|
|
|
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
•
พระราชวังหลวงกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม (Gu Gong or
Imperial Palace or Forbidden City)
• ปีที่สร้าง : ปีค.ศ. 1406
• สร้างโดย : จักรพรรดิหย่งเล่อ
• สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ใจกลางเมืองปักกิ่ง
• พระราชวังหลวงกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม (Gu Gong or
Imperial Palace or Forbidden City)
• ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ
ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร
มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม
มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง
9,999 ห้อง
• สร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ.
1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น
24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม
มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด
รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วย
• ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
วังหน้าและวังใน
- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ
รับเข้าเฝ้า
- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น
• วังหน้ามี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง
ดังนี้
1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง
ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว
แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ
กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร
พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ)
ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง)
ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก
ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)
2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่
2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม
ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน
รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน
ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน
3.ตำหนักเป่าเหอ เป็นตำหนักหลังที่
3 อยู่หลังตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักใหญ่ มีพื้นที่เท่ากับตำหนักไถ่เหอ
ภายในมีบัลลังก์ก่อสร้างโดยไม่มีเสาแถวที่ 2 ทำให้ห้องโถงด้านหน้าท้องพระโรงกว้างขึ้น
ไม่บังสายพระเนตรพระองค์ฮ่องเต้ ใช้เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองบรรดาหัวหน้าชนเผ่ากลุ่มน้อยต่างๆทุกปี
ในวันที่ 30 เดือน 12 (วันสิ้นปีของจีน) พิธีอภิเษกสมรสของฮ่องเต้หรือโอรสธิดา
มาถึงในสมัยพระเจ้าเฉียนหลงใช้ที่นี่เป็นสถานที่สอบจอหงวน
องค์ฮ่องเต้เป็นผู้ออกข้อสอบและคุมสอบด้วยพระองค์เอง โดยสอบในห้องท้องพระโรงแห่งนี้เอง
ผู้ที่สอบได้ที่ 1 มีเพียงคนเดียวเท่านั้น จะได้เป็น “จอหงวน”
และเป็นลูกเขยของฮ่องเต้
ผู้ที่สอบได้ที่ 2 อาจมีหลายคน จะได้เป็น “ท่านฮั้ว” เป็นที่ปรึกษาประจำองค์ฮ่องเต้
ผู้ที่สอบได้ที่ 3 อีกหลายคน จะเรียกว่า “ป่างเหี่ยน” ดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยฮ่องเต้ |
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
•
วังใน เป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย
ทาสเพศชายที่จะเข้ามารับใช้ในวังได้นั้นต้องผ่านขั้นตอนการตอนให้เป็นขันทีเสียก่อน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเรื่องเสื่อมเสียกับมเหสีและเหล่านางสนมใน
ขันทีมาจากชนชั้นยากจนเสียเป็นส่วนใหญ่ พวกพ่อค้าทาสจะลักพาตัวมาตั้งแต่เด็ก
แล้วส่งไปให้คนของตระกูลไป่ในกรุงปักกิ่งทำการตอน ตอนเสร็จแล้วก็มีการออกใบรับรองส่งให้ราชสำนัก
ขันทีที่ฉลาดมีการศึกษาอาจได้เป็นกุนซือหรืออาจารย์ในวังหลวง
แต่ขันทีส่วนใหญ่ต้องทำงานหนักในโรงครัวและในสวนไปตลอดชีวิต
ทำผิดเล็กน้อยก็จะถูกโบยถูกเฆี่ยนตี ทำผิดมากโชคไม่ดีก็อาจถูกตัดหัวได้ง่าย
• การได้เข้ามารับใช้ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์ ทำให้ขันทีบางคนสามารถกุมอำนาจเอาไว้ได้
สร้างความร่ำรวยให้ตนเองใช้ตำแหน่งใหญ่โตสร้างอิทธิพล แสวงหาทรัพย์สินเงินทองในทางมิชอบ
จนสามารถซื้อบ้าน ที่ดิน ทำธุรกิจการค้านอกวังหลวง พอเกษียณแล้วจะย้ายออกไปอยู่ตามวัดที่ตนเองเคยให้การอุปถัมภ์ด้วยการบริจาคเงินจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ
ในยุคราชวงศ์หมิงมีขันทีอยู่ในพระราชสำนักถึง 20,000 คน
แต่ภายหลังก็ค่อยๆลดจำนวนลงจนเหลือเพียง 1,500 คน ในรัชกาลสุดท้ายก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะล่มสลายเมื่อปี
ค.ศ. 1991
• การตอนหรือการตัดอวัยวะเพศทิ้งก็ใช่จะให้ผลเป็นที่น่าเชื่อถือได้เสมอไป
ข่าวลือเรื่องการลักลอบมีความสัมพันธ์กันระหว่างขันทีกับนางกำนัลก็มีให้ได้ยินอยู่บ่อยครั้ง
คนทั่วไปมองขันทีว่าเป็นพวกน่าสมเพช มักถูกดูหมิ่นอยู่เสมอ
เพราะ การเป็นคนที่ไม่สามารถเพื่อมีบุตรสืบสกุลได้นั้นย่อมถูกเหยียดหยามเป็นธรรมดา
• ดังนั้นพวกขันทีที่มีอำนาจมากๆ ก็จะซื้อบ้านเอาไว้นอกพระราชวังหลวง
ทำบันทึกอ้างอิงถึงการสืบทอดวงศ์ตระกูลลงมาเป็นรุ่นๆ โดยมีการซื้อสตรีและทารกมาเป็นภรรยาและบุตร
ซื้อบ่าวทาสหรือแม้กระทั่งนางบำเรอหลายๆคนมาไว้ข้างกาย
• เขตพระราชวังชั้นใน(วังใน) ประกอบด้วยตำหนักเฉียนชิงกง
เจียวไถ่เตี่ยน คุนหมิงกง ตำหนักตะวันออกและตะวันตก เป็นสถานที่ที่ฮ่องเต้ดำเนินการประจำวันทางการเมือง
อาทิ ตรวจเอกสาร ลงพระนามอนุมัติ ตัดสินความ และเป็นสถานที่พักอาศัยของพระราชวงศ์
พระราชินี พระสนม พระโอรส และพระธิดา รวมไปถึงมีพระราชอุทยานของฮ่องเต้
เขตวังในจะมีพระตำหนักที่มีความสำคัญอยู่ 2 หลังคือ
• เฉียนชิงกง เป็นตำหนักด้านหน้าของวังใน
เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ เพื่อตรวจเอกสารลงพระนามอนุมัติราชการแผ่นดินประจำวัน
ต่อมาในปี ค.ศ. 1644 ทหารและชาวนาของหลี่จื้อเฉินทำการปฏิวัติ
นำกำลังบุกเข้าปักกิ่ง ซึ่งตรงกับรัชกาลฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์หมิง
พระเจ้าจูหยิวเจี่ยนชักกระบี่ฟันพระธิดาของพระองค์จนขาดสะพายแล่ง
แล้วทรงหนีออกจากพระราชวังไปแขวนคอตายที่ต้นสน ณ ภูเขาเหมยซาน(ปัจจุบันเรียกว่า
ภูเขาจิ่งซาน) ซึ่งอยู่ด้านหลังพระราชวังหลวง
• หย่างซินเตี้ยน เป็นตำหนักอยู่บริเวณด้านตะวันตกเฉียงใต้ของวังใน
เป็นที่ประทับของฮ่องเต้ นัดพบปะพูดคุยกับพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
ทั้งเรื่องการเมืองและการทหารในรัชสมัยพระเจ้าถงจื้อและกวางซี่ใช้เป็นสถานที่ออกว่าราชการหลังม่านของพระนางซูสีไทเฮา
รวมทั้งในสมัยฮ่องเต้องค์สุดท้าย เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัดเซ็นทำการปฏิวัติ
จักพรรดิปูยีก็ทรงสละราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1962 ณ ตำหนักแห่งนี้
• สำหรับประตูทางเข้าด้านหน้าของพระราชวังหลวงหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน
ทางด้านทิศใต้ของพระราชวังจะมีซุ้มประตูไถ่เหอ แนวกำแพงวังประกอบด้วยประตูใหญ่อยู่ตรงกลาง
ประตูเล็ก 2 ข้าง รวม 3 ประตู ประตูมีความลึกถึง 28 เมตร
ประตูใหญ่ตรงกลางเป็นประตูเข้าเฉพาะฮ่องเต้เพียงพระองค์เดียว
คนอื่นห้ามเดินออกเด็ดขาด ใครฝ่าฝืนเดินออกจะถูกประหารชีวิต
คนอื่นเดินออกได้เพียงประตูเดียวเท่านั้นคือประตูด้านทิศเหนือชื่อ
“เสินอู่เหมิน” (ประตูหลัง)
• ประตูใหญ่ตรงกลาง ในชั่วชีวิตของพระราชินีมีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่จะได้เดินผ่านเข้าประตูนี้คือ
วันอภิเษกสมรส นอกนั้นขุนนางและพระราชวงศ์ทุกพระองค์จะเดินเข้าพระราชวังทางประตูเล็กทั้งสองข้างเท่านั้น |
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
พระราชวังต้องห้ามกู้กง
แหล่งท่องเที่ยวปักกิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
•
จัตุรัสเทียนอันเหมิน |
จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ปักกิ่ง |
|
•
จัตุรัสเทียนอันเหมิน (Tian an Men or Gate of Heavenly
Peace)
• ที่ตั้ง
: ตั้งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง
เป็นจัตุรัสที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเนื้อที่ 2.5 ตารางกิโลเมตร
หรือ 275 ไร่ สามารถบรรจุคนได้ถึง 2 ล้านคน เป็นสถานที่จัดงานฉลองวันชาติ
( 1 ตุลาคมของทุกปี ) มีถนนรอบลานจัตุรัส 12 เลนทั้งสี่ทิศ
ตรงใจกลางจัตุรัสมีอนุสาวรีย์วีรชน ด้านทิศใต้เป็นหอระลึกถึงประธานเหมาเจ๋อตุง
( บรรจุศพของท่านไว้ในโลงแก้ว ) ทางใต้ลงมาจากหอระลึกคือ
ซุ้มประตูเฉียนเหมิน(ประตูหน้า) ด้านตะวันตกเป็นอาคารมหาศาลาประชาคม
ที่ประชุมรัฐสภาขนาดมหึมา มีพื้นที่ถึง 172,000 ตารางเมตร
สร้างในปี ค.ศ. 1959 ใช้เวลาสร้างเพียง 10 เดือน มีที่นั่งประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง
10,300 ที่นั่ง ความยาว 76 เมตร กว้าง 60 เมตร ตรงกลางไม่มีเสาค้ำ
เป็นหอประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
• ด้านเหนือของหอประชุมเป็นห้องจัดเลี้ยง บรรจุได้ถึง 5,000
ที่นั่ง ห้องยาว 90 เมตร กว้าง 55 เมตร ตรงกลางไม่มีเสาค้ำ
เป็นห้องจัดเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุด
• ส่วนด้านตะวันออกของจัตุรัสเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และการปฏิวัติ
สร้างในปี ค.ศ.1959 เก็บรักษาและแสดงโบราณวัตถุกว่า 900
ชิ้น แสดงผลงานค้นพบทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี เป็นทั้งสถาบันวิจัย
ที่มีคณะนักวิทยาศาสตร์และนักโบราณคดีมาประจำ
• สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นจุดเด่นที่น่าสนใจสำหรับการถ่ายรูปมากที่สุดก็คือ
“พลับพลาเทียนอันเหมิน” เดิมเป็นซุ้มประตูหน้าของประตูวังภายในพระราชวังโบราณ
สร้างในปี ค.ศ.1417 สมัยราชวงศ์หมิง โดยพระเจ้าหย่งเล่อ
ซุ้มกำแพงสูง 10 เมตร บนผนังสองข้างมีคำขวัญเขียนว่า “ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนจงเจริญ”
ด้านหนึ่ง และ “ความสามัคคี ประชาชนทั่วโลกจงเจริญ” มีรูปประธานเหมาเจ๋อตุงขนาดใหญ่ติดอยู่ตรงกลางระหว่างป้ายคำขวัญบนซุ้มกำแพงเป็นพลับพลามีหลังคาซ้อนกัน
2 ชั้น เชิงงอนมีภาพบนคานมีแกะสลักบนชื่อ หลังคาสีเหลือง
กำแพงทาสีเลือดหมู ด้านหน้ากำแพงเป็นลำธารน้ำทองคำสะท้อนแสงระยิบระยับ
มีสะพานทองคำสร้างด้วยหินหยกขาวแกะสลักสวยงาม ด้านหน้าสะพานมีสิงโต
2 ตัว ตั้งอยู่สองข้าง
• จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสัยลักษณ์ของประเทศจีน เป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดินจีน
เหตุการณ์ใหญ่ๆทางการเมืองเกิดขึ้นที่นี่ อาทิ การเคลื่อนไหวของนักศึกษา
4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 การเดินขบวนรักชาติ 9 ธันวาคม ค.ศ.
1935 การประกาศปฏิรูปสาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ตุลาคม ค.ศ.
1949 การจัดงานระลึกถึงโจวเอินไหล 5 มิถุนายน ค.ศ. 1977
และกรณีการเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษา ในปีค.ศ.
1989 ซึ่งเกิดการปะทะกับกองทหารจนนองเลือด กลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกและรอยตำหนิของประวัติศาสตร์จีน
• อย่างไรก็ตาม จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวนับแสนล้านในแต่ละปี
ใครมาเยือนปักกิ่งแล้วก็จะต้องมาเยี่ยมเยือนแทบทุกคน |
จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ปักกิ่ง |
|
จัตุรัสเทียนอันเหมิน
ปักกิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|