วัดพระหยกขาว(White jade buddha temple) วัดพระหยกขาว ตั้งอยู่บนถนนอานเหยี่ยนในเขตผู่ถอ เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในเซี่ยงไฮ้และเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวเข้านมัสการเป็นจำนวนมากที่สุดของเซี่ยงไฮ้ ในปี ค.ศ. 1876 ตรงกับรัชสมัยกวางสูฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิง มีพระภิกษุจากเกาะผู่ถ่อซานคือหลวงพ่อฮุ่ยเกินได้เจริญรอยพระถังซำจั๋งเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกยังประเทศอินเดีย ขากลับเดินทางผ่านประเทศพม่าได้อัญเชิญพระพุทธรูปหยกขาวกลับเมือง 5 องค์ด้วยกันและได้มอบให้ชาวเซี่ยงไฮ้ 2 องค์ ในปี ค.ศ. 1882 ได้มีการสร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระหยก 2 องค์ และต่อมาในช่วงปฏิวัตวรรณธรรมในสมัยเหมาเจ๋อตุง วัดแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงแต่โชคดีที่พระพุทธรูปหยกขาวไม่ได้ถูกทำลาย จึงอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดที่สร้างขึ้นใหม่ในปี 1928 และให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่าวัดพระหยกขาว พระพุทธรูป 2 องค์อันล้ำค่านี้ไม่เพียงแต่เป็นพระพุทธรูปหายากทางด้านวัฒนธรรมหากแต่ยังเป็นงานช่างศิลป์ที่มีค่ายิ่ง พระพุทธรูปปางนั่งทั้ง 2 องค์นี้ สลักจากหยกทั้งแท่ง แสงสว่างและ แสงสะท้อนของหยกขาวนั้นทำให้องค์พระพุทธรูปมีความงดงามสว่างเจิดจ้ายิ่งขึ้น องค์พระพุทธรูปปางนั่งมีความสูง 190 เซนติเมตร และ หุ้มด้วยเพชรพลอย หินมโนรา และ มรกต แสดงถึงการถือศีลอดอาหารและตรัสรู้แจ้งพระพุทธเจ้า ส่วนพระพุทธรูปปางไสยาสน์ มีความยาว 96 เซนติเมตร นอนเอียงด้านขวาและหนุนพระเศียรด้วยพระหัตถ์ขวาและพระหัตถ์ซ้ายวางบนขาด้านซ้าย ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ปรินิพพาน ใบหน้านิ่งสงบแสดงถึง สันติสุข ของพระศากยมุนี เมื่อครั้งท่านได้จากโลกนี้ไป ภายในวัด ยังมีพระนอนองค์อื่นๆ ซึ่งมีความยาว 4 เซนติเมตร ซึ่งถูกอัญเชิญมาจากประเทศสิงคโปร์ โดยเจ้าอาวาสองค์ที่สิบ ในปี ค.ศ.1989 มากกว่านี้ยังมีภาพวาดโบรา และคัมภีร์พระไตรปิฎก จัดวางไว้อีกส่วนของวัด ถึงแม้ว่าประวัติของพระหยกขาวจะไม่ยาวนาน ความเก่าแก่และสถาปัตยกรรมแบบเรียบง่ายทำให้วัดแห่งนี้มีความโดดเด่นและไม่อาจเลียนแบบได้ ในเมืองทันสมัยเช่นนี้
ย่านช้อปปิ้งนานจิง (Nanjing shopping area) ย่านช้อปปิ้งนานจิิง ครอบคลุมพื้นที่จากทางด้านตะวันออกจรดด้านตะวันตกของ ย่านเดอะบันด์ ถนนสายนี้ยาวถึง 3-4 กิโลเมตร นักท่องเทียวสามารถเลือกซื้อสินค้า รวมถึงแฟชั่นชั้นนำได้บนถนนสายนี้ ภายหลังสงครามฝิ่น (ค.ศ.1839-1842) เซี่ยงไฮ้ได้ถูกอังกฤษใช้เป็นท่าเรือนานาชาติโดยถนนนานจิงเป็นที่แรกที่เป็นที่รองรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งต่อมาทำให้ถนนนานจิงกลายเป็นถนนช้อปปิ้งของเซี่ยงไฮ้นับแต่นั้นจวบจนปัจจุบัน ถนนนานจิง หรือถนนคนเดินเซี่ยงไฮ้ ถือได้ว่าเป็นถนนอเนกประสงค์ของชาวเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากในยามเช้าจะเป็นบริเวณที่ผู้คนโดยเฉพาะผู้สูงอายุออกกำลังกาย ทั้งรำไทเก๊ก รำกระบี่ รำพัด พอตกสายหน่อยก็จะกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้ง เพราะเป็นที่ตั้งของบรรดาห้างสรรพสินค้ามากมาย และต้องถือว่าเป็นย่านสวรรค์ของบรรดาสาวกแบรนด์เนมทั้งหลาย ถนนนานจิงนี้เปิดให้รถประจำทางวิ่งตอน 9 โมงเช้า - 6 โมงเย็น หลังจากนั้นจะปิดถนนให้คนเดินเท่านั้น ละแวกนี้นอกจากจะเต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ยังมีงานศิลปะชั้นดีอีกด้วย โดยทางตอนใต้ของถนนนานจิงเป็นที่ตั้งของ หอศิลปะช่างไห่เหม่ยซู่ก่วน และ จัตุรัสเหรินเหมินกว๋างฉ่าง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางสังคมและสถานที่พักผ่อนนอกบ้านของชาวเซี่ยงไฮ้
ตลาดหลงหัว (Longhua Market) ตลาดหลงหัว เป็นขวัญใจนักช็อปชาวไทยและชาวโลก เพราะมีข้าวของกระจุกกระจิกและเสื้อผ้าแบบจีนๆวางขาย ที่นี่ยังเลื่องชื่อในเรื่องสินค้าแบรนด์เนมก๊อบปี้ มียี่ห้อดังๆให้เลือกทุกชนิด ทั้งกระเป๋า,นาฬิกา,รองเท้า,แว่นตา และเสื้อผ้า ซื้อของตลาดนี้ต่อรองกันสนุก แต่ต้องต่อต่ำกว่าราคาถึง 70% เพราะแม่ค้าจีนค้าขายบอกผ่านเยอะ
เดอะบันด์ (The Bund) เดอะบันด์ หรือหาดไว่ทาน คือย่านเก่าแก่ในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ อยู่ริมแม่น้ำหวงผู่ฝั่งตะวันตก ตรงกันข้ามกับหอไข่มุกและหอจินเหมา เป็นสัญลักษณ์เมืองเซี่ยงไฮ้อายุนานถึง 100 ปี บริเวณที่เรียกว่าบันด์นี้เริ่มจากสะพานไป่ตู ซึ่งเป็นจุดเชื่อมระหว่างแม่น้ำหวงผู่ และ คลองซูโจว ไปยังถนนจินหลิงตะวันออก จุดที่มีชื่อเสียงของย่านบันด์นั้นอยู่ทางฝั่งตะวันตกซึ่งบริเวณโดยรอบเต็มไปด้วยตึกราม อาคารที่มีลักษณะโดดเด่นของศิลปะแบบกอธิคบาโรค โรมาเนสก์ คลาสสิก และ เรอเนอซองส์ อดีตกว่าร้อยปีย่านบันด์เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเซี่ยงไฮ้ สถานทูตส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศ ธนาคาร ธุรกิจ และสำนักหนังสือพิมพ์ มักจะตั้งในบริเวณนี้ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าแม้สถานที่เหล่าจะไม่ได้สร้างใชช่วงเวลาเดียวกันแต่กลับมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน
แม่น้ำหวงผู่ (Huangpu river) แม่น้ำหวงผู่ เป็นเส้นทางเดินเรือหลักของเมืองเซี่ยงไฮ้ คดเคี้ยว ไหลจากปากแม่น้ำแยงซี ในเมืองอู๋ซ่ง ไปยังทะเลจีนตะวันออก ยาว 71 ไมล์ และ กว้าง 0.25 ไมล์ และลึก 30 ฟุต โดยเฉลี่ย ระยะทางจากทางเหนือสู่ตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ รวม 18 ไมล์ ซึ่งแบ่งตัวเมืองเซี่ยงไฮ้เป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งตะวันออกและตะวันตก ด้วยลักษณะภูมิประเทศดั่งกล่าวทำให้กิจกรรมการล่องเรือเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้เพลิดเพลินกับกิจกรรมดั่งกล่าวทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน นอกจากนนี้ ตึกสูงระฟ้า ทั้งหอไข่มุก หอจินเหมา รวมทั้งตึกอื่นๆ ที่ มีการออกแบบคล้ายกันแม้จะสร้างคนละช่วงเวลา
หอไข่มุก (Oriental Pearl Tower) หอไข่มุก สัญลักษณ์เมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นหอส่งสถานีโทรทัศน์ที่สูงสุดที่เอเชียและสูงที่สุดเป็นอันดับสามของโลก ด้วยความสูงถึง 468 เมตรด้านบนเป็นรูปไข่มุก 3 เม็ด 3 ขนาดเรียงกันในแนวตั้ง ที่นี่เป็นที่ทำการของสถานีโทรทัศน์ 9 แห่ง และสถานีวิทยุ 10 แห่ง ภายในหอกลมทำเป็นภัตตาคาร โรงแรมหรูขนาด 25 ห้อง และร้านค้า ด้านใต้ตรงฐานของหอจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองเซี่ยงไฮ้เมืองจำลองโลกอนาคต และเมืองวิทยาศาสตร์แฟนตาซี ช่องกลางของหอไข่มุกตะวันออกเป็นเสาปล่องกลวง ใช้แขวนลิฟท์ความเร็วสูง 6 ตัว ที่มีความเร็ว 7 เมตร/วินาที เพื่อขึ้นไปที่จุดชมวิว ในระดับความสูง 267 เมตร ส่วนในเวลากลางคืนนั้น หอกลมจะเปิดไฟที่สามารถเปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ บนไข่้มุกเม็ดที่สองจะสามารถมองลงมาข้างล่างได้เนื่องจากทำพื่นเป็นกระจก ในบริเวณใกล้เคียงกันยังเป็นที่ตั้งของอาคารจินเหมาทาวเวอร์ (สูง 421 ม.) และอาคารเซี่ยงไฮ้เวิลด์ไฟแนนเชียลเซ็นเตอร์ (สูง 492 ม.) ปัจจุบันนับได้ว่าเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่นอกจากจะใช้ในด้านการสื่อสารแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองอีกด้วย
พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้(Shanghai museum of History) ตั้งอยู่ส่วนกลางของจัตุรัสประชาชน เป็นพิพิธัณฑ์ของศิลปะจีนโบราณ รูปแบบของพิพิธภัณฑ์และ การนำเสนอ บริเวณโดยรอบแก่ผู้เข้าชม คือการสาธิต ด้วยวัตถุโบราณ อันสะท้อนถึงความภาปราดเปรื่องและปรัชญา ภายนอกออกแบบเป็นโดมทรงกลมและมีฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยมอันเป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์และพื้นโลกตามหลักแนวคิดโบราณ พิพิธภัณฑ์นี้แบ่งออกเป็น 11 ห้องแสดงศิลปะ และ 3 ห้องจัดนิทรรศการ ในแต่ะละห้องศิลปะจะจัดแสดงศิลปะหลักๆของจีน ได้แก่ เครื่องทองเหลืองโบราณ เครื่องเซรามิกโบราณ งานวาด งานเขียนลายมือ งานแกะสลักโบราณ เครื่องหยกโบราณ เหรียญ เครื่องแต่งบ้านที่ใช้ในสมัยราชวงศ์หมิง และ ชิง ตราประทับ รวมถึงศิลปะโบราณของชนชาติต่างๆที่อาศัยในจีน เครื่องทองเหลืองของราชวงศ์ชางและโจว ทำให้ผู้เขาชมรับรู้ถึงอารยธรรมในสมัยนั้น เครื่องทองเหลืองอีกกว่า 400 ชิ้น นั้นมีอายุครอบคลุมยุคทองสำริดของจีน เครื่องเซรามิกโบราณเป็นของมีค่าพิเศษของพิพิธภัณฑ์ ท่ามกลางงานศิลปะ กว่า500 ชิ้น จากหลากหลายราชวงศ์ อาทิ เช่น ภาพวาด และ เครื่องปั้นดินเผา จากยุค หลังยุคหิน
อดีตบ้านพักซุนยัตเซ็น (Sun Yat Sen residence former) ณ บ้านเลขที่ 7 บนถนนเซียงชาน ที่ตั้งของอาคาร2ชั้นสไตล์ยุโรป ที่คุณอาจไม่สังเกตเห็นได้ท่ามกลางตึกสูงๆ และ คฤหาสน์หรู แต่ที่แห่งนี้กลับเป็นที่ที่ควรแก่การเคารพเนื่องจากเป็น อดีตบ้านพักของ ซุน ยัต เซ็น ผู้นำการปกครองแบบประชาธิปไตยของจีน ซึ่งได้เปิดต้อนรับผู้มาเยือนนับแต่ปี 1988 นับแต่ปี 1918 ถึง 1925 ดร. ซุน ยัต เซ็น และ นางซุง ฉิง ภรรยาได้อาศัยในบ้านหลังนี้ ซึ่งเป็นบ้านที่ที่ผู้รักชาติจีน แคนาเดียนได้มอบให้ท่าน ที่นี่เป็นที่ๆทำให้ท่านซุนได้ กระทำการสำเร็จในการจัดตั้งลัทธิซุนเหวิน แผนการพัฒนา เป็นต้น รวมถึงแผนการปฏิรูป ด้วยหลักการ 3 ประการ คือ ชาตินิยม ประชาธิปไตย และ ความเป็นอยู่ของประชาชน และ ได้วางแนวทางทางการเมือง 3 ส่วนใหญ่ๆ อาทิ พันธมิตร ร่วมกับสหภาพโซเวียต รัสเซีย ความร่วมมือของกลุ่มคอมมิวนิสต์และ ความช่วยเหลือของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และ ชาวนา และที่นี่เองที่ซุน ยัต เซ็น ได้้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน และ ได้แต่งตั้ง พรรคการเมืองหลัก 2 พรรค คือ ชาตินิยม และ คอมมิวนิสต์ หลังการตายของ เขา ในปี 1925 นางซุง ได้ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังนี้ต่อจนถึงปี 1937 เมือกองกำลังญี่ปุ่น เข้าครอบครองเซี่ยงไฮ้ 8 ปี ต่อมา นับเนื่องแต่จีนได้ชนะในสงคราม นางซุงได้ มอบบ้านหลังนี้ให้กับทางการเพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึง ดร.ซุน ยัต เซ็น และ ในปี 1961 บ้านนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็น หนึ่งในอนุสรณ์ซึ่งได้รับการรักษาให้คงสภาพทางวัฒนธรรม
Hotline 0-936468915, 0-823656241 ใบอนุญาตเลขที่ 11/05028