บริษัททัวร์ โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์







 
• ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศภูฎาน
• ราชวงศ์ภูฎาน ราชวงศ์วังชุกภูฏาน
• บันทึกการเดินทางเที่ยวภูฏาน 
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "เจ้าชายจิกมี่"
• ก่อนเดินทางกลับจากภูฏาน ระหว่างที่เช็คอินจะเดินทางกลับประเทศไทย เจ้าหน้าที่เช็คอินก็บอกเราด้วยความภาคภูมิใจว่ากษัติริย์จิกมีนั่งเครื่องลำเดียวกับเรา ผมเองก็สงสัยฟังผิดไปหรือเปล่า เห็นแต่ของที่ผ่านเครื่อง X-ray ว่ามาจากในวัง แต่ในสนามบินก็ไม่เห็นทหารหรือมีการตรวจตราอะไรกันเลย
• ก่อนเครื่องออก ทุกคนบนเครื่องตื่นเต้นกันมาก พระองค์ท่านเสด็จมาจริงๆและขึ้นเครื่องลำเดียวกับเราเพี่ยงแต่พระองค์ท่านนั่งเฟิร์ทคลาสซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวนั่งอยู่ด้วย บรรดาตากล้องก็เอากล้องมาถ่ายผ่านช่องหน้าต่างกันเต็มที่
• หลังจากพระองค์ท่านลงเครื่องที่บังคลาเทศ อีกครั้งที่กล้องนักท่องเที่ยวกระหน่ำกันถ่าย ไม่ว่าตรงประตูทางลงเครื่องหรือช่องหน้าต่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมทึ่งมากๆก็คือบรรดาทหารองครักษ์หรือผู้ติดตามพระองค์ ไม่มีใครมาห้ามเราในการถ่ายรูปเลยและดูเหมือนทุกคนยินดีที่เราชื่นชมกษัตริย์ของเขา ด้วยจริยาวัตรอันงดงามผมเชื่อว่าทุกคนคงชื่นชมพระองค์ท่าน...Mr.โจ้

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

• เจ้าชายจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก กษัตริย์รัชกาลที่ 5
• พระนามของ “เจ้าชายจิกมี” ติดปากชาวไทยในคราวที่พระองค์เสด็จมาร่วมพระราชพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2549 ในฐานะที่เป็นเจ้าชายโสดผู้ทรงพระสิริโฉมและมีพระจริยวัตรงดงาม ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน จนเป็นที่ต้องตาต้องใจของชาวไทยโดยเฉพาะสุภาพสตรี
• พระนามเต็มของเจ้าชายจิกมี คือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก คนไทยเรียกพระนามท่านว่า “เจ้าชายจิกมี” ตามสื่อมวลชน แท้ที่จริง ชาวภูฏานเรียกท่านว่า “เจ้าชายเคซาร์” ซึ่ง จิกมี ชื่อหน้านั้นแปลว่า ผู้กล้าหาญ ส่วนชื่อหลังเป็นราชวงศ์ พระนาม “เคซาร์” ใช้เรียกพระนามของพระองค์ พระราชินี เชอริง เยนเดย์ วังชุก พระมารดาเคยอธิบายถึงชื่อของพระองค์ว่า “เคซาร์” เป็นชื่อของจอมทัพนักรบของชาวมองโกเลีย ดังนั้น เจ้าชายจิกมี ที่คนไทยนิยมเรียก หรือสื่อมวลชนต่างๆ นั้นเรียกขานกันผิด ที่ถูกต้องนั้นต้องเรียกว่า “เจ้าชายเคซาร์” ตามแบบชาวภูฏาน

• พระราชประวัติ
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคซาร์ นัมเกล วังซุก พระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก และ สมเด็จพระราชินี อาชิ เชอริง ยางดน วังชุก ซึ่งเป็นพระมเหสีองค์ที่สาม สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระมารดา ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าหญิงอาชิ เดเชน ยังซัม และพระอนุชามีพระนามว่า เจ้าชาย ดาโช จิกมี ดอร์จิ วังชุก
• ภายหลังเจริญพระชันษา พระองค์ได้เสด็จไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ในระดับมัธยมศึกษาที่ คัชชิง อคาเดมี (Cushing Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำสหศึกษาที่มีชื่อเสียงของมลรัฐแมสซาชูเซตส์ มีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการสอนวิชาศิลปะใช้วิธีให้นักเรียนแสดงออกใช้ความคิดสร้างสรรค์ตามศักยภาพ ทั้งในศิลปะการแสดง การละคร ดนตรี งานออกแบบอัญมณี ตลอดจนถึงงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ เช่น จิตรกรรม และ ทัศนศิลป์
• ด้วยเหตุนี้ เจ้าชายเคซาร์ จึงโปรดศิลปะการวาดภาพ ถ่ายภาพ รวมทั้งการอ่านหนังสือและการกีฬา โปรดการยิงธนูตามแบบอย่างของชาวมองโกล และทรงชอบเล่นบาสเกตบอลเป็นพิเศษ ในขณะเดียวกัน ก็ทรงได้รับการอบรมขนมธรรมเนียมพระราชสำนักและประเพณีวัฒนธรรมทางศาสนาของชาวภูฏาน
• ทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่วิทยาลัยวีตัน (Wheaton College) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปศาสตร์ในมลรัฐเดียวกัน ก่อนที่จะเสด็จมาศึกษาต่อปริญญาโท ในสาขาการทูต (Foreign Service Programme) และสาขาวิชาการเมืองที่ วิทยาลัยแม็กดาเลน (Magdalen College) มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ในสหราชอาณาจักร
• ทรงสำเร็จหลักสูตรการป้องกันประเทศจากวิทยาลัยการทหารแห่งชาติ ประเทศอินเดีย และรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระราชบิดาไปยังต่างแดนในหลายโอกาส และทรงเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมต่างๆ รวมไปจนถึงการศึกษา และองค์กรเศรษฐกิจหลายแห่ง
• การทูลเกล้าถวายปริญญา
• มหาวิทยาลัยรังสิตได้ ทูลเกล้าถวายปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี (เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นเจ้าชายมกุฎราชกุมาร) ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2549
• มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ ทูลเกล้าถวายปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาส่งเสริมการเกษตร ให้กับสมเด็จพระราชาธิบดี นอกจากนี้พระองค์ยังส่งนักศึกษาและบุคคลสำคัญเข้ามาศึกษา ดูงาน และสัมมนาที่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประจำ
• พระราชกรณียกิจ
• สมเด็จพระราชาธิบดีเคเซอร์ เป็นหนึ่งในพระราชอาคันตุกะ ที่เสด็จทรงร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ระหว่างวันที่ 11-20 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร ในขณะที่พระองค์ยังทรงเป็นมกุฎราชกุมาร และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะที่มีพระชนมายุน้อยที่สุด ในหมู่ราชวงศ์ที่มาร่วมงาน
• ตลอดระยะเวลาที่เจ้าชายเคซาร์ทรงประทับอยู่ที่เมืองไทยนั้น นอกเหนือจากทรงเข้าร่วมในพระราชพิธีฉลองราชสมบัติ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ในวันที่ 14 มิถุนายน ได้เสด็จไปยังพระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อทรงเฝ้าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมี ต่อจากนั้นได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
• ทรงเสด็จไปยังภูเก็ต ประทับที่รีสอร์ต อมันบุรี อำเภอถลาง เสด็จฯ ไปยังเกาะไม้ท่อน ทรงดำน้ำ เล่นเจ็ตสกี พาราเลซิ่ง และเล่นฟุตบอลชายหาดกับข้าราชบริพาร
• ทรงเสด็จเยี่ยม ม.จ.ภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิโครงการหลวงที่วังประมวล กรุงเทพฯ
• เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงเสด็จเยือนประเทศไทยอีกครั้งเพื่อเสด็จเยี่ยมชมสวนดอกไม้ของภูฏาน ในงานพืชสวนโลกที่จัดขึ้นในเชียงใหม่
• ตลอดเส้นทางที่เสด็จฯ และที่ประทับอยู่ในเมืองไทย พระองค์ได้รับการต้อนรับและการแสดงความชื่นชมจากคนไทย อย่างที่ไม่เคยมีเจ้าชายต่างแดนองค์ใดได้เคยได้รับมาก่อน ชาวไทยเพิ่งรู้จักคุ้นเคยกับเจ้าชายจิกมีหรือเจ้าชายเคซาร์เมื่อเดินมิถนายน พ.ศ. 2549 มานี้นี่เอง ทั้งๆ ที่เจ้าชายจิกมี เคยเสด็จฯ มาประเทศไทยแล้ว 5-6 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาก่อนหน้านั้น
• แบบอย่างของวัยรุ่นภูฏาน
• ตลอดเวลาที่ทรงดำรงในฐานะมกุฏราชกุมาร พระองค์ยังได้ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมอย่างอดทนและรับผิดชอบ พระองค์จึงทรงเป็นแบบอย่างแก่วัยรุ่นภูฏาน ในขณะเดียวกัน แม้ได้โดยเสด็จไปยังชนบทแดนไกลเพื่อไต่ถามทุกข์สุข รับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน รวมทั้งขอทราบความคิดเห็นของคนทั่วไปเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอาณาจักรภูฏานด้วย
• เจ้าชายเคซาร์ เสด็จฯ เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรก ตามคำเชิญของรัฐบาลอินเดีย เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติสมัยพิเศษ ว่าด้วยเรื่องเด็กในปี พ.ศ. 2445
• ปี พ.ศ. 2546 เสด็จฯ เยือนอินเดียครั้งที่สอง เพื่อก่อตั้งกองทุนร่วมอินเดีย-ภูฏาน
• ปี พ.ศ 2550 ทรงร่วมลงพระนามในสนธิสัญญามิตรภาพกับประเทศอินเดียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แทนฉบับเดิม ซึ่งคือฉบับ พ.ศ. 1949
• เสด็จขึ้นครองราชย์
• ภายในปี พ.ศ. 2551 หลังกษัตริย์ จิกมี ซิงเย วังชุก ผู้เป็นพระราชบิดา ทรงประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ พร้อมประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เหมือนดังเช่นประเทศไทย และเจ้าชายจิกมี เคซาร์ วังชุก มกุฏราชกุมา เป็นผู้ขึ้นสืบทอดบัลลังก์มังกรคำราม
• ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอย่างแรกด้วยการพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันชาติของภูฎาน หลังจากนั้นประมาณสองปี ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 พระองค์ได้ประกอบพิธีบรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์อย่างเป็นทางการ ณ พระราชวังในกรุงทิมพู
• พระราชพิธีราชาภิเษก
• ในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเข้าพิธีราชาภิเษกที่จัดขึ้นในพระราชวังทาชิชโฮ ดซอง ในเมืองทิมพู โดยสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ทรงเป็นผู้ประกอบพระราชพิธี โดย พระราชทานมงกุฎไหมสีแดงดำแด่พระองค์ นอกจากนี้ยังมีนางซอนยา คานธี ประธานรัฐสภาของอินเดียเข้าร่วมในพิธีด้วย ทั้งนี้ พระองค์จะสืบบัลลังก์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก และยังทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระเยาว์ที่สุดในโลก ด้วยพระชนมพรรษาเพียง 28 พรรษา และจะทรงปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตย
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่าย ของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"
• นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน
• มีการร่วมเฉลิมฉลองตามถนนหนทาง เล่นดนตรี มีการประดับประดาดอกไม้ตามศูนย์ต่างๆเพื่อแสดงการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มี กษัตริย์พระองค์ใหม่ ตลอดจนมีการรายงานถึงความรู้สึกของพสกนิกรชาวภูฏานที่ทั้งต่างแสดงความดีใจ และสะเทือนใจในการสละราชสมบัติอย่างกระทันหันของพระราชบิดาไปพร้อมๆกัน
• “ความสุขมวลรวมของประชาชาติ สำคัญกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ” พระราชปณิธานของพระราชบิดายังคงดังก้องกังานไปในแผ่นดินภูฏาน นั่นหมายถึงว่า ในท่ามกลางกระแสคลื่นทุนนิยม บริโภคนิยม ประเทศภูฏานเปิดบ้านเปิดเมืองสู่โลกภายนอกมากขึ้น ชาวภูฏานในระดับผู้มีฐานะดี ต่างออกไปเล่าเรียนและแสวงหาความรู้จากประเทศทุนนิยมกันมากมาย จึงเป็นสิ่งที่น่าคิดว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ภูฏานจะดำรงความเป็นตัวของตัวเองไว้ได้มากน้อยเพียงใด อีกทั้งจะเกิดช่องว่างทางวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ห่างไกลสุดเอื้อมในประเทศนี้หรือไม่
• ภูฏานประเทศที่มีศาสนาธรรมนำทาง มีเป้าหมายสร้างความสุขมวลรวมให้ประชาชาติมากกว่าการยึดถือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเป็นเป้าหมายแห่งความสำเร็จ จึงเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ท้าทายสำหรับกษัตริย์ในทศวรรษใหม่เป็นอย่างยิ่ง
• พระอิสริยยศ
• เจ้าฟ้าชาย ดาโช จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2523-2547)
• เจ้าฟ้าชาย โชเซ เพนลป จิกมี เคซาร์ นัมเกล วังชุก มกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน (พ.ศ. 2547-2549)
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน)

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน

กษัตริย์จิกมี ภูฏาน
ราชวงศ์ภูฎาน ราชวงศ์วังชุกภูฏาน

• ราชวงศ์ภูฎาน ราชวงศ์วังชุกภูฏาน
• มหาบุรุษ “คุรุรินโปเช” ผู้สถาปนาศาสนจักร
• ย้อนไปในพุทธศตวรรษที่ 12 เพ่งมองไปที่แผ่นดินตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยติดต่อกับทิเบต ในขณะนั้นมิมีใครที่จะล่วงรู้ได้ว่ามีชนพื้นถิ่นใดหรือมีผู้ใดอยู่อาศัยมาก่อนทราบกันแต่เพียงว่ามีลามะจากทิเบตนามว่า คุรุรินโปเช รอมแรมมาถึงดินแดนถิ่นนี้ และต่อมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน “คุรุรินโปเช” ท่านนี้ เป็นที่รู้จักของชาวภูฏานในนามว่า ปัทมสัมภาวะ หรือ ปัทมสมภพ (แปลว่า : เกิดในดอกบัว) จากเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าลามะท่านนี้ได้ใช้วิทยายุทธ์และอิทธิฤทธิ์อิทธิเดชสู้รบกับศัตรูผู้มาแก่งแย่งช่วงชิงดินแดน ไม่ว่าจะเป็นลามะรูปอื่นๆจนกระทั่งแม้ทูตผีปีศาจ ในที่สุดท่านได้รับชัยชนะและลงหลักปักฐาน ณ ดินแดนแห่งนี้สำเร็จ พร้อมกับการเป็นเจ้าชีวิตเจ้าพิธีกรรม หยั่งรากฝังลึกลัทธิตันตระ-วัชรยาน จนกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ปัทมสัมภาวะ หรือ ปัทมสมภพ อันหมายถึง ผู้ที่เกิดในดอกบัว เป็นชื่อเรียกขานจากตำนาน ส่วน “คุรุรินโปเช” เป็นสมญานามของท่าน (ต่อมาเป็นชื่อชั้นในคณะสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่)
• รินโปเช หรือ ริมโปเช หมายถึง พระลามะผู้เป็นพระอาจารย์ผู้ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงส่ง ผู้เป็นพระราชาคณะชั้นสูง ใช้กับพระลามะที่เชื่อกันว่าอวตาร (ผู้แบ่งภาคมาเกิด) เท่านั้น โดยไม่ระบุแน่ชัดว่าอวตารมาจากผู้ใด
• คุรุรินโปเช ผู้ให้กำเนิดของพุทธตันตระ-วัชรยานในภูฏาน ส่วน ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช เป็นชาวอินเดีย เป็นลามะผู้สอนรหัสยลัทธิในมหาวิทยาลัยนาลันทาอินเดียตอนเหนือ และเป็นผู้เผยแผ่พุทธตันตระ-วัชรยานในภูฏาน ต่อมาคุรุรินโปเชท่านนี้ได้รับการสักการะบูชาในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ที่สองตามความเชื่อของชาวภูฏาน มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาจนกลายเป็นตำนานดินแดนภูฏานว่า
• ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช เกิดตามคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าว่า หลังพุทธปรินิพพานจะมีมหาบุรุษนามว่า ปัทมะ มาจุติในดอกบัวในทะเลดิเมโกษะ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอุเกนยุลเมืองหลวงของโอติยานะ (ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน) และจะได้เป็นพระราชาแห่งศาสนจักร คำพยากรณ์กล่าวต่อไปว่าก่อนจะมีชื่อเสียงท่านจะถูกพระเจ้าอินทโพธิกษัตริย์จักษุบอด ผู้เป็นพระราชบิดาเลี้ยงเนรเทศ เพราะพระองค์หวังจะให้ปัทมสมภพสืบทอดราชบัลลังก์ แต่ปัทมสมภพกลับขัดขืนเพราะต้องการจะออกบวช เรื่องราวที่บันทึกสืบต่อกันมา อาจจงใจจะให้คล้ายคลึงกับประวัติพระพุทธเจ้า ต้องไม่ลืมว่าปัจจุบันท่านปัทมสมภพรินโปเชได้รับการยกย่องสักการบูชาในฐานะพระพุทธเจ้าองค์ที่สองของชาวภูฏาน
• เมื่อปัทมสมภพรินโปเชหนีการสืบราชบัลลังก์ออกมาบำเพ็ญเพียรในป่า ได้ใช้อิทธิฤทธิ์ปราบภูตผีปีศาจที่เป็นมารขัดขวางการเผยแผ่พระพุทธศาสนานับครั้งไม่ถ้วน ก่อนที่จะบรรลุเป็นคุรุรินโปเชและออกไปเผยแผ่ธรรมในทิเบต ดินแดนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปไม่ถึง จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์พระเจ้าจักกยาลโปรบพุ่งกับกษัตริย์นวราชที่โล-มอน ดินแดนภาคใต้ในทิเบต (ภูฏานในปัจจุบัน) พระเจ้าจักยาลโปสูญเสียพระโอรสไปในสนามรบ พระองค์เศร้าเสียพระทัยและสาปแช่งภูตผี รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่ไม่อำนวยช่วยเหลือ ความทราบถึงคุรุปัทมสมภพ ได้รับนิมนต์มาช่วยปราบภูตผีวิญญาณร้ายจนราบคาบ ผู้ที่เป็นผู้ช่วยท่านคุรุปัทมสมภพในการปราบผีร้ายคราวนั้นเป็นสุภาพสตรีนามว่า ซุงมา หรือ ตันตรเทวี
• สิ่งที่ท่านได้รับพระราชทานรางวัลเป็นการตอบแทนจากพระเจ้าจักกยาลโป คือ พระราชธิดาคนงามของพระองค์พระนามว่า ลาซิก พุมเดน โซโม ผู้ที่มีลักษณะแห่ง “ฑากิณี” 21 ประการ (ฑากิณี คือ ยักษิณีที่ใจดี แต่ฮินดูว่าเป็นหญิงโขมด บริวารของนางกาลี) การที่พระลามะชั้นสูงจะมีสตรีคู่บารมี หรือมีหญิงสาวคู่เคียงคู่เสน่หา ไม่ใช่เรื่องแปลก หลังจากนั้นคุรุปัทมสมภพได้บำเพ็ญสมาธิในถ้ำวัชรคูหา 2 วัน โดยมีสตรีงาม ลาซิก พุมเดน โซโม คอยปรนนิบัติรับใช้ จนบรรลุคุณวิเศษระดับสุดยอดบรรลุฌานถึงขั้นเหาะเหินเดินอากาศได้ และออกมาปัดเป่ารังควานบ้านเมือง โดยใช้พลังอำนาจของลัทธิตันตระจนพระเจ้าจักกยาลโปหายจากประชวร ต่อมาเกิดความสมานฉันท์ระหว่างกษัตริย์ที่รบกันมา และต่างนับถือคุรุปัทมสมภพและลัทธิตันตระเป็นหนึ่งเดียวกัน
• ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้วางรากฐานทางศาสนจักร-ตันตระ ในดินแดนตอนใต้ของภูฏานในปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจที่ ปัทมสมภพ หรือ คุรุรินโปเช กลายเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการบูชาของชาวภูฏานสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
• ภายใน ซอง อันเป็นอารามและป้อมปราการอเนกประสงค์รวมทั้งวัดวาอารามต่างๆในภูฏานจะมีรูปปั้นของคุรุปัทมสมภพ 8 ปาง ไว้ให้คนเคารพกราบไหว้ ในฐานะผู้มีคุณสูงสุด 8 ประการ คือ
1.ผู้อำนวยสุขแก่โลกทั้งสาม
2.ผู้คุ้มครองให้พ้นภยันตรายทั้งปวง
3.ผู้เป็นเจ้าแห่งคัมภีร์ตันตระ-วัชรยาน
4.ผู้โอบอุ้มปลอบโยนชาวโลก
5.ผู้ตรัสรู้พบแสงสว่างแห่งปัญญา
6.ผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง
7.ผู้ประกาศพุทธศาสนาตันตระ-วัชรยาน
8.ผู้ประทานปัญญาอันล้ำเลิศ
• ในพุทธศตวรรษที่ 13 ได้มีลามะจากทิเบตมาร่วมสืบสานพุทธมหายานตันตระ-วัชรยานในดินแดนภูฏาน ระดมพระและผู้คนก่อสร้างซอง ซึ่งเป็นทั้งป้อมปราการ ที่พักและที่ทำงานทางด้านศาสนจักรและอาณาจักร รวมทั้งวัดวาอาราม ด้านทิศตะวันตกของภูฏาน จนลัทธิตันตระ-วัชรยานหยั่งรากฝังลึกไปในดินแดนแห่งนี้
• ในปี พ.ศ. 1763 ลามะปาโช หรือต่อมาคือ ปาโชดรุกอมโชโป เดินทางจากทิเบตมาเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานนิกายดรุกปะกัคยุที่ดินแดนแถบนี้ ถูกลามะ 5 รูป ที่มาตั้งหลักปักฐานอยู่ก่อนแล้วขับไล่เกิดการต่อสู้กัน ปรากฏว่าลามะปาโชมีพลังอำนาจเหนือกว่า ลามะทั้ง 5 รูปจึงหนีหายไป ท่านลามะปาโชจึงได้รับการยอมรับนับถือมากจากคนพื้นถิ่น
• ตามประวัติกล่าวไว้ว่า ลามะปาโช เดินทางมาก็เพื่อติดตามอาจารย์สังปะกยาเกล ที่เมืองดรุกราลุง เมื่อทราบว่าอาจารย์ได้มรณะไปก่อนแล้วจึงได้รับคำแนะนำจากศิษย์ไปศึกษาในสำนักทางตะวันตกจนสำเร็จ แล้วจึงได้ออกเดินทางเผยแผ่ธรรมในภูฏาน ระหว่างทางได้ปราบปีศาจร้ายในร่างจามรีจนสาบสูญไป ผู้คนที่พบเห็นต่างเลื่อมใสเข้าฝากตัวเป็นสาวก แล้วออกเผยแผ่ธรรมมาทางเมืองทิมพูในปัจจุบัน ขณะเดินทางได้พบรักกับสตรีที่มีลักษณะ “ฑากิณี” จึงแต่งงานกันจนมีลูกชาย 4 คน หญิง 1 คน กล่าวกันว่าลามะปาโชสร้างศรัทธาธรรมอย่างกว้างขวาง ทั้งมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ในการปราบปีศาจร้ายเป็นที่เลื่องลือของชาวบ้าน แต่ลามะปาโชก็พบจุดจบจากการโดนวางยาพิษในปี พ.ศ. 1819 จากลามะทั้ง 5 ซึ่งย้อนมาล่าชีวิตหลังจากเคยหนีหัวซุกหัวซุนมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ลามะปาโช ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบทอดศาสนจักรในภูฏาน โดยการสร้าง “ซอง” ให้ลูกชายทั้ง 4 ไปพำนักและครอบครองเมืองคนละเมืองไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว

• ซับดรุง งาวังนัมเกล ผู้สถาปนาราชอาณาจักรภูฏาน
• งาวังนัมเกล เกิดที่ทิเบต เป็นบุตรของดุงเซมิพัมเทนปิ นยิมะ เล่าขานกันว่า เมื่อออกจากครรภ์มารดา ก็เกิดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า หมู่เมฆกระจัดกระจายราวดอกไม้ปูประดับเวหา งาวังนัมเกล ได้ชื่อว่าเป็นผู้อวตารมาจากพระสังฆราชในนิกาย “ดรุกปะกัคยุ” ของทิเบต เป็นผู้มีสติปัญญาตั้งแต่เด็ก พออายุ 8 ขวบก็บวช และได้ฉายาว่า งาวังนัมเกล ศึกษาสรรพศาสตร์จนเชี่ยวชาญ พระสูตร-ตันตระ-กรรมฐาน-จริยศาสตร์-พิธีกรรมต่างๆ ตลอดจนถึงไวยกรณ์และอภิธานศัพท์ จากความปราดเปรื่องเกินมนุษย์ จึงกล่าวกันว่า งาวังนัมเกล เป็นอวตารแบ่งภาคมาเกิดจากปัทมะการ์โป และเป็นผู้ที่อยู่ในคำพยากรณ์ของคุรุปัทมสัมภาวะว่า บุรุษผู้ที่สมญานามว่า ดอร์จี (สายฟ้า) จะครองศาสนจักรอันศักดิ์สิทธิ์แห่งภูฏาน
• งาวังนัมเกล ขึ้นปกครองเมืองดรุกราลุงตั้งแต่อายุ 13 ขวบ แต่ก็ใช่ว่าจะปกครองแว่นแคว้นได้โดยสงบ โดยเฉพาะถิ่นที่เต็มไปด้วยการแก่งแย่งชิงดีของผู้นำนิกายต่างๆ ครั้งหนึ่ง สังเดสีพุนโชนัมเกล นำกำลังมาช่วงชิงพระบรมสารีริกธาตุไปได้ การเจรจาต่อรองของงาวังนัมเกลล้มเหลว จึงต้องออกจากเมืองดรุกราลุงไปเมืองกลาสา (ภูฏานตอนเหนือ) กอนวังโชแลม นำราษฎรเมืองกลาสามารับคำสอนทางพระพุทธศาสนาจาก งาวังนัมเกล จากนั้นงาวังนัมเกลออกจาริกเผยแผ่ธรรมมายังทิมพูและต่อมายังเมืองพาโร ความทราบถึงสังเดสีพุนโชนัมเกลว่า มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธางาวังนัมเกลมากมาย ก็เกรงว่างาวังนัมเกลจะสั่งสมบารมีย้อนกลับมาโค่นล้มตน จึงส่งเสียงจากทิเบตว่า หากงาวังนัมเกลสั่งสมผู้คนจะตามมาราวีถึงที่ ว่าแล้วก็ยกกำลังมา เกิดการสู้รบกับกองกำลังของฝ่ายงาวังนัมเกล ทหารของเดสีพุนโชล้มตายเป็นเบือต้องหนีกระเซอะกระเซิงกลับไปถิ่นทิเบต
• การศึกครั้งนี้ก็เป็นที่ร่ำลือกันว่า งาวังนัมเกล ชนะศึกด้วยวิทยายุทธ์และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ดุจเทพเจ้า หลังชนะศึก งาวังนัมเกลย้อนกลับมายังเมืองทิมพู เชวังเทนชินแห่งทังคุซอง ให้การต้อนรับและมอบทังคุซองให้ งาวังนัมเกล เป็นที่พำนักเผยแผ่ธรรม ด้วยความเป็นลามะที่มีความสามารถและอิทธิฤทธิ์สูงส่ง งาวังนัมเกล จึงได้รวบรวมแคว้นน้อยใหญ่ตามหุบเขาเป็นอาณาจักรเดียว มีศูนย์กลางอยู่ทางทิศเหนือของหุบเขาเมืองทิมพู ด้วยความเก่งกล้าสามารถ จึงได้รับสมญานามว่า “ซับดรุง”(ออกเสียงตามชาวภูฏาน) มีความหมายว่า “ผ็ที่ทุกคนยอมศิโรราบแทบเท้า” เชวังเทนซิน มอบทังคุซองให้พร้อมพระอวโลกิเตศวรสลักไม้จันทน์เป็นการคารวะ กษัตริย์เนปาลถวายสถูปโพธินาถและสถูปสวยัมภูวนาถ ขณะเดียวกัน งาวังนัมเกล ได้อภิเษกสมรสกับนางซัม ดอลการ์ โครมา และมีโอรสซึ่งเป็นผู้สืบทอดทางศาสนาในเวลาต่อมา ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้บัญชาการสร้าง ซอง ขึ้นหลายแห่ง (ซอง หรือ ซง เรียกตามการออกเสียงของชาวภูฏาน) เป็นทั้งอารามวัดและป้อมปราการป้องกันหรือใช้ในการโจมตีหรือต่อต้านการรุกรานของข้าศึกปี
ปี พ.ศ.2163 สร้างเชอรีดอร์จีซอง
ปี พ.ศ.2172 สร้างสิมโทชาซอง
ปี พ.ศ.2182 สร้างพูนาคาซอง ตรงแม่น้ำโพ(แม่น้ำพ่อ) และแม่น้ำโม(แม่น้ำแม่) ไหลมาบรรจบกัน (เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเลื่องลือในปัจจุบัน)
• ทรงย้ายศูนย์การบริหารคณะสงฆ์จากเชอรีดอร์จีซองมายังพูนาคา ยกเมืองพูนาคาขึ้นเป็นเมืองหลวงของภูฏาน และในที่สุดก็สถาปนาอาณาจักรดรุกยุลขึ้นมา และสถาปนาตนเองเป็นปฐมสังฆราชา
• อาณาจักรดรุกยุล หรือดินแดนมังกรสายฟ้า หรือมังกรฟ้าคำราม จึงเป็นชื่อที่คนท้องถิ่นเรียกชื่อประเทศของเขาว่า ดรุกยุล มาจนถึงทุกวันนี้ และเรียกศาสนาในนิกายที่ตนนับถือว่า “ดรุกปา”(ดรุกปะกัคยุ) เป็นชื่อศาสนาประจำชาติ ดรุก คือ ภูฏาน ยุล อีกนัยหนึ่งหมายถึง ชัยชนะ

• ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้วางรากฐานทางการปกครองของเฉพาะภูฏานเป็นเบื้องต้นขึ้น ให้ฝ่ายศาสนจักรมีสังฆราชาหรือ เจเคนโป เป็นประมุข ฝ่ายอาณาจักรมีกษัตริย์เป็นประมุข ผู้ปกครองส่วนท้องถิ่นมีเจ้าอาวาสเรียกว่า เดซี เป็นผู้นำภายใต้กฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายทางใจและกฎหมายทางโลก ซึ่งมีกฎข้อบังคับและโทษหนักเบาลดหลั่นกันไป ในท่ามกลางหิมะและลมหนาวยะเยือก ยามนั้นพูนาคาซองจะเป็นที่ประทับของ เจเคนโป พร้อมคณะบริหารสงฆ์ส่วนกลาง เจเคนโป คือ พระลามะที่มีตำแหน่งบริหารบ้านเมืองสูงสุด บางองค์ก็เป็นผู้อวตารโดยไม่มีประวัติว่าอวตารมาจากผู้ใด บางองค์ก็มิได้เป็นอวตาร
• ชีวิตในมุมหนึ่งของซับดรุง งาวังนัมเกล ถูกกล่าวขวัญไว้ในหนังสือของรัฐบาลภูฏานอย่างเลิศเลอ ในฐานะผู้มีอิทธิฤทธิ์ปราบผีร้ายที่มาขัดขวางการสร้างซองหรือการเผยแผ่ธรรม ผีหรือมารร้ายที่มีตัวตนนัยหนึ่งนั้นก็คือ สานุศิษย์ของลามะสังเดสีพุนโชนัมเกลที่สาวกทั้ง 5 เคยพ่ายแพ้ยับเยินไปนั่นเอง แต่ก็ส่งศิษย์รุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้ามาราวีไม่วายเว้น มีครั้งหนึ่งเมื่องาวังนัมเกลไปบัญชาการสร้างซองที่เมืองซิมโทกา ก็ถูกข้าศึกก๊กนี้เข้าโอบล้อมรอบซองอยู่หลายวันเพื่อตัดเสบียง แต่ ซับดรุง งาวังนัมเกลก็อาศัยอิทธิฤทธิ์ขับไล่ศัตรูเจ้าเก่าหนีไปได้อีก และสร้างซิมโทกาซองจนสำเร็จในปี พ.ศ.2172 ณ เมืองนี้ ซับดรุง งาวังนัมเกล ได้บุตรชายที่เกิดจากนางทสีซัมดอลการ์โคมาเป็นรางวัล และตั้งนามบุตรชายว่า จัมเปลดอร์จี เมื่อเติบใหญ่ก็ให้เล่าเรียนศิลปศาสตร์แขนงต่างๆรวมทั้งพุทธศาสนานิกายดรุกปา หรือ ดรุกปะกัดยุ อันเป็นศาสนาประจำชาติภูฏานสืบต่อมา แม้ซับดรุง งาวังนัมเกล จะเอาชนะศัตรูและภูตผีปีศาจมาแทบนับครั้งไม่ถ้วน แต่ท่านก็สิ้นชีพในปี พ.ศ.2196 ในขณะมีอายุเพียง 54 ปีเท่านั้น ด้วยโรคฝีดาษ
• ความตายของ งาวังนัมเกล ถูกปิดเป็นความลับนานราว 54 ปีจึงเปิดเผยสู่โลกภายนอก ศพงาวังนัมเกลบรรจุไว้ที่พูนาคา ซอง แม้ว่าพูนาคา ซอง จะถูกศัตรูบุกเผาถึง 5 ครั้ง แต่ศพของงาวังนัมเกลก็ยังคงสภาพอยู่ได้เพราะถูกเก็บไว้ในหลืบนิรภัยภายในซองยากที่ใครจะทำลายได้ เมื่อลามะสังเดสีพุนโชนัมเกลทราบว่าศัตรูคู่อาฆาตมรณภาพก็ล้างบาปทางกายและทางใจที่มีซับดรุง งาวังนัมเกล ด้วยการสร้างเหรียญจารึกมันตระด้วยมนตรา 16 บท มีข้อความยกย่องตนเองข่มผู้อื่น และการจะเป็นผู้ยกระดับคำสอนของนิกายดรุกปาสืบต่อไป
• เมื่อข่าวการมรณภาพของ ซับดรุง งาวังนัมเกล แพร่ออกไปในกาลต่อมา ความระส่ำระสายในบ้านเมืองก็เกิดขึ้น ผู้สืบทอดตำแหน่งไม่ได้รับความเชื่อถือจากบรรดาผู้นำหัวเมืองเหมือนที่เคยเป็นมา ศูนย์กลางแห่งอำนาจเริ่มสั่นคลอน ในช่วงเวลานั้นจักรวรรดินิยมอังกฤษได้เคลื่อนทัพมายังดินแดนแถบนี้ เกิดการสู้รบระหว่างชายแดนรอยต่อของรัฐเบงกอล-อัสสัมของอินเดียและบริเวณตอนใต้ของภูฏาน
• การสู้รบดำเนินอยู่ราวสองปี (ระหว่างปี พ.ศ.2407-2408) ภูฏานอยู่ในยุทธภูมิที่ดีกว่า และเชี่ยวชาญการรบในหุบเขาจึงสามารถต้านทานการรุกรานของอังกฤษไว้ได้ วีรบุรุษแห่งการสู้รบในครั้งนั้นคือ เพนลอปจิกมี นัมเกล วังชุก ผู้นำฝ่ายฆราวาสจากเมืองตองสา

• ราชวงศ์ภูฏาน : ยุคราชวงศ์วังชุก
• เริ่มต้นนับจากท่าน อูเก็น วังชุก ( Ugyen Wangchuk) บุตรชายของท่านจิกมี นัมเกล (Jigme Namgyel ค.ศ. 1825 - 1882)
• จิกมี นัมเกล วังชุก เจ้าเมืองตองสา เมื่อชนะศึกภายนอกแล้วก็ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำฝ่ายฆราวาส แต่ศึกภายในยังไม่สงบ ได้เกิดความขัดแย้งกับสังฆราชาผู้นำศาสนจักรในขณะนั้น ไม่ลงรอยกันในการปกครองเมืองพาโร ทำให้เกิดการสู้รบกัน ชาวดรุกยุลส่วนมากเข้าร่วมสนับสนุน จิกมี นัมเกล ร่วมรบเต็มกำลัง เมื่อจิกมี นัมเกล ได้รับชัยชนะจึงแต่งตั้งให้ อุเกน วังชุก บุตรชายเป็นเจ้าเมืองพาโร แต่บรรดาแว่นแคว้นก็ยังไม่ยอมสยบ จิกมี นัมเกล จึงนำกำลังออกปราบจนราบคาบ และได้อำนาจการปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ หลังจากรวมเมืองใหญ่น้อยเป็นหนึ่งเดียว จิกมี นัมเกล วังชุก จึงเป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์วังชุก โดยมี อุเกน วังชุก ผู้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับบิดาร่วมปกครองเมืองสำคัญ เป็นรัชทายาท
• ต่อมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2440 คณะสงฆ์ที่ปรึกษาแห่งรัฐและผู้ปกครองเมืองต่างๆรวมทั้งราษฎรต่างก็ยินยอมพร้อมใจมาขุมนุมที่เมืองพูนาคาลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ อุเกน วังชุก เป็นพระราชาธิบดีองค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ในช่วงของรัชกาลที่ 1 จิกมี นัมเกล วังชุก และ รัชกาลที่ 2 อุเกน วังชุก ภูฏานยังเป็นเมืองปิด ยังไม่มีการติดต่อทางการค้ากับต่างประเทศ จะมีบ้างก็เป็นตัวแทนจากบริษัทอีสต์อินเดียเข้ามาเพื่อหาลู่ทางการค้าเท่านั้น
• อุเกน วังชุก สวรรคตในปี พ.ศ.2468 พระราชโอรสพระนามว่า จิกมี ดอร์จี วังชุก ขึ้นครองราชย์ต่อจากบิดาเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในปี พ.ศ. 2495 สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 จิกมี ดอร์จี วังชุก ทรงได้สมญานามว่า “พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่” พระองค์นำภูฏานเข้าสู่แผนพัฒนาแห่งชาติแห่งชาติ ทรงเปิดรับวิทยาการสมัยใหม่
1.ส่งนักเรียนไปศึกษาประเทศ
2.พัฒนาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
3.เริ่มมีการคมนาคมโดยรถยนต์
4.มีธรรมนูญการปกครองประเทศ
5.จัดตั้งสภาแห่งชาติ
6.เปิดรับการค้าและการช่วยเหลือจากต่างประเทศจากการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2514 และทรงพยายามปรับปรุงมาตรฐานชีวิตของชาวภูฏานตลอดมา
• แต่พระราชาธิบดี จิกมี ดอร์จี วังชุก ก็มีพระชนมายุสั้น พระองค์สวรรคตที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2515
จิกมี ซิงเย วังชุก มกุฎราชกุมาร เข้าสู่พระราชพิธีราชาภิเษกเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2517 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 4 ขณะมีพระชนมายุ 18 พรรษา ท่ามกลางอาคันตุกะผู้มีเกียรติจากนานาประเทศ ในท่ามกลางพระราชพิธีทางโหราศาสตร์ ศาสนศาสตร์ และจารีตประเพณีแต่โบราณกาล หลังจากขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุก ได้รับการขนานนามว่าเป็น“พระบิดาแห่งปวงชน” จากการที่ทรงมีนโยบายยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ
• สมเด็จพระราชาธิบดีที่ 4 เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระราชาธิบดีที่ 3 จิกมี ดอร์จี วังชุก และพระราชินีอาชิ เยซาง โชเดน วังชุก ประสูติเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ได้รับการศึกษาทางด้านจารีตประเพณี ทั้งทางราชอาณาจักรและทางศาสนา ทรงศึกษาต่อที่เซนต์โยเซฟคอลเลจ เมืองดาร์จีลิง ประเทศอินเดีย เข้าศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จากนั้นกลับมาศึกษาที่สถานศึกษาอูเก็น วังชุก
• สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งภูฏานได้ประกาศพระราโชบายในการปกครองประเทศ โดยการวัดความสำเร็จของประเทศจากความสุขมวลรวมของประชาชาติ (GNH-Gross National Happiness) เป็นสำคัญ
• จากการสำรวจรายได้มวลรวม ชนชาวภูฏานจะมีระดับรายได้ อันดับ 191 ของโลก แต่จากการสำราจความสุขมวลรวมของประชาชนแต่ละประเทศในโลก ซึ่งจัดทำโดยมหาวิทยาลัยเลสเตอร์ ของอังกฤษ เปิดเผยเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ปรากฏว่า ประเทศภูฏานอยู่อันดับ 8 ของชนชาติที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยจัดอันดับดังนี้
1.ชาวเดนมาร์ก
2.สวิตเซอร์แลนด์
3.ออสเตรีย
4.ไอซ์แลนด์
5.บาฮามาส
6.ฟินแลนด์
7.สวีเดน
• ในขณะที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 76 นักสำรวจได้ส่งแบบสอบถามในหัวข้อต่างๆมากกว่า 100 ข้อ เพื่อสอบถามผู้คนจากทั่วโลก 8,000 คน โดยให้วัดความสุขจากชีวิตความเป็นอยู่ ระบบสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผลผลิตมวลรวม การศึกษา เป็นต้น ควบคู่กับการบำเพ็ญเพียรตามหลักศาสนา นั่นคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาวภูฏาน ภูฏานได้กำหนดลงลึกนโยบาย 4 ประการ คือ
1.เศรษฐกิจพอเพียงตามแบบอย่างพระเจ้าอยู่หัวของไทย
2.การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
4. การปกครองโดยหลักธรรมาภิบาล

• ปี พ.ศ.2541 พระราชกฤษฎีกาผ่านการรับรองของสมัชชาแห่งชาติ กำหนดไว้ว่า สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี ซิงเย วังชุกจะไม่ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสณะรัฐบาลอีกต่อไป มีหัวหน้ารัฐบาลคือ ประธานสภาคณะมนตรี ซึ่งคัดเลือกจากรัฐมนตรี 6 คน คือ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายใน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและการศึกษา โดยหมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานสภาคณะมนตรี คราวละ 1 ปี ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่านายกรัฐมนตรี
• ปี พ.ศ.2548 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเสร็จสิ้น โดยศึกษารัฐธรรมนูญของไทยเป็นต้นแบบ เทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญอีก 150 ประเทศ รัฐธรรมนูญภูฏานจะประกาศใช้ในปี พ.ศ.2551 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของพระมหากษัตริย์และอำนาจการบริหารประเทศของคณะรัฐมนตรีในระบอบรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกสภาผู้แทน 75 คน วุฒิสภา 25 คน กำหนดให้มีพรรคการเมือง 2 พรรค กำหนดวาระการครองราชย์ของพระราชาธิบดีให้อยู่ในตำแหน่งจนถึงอายุ 65 พรรษา
• ภูฏานได้กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นวาระที่ภูฏานมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ครบ 100 ปี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันชาติภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ชิงเย นัมเกล วังชุก ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ และประกาศจะทรงสละราชบัลลังก์ให้กับมกุฎราชกุมาร จิกมี เคเชอร์ นัมเกล วังชุก ในปี พ.ศ.2551
• การประกาศสละราชบังลังก์ของพระราชาธิบดีจิกมี นัมเกล วังชุก ได้สร้างความตกตะลึงให้กับชาวภูฏานเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ชาวภูฏานยังคงเชื่อมั่นและศรัทธาในกษัตรยิ์ และมกุฏราชกุมาจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งได้ประกอบพระราชกรณียกิจร่วมกับพระราชาธิบดีมาโดยตลอด อันที่จริงแล้ว ชาวภูฏานส่วนใหญ่ยังต้องการให้ภูฏานปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราชย์ต่อไป เนื่องจากเกรงว่าเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอาจก่อให้เกิดปัญหาความวุ่นวายและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในประเทศ เหมือนเช่นประเทศเพื่อนบ้าน
• การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในลักษณะค่อยเป็นไปของภูฏานดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ผู้นำประเทศเห็นว่า ภูฏานนั้นจำเป็นจะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมโลกและปัญหาท้าทายใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถตอบสนองกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
• หลายประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติ แต่การปฏิรูปการปกครองในภูฏานกลับเริ่มต้นจากเบื้องบน โดยเน้นไปทางจำกัดอำนาจตัวเอง ให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ให้อำนาจสมัชชา แห่งชาติในการบริหารประเทศ โดยมีจำนวน 150 คน ดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีอำนาจใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 ถอดถอนกษัตริย์ได้
• ปัจจุบัน ราชอาณาจักรภูฏานมีองค์พระมหากษัตริย์เป็ประมุข ภายใต้การปกครอง โดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย นัมเกล วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 151 คน
• สมัชชาแห่งชาตินั้น 105 ที่นั่งมาจากการเลือกตั้งระดับหมู่บ้าน 10 ที่นั่งมาจากตัวแทนศาสนา และ 55 ที่นั่ง มาจากการคัดเลือกของกษัตริย์ ทั้งหมดมีอำนาจในการรับรองคณะรัฐมนตรีที่กษัตริย์เป็นผู้เสนอชื่อหัวหน้าคณะรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล คณะรัฐมนตรีมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี
• นิตยสารไทม์ ได้ประกาศยกย่องให้สมเด็จพระราชาธิบดีซิงเย วังชุก เป็น 1 ใน 100 ของบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกในปี พ.ศ. 2549 ในฐานะที่ชีวิตและผลงานของพระองค์สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับชีวิตคนอื่นๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม ชาวภูฏานต่างยึดมั่นในพุทธศาสนาและวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

• การขึ้นครองราชย์ในราชวงศ์ภูฏาน ในรัชสมัยราชวงศ์วังชุก
• ภายหลังการขึ้นครองราชย์บัลลังก์ภูฏาน กษัตริย์จิกมี ซิงเย วังชุก ได้เข้าสู่พระราชพิธีอภิเษกสมรสกับพระราชินีพร้อมกัน 4 องค์ คือ
1.พระราชินี ดอร์จี วังโม วังชุก
2.พระราชินี เชอริง เพม วังชุก
3.พระราชินี เชอริง ยังเดน วังชุก
4.พระราชินี ซังเก โชเดน วังชุก
• ทั้ง 4 พระองค์เป็นธิดาของ ยับอูเกน ดอร์จี ผู้บิดา และยุมทิน เล โซเตน ผู้เป็นมารดา ครอบครัวของพระองค์มีพี่น้องทั้งหมด 9 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 6 คน ทั้งสี่ คนเป็นธิดาคนที่ 3 ถึง คนที่ 6 ตามลำดับ
• อูเกน ดอร์จี ผู้บิดาเป็นนักธุรกิจใหญ่ มีกิจการค้าครอบคลุมไปทั้งภูฏาน และเป็นตัวแทนที่ชาวต่างประเทศจะมาค้าขายติดต่อขายด้วย ยุคแรกจะเป็นการค้าเกลือในแบบแลกเปลี่ยนสินค้า ต่อมาเป็นกิจการเหมืองแร่ และการส่งออกธุรกิจส่งออกพืชผักผลไม้ดอกไม้เมืองหนาวที่กำลังได้ผลในภูฏาน
• ชาวภูฏานจะไม่มีนามสกุล แต่เป็นที่รู้กันในหมู่บ้านหรือในชุมชนว่า ชื่อนั้น ชื่อนี้ สืบสายมาจากที่ไหนบ้าง ราชินีทั้ง 4 องค์ มีคำลงท้ายว่า วังชุก ตามชื่อที่ 3 ของกษัตริย์ซึ่งเป็นเสมือนชื่อราชวงศ์ ในภูฏานจะถ้าชายมีภรรยา 2-4 คน หรือมากกว่านั้น ถือเป็นเรื่องปกติ ในขณะเดียวกัน ถ้าฝ่ายหญิงก็จะสามารถมีสามี 2- 4 คนได้ และสามีหรือภรรยาส่วนที่เกินหนึ่งคนนั้น ก็มักจะเป็นญาติพี่น้องของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายนั่นเอง และทุกคนต่างอยู่ในครัวเรือนเดียวกันอย่างสามัคคียิ่ง
ตามราชประเพณีดั้งเดิม จึงถือว่า ราชินีทั้ง 4 พระองค์มีฐานะเป็นราชินีเท่าเทียมกัน มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนกันทุกประการ
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุกทรงได้รับการยกย่องจากชาวภูฏานรวมถึงชาวไทยส่วนใหญ่ว่าทรงมีพระจริยวัตรที่งดงาม และเป็นที่รักยิ่งของประชาชนชาวภูฏาน
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังซุก ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรทุกหมู่เหล่า จากการที่ทรงวางพระองค์อย่างเป็นกันเองในหมู่ประชาชน จึงสร้างความประทับใจแก่พสกนิกรอย่างสูง ถึงแม้ว่าพระองค์ไม่ต้องทรงรับพระราชภารกิจการบริหารประเทศ เนื่องจากสมเด็จพระราชบิดาได้ทรงวางระบอบปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาอยู่ ก่อนแล้ว แต่พระองค์เองก็ยังทรงเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ในการสร้างเอกภาพและเสถียรภาพ ในประเทศที่มีประชากรเพียง 650,000 คน โดยมุ่งเน้นด้านความสุขมวลรวมของประชากรภายในประเทศเป็นสำคัญ
• สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงฉลองพระองค์สีแดงทองที่เป็นชุดคลุมยาวปิดเข่าอันเรียกกันว่า "โฆ" ซึ่งเป็นเครื่องแต่งกายประจำชาติของชายชาวภูฏาน ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ พระพักตร์เคร่งขรึม แต่ก็ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อยขณะทรงรับเครื่องถวายแด่สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ ใหม่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยังทรงมีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรหลายพันคนที่มาเข้าเฝ้าพระองค์ในตอนบ่าย ของวันเดียวกันว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการสิ่งใด" "สิ่งที่สำคัญสำหรับข้าพเจ้าคือความหวังและความมุ่งมาดปรารถนาของ ประชาชน และพระชนมายุอันยืนยาวและพระพลานามัยอันแข็งแรงสำหรับสมเด็จพระราชบิดา จิกมี ซิงเย วังชุก ของข้าพเจ้า" "ในโอกาสอันพิเศษยิ่งนี้ ขอให้ร่วมกันสวดมนต์และขออธิษฐานขอให้แสงตะวันเฉิดฉันแห่งความสุขจะสาดส่อง ลงมาที่ประเทศชาติของเราเสมอไป"
• นอกจากประชาชนหลายพันคนที่มารวมตัวกันถวายพระพรแด่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ซึ่งประกอบพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ยังมีแขกสำคัญที่ร่วมในพิธีดังกล่าวคือ ประธานาธิบดีประติภา ปาติลแห่งอินเดีย และนางโซเนีย คานธี นักการเมืองคนสำคัญของอินเดียพร้อมด้วยบุตรธิดา เนื่องจากครอบครัวคานธีนั้นมีความสนิทชิดเชื้อกับราชวงศ์ภูฏาน

       
ภูฏาน ประเทศภูฏาน ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า
• สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน 
ภูฏาน
• ภูฏาน ประเทศภูฏาน ดินแดนมังกรสายฟ้า ประเทศที่อยู่อ้อมกอดหิมาลัย อยู่ระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"
ราชวงศ์ภูฎาน
• ราชวงศ์ภูฎาน เจ้าชายจิกมี สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า "เจ้าชายจิกมี่" กษัตริย์รัชกาลที่ 5 ของภูฏาน
ภูฏาน
• ภูฏาน เที่ยวภูฏาน ผมเดินทางมาถึงเมืองพาโร ก็โชคดีที่เขามีการจัดงานระบำหน้ากาก ซึ่งงานระบำหน้ากากที่พาโรซอง ถือว่าเป็นงานใหญ่งานหนึ่ง
ทาชิโชซอง ทิมพูซอง
• ทาชิโชซอง ทิมพูซอง ทาชิโชซอง เป็นสถาปัตยกรรมภูฏานที่งดงาม เป็นที่ทำการของรัฐบาล ประกอบด้วยคณะสงฆ์ และข้าราชการระดับสูง
ทัวร์ภูฎาน
• ทัวร์ภูฎาน เตรียมตัวเที่ยวภูฏาน ภูฏานเปิดรับนักท่องเที่ยวปีละ 20,000 คน ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้ซื้อและขาย สูบบุหรี่ในที่สาธารณะโดยเด็ดขาด
วัดชันกังคา
• วัดชันกังคา เมมโมเรียลชอร์เตน วัดชันกังคาเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในเมืองทิมพู พระลามะทิเบตเป็นผู้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 15 เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของเมืองทิมพู
วัดทักซัง
• วัดทักซัง วัดทักซัง เป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร ชายเขตเมืองพาโร วัดตักซังเป็นสถานที่แสวงบุญที่ชาวภูฏานเลื่อมใสศรัทธากันมากที่สุด
วัดนันนารี สวนสัตว์ภูฏาน
• วัดนันนารี สวนสัตว์ภูฏาน ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในประเทศภูฏานเพียงแห่งเดียวและอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่
ระบำหน้ากากภูฏาน
• ระบำหน้ากากภูฏาน ระบำภูฏานจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบำหน้ากาก ซึ่งเป็นระบำเกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ ส่วนอีกอย่างเป็นระบำเกี่ยวกับเรื่องราววิถีชีวิตของชาวภูฏาน
พูนาคา
• พูนาคา วัดชิมิลาคัง คนภูฏานเชื่อว่าเมื่อพวกเขาไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องคู่ครอง ก็จะมาแสวงบุญที่นี่ เพราะเชื่อว่าวัดชิมิลาคังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
พาโร
• พาโร ประตูสู่ประเทศภูฏาน เมืองพาโรเป็นเมืองที่ตั้งของสนามบินภูฏานซึ่งมีเพียงสนามบินเดียว เครื่องที่จะมาลงจอดได้ก็มีแต่สายการบินดรุ๊กแอร์เพียงสายเดียว
วัดคิชูลาคัง วัดตัมชู
• วัดคิชูลาคัง วัดตัมชู วัดคิชูเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูฏาน เป็นโบสถ์โบราณซึ่งพระเจ้าซังเซน กัมโป กษัตริย์ทิเบตทรงสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 1212
ทิมพู
• ทิมพู เมืองหลวงประเทศภูฏาน ทิมพูหรือในชื่อที่เป็นทางการของภูฏานว่า ตาชิโชซอง เป็นเมืองหลวงของภูฏาน ทิมพูเป็นเมืองที่เจริญที่สุด เป็นแหล่งท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง
จุดชมวิวโดชูล่า
• จุดชมวิวโดชูล่า สถูป 108 องค์ สร้างขึ้นเป็นปกป้องคุ้มครองผู้ที่เดินทางผ่านไปมาให้ปลอดภัย รอบๆ บริเวณถูกประดับไปด้วยธงมนต์หลากสีสันเพื่อบูชาเทพแห่งป่าเขา
ปูนาคา
• ปูนาคา ปูนาคาซอง ปูนาคาซอง (Punakha Dzong) เป็นป้อมปราการประจำเมืองปูนาคา สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1637 ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำโพและแม่น้ำโม ที่นี่เคยใช้เป็นเมืองหลวงในช่วงฤดูหนาว
• พิพิธภัณฑ์แห่งชาติภูฏาน ตั้งอยู่ในป้อมตาซองที่เป็นหอสังเกตการณ์ในยุคโบราณของพาโรซอง ป้อมตาซองนี้เคยเป็นที่คุมขังอูเก็น วังชุก (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ภูฏาน)
วังดีซอง
• วังดี วังดีซอง วังดีซอง ตั้งอยู่เหนือจุดบรรจบของแม่น้ำ 2 สายคือแม่น้ำปูนาคาและแม่น้ำดัง เป็นเมืองในอดีตที่สำคัญของประวัติศาสตร์ภูฏาน วังดีโปดรังซองสร้าง ในปี ค.ศ.1638
โรงแรมภูฏาน
• โรงแรมภูฏาน ร้านอาหารภูฏาน ภูฏาน เป็นประเทศที่นิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารทุกมื้อ อาหารภูฏานนิยมเน้นข้าวและผักเป็นอาหารหลัก
ภาษาภูฏาน
• ภาษาภูฏาน ภาษาภูฏานหรือภาษาซงคา เป็นภาษาประจำชาติของภูฏาน คูซูซังโป=สวัสดี คัดรินเซ=ขอบคุณ ดรุ๊กยุล=แผ่นดินมังกรสายฟ้า
ของฝากภูฏาน
• ของฝากภูฏาน การแต่งกายภูฏาน รัฐบาลรณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ชุดผู้ชาย เรียกว่า “โค” ชุดผู้หญิง เรียกว่า “คีร่า”
• ศาสนาพุทธในภูฏาน พุทธศาสนาตันตรยาน ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ เป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ
สายการบินภูฏาน
• สายการบินภูฏาน สายการบินดรุ๊กแอร์ Drukair การเดินทางไปภูฏาน มีสายการบินเดียวที่บินจากรุงเทพฯ ไปภูฏาน เป็นสายการบินแห่งชาติภูฏาน
• สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน
• ข้อมูลทั่วไปประเทศภูฏาน
ทัวร์โปรโมชั่น
• โปรแกรมทัวร์ 2567
• กรุ๊ปจอยทัวร์หน้าร้าน
• XIN879-3U : เจาะลึกเส้นทางสายไหม ภูเขาสายรุ้ง ภูเขาหิมะเทียนซาน จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ขี่อูฐ สระน้ำวงพระจันทร์ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน อุรุมฉี (8 วัน 7 คืน - 3U)
• เที่ยวชมมหัศจรรย์ ภูเขาสายรุ้ง และ ทะเลสาบวงพระจันทร์
• ชม ถ้ำตุนหวง ขี่อูฐทะเลทราย เที่ยวภูเขาหิมะเทียนซาน
• พักโรงแรม 5 ดาว - บินเสฉวนแอร์ไลน์และบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 14 - 21 เมษายน : 19 – 26 พฤษภาคม : 16 - 23 มิถุนายน 2567
• ราคา 55,995.-บาท
• TIBET-51 : คุนหมิง ทิเบต ลาซา วังโปตาลา วัดโจคัง ทะเลสาบ เมืองซิกาท์เซ่ วัดเซร่า รถไฟหลังคาโลก ซีหนิง ซีอาน โชว์ทิเบต (8 วัน 7 คืน - TG)
• นั่งรถไฟสายหลังคาโลก ลาซา-ซีหนิง ห้องวีไอพี
• เที่ยวพระราชวังโปตาลา และเมืองซิกาท์เซ่ วัดปันเชนลามะ

• ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทยและบินภายในประเทศ
• วันที่ 19 - 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 77,995.-บาท
• TG-651 : คุนหมิง ต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า วัดซงจ้านหลิง ภูเขาหิมะมังกรหยก สวนดอกไม้ฮอบบิท เมืองโบราณลี่เจียง (6 วัน 5 คืน - TG)
• นั่งรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-แชงกรีล่า เที่ยวสวนดอกไม้ฮอบบิท
• นั่งกระเช้าใหญ่ขึ้นภูเขาหิมะมังกรหยก

• พัก 5 ดาว - ไม่ลงร้านช้อป ไม่ขาย Option - บินการบินไทย
• วันที่ 23 – 28 ตุลาคม : 5 – 10 ธันวาคม : ราคา 37,995.-บาท
• วันที่ 28 ธันวาคม - 2 มกราคม 2568 : ราคา 39,995.-บาท
• INDIA-871: แคชเมียร์ ทัชมาฮาล ดอกทิวลิปบาน อัคราฟอร์ท พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค ทะเลสาบดาล (8 วัน 6 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม กุลมาร์ค โซนามาร์ค
• ชม ทัชมาฮาล สิ่งมหัศจรรย์ของโลก
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 14 - 21 เมษายน 2567
• ID19 : แคชเมียร์  - เลห์ ลาดัก พาฮาลแกรม โซนามาร์ค ทะเลสาบพันกอง นูบราวัลเลย์ วัดมาลายูรู วัดเฮมิส วัดธิคเซย์ (10 วัน 8 คืน - TG)
• เที่ยวแคชเมียร์ พาฮาลแกรม โซนามาร์ค
• เที่ยวเลห์ ลาดัก ทะเลสาบพันกอง นูบร้าวัลเลย์
• พักโรงแรม 4 ดาว บินการบินไทยและบินภายใน 2 ไฟลท์
• วันที่ 18 – 27 พฤษภาคม 2567 : ราคา 68,995.-บาท
• TG-659 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า เมืองโบราณหวงหลงซี โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (6 วัน 5 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 11 - 16 ต.ค., 18 - 23 ต.ค., 23 - 28 ต.ค., 7 - 14 พ.ย. : ราคาเริ่มต้น 41,995.-บาท
• TG-879 : เฉิงตู จิ่วจ้ายโกว อุทยานหวงหลง ภูเขาง้อไบ้ ล่องเรือพระใหญ่เล่อซาน เมืองโบราณลั่วไต้ หมีแพนด้า โชว์เปลี่ยนหน้ากาก (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 2 อุทยานที่สวยงามแห่งเสฉวน จิ่วจ้ายโกว-หวงหลง
• ขึ้นเขา ง้อไบ้ 1 ใน 4 พุทธคีรีแห่งประเทศจีน (เที่ยวเต็มวัน)

• เที่ยวเมืองเล่อซาน ล่องเรือ ไหว้พระใหญ่เล่อซาน
• อาหารดี - โรงแรม 5 ดาว – บินการบินไทย - ไม่ลงร้านช้อป กรุ๊ป 16 ท่าน

• วันที่ 3 - 10 พฤศจิกายน : ราคา 49,995.-บาท
• CANAT19 : เจาะลึกเส้นทางสายไหม ซีอาน ลั่วหยาง หลงเหมิน วัดเส้าหลิน ถ้ำม่ายจีซาน จางเย่ ด่านเจียยี่กวน ตุนหวง ขี่อูฐ ถ้ำโมเกาคู ทูรูฟาน อุรุมฉี (12 วัน 10 คืน - FD)
• เที่ยวชมเส้นทางสายไหมและเส้นทางพระถังซำจั๋งแบบเจาะลึกยาวๆ
• ชม 3 ถ้ำพระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน
• ชม ถ้ำตุนหวง ขี่อูฐทะเลทราย ทะเลสาบวงพระจันทร์
• พักโรงแรม 5 ดาว - อาหารดี - บินแอร์เอเชียและบินภายใน
• วันที่ 11 - 22 ตุลาคม 2567 :
ราคา 80,995.-บาท
• INDIA877 : อินเดีย เนปาล พุทธคยา ราชคฤห์ กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี ล่องเรือแม่น้ำคงคา สารนาท พารานสี (8 วัน 7 คืน - TG)
• เที่ยวครบ 4 สังเวชนียสถาน พุทธคยา กุสินารา ลุมพินี สาวัตถี พาราณสี
• ชม ล่องเรือแม่น้ำคงคา เที่ยวชม วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี
• พักโรงแรม 4 ดาว - มีอาหารไทย - มีพระวิทยากร - บินการบินไทย
• วันที่ 8 - 15 ธันวาคม : วันที่ 28 ธันวาคม - 4 มกราคม : 9 - 16 กุมภาพันธ์
2568
• สอบถามทัวร์เพิ่มเติม   ID LINE : @oceansmiletour
• คุณเล็ก โทร.082-3656241   • ID Line : lekocean2
• คุณโจ้ โทร.093-6468915    • ID Line : oceansmile
• รับทำกรุ๊ปเหมา เที่ยวส่วนตัว ดูงาน
• ประเทศจีน (ทุกเมือง) อินเดีย (ทุกเมือง)
• เนปาล ภูฏาน บาหลี ศรีลังกา ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า
บริษัท โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด โทร. 0-2969 3664, 0-2949 5134-36
เลขที่ 23/121 ซอยนวมินทร์ 161 แยก1-4 ถ.นวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10230

Hotline 0-936468915, 0-823656241 (ใบอนุญาตนำเที่ยวเลขที่ 11/5028)