏิทินจันทรคติของจีน
ค.ศ. 641 องค์หญิง เพื่อเป็นฑูตไมตรีระหว่างราชวงศ์ถังกับราชวงศ์ถู่โปของทิเบต
และคณะได้ผ่านเมืองเสียหยาง หล่งซี หลินเซี่ย แล้วข้ามลำน้ำหวงเหอ
เข้าสู่ชิงไห่ มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก จนถึงชื่อหลิ่งหรือยื่อเอวี้ยซาน
ได้หยุดพักและพบปะกับองค์หญิงหงฮว่า ที่เป็นเจ้าสาวการเมือง
ถูกส่งให้แต่งงานกับอ๋องของเผ่าถู่อวี้หุน |
เขาสุริยันจันทรา |
เขาสุริยันจันทรา |
เขาสุริยันจันทรา |
อนุสาวรีย์เจ้าหญิงเหวินเฉิง |
ทะเลสาบชิงไห่ (Qinghai Lake)
ทะเลสาบชิงไห่ (Qinghai Lake) หรือ ชิงไห่หู เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดของจีน
มีพื้นที่ 4,583 ตรกม. มีระยะทางห่างจากเมืองซีหนิง 150 กิโลเมตร
โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 4,500 ตารางกิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล
3,196 เมตร มีความยาวจากตะวันออกถึงตะวันตก 106 กิโลเมตร และมีความกว้างจากใต้ถึงเหนือ
63 กิโลเมตร น้ำลึกโดยเฉลี่ย 19 เมตร และลึกที่สุด 39 เมตร
หากเดินรอบทะเลสาบจะมีระยะทางถึง 360 กิโลเมตร |
ทะเลสาบชิงไห่ |
ทะเลสาบชิงไห่ |
ทะเลสาบชิงไห่ |
ทะเลสาบชิงไห่ |
มณฑลกานซู่
มณฑลกานซู่ ตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน
ตอนบนของแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง) มีเมืองหลวงชื่อ หลานโจว
กังหันวิดน้ำโบราณ
กังหันวิดน้ำโบราณ เป็นของชาวลุ่มน้ำหวงเหอสมัยโบราณ
ในอดีตกาล สองฟากฝั่งของหวงเหอเขตเมืองหลานโจว มีกังหันวิดน้ำภูมิปัญญาชาวบ้าน
ตั้งเรียงรายอยู่ถึง 252 กังหัน จนหลานโจวได้สมญานาม เมืองหลวงแห่งกังหันน้ำของจีน
ใกล้ๆ กันยังมีโม่หินสำหรับบดเมล็ดพืชโดยใช้พลังน้ำให้ชม และยังมีชาวบ้าน
นำ แพหนังแกะ มาให้นักท่องเที่ยวทดลองนั่งข้ามฝั่งหวงเหอแบบคนโบราณอีกด้วย
|
เมืองหลานโจว มณฑลกานซู่ |
เมืองหลานโจว มณฑลกานซู่ |
กังหันวิดน้ำโบราณ สุ่ยเฌอ |
พระถังซำจั๋ง เมืองหลานโจว |
คลิปสะพานข้ามแม่น้ำเหลือง |
|
|
สะพานแห่งแรกแม่น้ำเหลือง หรือ สะพานเหล็กจงซาน
สะพานแห่งแรกแม่น้ำเหลือง หรือ สะพานเหล็กจงซาน หวงเหอตี้อิ๊เฉียว
แปลว่า สะพานแห่งแรกแม่น้ำเหลือง เป็นสะพานข้ามแม่น้ำหวงเหอ
แรกสร้างตั้งแต่ราชวงศ์หมิ ปี ค.ศ. 1372 โดยซ่งกั๋วกง(เทียบตำแหน่งเจ้าพระยา)
นามเฝิงเสิ้ง อยู่ห่างจากตัวเมืองหลานโจวสมัยนั้น ไปทางทิศตะวันตก
เป็นสะพานแบบพาดบนเรือที่ร้อยติดกันด้วยเชือกและโซ่ หรือสะพานแบบลอยน้ำนั่นเอง
ต่อมาในปี ค.ศ. 1376 เว่ยกั๋วกง นามเติ้งอวี้ ได้ย้ายตัวสะพานออกไปอีก
กลายเป็นห่างจากตัวเมืองหลานโจวไปทางทิศตะวันตก จึงตั้งชื่อสะพานว่า
เจิ้นเหวี่ยนเฉียว
ครั้นถึงปี ค.ศ. 1385 แม่ทัพแห่งเมืองหลานโจวนามว่า หยางเหลียน
ได้ย้ายสะพานลอยน้ำ มาอยู่ในที่ตั้งสะพานปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบัน
เวลานี้ ก็ยังเหลือเสาสะพานลอยน้ำเหล็กหล่อยาว 5.8 เมตร จำนวน
3 ต้น น้ำหนัก 10 ตันเป็นอนุสรณ์
ปี ค.ศ. 1907 รัฐบาลชิงในสมัยนั้น พร้อมกับความเห็นชอบของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ประจำท้องถิ่น
และความช่วยเหลือของพ่อค้าชาวเยอรมัน ทั้งยังได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากเยอรมันและอเมริกา
รัฐบาลชิงได้ใช้งบประมาณเป็นเงินกว่าสามแสนตำลึง สร้างสะพานเหล็กเส้นแรกของแม่น้ำเหลืองหรือหวงเหอ
โดยสะพานมีความยาว 233.33 เมตร กว้าง 7.5 เมตร
ต่อมาในปี ค.ศ. 1942 เปลี่ยนชื่อสะพาน เป็นสะพาน จงซานเฉียว
(สะพานเหล็กดร.ซุนยัดตเซ็น) เพื่อเป็นการระลึกถึ ง ดร.ซุนยัตเซ็น
บิดาแห่งจีนใหม่ |
สะพานแรกแม่น้ำเหลือง |
แม่น้ำเหลือง เมืองหลานโจว |
เมืองหลานโจว มณฑลกานซู่ |
อนุสาวรีย์มารดาแม่น้ำเหลือง |
|